กองราชอาวุธหัตถ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองราชอาวุธหัตถ์
កងរាជអាវុធហត្ថ  (เขมร)
Gendarmerie royale  (ฝรั่งเศส)
ตราสัญลักษณ์
คำขวัญ«សង្គ្រោះ បម្រើ ការពារ»  (เขมร)
"ช่วยเหลือ รับใช้ ปกป้อง"
ข้อมูลองค์กร
ก่อตั้ง20 กรกฎาคม 2497 (2497-07-20) (แรกเริ่ม)
18 มีนาคม 2513 – 17 เมษายน 2518
กองอาวุธหัตถ์แห่งชาติ
14 กรกฎาคม 2536 (ตั้งขึ้นใหม่)[1]
โครงสร้างเขตอำนาจ
หน่วยงานแห่งชาติกัมพูชา
เขตอำนาจในการปฏิบัติการกัมพูชา
ลักษณะทั่วไป
สำนักงานใหญ่พนมเปญ, กัมพูชา

กำลังพล30,000 นาย
ผู้บริหารหน่วยงาน
หน่วยงานปกครองกองทัพกัมพูชา

กองราชอาวุธหัตถ์ (อังกฤษ: Royal Gendarmerie เขมร: កងរាជអាវុធហត្ថ, อักษรโรมันของเขมร: Kang Rājaʿʹāvudhahatth [kɑːŋ riəc.ʔaːʋut.hat]; ฝรั่งเศส: Gendarmerie royale) เป็นกองกำลังฌ็องดาร์เมอรีแห่งชาติของกัมพูชา เป็นเหล่าหนึ่งของกองทัพกัมพูชา มีหน้าที่ในการรับผิดชอบการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนและความมั่นคงภายในกัมพูชา โดยหน่วยมีกำลังกึ่งทหารอยู่ประมาณ 30,000 นายกระจายกำลังประจำการอยู่ในทุกจังหวัด มีกองบัญชาการตั้งอยู่ในพนมเปญ โดยมีสายการบังคับบัญชาของหน่วยผ่านกองบัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพกัมพูชา กองราชอาวุธหัตถ์อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาโดยตรงของผู้บัญชาการที่มียศเทียบเท่าพลเอก ซึ่งกองบัญชาการสูงสุดมีหน้าที่ในการตรวจตราความพร้อมของกองกำลังทั้งหมดและรับผิดชอบการฝึก ผู้บัญชาการคนปัจจุบันคือ พลเอก เซา สุขะ อดีตองครักษ์และที่ปรึกษาส่วนตัวของอดีตนายกรัฐมนตรี ฮุน เซน[2]

หน้าที่[แก้]

หน้าที่ของกองราชอาวุธหัตถ์ ได้แก่

  • ฟื้นฟูสันติภาพและเสถียรภาพหากได้รับการสั่นคลอนอย่างหนัก
  • ต่อต้านการก่อการร้าย
  • การตอบโต้กลุ่มที่ใช้ความรุนแรง
  • ปราบปรามการจลาจลในเรือนจำ

หน้าที่ในทางพลเรือน ได้แก่ จัดให้มีสันติภาพและความมั่นคงสาธารณะ ดำเนินการสืบสวนและป้องกันองค์กรอาชญากรรม การก่อการร้าย และกลุ่มความรุนแรงอื่น ๆ เพื่อปกป้องทรัพย์สินของรัฐและพลเมือง ช่วยเหลือและเป็นผู้ช่วยพลเรือนในการเป็นกองกำลังฉุกเฉินในกรณีเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ การก่อความไม่สงบ และความขัดแย้งทางอาวุธ

หน้าที่ในทางทหาร ได้แก่ รักษาและปกป้องความมั่นคงของชาติ รัฐ ทรัพย์สิน สันติภาพสาธารณะ และความสงบเรียบร้อยของประชาชน และช่วยเหลือกองกำลังรักษาความปลอดภัยอื่น ๆ ในกรณีฉุกเฉิน ความไม่สงบ สงคราม การปราบปรามจลาจล เพื่อสนับสนุนการประกาศกฎอัยการศึกและการประกาศระดมพล เพื่อต่อสู้และจับกุมอาชญากร ผู้ก่อการร้าย และกลุ่มความรุนแรง

นอกจากนี้กองราชอาวุธหัตถ์ได้ทำความร่วมมือที่จะปฏิบัติการในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งสัตว์ป่าและป่าไม้ ตามการร้องขอของกระทรวงสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันอาชญากรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน[3]

การจัดหน่วย[แก้]

กองราชอาวุธหัตถ์ ประกอบด้วยกำลังระดับกองพัน จำนวน 10 กองพัน แต่ละกองพันมีกำลังประมาณ 500 – 1000 นาย มีกองบัญชาการหลักอยู่ที่พนมเปญ

กองราชอาวุธหัตถ์เฝ้าติดตามดูทั้งหมด 25 จังหวัด 186 เขต ทำงานร่วมกับประชาชนในท้องถิ่น โดยหน่วยประกอบไปด้วย หน่วยเคลื่อนที่ ที่ประกอบไปด้วยหน่วยแทรกซึม 6 หน่วย กองพันยานพาหนะแทรกซึม กองพันทหารม้า และ 4 กองพันทหารราบและฐานทัพในพนมเปญ มีโรงเรียนฝึกตั้งอยู่ในจังหวัดกันดาล

การฝึก[แก้]

กองราชอาวุธหัตถ์ มีโรงเรียนฝึกกำลังพลตั้งอยู่ในจังหวัดกันดาล นอกจากนี้กำลังของกองราชอาวุธหัตถ์ระดับนายทหารบางส่วนได้รับการฝึกอบรมจากประเทศฝรั่งเศส เนื่องจากเคยมีความใกล้ชิดกันจากการเคยเป็นรัฐอาณานิคมของฝรั่งเศส[4] และยังมีการฝึกทหารทหารร่วมกันกับนาวิกโยธินสหรัฐในการปฏิบัติการด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาทุกข์อีกด้วย[5]

โครงสร้างชั้นยศ[แก้]

ชั้นสัญญาบัตร[แก้]

กองราชอาวุธหัตถ์ชั้นสัญญาบัตร

กลุ่มชั้นยศ นายพล / นายทหารชั้นนายพล นายทหารสัญญาบัตรอาวุโส นายทหารสัญญาบัตร นักเรียนนายร้อย
กองราชอาวุธหัตถ์
នាយឧត្តមសេនីយ៍
Néay ŭtdâmôséniy
ឧត្តមសេនីយ៍ឯក
Ŭtdâmôséniy êk
ឧត្តមសេនីយ៍ទោ
Ŭtdâmôséniy toŭ
ឧត្តមសេនីយ៍ត្រី
Ŭtdâmôséniy trei
វរសេនីយ៍ឯក
Vôrôséniy êk
វរសេនីយ៍ទោ
Vôrôséniy toŭ
វរសេនីយ៍ត្រី
Vôrôséniy trei
អនុសេនីយ៍ឯក
Ânŭséniy êk
អនុសេនីយ៍ទោ
Ânŭséniy toŭ
អនុសេនីយ៍ត្រី
Ânŭséniy trei
នាយចំណង់
Néay châmnáng
พลเอก พลโท พลตรี พลจัตวา พันเอก พันโท พันตรี ร้อยเอก ร้อยโท ร้อยตรี นักเรียนนายร้อย
General Lieutenant General Major General Brigadier General Colonel Lieutenant Colonel Major Captain 1st Lieutenant 2nd Lieutenant Officer cadet

ชั้นประทวน[แก้]

กองราชอาวุธหัตถ์ชั้นประทวน

กลุ่มชั้นยศ นายทหารประทวนอาวุโส นายทหารประทวน พลสมัคร
และพลทหาร
กองราชอาวุธหัตถ์
ព្រឹន្ទបាលឯក ព្រឹន្ទបាលទោ ពលបាលឯក ពលបាលទោ ពលបាលត្រី នាយឯក នាយទោ ពលឯក ពលទោ
ดาบเอก ดาบโท จ่าสิบเอก จ่าสิบโท จ่าสิบตรี สิบเอก สิบโท สิบตรีกองประจำการ พลทหาร
Warrant Officer Command Sergeant Major Master Sergeant Staff Sergeant Sergeant Corporal Lance corporal Gendarm 1st Class Gendarm

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. History of the Royal Gendarmerie of Cambodia
  2. General Sao Sokha inaugurates Poipet City Gendarmerie Base administration building
  3. "Ministry, Gendarmerie align for forest, wildlife protection". www.phnompenhpost.com (ภาษาอังกฤษ).{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ ข้อมูลกฎหมายของประเทศกัมพูชาและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสังคม วัฒนธรรม การเมืองและความมั่นคงของประเทศกัมพูชา (PDF). บริษัท ดีเอฟดีแอล (ประเทศไทย) จำกัด เสนอ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. 2562.
  5. "Royal Cambodian Gendarmerie work with US Marines". U.S. Indo-Pacific Command (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]