กองพลทหารปืนใหญ่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กองพลทหารปืนใหญ่ (พล.ป.) เป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกองทัพบกไทย มีหน้าที่เป็นหน่วยสนับสนุนหน่วยกำลังรบของกองทัพบกด้วยการยิงอาวุธหนัก และปฏิบัติภารกิจอื่น ๆ ตามที่กองทัพบกกำหนด โดยมีที่ตั้งอยู่ที่ค่ายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ตำบลท่าแค อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี

กองพลทหารปืนใหญ่ ค่ายสิริกิติ์
Artillery Division
ประเทศไทย
กองบัญชาการค่ายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ตำบลท่าแค อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี 15160
สมญาราชาแห่งสนามรบ
วันสถาปนา1 เมษายน พ.ศ. 2526; 41 ปีก่อน (2526-04-01)
เว็บไซต์https://fadiv.rta.mi.th/
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการปัจจุบันพลตรี วรการ ฮุ่นตระกูล​[1]

ประวัติกองพลทหารปืนใหญ่[แก้]

กองพลทหารปืนใหญ่ จัดตั้งขึ้นตามคำสั่ง กองทัพบก (เฉพาะ) ลับ ที่ 81/26 เรื่อง จัดตั้งกองพลทหารปืนใหญ่ เมื่อ 1 เมษายน พุทธศักราช 2526 ตามแนวความคิดของ พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก ซึ่งได้เสนอแนวคิดไว้ว่า[2]

กองทัพไทยเป็นกองทัพที่ขาดแคลนน่าจะได้รวมปืนใหญ่หรือรวมอํานาจการยิงที่รุนแรงไว้ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นสูงของ ทบ. ใช้แก้ปัญหาในพื้นที่ซึ่งสถานการณ์รุนแรง ประกอบกับความจําเป็นที่ต้องมีปืนระยะยิงไกลไว้เพื่อต่อต้านปืนข้าศึกยิ่งรบกวนขัดขวางต่อที่บังคับการ ที่รวมพล ตําบลสําคัญ และระบบการติดต่อสื่อสารที่ลึกเข้าไปในดินแดนข้าศึก

ในขณะนั้นได้ใช้ ปนร.20 ขนาด 155 มม. M71 ผลิตในประเทศอิสราเอล และ ปกค.25 ขนาด 155 มม. M198 ผลิตในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมี พลตรี วิโรจน์ แสงสนิท (ยศในขณะนั้น) เป็นผู้บัญชาการกองพลทหารปืนใหญ่ (ผบ.พล.ป.) ท่านแรก[3]

กองพลทหารปืนใหญ่ จึงได้ถือเอาวันที่ 1 เมษายน ของทุกปีเป็นวันสถาปนากองพลทหารปืนใหญ่ การจัดตั้งกองพลทหารปืนใหญ่ในครั้งแรกนั้น ได้ปรับปรุงสถานที่อาคารตานี ของ ป.พัน.201 เป็น กองบัญชาการกองพลทหารปืนใหญ่ ชั่วคราว ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2526 ถึง 2529

  • 7 ตุลาคม พุทธศักราช 2528 ได้ทำการก่อสร้างกองบัญชาการ กองพลทหารปืนใหญ่แห่งใหม่ คือสถานที่ในปัจจุบัน แล้วเสร็จใน 18 มิถุนายน พ.ศ. 2529 รวมระยะเวลาการก่สร้าง 255 วัน ด้วยงบประมาณ 7,520,000.-บาท
  • 29 ธันวาคม พุทธศักราช 2529 พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น ได้กระทำพิธีเปิดปัยอาคารกองบัญชาการ กองพลทหารปืนใหญ่
  • 7 เมษายน พุทธศักราช 2535 เป็นวันมหามงคลที่ข้าราชการและครอบครัวในกองพลทหารปืนใหญ่ มีความรู้สึกปลื้มติยินดีและซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นที่เคารพสักการบูชา และน้อมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันล้นเกล้าล้นกระหม่อมของพระองค์
  • 15 เมษายน พุทธศักราช 2535 กองพลทหารปืนใหญ่ได้รับพระราชทานนามค่ายว่า ค่ายพิบูลสงคราม เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่ พณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม อดีตนายทหารปืนใหญ่ ผู้เคยดำรงตำแหน่งสำคัญทางด้านการทหารซึ่งในระหว่างที่ท่านดำรงตำแหน่งต่างๆ เป็นผู้วางรากฐานกิจการเหล่าทหารปืนใหญ่สมัยใหม่ โดยนำความรู้จากต่างประเทศมาปรับปรุงวิชาการของทหารปืนใหญ่ไทย ให้เจริญก้าวหน้า และพัฒนา จนถึงทุกปัจจุบัน
  • 28 พฤษภาคม พุทธศักราช 2535 เริ่มดำเนินการตั้งกองพลทหารปืนใหญ่โดยใช้ชื่อว่า ค่ายพิบูลสงคราม[4]
  • 24 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2536 พลเอก วิมล วงศ์วานิช ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น เป็นผู้กระทำพิธีเปิดนามค่ายพิบูลสงคราม
  • 29 ธันวาคม พุทธศักราช 2562 พระราชทานนามค่ายทหารแก่กองพลทหารปืนใหญ่ เดิมชื่อ "ค่ายพิบูลสงคราม" มีที่ตั้ง ณ ตำบลท่าแค อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ว่า "ค่ายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง" และพระราชทานนามย่อว่า "ค่ายสิริกิติ์"

การจัดหน่วย[แก้]

กองพลทหารปืนใหญ่ ได้รับอนุมัติในการจัดตั้งหน่วย ตามแผนพัฒนากองทัพบกและแผนแม่บทการพัฒนาหน่วยเหล่าทหารปืนใหญ่ โดยมีการจัดหน่วยดังนี้

  • กองบัญชาการและกองร้อยกองบัญชาการ (ร้อย.บก.พล.ป.)
  • กรมทหารปืนใหญ่ที่ 71 (กรม ป.71) ประกอบด้วย
  • กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 711 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 71 (ป.71 พัน.711)
  • กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 712 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 71 (ป.71 พัน.712)
  • กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 713 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 71 (ป.71 พัน.713)
  • กรมทหารปืนใหญ่ที่ 72 (กรม ป.72) ประกอบด้วย
  • กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 721 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 72 (ป.72 พัน.721)
  • กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 722 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 72 (ป.72 พัน.722)
  • กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 723 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 72 (ป.72 พัน.723)
  • กองร้อยทหารปืนใหญ่ค้นหาเป้าหมาย (ร้อย.ป.คปม.)

ยุทโธปกรณ์ที่สำคัญของหน่วย[แก้]

  • ปนร.34 ขนาด 155 มม. GHN-45 A1
  • ปืนใหญ่ ขนาด 155 มม.อัตตาจร ล้อยาง M758 (ATMG)
  • ปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง 105 มม.[5]
  • ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน (ป.ต.อ.) พร้อมไฟฉายแรงสูงขนาดใหญ่หน้าตัด 120 ซม.[6]
  • จลก.แบบ 31 ขนาด 130 มม.
  • จลก.แบบ 56 ขนาด 122 มม. (SR4)
  • จรวดหลายลำกล้อง ขนาด 302 มม. (DTI-1)
  • จรวดหลายลำกล้อง ขนาด 302 มม. (DTI-1G)

ประติมากรรม[แก้]

ปัจจุบันอนุสาวรีย์ถูกรื้อถอนออกไป[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 27 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  2. สำนักงานเลขาธิการกองทัพบก. (2533, มกราคม-ธันวาคม). เสนาสาร, 40(770-781): 18-19.
  3. นิตยสารข่าว อาทิตย์, 2530: 11.
  4. อาทร จันทวิมล. ประวัติของแผ่นดินไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : อักษรไทย, 2546. 445 หน้า. หน้า 420. ISBN 974-917-970-6
  5. บัญชร ชวาลศิลป์. กว่าจะเป็นนายพล (ก้าวแรก). กรุงเทพฯ : มติชน, 2550. 468 หน้า. หน้า 236. ISBN 978-974-3239-14-4
  6. ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. ชื่อบ้านนามเมืองในกรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ : มติชน, 2551. 544 หน้า. หน้า 344. ISBN 978-974-0202-58-5
  7. นริศ จรัสจรรยาวงศ์. (8 มิถุนายน 2564). "นระ ๒๔๗๕ ลาเวที ทิ้งชั่วดี ประดับไว้ไนโลกา ดวงหน้าสุดท้ายและอนุสาวรีย์ ๓ ผู้นำคณะราษฎร," ศิลปวัฒนธรรม, 42(8): 57.
  8. ป้ายชื่อ "ค่ายพิบูลสงคราม" หายไปจากค่ายกองพลทหารปืนใหญ่ ลพบุรี. บีบีซีนิวส์ ไทย. (19 กุมภาพันธ์ 2563). สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2565.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]