หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน (คำย่อ: นย.) (อังกฤษ: Royal Thai Marine Corps) คือหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อกองทัพเรือ มีหน้าที่รับผิดชอบในการบุกยึดพื้นที่ศัตรู ยกพลขึ้นบกและยึดพื้นที่สถาปนาหัวหาด เปรียบเสมือนหน่วยทหารราบของกองทัพเรือ ทหารนาวิกโยธินได้รับการฝึกพิเศษเพื่อการรบบุกยึดหัวหาดโดยการยกพลขึ้นบกจากเรือในทะเลขึ้นสู่ฝั่ง ทำให้นาวิกโยธินเป็นหน่วยรบแรก ๆ ที่เข้าสู่สนามรบแนวหน้าซึ่งจะมีอัตราการเสียชีวิตสูงอยู่เสมอ ทหารนาวิกโยธินขึ้นชื่อว่าเป็นหน่วยรบที่มีระเบียบวินัยและประสิทธิภาพในการรบสูงเมื่อเทียบกับทหารเหล่าปกติ
ประวัติ[แก้]
ทหารมะรีน ประเทศสยาม พ.ศ. 2367[แก้]
กิจการทหารนาวิกโยธินในประเทศไทยนั้นมีความเป็นมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่สมัยประเทศไทยยังเป็นชื่อประเทศสยาม ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2367 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โดยในยุคนั้นเรียกทหารนาวิกโยธินว่า "ทหารมะรีน" ซึ่งเป็นการเรียกทับศัพท์มาจากคำว่า "Marines" ที่แปลว่านาวิกโยธินในภาษาอังกฤษ กิจการทหารมะรีนในยุคสยามไม่มั่นคงมากนัก เนื่องจากมีการก่อตั้งและยุบไปหลายครั้ง
สงครามปราบฮ่อ พ.ศ. 2417[แก้]
ผลงานที่โดดเด่นที่สุดของทหารมะรีนในยุคประเทศสยามคือสงครามปราบฮ่อ ในช่วงปี พ.ศ. 2417 ยุคของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 กลุ่มกบฏจีนไท้ผิง (ฮ่อ) ที่ต่อต้านราชวงศ์แมนจูในประเทศจีนได้ทำการก่อกบฏและแตกพ่าย บางส่วนหลบหนีลงมาในตังเกี๋ย ทางตังเกี๋ยได้ปราบปรามกลุ่มฮ่อ ขับไล่ฮ่อทำให้ต้องล่อถอยลงใต้มาเรื่อยๆจนกระทั่งเกิดทำการตีหัวเมืองต่างๆของสยาม นับตั้งแต่สมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
การเข้าตีหัวเมืองภาคอีสานในปี พ.ศ. 2417 ของพวกฮ่อส่งผลให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระบรมราชโองการให้ทำการปราบปรามฮ่อ โดยทางราชการได้ส่งทหารมะรีนจำนวน 25 นาย ประกอบด้วย นายร้อยตรี 1 นาย พลทหาร 24 นาย พร้อมด้วยปืนกลปืนแก็ตลิง 2 กระบอก ร่วมไปกับกองทัพที่ไปปราบปรามพวกฮ่อทางภาคเหนือ โดยมี เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) เป็นแม่ทัพ
ราชนาวิกโยธิน ประเทศไทย พ.ศ. 2498[แก้]
กระทั่งเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 กองทัพเรือได้ดำเนินการสถาปนากรมนาวิกโยธินขึ้นอีกครั้ง ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี โดยใช้ตึกซึ่งเป็นที่ทำงานของกองกิจการพิเศษ ภายใต้คำแนะนำของกองทัพอเมริกันถึงความจำเป็นที่ต้องมีนาวิกโยธิน ที่ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เป็นที่ตั้ง และได้สืบต่อกิจการนาวิกโยธินอย่างจริงจังต่อไป ซึ่งทหารนาวิกโยธินได้ถือเอาวันที่ 30 กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันสถาปนาหน่วยสืบมา ต่อมาเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2532 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างการจัดหน่วยราชการของกองทัพเรือ เป็นผลให้ "กรมนาวิกโยธิน" แปรสภาพเป็น "หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน"
ทหารนาวิกโยธิน ได้ถือเอาวันที่ 28 มิถุนายน ของทุกปีเป็น "วันทหารนาวิกโยธิน" โดยกำหนดให้เป็น วันแห่งประวัติศาสตร์ของทหารนาวิกโยธิน ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานเพลงพระราชนิพนธ์ "มาร์ชราชนาวิกโยธิน" เป็นเพลงประจำหน่วย ทหารนาวิกโยธินเมื่อ 28 มิถุนายน 2502 และต่อมาคณะนายทหารนาวิกโยธินก็ได้ร่วมกัน ประพันธ์คำร้องขึ้น เพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ได้ร่วมกันจัดกิจกรรม ในการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ เนื่องในวันทหารนาวิกโยธิน สืบต่อไป
ปฏิบัติการรักษาสันติภาพในกรอบของสหประชาชาติ[แก้]
- 1 มว.ทหารช่างในอิรัก (2 ผลัด)
- 1 มว.ทหารช่างในบุรุนดี (3 ผลัด)
- 1 มว.ลาดตระเวนในซูดาน (ผลัดที่ 1)
- 1 มว.ยานเกราะในซูดาน (ผลัดที่ 2)
- ผู้สังเกตการณ์ในติมอร์ตะวันออก, เซียร์ราลีโอน
- นายทหารประสานงานในซูดาน
หน่วยงานในบังคับบัญชา[แก้]
หน่วยขึ้นตรง หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน[แก้]
หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธิน[แก้]
หน่วยเฉพาะกิจกองทัพเรือ[แก้]
หน่วยงานในสังกัดกองพลนาวิกโยธิน[แก้]
- กรมทหารราบที่ 1 กองพลนาวิกโยธิน (กรม ร.1 พล.นย.)
- กองพันทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ฯ (พัน.ร.1 รอ.ฯ)
- กองพันทหารราบที่ 2 ฯ (พัน.ร.2 ฯ)
- กองพันทหารราบที่ 3 ฯ (พัน.ร.3 ฯ)
- กรมทหารราบที่ 2 กองพลนาวิกโยธิน (กรม ร.2 พล.นย)
- กองพันทหารราบที่ 4 ฯ (พัน.ร.4 ฯ)
- กองพันทหารราบที่ 5 ฯ (พัน.ร.5 ฯ)
- กองพันทหารราบที่ 6 ฯ (พัน.ร.6 ฯ)
- กรมทหารราบที่ 3 กองพลนาวิกโยธิน (กรม ร.3 พล.นย.)
- กรมทหารปืนใหญ่ กองพลนาวิกโยธิน (กรม ป. พล.นย.)
- กองพันทหารปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้งที่ 1 (พัน.ปบค.1 ฯ)
- กองพันทหารปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้งที่ 2 (พัน.ปบค.2 ฯ)
- กองพันทหารปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้ง (พัน.ปกค. ฯ)
- กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน (พัน.ปตอ. ฯ)
- กรมสนับสนุน กองพลนาวิกโยธิน (กรม สน. พล.นย.)
- กองพันทหารขนส่ง (พัน.ขส ฯ)
- กองพันซ่อมบำรุง (พัน.ซบร. ฯ)
- กองพันพยาบาล (พัน.พ. ฯ)
- กองร้อยส่งกำลังและบริการ (ร้อย.สล. ฯ)
- กองร้อยสนับสนุนการยกพลขึ้นบก (ร้อย.สน.ยบ. ฯ)
- กองพันทหารช่าง กองพลนาวิกโยธิน (พัน.ช. พล.นย.)
- กองพันทหารสื่อสาร กองพลนาวิกโยธิน (พัน.ส. พล.นย.)
- กองพันรถถัง กองพลนาวิกโยธิน (พัน.ถ. พล.นย.)
- กองร้อยต่อสู้รถถัง (ร้อย.ตถ. ฯ)
- กองร้อยทหารสารวัตร กองพลนาวิกโยธิน (ร้อย.สห. ฯ)
ยุทโธปกรณ์[แก้]
ปืนเล็ก[แก้]
อาวุธปืนเล็กของนาวิกโยธินไทยเน้นมาตรฐานอาวุธแบบนาโต้ ส่วนใหญ่มาจากชาติตะวันตก เช่นสหรัฐอเมริกา, อิสราเอล, สหภาพยุโรป อีกทั้งยังรวมถึงอาวุธมาตรฐานนาโต้จากประเทศจีนบางส่วน
ระบบจรวดและเครื่องยิงลูกระเบิด[แก้]
ยานพาหนะสาธารณูปโภคและรถหัวลาก[แก้]
รูป
|
ชื่อ
|
ประเภท
|
จำนวน
|
ประเทศ
|
ข้อมูล
|
|
Humvee |
Utility vehicle |
? |
สหรัฐ |
RTMC use M998,M1097A2,M997,M1025,M1045A2,M966.
|
|
M151 |
Utility vehicle |
? |
สหรัฐ |
RTMC use M151A2, M151A2 mounting TOW,M718A1,M825.
|
|
M813 |
Prime Mover |
? |
สหรัฐ |
RTMC use M54A2,M543A2.
|
|
M35 2-1/2 ton cargo truck |
Prime Mover |
? |
สหรัฐ |
RTMC use M35A2,M50A2,M49A2,M109A2.
|
|
Isuzu |
Prime Mover |
? |
ญี่ปุ่น/ ไทย |
RTMC use SBR,TXD 4x2,TSD 4x4,TWD 6x6,HTW,FTR 4x4.
|
ยานเกราะ[แก้]
ปืนใหญ่สนาม[แก้]
ยุทโธปกรณ์ในอดีต[แก้]
ยุทโธปกรณ์ในอดีตของหน่วยนาวิกโยธินนั้นส่วนมากมาจากโครงการความช่วยเหลือทางทหารจากสหรัฐอเมริกาหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง และบางส่วนถูกจำหน่ายให้กองทัพบกไทยหลังจากเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตัน[ต้องการอ้างอิง]
ปืนเล็ก[แก้]
ยานเกราะ[แก้]
ปืนใหญ่[แก้]
รถส่งกำลังบำรุงและรถหัวลาก[แก้]
รูป
|
ชื่อ
|
ประเภท
|
จำนวน
|
ประเทศ
|
ข้อมูล
|
|
M274 |
1⁄2 ton (454kg) 4x4 platform truck |
? |
สหรัฐ |
เป็นรถนอกอัตราโครงการช่วยเหลือทางทหารจากสหรัฐอเมริกา
|
อ้างอิง[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
|
---|
| | | ผู้บัญชาการ | | |
---|
| เหล่าทัพ | |
---|
| หน่วยทหาร | |
---|
| วิทยาลัย/โรงเรียน | |
---|
| กำลังกึ่งทหาร | |
---|
| กำลังพลสำรอง | |
---|
| อื่น ๆ | |
---|
|