กรมการขนส่งทหารบก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรมการขนส่งทหารบก
กรมการขนส่งทหารบก
ประเทศ ไทย
บทบาทการขนส่งทางยุทธวิธี[1]
การขนส่งทั่วไป[1]
การส่งกำลัง[2]
การซ่อมบำรุง[2]
บริการอุปกรณ์ขนส่ง[2]
ตรวจสภาพรถทหาร[3]
ตรวจสอบยานพาหนะกองทัพบก[3]
กองบัญชาการถนนประดิพัทธ์ แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
คำขวัญรวดเร็ว ปลอดภัย โปร่งใส ทันเวลา
(Rapid Safety Transparency Timeously)
สีหน่วย  เลือดหมู
สัญลักษณ์นำโชคพระมาตุลี
วันสถาปนา7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2448; 119 ปีก่อน (2448-02-07)
ผู้บังคับบัญชา
เจ้ากรมการขนส่งทหารบกพลตรี[4] สนอง แน่งอนงค์[5]

กรมการขนส่งทหารบก (อังกฤษ: Army Transportation Department; อักษรย่อ: ขส.ทบ.[6][7][8][9][10]) เป็นหน่วยงานราชการของกองทัพบกไทย[11][12] ที่ดำเนินการเกี่ยวกับการขนส่งทางยุทธวิธี และการขนส่งทั่วไป[1] ซึ่งมีเจ้ากรมการขนส่งทหารบกคนปัจจุบันคือ พลตรี[13]สนอง แน่งอนงค์[14]

กรมการขนส่งทหารบกมีสถานีวิทยุในสังกัด คือ สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมการขนส่งทหารบก เอฟเอ็ม 102 เมกะเฮิรตซ์[15] และมีโรงเรียนในสังกัด คือ โรงเรียนทหารขนส่ง กรมการขนส่งทหารบก[16][17][18][19]

ประวัติ[แก้]

"กรมการขนส่งทหารบก" ถือกำเนิดครั้งแรกในชื่อ "กรมพาหนะ" เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2448 และมีการเปลี่ยนแปลงองค์กรเรื่อยมา ซึ่งบางครั้งก็ไม่ปรากฏชื่อ "กรมพาหนะ" หากแต่เป็นเพียงหน่วยเล็ก ๆ ที่แฝงอยู่กับกรมกองอื่น ครั้นปี พ.ศ. 2460 ประเทศไทยได้ส่งกองทหารบกรถยนต์ไปร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ที่ประเทศฝรั่งเศส จนกระทั่งสงครามยุติ[1]

ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ประเทศไทยไม่สามารถปรับปรุงกิจการทหารขนส่งเนื่องด้วยอยู่ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ กระทั่งยุบหน่วยทหารพาหนะไปในปี พ.ศ. 2468 นับเป็นการสิ้นสุดของหน่วยทหารพาหนะในยุคแรก[1]

จนถึงวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2480 ได้มีการจัดตั้งหน่วยทหารพาหนะใหม่เป็น "กรมพาหนะทหารบก" ที่ขึ้นตรงต่อกรมพลาธิการทหารบก และปี พ.ศ. 2491 ได้มีการจัดส่งนายทหารไปศึกษาวิชาขนส่งในต่างประเทศเป็นครั้งแรก ก่อนที่จะกลับมาพัฒนากิจการของหน่วยทหารพาหนะ[1]

กระทั่งปี พ.ศ. 2495 ได้มีการจัดวางระเบียบราชการกองทัพบกในกระทรวงกลาโหม โดยมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2495 ซึ่งทางกองทัพบกได้เปลี่ยนชื่อ "กรมพาหนะทหารบก" มาเป็น "กรมการขนส่งทหารบก"[1]

พ.ศ. 2560 เมื่อครั้งที่กองทัพบกไทยเลิกใช้เรือเหาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กรมการขนส่งทหารบกได้นำรถลากเรือเหาะไปดำเนินการประมูลขายทอดตลาด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป[20] และปีเดียวกันนี้ กรมการขนส่งทหารบกได้เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่เข้าร่วมริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยกำลังพลที่เข้าร่วมได้แต่งกายในชุดโบราณ[21]

ส่วนปี พ.ศ. 2562 กำลังพลจากกรมการขนส่งทหารบกได้มีส่วนร่วมในกระบวนพยุหยาตราสถลมารค ของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562[22][23][24][25]

ส่วนร่วมทางการเมือง[แก้]

เดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 ทหารจากกรมการขนส่งทหารบก ได้เข้าร่วมใช้สิทธิลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562[26] โดยใช้สิทธิเลือกตั้งในฐานะประชาชนได้อย่างเป็นอย่างอิสระ[27]

กิจกรรมเพื่อสังคม[แก้]

เดือนมกราคม พ.ศ. 2560 กำลังพลจากกรมการขนส่งทหารบก 63 นาย ได้เข้าพื้นที่เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี[28]

ส่วนเดือนเมษายน พ.ศ. 2561 ได้มีการจัดงานประกวดพระเครื่องที่โรงเรียนทหารขนส่ง กรมการขนส่งทหารบก โดยบริจาครายได้ส่วนหนึ่งจากการประกวดเพื่อสาธารณประโยชน์ รวมถึงช่วยเหลือทหารผ่านศึก, ผู้พิการทางสายตา, ทุนการศึกษาแก่นักเรียน ตลอดจนสร้างสถานปฏิบัติธรรม[29][30] และเดือนกันยายน ของปีเดียวกัน กรมการขนส่งทหารบกเป็นหนึ่งใน 8 องค์กร ที่เข้าร่วมเครือข่ายลงนามความร่วมมือพัฒนาองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ ของกรมอนามัย[31]

เดือนมกราคม พ.ศ. 2562 กรมการขนส่งทหารบกได้ทำการฉีดน้ำบริเวณถนนเสรีไทย และเขตติดต่อเขตบางเขน–รามอินทรา 58 เพื่อลดปัญหาฝุ่นละอองในกรุงเทพมหานคร[32]

ส่วนเดือนสิงหาคม ของปีเดียวกัน กรมการขนส่งทหารบกได้รับมอบหมายจากกองทัพบกไทย ในการนำคาซา ซี.212 อวิโอคาร์ ออกปฏิบัติการโปรยสารเคมี เพื่อทำฝนหลวงเหนือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ที่จังหวัดลพบุรีอย่างต่อเนื่อง[33] และเดือนพฤศจิกายน ทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ให้การช่วยเหลือประชาชนในชุมชนที่มีสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำแม่น้ำเจ้าพระยา โดยจัดหาที่อยู่อาศัยใหม่ ซึ่งประชาชนบางส่วนได้ย้ายไปยังแฟลตของกรมการขนส่งทหารบก[34]

หน่วยในสังกัด[แก้]

  • โรงเรียนทหารขนส่ง กรมการขนส่งทหารบก[35][36][37] (รร.ขส.ขส.ทบ.)[38]
  • กองการบิน กรมการขนส่งทหารบก[39][40]
  • พิพิธภัณฑ์กรมการขนส่งทหารบก[41]
  • สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมการขนส่งทหารบก เอฟเอ็ม 102 เมกะเฮิรตซ์[42][43][44]
  • สโมสรกรมการขนส่งทหารบก สะพานแดง บางซื่อ[45]

สิ่งสืบทอด[แก้]

พ.ศ. 2536 กรมการขนส่งทหารบกได้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์กรมการขนส่งทหารบก ณ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยไม่เสียค่าเข้าชม แต่ต้องทำหนังสือแจ้งล่วงหน้า[41]

รายพระนามและชื่อเจ้ากรมการขนส่งทหารบก[แก้]

  1. พันเอก พระอินทร์สรศัลย์ (สอาด แพ่งสภา) (พ.ศ. 2480 - 2483)
  2. พันเอก หลวงอินทร์เรืองเดช (เจริญ เหล็กกล้า) (พ.ศ. 2483 - 2485)
  3. พันเอก หม่อมเจ้าคัสตาวัส จักรพันธุ์ (พ.ศ. 2485 - 2489)
  4. พันเอก ขุนสมบูรณ์ยุทธศิลป์ (สมบูรณ์ ศิริเวทิน) (พ.ศ. 2489)
  5. พันเอก หลวงศรีสิงหสงคราม (โลม ศิริปาลกะ) (พ.ศ. 2489 - 2490)
  6. พลตรี ขุนศิลป์ศรชัย (ศิลป์ รัตนพิบูลชัย) (พ.ศ. 2490 - 2491)
  7. พลตรี ปรุง วังสิยานนท์ (พ.ศ. 2491 - 2493)
  8. พลตรี ศิริ สิริโยธิน (พ.ศ. 2493 - 2497)
  9. พลตรี พงษ์ ปุณณกันต์ (พ.ศ. 2497 - 2503)
  10. พลตรี ประวิตร งามอุโฆษ (พ.ศ. 2503 - 2508)
  11. พลตรี พล ศรินทุ (พ.ศ. 2508 - 2510)
  12. พลตรี ประนิต เจริญศิริ (พ.ศ. 2510 - 2518)
  13. พลตรี เฉลิม คำรพวงศ์ (พ.ศ. 2518 - 2519)
  14. พลตรี สังข์ ผดุงกุล (พ.ศ. 2519 - 2520)
  15. พลตรี ภิงการ สุจริตกุล (พ.ศ. 2520 - 2525)
  16. พลตรี มานะ วรามิตร (พ.ศ. 2525 - 2527)
  17. พลตรี กิติ ทรงวรวิทย์ (พ.ศ. 2527 - 2528)
  18. พลตรี วัฒนา จันทนาคม (พ.ศ. 2528 - 2529)
  19. พลตรี ยุทธนา คำดี (พ.ศ. 2529 - 2532)
  20. พลตรี ปรีมล ปัทมะสุคนธ์ (พ.ศ. 2532 - 2535)
  21. พลตรี วิลาศ พงศ์สุวรรณ (พ.ศ. 2535 - 2538)
  22. พลตรี ประเสริฐ นิมมานนท์ (พ.ศ. 2538 - 2542)
  23. พลตรี ธานี แก้วโอภาส (พ.ศ. 2542 - 2543)
  24. พลตรี มรุต สุวัจนานนท์ (พ.ศ. 2543 - 2545)
  25. พลตรี หม่อมหลวงกิติมาศ ศุขสวัสดิ์ (พ.ศ. 2545 - 2548)
  26. พลตรี ต่อศักดิ์ คงเมือง (พ.ศ. 2548 - 2550)
  27. พลตรี ณรงค์ พูลสวัสดิ์ (พ.ศ. 2550 - 2552)
  28. พลตรี วุทธิ์ วิมุกตะลพ (พ.ศ. 2552 - 2554)
  29. พลตรี อภิชัย เชียงอารีย์ (พ.ศ. 2554 - 2555)
  30. พลตรี พิชเยนทร์ ธัญญสิริ (พ.ศ. 2555 - 2556)
  31. พลตรี พรชัย ดวงเนตร (พ.ศ. 2556 - 2557)
  32. พลตรี สุวภัทร ยี่โถขาว (พ.ศ. 2557 - 2559)
  33. พลตรี สมศักดิ์ ทรัพย์อนันต์ (พ.ศ. 2559 - 2560)
  34. พลตรี ธวัชชัย พัดทอง (พ.ศ. 2560 - 2562)
  35. พลตรี อภิชาติ ปัตตะนุ (พ.ศ. 2562 - 2564)
  36. พลตรี พูลลาภ ยะตินันท์ (พ.ศ. 2564 - พ.ศ. 2565)
  37. พลตรี สนอง แน่งอนงค์ (พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน)

ยศทหารเป็นยศขณะดำรงตำแหน่งและในวงเล็บเป็นระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง

บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]

ยุทโธปกรณ์[แก้]

ยานพาหนะภาคพื้นดิน[แก้]

รุ่น ภาพ ประเภท ที่มา หมายเหตุ
อีซูซุ ไม่ทราบรุ่น รถบัส ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 40 ที่นั่ง
นิสสัน เออร์แวน รถตู้ ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น นิสสัน มอเตอร์ ประเทศไทย ส่งมอบให้แก่กรมการขนส่งทหารบก 45 คัน เมื่อปี พ.ศ. 2562[47][48][49]

อากาศยาน[แก้]

รุ่น ภาพ ประเภท ที่มา หมายเหตุ
เออาเดเอสเซ กาซา เซ-295 อากาศยานขนส่งทางการทหาร[50] ธงของประเทศสเปน สเปน[51]
คาซา ซี.212 อวิโอคาร์ อากาศยานขนส่งทางการทหาร ธงของประเทศสเปน สเปน สนับสนุนปฏิบัติการโปรยสารเคมี เพื่อทำฝนหลวง[33]
อากุสตาเวสต์ลันด์ อาวูดอปปียา149 เฮลิคอปเตอร์ทางการทหาร[52] ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี[53] กรมการขนส่งทหารบกเป็นหน่วยจัดหา[54]
อากุสตาเวสต์ลันด์ อาวูดอปปียา139 เฮลิคอปเตอร์ทางการทหาร[55]  อิตาลี[53]

เรือ[แก้]

รุ่น ภาพ ประเภท ที่มา หมายเหตุ
ไม่ทราบ เรือระบายพล ไม่ทราบประเทศ ไม่ทราบ สำหรับหน่วยจู่โจม (เรนเจอร์)[56]

ยุทโธปกรณ์ในอดีต[แก้]

ยานพาหนะภาคพื้นดิน[แก้]

รุ่น ภาพ ประเภท ที่มา หมายเหตุ
ฟอร์ตเทมส์ รถขนาดเล็ก  สหราชอาณาจักร รถสำหรับนายทหารชั้นผู้ใหญ่ นำมาใช้ในปี พ.ศ. 2500[57]
จยพ. ฮาร์เล่ย์ รถพ่วงข้าง ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี นำมาใช้สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง[57]
เทมโป้ 2 พวงมาลัย ขับเคลื่อนได้ 2 ทาง ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี รถตรวจการณ์ของนายทหารชั้นผู้ใหญ่[57]
ดีเซโต้ เอส-1-เอช รถบรรทุก  สหรัฐ ผลิตโดยบริษัทไครสเลอร์ ซึ่งนำมาใช้ในสงครามโลกครั้งที่สอง[57]
ดอดจ์ ที. อี. 31 รถบรรทุก  สหรัฐ นำมาจากสหรัฐ[57]
รถดับเพลิงอินเตอร์ รถดับเพลิง ไม่ทราบประเทศ ไม่ทราบ สร้างปี พ.ศ. 2483 นำมาใช้ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง[57]

อากาศยาน[แก้]

รุ่น ภาพ ประเภท ที่มา หมายเหตุ
ดักลาส ซี-47 สกายเทรน อากาศยานขนส่งทางการทหาร  สหรัฐ 3 ลำ[1]
เฮลิคอปเตอร์แบบเอส 55 เฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์  สหรัฐ 5 ลำ[1]
ซีเอช-47 ชีนุก เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง  สหรัฐ กรมการขนส่งทหารบกดำเนินการตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างของราชการ[58]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 ประวัติกรมการขนส่งทหารบก[ลิงก์เสีย]
  2. 2.0 2.1 2.2 "การจัดหน่วยกองทัพบก :: organization". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-30. สืบค้นเมื่อ 2020-04-23.
  3. 3.0 3.1 ทบ.ลุยลดฝุ่นต่อเนื่อง สั่ง ขส.ทบ.ตรวจสภาพรถทหาร ไม่ให้ปล่อยควันเกินมาตรฐาน
  4. โปรดเกล้าฯ "พระราชทานยศทหารชั้นนายพล" จำนวน 530 ราย ประกาศลงราชกิจจาฯ
  5. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ". ราชกิจจานุเบกษา. 2022-09-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-12. สืบค้นเมื่อ 2022-09-10.
  6. ชงปลด "พ.อ." ออกจากราชการ-ปลอมเอกสารประมูลรถทหาร 1,136 คัน
  7. ขส.ทบ.มอบหลักฐานเท็จประมูลรถทหาร 1,316 คันเป็นคดีพิเศษ
  8. กรมขนส่งฯ ส่งข้อมูลรถขายทอดตลาด 1,136 คันให้ดีเอสไอ
  9. "กรมการขนส่งทางบก" รับ มีกลุ่มมิจฉาชีพใช้เอกสารเท็จขอจดทะเบียนรถทหารปลดประจำการ[ลิงก์เสีย]
  10. พบแล้ว รถหรูจดประกอบ 7 คัน ถูกส่งฟอกผ่านการประมูล
  11. อย่าโยน!! ผบ.ทบ.ลั่นวิกฤติฝุ่นพิษทุกคนต้องช่วยกัน
  12. "ผบ.ทบ.ย้ำอย่าปล่อยรัฐบาลแก้ปัญหาฝุ่นลำพัง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-24. สืบค้นเมื่อ 2021-11-05.
  13. โปรดเกล้าฯ "พระราชทานยศทหารชั้นนายพล" จำนวน 530 ราย ประกาศลงราชกิจจาฯ
  14. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ". ราชกิจจานุเบกษา. 2022-09-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-12. สืบค้นเมื่อ 2022-09-10.
  15. NEWS1 ส่งรายการคุณภาพ ออนแอร์วิทยุ FM 102 MHz.
  16. ผบ.มทบ. 11 ต้อนรับทหารใหม่สร้างความอุ่นใจผู้ปกครอง
  17. "ชิน ชินวุฒ" ส่ง "ซีดี" นักร้องรุ่นน้องเข้าค่ายทหารเกณฑ์ผลัด 2
  18. กากีกะสีเขียว
  19. แจกฟรี!! โปสเตอร์ หลวงปู่ทิม ๕,๐๐๐ แผ่น
  20. ปิดฉากเรือเหาะ หมดอายุใช้งาน ทบ.ฟันงบราว 500 ล้าน
  21. ทภ.1 อบรมแต่งกายชุดโบราณ 16 แบบสำหรับริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ
  22. ซ้อมเสมือนจริงริ้วขบวนพยุหยาตราสถลมารคเสด็จเลียบพระนคร
  23. ปลัด กห.พร้อมผู้นำเหล่าทัพตรวจฝึกซ้อมริ้วขบวนพยุหยาตราสถลมารค
  24. ซ้อมรวมครั้งแรก ริ้วขบวนที่ 3 พยุหยาตราสถลมารค
  25. บิ๊กตู่-นำทีม ไปร่วมซ้อม พยุหยาตรา "สถลมารค"
  26. สายเริ่มร้อน หน่วยวัดแก้วฟ้าเกียกกาย ทหารเกณฑ์ทยอยใช้สิทธิแน่น
  27. เกียกกายคึกคักทหารต่อแถวใช้สิทธิเลือกตั้ง[ลิงก์เสีย]
  28. ผบ.ทบ. ปธ.พิธีปล่อยขบวนคาราวานช่วยเหลือปชช.น้ำท่วมใต้ 30 คัน
  29. ฤๅษีเณรแถลงข่าวประกวดพระเครื่องไทย ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพ
  30. อัญเชิญถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพฯงานประกวดพระเครื่องไทย
  31. "ห่วง! คนไทยภูมิคุ้มกันข้อมูลสุขภาพยังด้อย/กรมอนามัยผนึก 8 องค์กรปลุก! รู้เท่าทัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-25. สืบค้นเมื่อ 2020-04-23.
  32. ทบ.ระดมฉีดน้ำ กลางวัน-กลางคืน ลดฝุ่นพิษ
  33. 33.0 33.1 'ทบ.' เดินหน้าช่วยเหลือปชช.ประสบภัยต่อเนื่อง
  34. ศึกษาความเหมาะสมรูปแบบโครงการพัฒนาพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยารอบด้าน
  35. กรมการขนส่งทหารบก เยี่ยมชมบีทีเอส - Matichon
  36. BEM ร่วมต้อนรับคณะ ขส.ทบ.จากโรงเรียนทหารขนส่งทหารบก • ข่าวหุ้น
  37. ทหารเกณฑ์ ผลัด 2 เข้ากรมรับใช้ชาติ
  38. ร่วมเป็นเจ้าภาพ
  39. ส่องแอร์ฯ "ทบ." สวยแบบทหาร
  40. ผบ.ทบ.ไม่หวั่นสหรัฐคงระดับเทียร์ 3 ลั่นกำจัดผู้มีอิทธิพลใน 1 ปี
  41. 41.0 41.1 พิพิธภัณฑ์กรมการขนส่งทหารบก - ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  42. “หมาแก่-ดนัย” อ้างเนชั่นขับรถไกล ย้าย “เจาะลึกทั่วไทยฯ” ซบช่อง 9 ยันไม่ได้มีปัญหากับ “ฉาย”
  43. เจาะลึกผิดที่? รายการ “หมาแก่-ดนัย” หลุดผังเนชั่น หลังออนแอร์ได้เดือนเดียว
  44. เบื้องหลัง “ครอบจักรวาล” ตำนาน “ทอล์กโชว์” วิทยุ
  45. บุคคลในข่าว : วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ เป็นประธาน เปิดโครงการประชุม ณ โรงแรมมิราเคิลฯ
  46. เปิดประวัติ “บิ๊กแดง อภิรัชต์ คงสมพงษ์” จากนักบิน สู่เก้าอี้ ผบ.ทบ.
  47. กรมการขนส่งทหารบกมั่นใจรถตู้นิสสัน - TNN
  48. กรมการขนส่งทหารบกมั่นใจรถตู้นิสสัน - LINE Today
  49. นิสสัน ส่งมอบ นิสสัน เออร์แวน 45 คัน ให้กรมการขนส่งทหารบก
  50. ญาติเชิญดวงวิญญาณ รับศพร.ท.ร่มไม่กาง กลับบ้านที่สงขลา
  51. ทบ.จัดซื้อเครื่องบิน'คาซ่า ซี 295 ดับเบิลยู'
  52. AgustaWestland AW 149 ฮ. รุ่นใหม่ของ ทบ. บินได้จ้ะ
  53. 53.0 53.1 'ศรีสุวรรณ' จ่อร้อง สตง. สงสัยกองทัพจัดซื้อ 'ฮ.AW139' แพงกว่าของเสี่ยวิชัย
  54. กองทัพบกโต้อิศราเสนอข่าวเฮลิคอปเตอร์ AW 149 บินไม่ขึ้น
  55. "กองทัพแจงยิบ ซื้อ ฮ.ไม่แพงเกินจริง ชี้คนฟ้องเข้าใจผิด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-25. สืบค้นเมื่อ 2021-11-05.
  56. "รายงานพิเศษ : หลักสูตรการรบแบบจู่โจมภาคทะเล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-04. สืบค้นเมื่อ 2020-04-23.
  57. 57.0 57.1 57.2 57.3 57.4 57.5 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Museum
  58. ทบ.โต้ข่าวทำสัญญาขายซากชีนุกให้เอกชน ยันยังอยู่ขั้นประกวดราคา

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]