เจนละ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อาณาจักรอิศานปุระ)
อาณาจักรเจนละ

ចេនឡា
ค.ศ. 550–ค.ศ. 802
ที่ตั้งของ
สถานะรัฐอารักขาของอาณาจักรฟูนาน(ค.ศ. 550 - ?) อาณาจักร(? - ค.ศ. 802)
เมืองหลวงเศรษฐปุระ
ภวปุระ
อีศานปุระ
สัมภุปุระ
ภาษาทั่วไปเขมรเก่า, สันสกฤต
ศาสนา
พราหมณ์ฮินดู, พุทธ
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ยุคประวัติศาสตร์ยุคกลาง
• รัฐอารักขาของอาณาจักรฟูนาน
ค.ศ. 550
• ส่งทูตไปจีน
ค.ศ. 616/617
• แบ่งแยกเป็นเจนละบกกับเจนละน้ำ
หลัง ค.ศ. 706
ค.ศ. 802
ก่อนหน้า
ถัดไป
อาณาจักรฟูนัน
จักรวรรดิเขมร
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ กัมพูชา
 ไทย
 ลาว
 เวียดนาม
ประวัติศาสตร์กัมพูชา
นครวัด
ประวัติศาสตร์ยุคแรก
อาณาจักรฟูนาน (611–1093)
อาณาจักรเจนละ (1093–1345)
อาณาจักรพระนคร (1345–1974)
ยุคมืด
สมัยจตุมุข (1974–2068)
สมัยละแวก (2068–2136)
สมัยศรีสันธร (2136–2162)
สมัยอุดง (2162–2406)
ยุครัฐในอารักขา
ไทยและเวียดนาม
อาณานิคมฝรั่งเศส (2406–2496)
ส่วนหนึ่งของอินโดจีนฝรั่งเศส
ยุคญี่ปุ่นยึดครอง (2484–2489)
หลังได้รับเอกราช
สงครามกลางเมืองกัมพูชา
(2510–2518)
รัฐประหาร พ.ศ. 2513
สาธารณรัฐเขมร
สงครามเวียดนาม พ.ศ. 2513
ยุคเขมรแดง
(2518–2519)
สงครามกัมพูชา–เวียดนาม (2518–2532)
สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา
(2522–2536)
การจัดการเลือกตั้งโดยสหประชาชาติ
ราชอาณาจักรกัมพูชา
(2536–ปัจจุบัน)
หลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2536

อาณาจักรเจนละ, หรือภาษาจีนว่า เจินล่า (จีนตัวย่อ: 真腊; จีนตัวเต็ม: 真臘; พินอิน: Zhēnlà), ภาษาเขมรว่า เจนฬา (เขมร: ចេនឡា), และภาษาเวียดนามว่า เจินหลัป (เวียดนาม: Chân Lạp) เป็นชื่อที่เอกสารจีนใช้เรียกรัฐซึ่งมาทีหลังฟูนัน และมาก่อนจักรวรรดิเขมร ดำรงอยู่ในพื้นที่อินโดจีนช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 6 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 และในเอกสารที่โจว ต้ากวาน (周達觀) ขุนนางจีน เขียนขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13 ก็ยังปรากฏชื่อนี้อยู่[1]

เอกสารของราชวงศ์สุย (隋朝) ระบุว่า ฟูนันซึ่งส่งทูตมาในช่วง ค.ศ. 616–617 นั้นมีเมืองขึ้นเมืองหนึ่งนามว่า "เจนละ" ภายหลัง ผู้นำเจนละยกทัพไปตีฟูนันได้สำเร็จ ไม่เป็นเมืองขึ้นอีกต่อไป[2] และเอกสารอื่น ๆ นำข้อความนี้ไปอ้างถึง ซึ่งก็เป็นที่โต้แย้งเรื่องความถูกต้องแม่นยำมาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1970[3] นอกจากนี้ ที่เอกสารจีนว่า เจนละเป็นรัฐอันหนึ่งอันเดียวกันนั้น ก็ถกเถียงกันมาช้านานว่า เป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อนของผู้บันทึกเอกสารจีนหรือไม่ และนักวิชาการส่วนใหญ่ในปัจจุบันเห็นว่า เจนละเป็นรัฐต่าง ๆ ที่มารวมกลุ่มกันอย่างหลวม ๆ และชั่วคราว มากกว่าจะเป็นรัฐอันหนึ่งอันเดียว[4]

เจนละเหมือนฟูนันตรงที่มาได้ที่ตั้งอันเป็นจุดยุทธศาสตร์ตรงเส้นทางการค้าทางน้ำสายมณฑลอินโด (Indosphere) กับสายมณฑลวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก (East Asian cultural sphere) ตัดกันพอดี ทำให้เจนละมีอิทธิพลทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสังคมอยู่เป็นเวลานาน ทั้งเป็นเหตุให้เจนละรับระบบการเขียนจารึกของราชวงศ์ปัลลวะและราชวงศ์จาลุกยะแห่งอินเดียใต้มาใช้[5][6]

ชนชั้นปกครองในเจนละนั้น ที่มาที่ไปเป็นอย่างไรยังไม่แน่ชัด ไมเคิล วิกเกอรี (Michael Vickery) นักประวัติศาสตร์ ขนานนามพวกเขาว่า "ประมุขแห่งดงรัก" (Dângrêk Chieftains) เพราะอาศัยอยู่แถบเหนือและใต้ของพนมดงรัก และสร้างศิลาจารึกไว้หลายหลักซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดในภูมิภาคนี้ มีเนื้อหาว่าด้วยวงศ์วานของพวกเขาซึ่งแสดงให้เห็นถึงการแผ่อำนาจทางการเมือง[7] จารึกภาษาสันสกฤตหลักหนึ่งจาก Vãl Kantél ในสทึงแตรง (ស្ទឹងត្រែង สฺทึงแตฺรง) มีข้อความสื่อว่า ผู้นำคนหนึ่งนาม "วีรวรรมัน" (Vīravarman) ใช้แนวคิดเทวราชาและหริหระของศาสนาฮินดูในการปกครอง[8]

เอกสารจีนชื่อ ซินถังชู (新唐書) กล่าวว่า ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 รัฐเจนละแตกแยกออกเป็นเจนละบก (陸真臘) กับเจนละน้ำ (水真臘)[9] แล้วภายในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 8 เจนละน้ำก็ตกเป็นเมืองขึ้นของชวา ผู้ปกครองคนสุดท้ายของเจนละน้ำนั้นเชื่อว่าถูกประหาร ทำให้สิ้นราชวงศ์ แล้วเจนละน้ำก็ผนวกเข้ากับชวาในราว ค.ศ. 790 ส่วนชัยวรรมันที่ 2 (ជ័យវរ្ម័នទី២ ชัยวรฺมันที ๒) ผู้นำท้องถิ่น รวมรวบดินแดนทั้งหลายที่เหลือไปก่อตั้งเป็นจักรวรรดิเขมรใน ค.ศ. 802[10]

รากศัพท์[แก้]

คำว่า "เจนละ" ปรากฏในเอกสารจีนว่า เป็นชื่อรัฐแห่งหนึ่งซึ่งส่งบรรณาการมาให้จักรพรรดิจีน[11] แต่คำนี้ไม่ปรากฏในภาษาเขมรเก่า (Old Khmer)[12]

มีผู้เห็นว่า "เจนละ" ในภาษาจีน แปลว่า "ขี้ผึ้งบริสุทธิ์" (pure beeswax) ซึ่งน่าจะมาจากการที่ภูมิภาคนี้มีสินค้าอย่างหนึ่งเป็นขี้ผึ้งบริสุทธิ์ ตามที่เอกสารจีนพรรณนาไว้[13][14] แต่ในสมัยราชวงศ์ถัง (唐朝) คำว่า "เจนละ" ออกเสียงว่า "Tsienliäp" จึงมีผู้เสนอแนวคิดอีกประการว่า "เจนละ" อาจเป็นคำเดียวกับ "เสียมเรียบ" หรือ "สยามราบ" (សៀមរាប เสียมราบ) ที่แปลว่า สยามแพ้ราบคาบ แต่ก็มีผู้ไม่เห็นด้วย[15][1]

ส่วนพีเทอร์ แฮร์ริส (Peter Harris) เห็นว่า "เจนละ" น่าจะแปลว่า "จามราบคาบ" มากกว่า "สยามราบคาบ" เพราะคำว่า "เจนละ" ในภาษาจีนเขียนได้อีกอย่างว่า "จั้นล่า" (占臘) และคำว่า "จั้น" นี้จีนใช้เรียกจาม แฮร์ริสยังอ้างถึงเอกสาร หมิงฉื่อ (明史) ที่ระบุว่า ในรัชศกชิ่ง-ยฺเหวียน (慶元) ของจักรพรรดิหนิงจง (寧宗) แห่งราชวงศ์ซ่ง (宋朝) ซึ่งตรงกับ ค.ศ. 1195–1200 นั้น กัมพูชาขับไล่ชาวจามออกไปจากดินแดน จึงได้ครองดินแดน เป็นเหตุให้ดินแดนนี้เปลี่ยนชื่อเรียกเป็น "จั้นล่า" แต่ในช่วงราชวงศ์ยฺเหวียน (元朝) คำนี้ก็กลายเป็น "เจินล่า" (เจนละ) ไป[1]

พระมหากษัตริย์เจนละซึ่งใช้ประเพณีปกครองแบบเทวราชาของฮินดูนั้น มักใช้พระนามที่มีคำว่า "วรรมัน/วรรมัม" (varman/varmam) อันแปลว่า มีเกราะ หรือมีเครื่องคุ้มกัน เช่น "ชัยวรรมัน" (่jayavarman) แปลว่า มีชัยชนะเป็นเกราะ ธรรมเนียมนี้เป็นไปตามที่ประมวลกฎหมายมนุสัมฤติ (मनुस्मृति มนุสฺมฺฤติ) บัญญัติไว้สำหรับชนชั้นกษัตริย์[16]

ประวัติ[แก้]

ความเป็นมาของเจนละค่อนข้างคลุมเครือ เจนละเดิมน่าจะเป็นหนึ่งในศูนย์อำนาจทางภูมิภาคของรัฐฟูนัน โดยมีอำนาจปกครองตนเองในระดับหนึ่ง แล้วแยกตัวออกจากฟูนันในราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 6 ส่วนประเด็นทางภูมิศาสตร์เกี่ยวกับเจนละ เช่น อาณาเขต, การขยายอาณาเขต, ศูนย์กลางทางศาสนา, และศูนย์กลางทางการเมือง รวมถึงประเด็นความเป็นรัฐเดี่ยวหรือเป็นรัฐต่าง ๆ ที่มารวมกลุ่มกันนั้น นักวิชาการยังไม่ลงรอยกัน[17][18]

เอกสารจีนระบุว่า เจนละเป็นรัฐหนึ่งรัฐ แต่ไมเคิล วิกเกอรี นักประวัติศาสตร์ สันนิษฐานว่า จีนน่าจะใช้คำว่า "เจนละ" เรียกรัฐหลาย ๆ รัฐรวมกันเหมือนเป็นรัฐอันหนึ่งอันเดียว เพื่อให้ง่ายต่อการจัดหมวดหมู่ผู้คนที่มีลักษณะบางประการร่วมกัน โดยมิได้สนใจว่า รัฐเหล่านี้แตกต่างกันประการใด[19]

สำหรับการแยกตัวของเจนละจากฟูนันนั้น ตามเอกสารจีนแล้ว ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 6 ผู้นำของเจนละ คือ ภววรรมันที่ 1 (ភវវរ្ម័នទី១ ภววรฺมันที ๑) และมเหนทรวรรมัน (មហេន្ទ្រវរ្ម័ន มเหนฺทฺรวรฺมัน) รวมกำลังกันไปตีฟูนัน และพิชิตฟูนันได้สำเร็จ[20][21]

เอกสาร ซินถังชู ของราชวงศ์ถังว่า เมื่อสิ้นรัชศกเฉินหลง (神龍) ของจักรพรรดิจงจง (中宗) แห่งราชวงศ์ถัง ซึ่งตรงกับ ค.ศ. 705–707 นั้น ปรากฏว่า เจนละแตกแยกออกเป็นสองส่วน คือ เจนละบกกับเจนละน้ำ เป็นช่วงเวลาที่มีแต่ความวุ่นวายทางการเมืองเหมือนที่เคยเป็นมาก่อนบรรพกษัตริย์ฟูนันและเจนละจะหลอมรวมแผ่นดินเป็นอันหนึ่งอันเดียว ต่อมาในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 8 ราชวงศ์ไศเลนทร์ (Shailendra dynasty) จากเกาะชวามาปล้นและยึดครองเจนละน้ำได้สำเร็จ แต่ไมเคิล วิกเกอรี เห็นว่า การที่จีนแบ่งเจนละออกเป็นเจนละบกกับเจนละน้ำนี้ชวนให้เข้าใจผิด เพราะเดิมทีก็ไม่มีรัฐอันหนึ่งอันเดียวอยู่แล้ว อย่างน้อยก็จนกว่าจะก่อตั้งจักรวรรดิเขมรใน ค.ศ. 802[22]

จำนวนจารึกที่เคยสร้างขึ้นอย่างมากในคริสต์ศตวรรษที่ 7 กลับลดลงอย่างยิ่งในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8 บ่งบอกว่า เวลานั้น เจนละเสื่อมโทรมลงเต็มทีแล้ว ซึ่งน่าจะเป็นเพราะความขัดแย้งภายใน และปัญหาภายนอกที่มาจากการโจมตีของราชวงศ์ไศเลนทร์ อย่างไรก็ดี ปรากฏว่า ผู้นำท้องถิ่นคนหนึ่ง คือ ชัยวรรมันที่ 2 สามารถก่อตั้งรัฐที่เรียกว่า "จักรวรรดิเขมร" ใน ค.ศ. 802 ทำให้ช่วงเวลาแห่งความวุ่นวายยุติลง

ศูนย์กลางการเมือง[แก้]

ในทางวิชาการนั้น ฌอร์ฌ เซแด็ส‎ (George Cœdès) และบุคคลอื่น ๆ ซึ่งร่วมสมัยกับเขา อ้างอิงเอกสารของราชวงศ์สุยที่กล่าวว่า พระมหากษัตริย์เจนละประทับอยู่ใกล้ภูเขานามว่า "Ling-jia-bo-po" และเห็นว่า "Ling-jia-bo-po" มาจากคำว่า "Lingaparvata" (ลิงคบรรพต; "ภูเขาลึงค์") และวัดภู (ວັດພູ) ในแขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว ก็มีโบราณสถานเขมรที่สอดคล้องกับลักษณะที่เอกสารจีนพรรณนาไว้พอดี จึงสรุปว่า วัดภูก็คือศูนย์กลางของเจนละ[23][24][25] แต่นักวิชาการปัจจุบัน เช่น ไมเคิล วิกเกอรี และโกลด ฌัก (Claude Jacques) ไม่เห็นด้วย เพราะไม่ใช่วัดภูแห่งเดียวที่มีลักษณะสอดคล้องกับความเป็น "ลิงคบรรพต" ทว่า หลักฐานต่าง ๆ ในยุคเจนละก็มีเหลือไม่มากพอจะให้ได้ข้อยุติ[26]

ส่วนตำนานกัมพูชาว่า นักบวชนาม "กัมวุสวยัมภุวะ" (កម្វុស្វយម្ភុវ กมฺวุสฺวยมฺภุว) ได้รับสตรีนาม "เมระ" (Mera) มาจากพระศิวะ นักบวชและสตรีดังกล่าวสมสู่กันจนเกิดบุตร คือ ศรุตวรรมัน (Śrutavarman) และศรุตวรรมันมีบุตรนาม "เศรษฐวรรมัน" (Sreshthavarman) ซึ่งเป็นที่มาของนครที่เรียกว่า "เศรษฐปุระ" (ស្រេស្ឋបុរ เสฺรสฺฐบุร) และมีผู้เชื่อมโยงว่า เศรษฐปุระเป็นศูนย์กลางของเจนละอันตั้งอยู่ ณ ลิงคบรรพตนั้น[27]

รายพระนามกษัตริย์ผู้ปกครอง[แก้]

รัชกาล พระนาม ครองราชย์
พระเจ้าศรุตวรมัน พ.ศ.1093-1098
พระเจ้าเศรษฐวรมัน พ.ศ.1098-1103
พระเจ้าวีรวรมัน พ.ศ.1103-1118
พระนางกัมพุชราชลักษมี พ.ศ.1118-1123
19 พระเจ้าภววรมันที่ 1 พ.ศ.1123-1143
20 พระเจ้ามเหนทรวรมัน (เจนละ) พ.ศ.1143-1159
21 พระเจ้าอิศานวรมันที่ 1 พ.ศ.1159-1178
22 พระเจ้าภววรมันที่ 2 พ.ศ.1182-1200
23 พระเจ้าชัยวรมันที่ 1 พ.ศ.1200-1224
24 พระนางเจ้าชัยเทวี พ.ศ.1224-1256
25 พระเจ้าพลาทิตย์ พ.ศ.1256
26 พระเจ้านรีประทินวรมัน พ.ศ.1256-1259
27 พระเจ้าปุษกรักษ์ พ.ศ.1259–1273
28 พระเจ้าสัมภูวรมัน พ.ศ.1273–1303
29 พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 1 พ.ศ.1303-1323
30 พระเจ้ามหิปติวรมัน
(มหิปาฏิวรมัน)
พ.ศ.1303-1345
อาณาจักรศรีวิชัยแห่งชวาภายใต้ราชวงศ์ไศเลนทร์ ยกกองทัพเรือขนาดมหึมาเข้าโจมตีและยึดครองอาณาจักรเจนละ

[28]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Zhou 2007. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "FOOTNOTEZhou2007" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "FOOTNOTEZhou2007" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  2. "Encyclopedia of Ancient Asian Civilizations by Charles F. W. Higham - Chenla - Chinese histories record that a state called Chenla..." (PDF). Library of Congress. สืบค้นเมื่อ 13 July 2015.
  3. ""What and Where was Chenla?" - In the 1970s Claude Jacques began cautiously to move away from the established historiographical framework" (PDF). Michael Vickery. สืบค้นเมื่อ 15 July 2015.
  4. Jacques 1979, p. 376.
  5. Some Aspects of Asian History and Culture by Upendra Thakur p.2
  6. "Considerations on the Chronology and History of 9th Century Cambodia by Dr. Karl-Heinz Golzio, Epigraphist - ...the realm called Zhenla by the Chinese. Their contents are not uniform but they do not contradict each other" (PDF). Khmer Studies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-05-24. สืบค้นเมื่อ 5 July 2015.
  7. Vickery, Society, Economics, and Politics in pre-Angkor Cambodia, pp. 71 ff.
  8. "As in Heaven, So on Earth: The Politics of Visnu Siva and Harihara Images in Preangkorian Khmer Civilisation". academia edu. สืบค้นเมื่อ 23 December 2015.
  9. "THE JOURNAL OF THE SIAM SOCIETY - AN HISTORICAL ATLAS OF THAILAND Vol. LII Part 1-2 1964 - The Australian National University Canberra" (PDF). The Australian National University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-07-14. สืบค้นเมื่อ 15 July 2015.
  10. "Chenla - 550-800". Global Security. สืบค้นเมื่อ 13 July 2015.
  11. "The History of Cambodia By Justin Corfield". Google Books. สืบค้นเมื่อ 10 December 2015.
  12. Claude Jacques, "‘Funan’, ‘Zhenla’: The Reality Concealed by these Chinese Views of Indochina", in R. B. Smith and W. Watson (eds.), Early South East Asia : Essays in Archaeology, History and Historical Geography, New York, Oxford University Press, 1979, pp.371-9, p.378.
  13. "Short History of Cambodia - Nokor Chenla By Kee...Chenla simply means pure wax. The Chinese called Cambodia the land of pure beeswax". Narkive com. 3 March 2004. สืบค้นเมื่อ 12 December 2015.
  14. "Why did Chinese call Cambodia Chenla" (PDF). The Son of the Empire. สืบค้นเมื่อ 12 December 2015.
  15. Vickery (1998).
  16. "Personal and Geographical Names in the Gupta Inscriptions By Tej Ram Sharma". Google Books. สืบค้นเมื่อ 24 December 2015.
  17. "The Kingdom of Chenla". Asia's World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-14. สืบค้นเมื่อ 29 December 2015.
  18. ""What and Where was Chenla?" - there is really no need to look for Chenla beyond the borders of what is present-day Cambodia. All that is required is that it be inland from Funan" (PDF). Michael Vickery publications. สืบค้นเมื่อ 29 December 2015.
  19. ""What and Where was Chenla?" - In the 1970s Claude Jacques began cautiously to move away from the established historiographical framework" (PDF). Michael Vickery. สืบค้นเมื่อ 29 December 2015.
  20. Higham, C., 2014, Early Mainland Southeast Asia, Bangkok: River Books Co., Ltd., ISBN 978-616-7339-44-3
  21. "THE JOURNAL OF THE SIAM SOCIETY - AN HISTORICAL ATLAS OF THAILAND Vol. LII Part 1-2 1964 - The Australian National University Canberra" (PDF). The Australian National University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-07-14. สืบค้นเมื่อ 15 July 2015.
  22. ""What and Where was Chenla?" - In the 1970s Claude Jacques began cautiously to move away from the established historiographical framework" (PDF). Michael Vickery. สืบค้นเมื่อ 15 July 2015.
  23. "A "Hindu" man of prowess - History, Culture, and Region in Southeast Asian Perspectives by O. W. Wolters". Google Books. สืบค้นเมื่อ December 29, 2015.
  24. Coedès, George (1968). Walter F. Vella (บ.ก.). The Indianized States of Southeast Asia. trans.Susan Brown Cowing. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
  25. "Proceedings of the British Academy, Volume 121, 2002 Lectures by British Academy". Google Books. สืบค้นเมื่อ 29 December 2015.
  26. ""What and Where was Chenla?" - there is really no need to look for Chenla beyond the borders of what is present-day Cambodia. All that is required is that it be inland from Funan" (PDF). Michael Vickery publications. สืบค้นเมื่อ 14 July 2015.
  27. "Full text of "Kambuja Desa"". archive org. สืบค้นเมื่อ 30 December 2015.
  28. O'Reilly, Dougald J. W. (2007). Early Civilizations of Southeast Asia by Dougald J. W. O'Reilly - Chenla. ISBN 9780759102798. สืบค้นเมื่อ 30 December 2015.


หมายเหตุ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

บทความ[แก้]

  • Barth, Aguste (1903). "Inscription sanskrite du Phou Lokhon (Laos)". Album Kern; Opstellen Geschreven Ter Eere van H[endrik] Kern: 37–40.
  • Coedes, Georges (1943). "Études Cambodgiennes XXXVI: Quelques précisions sur la fin de Fou-nan". Bulletin de l'École Française d'Extrême-Orient. 43: 1–8. doi:10.3406/befeo.1943.5733 – โดยทาง Persée.
  • Dowling, Nancy (1994), What and Where was Chenla?, École française d'Extrême-Orient, Paris
  • Dowling, Nancy (2000). "New Light on Early Cambodian Buddhism". Journal of the Siam Society. 88 (1&2): 122–155.
  • Finot, Louis (1928). "Nouvelles inscriptions du Cambodge". Bulletin de l'École Française d'Extrême-Orient. 28 (1): 43–80. doi:10.3406/befeo.1928.3116 – โดยทาง Persée.
  • Higham, Charles (2015). "At the dawn of history: From Iron Age aggrandisers to Zhenla kings". Journal of Southeast Asian Studies. 437 (3): 418–437. doi:10.1017/S0022463416000266. S2CID 163462810 – โดยทาง Cambridge University Press.
  • Lavy, Paul A. (2003). "As in Heaven, So on Earth: The Politics of Visnu Siva and Harihara Images in Preangkorian Khmer Civilisation". Journal of Southeast Asian Studies. National University of Singapore. 34 (1): 21–39. doi:10.1017/S002246340300002X. S2CID 154819912. สืบค้นเมื่อ 23 December 2015 – โดยทาง Academia.edu.
  • Lévy, Paul (1970). "Thala Bŏrivăt ou Stu'ṅ Trèṅ: sites de la capitale du souverain khmer Bhavavarman Ier". Journal Asiatique. 258: 113–129.
  • Pelliot, Paul (1903). "Le Fou-nan". Bulletin de l'École Française d'Extrême-Orient. 3: 248–303. doi:10.3406/befeo.1903.1216 – โดยทาง Persée.
  • Pelliot, Paul (1904). "Deux itinéraires de Chine en Inde à la fin du VIIIe siècle". Bulletin de l'École Française d'Extrême-Orient. 4: 131–413. doi:10.3406/befeo.1904.1299 – โดยทาง Persée.
  • Seidenfaden, Erik (1922). "Complément à l'inventaire descriptif des Monuments du Cambodge pour les quatre provinces du Siam Oriental". Bulletin de l'École Française d'Extrême-Orient. 22: 55–99. doi:10.3406/befeo.1922.2912 – โดยทาง Persée.
  • Sternstein, Larry (1964). "An Historical Atlas Of Thailand". Journal of the Siam Society. 3 (1–2).
  • Vickery, Michael (1994), What and Where was Chenla?, École française d'Extrême-Orient, Paris
  • Wolters, O. W. (1974). "North-western Cambodia in the seventh century". Bulletin of the School of Oriental and African Studies. 37 (2): 355–384. doi:10.1017/S0041977X00136298. JSTOR 612583. S2CID 162613112.

หนังสือ[แก้]

เว็บไซต์[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์: 11°33′N 104°55′E / 11.550°N 104.917°E / 11.550; 104.917