ข้ามไปเนื้อหา

ปราสาทหินวัดพู

พิกัด: 14°50′54″N 105°49′20″E / 14.84833°N 105.82222°E / 14.84833; 105.82222
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดพูและการตั้งถิ่นฐานโบราณที่เกี่ยวเนื่องภายในภูมิทัศน์วัฒนธรรมจำปาศักดิ์ *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ปราสาทหินวัดพู
พิกัด14°50′54″N 105°49′20″E / 14.84833°N 105.82222°E / 14.84833; 105.82222
ประเทศ ลาว
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(iii), (iv), (vi)
อ้างอิง481
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2544 (คณะกรรมการสมัยที่ 25)
พื้นที่39,000 เฮกตาร์ (96,000 เอเคอร์)
ปราสาทหินวัดพูตั้งอยู่ในประเทศลาว
ปราสาทหินวัดพู
ที่ตั้งของปราสาทวัดพูในประเทศลาว
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

ปราสาทวัดพู (ลาว: ວັດພູ, ออกเสียง: [wāt pʰúː]) เป็นโบราณสถานในประเทศลาว ซึ่งเป็นมรดกโลกแห่งที่สองของประเทศลาว เป็นโบสถ์พราหมณ์ที่สร้างถวายพระศิวะ ตั้งอยู่บนเนินเขาภู หรือเรียกกันว่าภูเก้า (หมายถึงมวยผม) ห่างจากตัวเมืองเก่าจำปาศักดิ์ประมาณ 6 กิโลเมตร ลักษณะของปราสาทเป็นเทวสถานเขมร คล้ายกับเขาพระวิหาร สร้างในราวพุทธศตวรรษที่ 11 ในสมัยของพระเจ้ามเหนทรวรมัน โดยพระยากัมมะธา ถือว่าเป็นปราสาทหินที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด

มรดกโลก

[แก้]

ปราสาทหินวัดพูและสิ่งก่อสร้างใกล้เคียงได้รับจดทะเบียนให้เป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 25 เมื่อ พ.ศ. 2544 ที่กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ดังนี้

  • (iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
  • (iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
  • (vi) - มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์

งานประเพณี

[แก้]

ปราสาทวัดพูมีงานประเพณีประจำปีที่เรียกว่า "งานประจำปีวัดพู" จัดเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ตรงกับวันเพ็ญเดือนสาม และมีงานประมาณ 3 วัน

การรักษาและการเข้าชม

[แก้]
ปราสาทวัดพู

ปัจจุบันสถานที่นี้เปิดให้กับสาธารณชนไว้ทำพิธีทางศาสนาและการท่องเที่ยว โดยเปิดในเวลา 08:00–18:00 นาฬิกา และสำหรับชาวต่างชาติจ่ายค่าเข้า 50,000 กีบ ส่วนชาวลาวจ่าย 20,000 กีบ[1]

บริเวณนี้มีพิพิธภัณฑ์ที่บรรจุไปด้วยวัตถุในตัววิหาร เช่นเทวรูปพระศิวะ พระวิษณุ นนทิ และพระพุทธรูป[2] ตัวอาคารมีขนาดจำกัด เพื่อให้สถานที่และบริเวณโดยรอบมีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Administrator. "Schedule and Fees". www.vatphou-champassak.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2017-01-22. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  2. Vat Phou Champassak World Heritage Department (2012). Vat Phou Champassak. The Temple of the Mountain. Visitor's Guide. Vat Phou Champassak World Heritage Department. ISBN 978-9932-000-62-3.
  3. Administrator. "Exhibition Hall". www.vatphou-champassak.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2017-01-22. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)

บรรณานุกรม

[แก้]
  • É. Aymonier, Le Cambodge. II Les provinces siamoises, Paris 1901;
  • E. Lunet de Lajonquiére, Inventaire descriptif des monuments d’Indochine. Le Cambodge, II, Paris 1907;
  • H. Marchal, Le Temple de Vat Phou, province de Champassak, Éd. du département des Cultes du Gouvernement royal du Laos
  • H Parmentier, «Le temple de Vat Phu», Bulletin de l’École Française d’Extrême-Orient, 14/2, 1914, p. 1-31;
  • M. Freeman, A Guide to Khmer Temples in Thailand and Laos. Weatherhill 1996. ISBN 0-8348-0450-6.
  • M. Santoni et al., «Excavations at Champasak and Wat Phu (Southern Laos) », in R. Ciarla, F. Rispoli (ed.), South-East Asian Archaeology 1992, Roma 1997, p. 233-63;
  • M. Cucarzi, O. Nalesini et al., «Carta archeologica informatizzata: il progetto UNESCO per l’area di Wat Phu», in B. Amendolea (ed.), Carta archeologica e pianificazione territoriale, Roma 1999, p. 264-71;
  • UNESCO Champasak Heritage Management Plan, Bangkok 1999 [1] เก็บถาวร 2007-03-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน;
  • International Council on Monuments and Sites report on World Heritage Site application, September 2001;
  • O. Nalesini, «Wat Phu», in Enciclopedia archeologica. Asia, Roma 2005.
  • Ch. Higham. The Civilization of Angkor. Phoenix 2001. ISBN 1-84212-584-2.
  • Projet de Recherches en Archaeologie Lao. Vat Phu: The Ancient City, The Sanctuary, The Spring (pamphlet).
  • Global Heritage Fund - Where We Work - Wat Phu, Laos Accessed on 2009-04-28.
  • Recherches nouvelles sur le Laos - EFEO(école française d'extrême orient) - Yves Goudineau & Michel Lorrillard - 2008 - 678 pages.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]