พระเจ้าภววรมันที่ 2
พระเจ้าภววรมันที่ 2 | |
---|---|
พระ กมรตาง อัญ ศรีภววรมัน (ค.ศ.639) (วฺระ กมฺรตางฺ อญฺ ศฺรีภวรฺมฺม) | |
มหาราช | |
ครองราชย์ | ค.ศ.639-657 |
รัชกาลก่อนหน้า | พระเจ้าอิศานวรมันที่ 1 |
รัชกาลถัดไป | พระเจ้าชัยวรมันที่ 1 |
พระราชบุตร | พระเจ้าชัยวรมันที่ 1 |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์วรมัน |
สวรรคต | ประมาณ ค.ศ.657 |
ศาสนา | ศาสนาฮินดู |
พระเจ้าภววรมันที่ 2 (เขมร: ព្រះបាទភវវរ្ម័នទី២; ไทย: พระบาทภววรรมัมที่ ๒, ภววรมันที่ ๒, อักษรโรมัน: Bhavavarman II จีน: 撥婆跋摩 พินอิน: Bópóbámó)
ประวัติ[แก้]
พระเจ้าภววรมันที่ 2 ทรงครองราชย์ระหว่างปี ค.ศ. 639 - ค.ศ. 657 พระเจ้าภววรมันที่ 2 พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรเจนละ พระองค์ทรงเป็นผู้สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจากพระเจ้าอิศานวรมันที่ 1(ឦសានវម៌្មទី១) แต่ไม่มีหลักฐานใดยืนยันว่าพระองค์ทรงเป็นโอรสของพระเจ้าอิศานวรมันที่ 1 หรือไม่ นักวิชาการต่างสันนิษฐานว่าพระองค์อาจจะเป็นหนึ่งในเจ้าชายในราชวงศ์หรือเป็นโอรสพระองค์หนึ่งของอิศานวรมันที่ 1 ซึ่งยังไม่มีข้อยุติเกี่ยวกับข้อสันนิษฐานนี้ พระองค์ทรงสร้างจารึกมากมายแต่ไม่มีจารึกใดกล่าวถึงพระราชประวัติของพระองค์[1][2]
เมื่อสวรรคต พระเจ้าชัยวรมันที่ 1 พระราชโอรสของพระองค์ได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมา เมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 ทรงสิ้นพระชนม์โดยไม่มีรัชทายาทที่เป็นโอรส จึงให้พระมเหสีขึ้นครองราชย์ คือ พระนางชยเทวี จึงขึ้นครองราชสมบัติต่อมาช่วงเวลานี้เองอาณาจักรเจนละเต็มไปด้วยความวุ่นวายทางการเมือง และการขึ้นครองราชย์ของพระนางก็เป็นที่โต้แย้ง นำไปสู่การแบ่งแยกรัฐเจนละออกเป็นเจนละบก กับเจนละน้ำ[3]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Coedès, George (1968). Walter F. Vella (บ.ก.). The Indianized States of Southeast Asia. trans.Susan Brown Cowing. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
- ↑ សៀវភៅសិក្សាសង្គម ថ្នាក់ទី១០ ឆ្នាំ២០១៧ របស់ក្រសួងអប់រំយុវជននិងកីឡា ទំព័រទី១៤១
- ↑ Coedès, George (1968). Walter F. Vella (บ.ก.). The Indianized States of Southeast Asia. trans.Susan Brown Cowing. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
ก่อนหน้า | พระเจ้าภววรมันที่ 2 | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าอิศานวรมันที่ 1 | ![]() |
พระมหากษัตริย์แห่งจักรวรรดิเขมร ) (ค.ศ. 639 - ค.ศ. 657) |
![]() |
พระเจ้าชัยวรมันที่ 1 |