การประท้วงในกัมพูชา พ.ศ. 2556–2557
การประท้วงในกัมพูชา พ.ศ. 2556–2557 | |||
---|---|---|---|
![]() ผู้ประท้วงและผู้สนับสนุนฝ่ายค้านกัมพูชาเดินประท้วง | |||
วันที่ | 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 – 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 | ||
สถานที่ | ![]() | ||
สาเหตุ | |||
เป้าหมาย | |||
วิธีการ | |||
คู่ขัดแย้ง | |||
| |||
ผู้นำ | |||
จำนวน | |||
| |||
ความสูญเสีย | |||
|
การประท้วงต่อต้านรัฐบาล (เขมร: បាតុកម្មប្រឆាំងរាជរដ្ឋាភិបាល) ได้เริ่มต้นขึ้นที่กัมพูชาเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556 โดยผู้ประท้วงได้รวมตัวกันที่พนมเปญเพื่อขับไล่รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีฮุน เซนซึ่งผู้ชุมนุมเห็นว่ารัฐบาลได้โกงการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556[4] รวมถึงความต้องการให้ปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 160 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ(5,280 บาท) ต่อเดือน[5] และความไม่พอใจที่ประเทศเวียดนามมีอิทธิพลต่อกัมพูชา[6] ซึ่งพรรคฝ่ายค้านหลักปฏิเสธที่จะมีส่วนร่วมในรัฐสภาหลังการเลือกตั้ง[7] และการเดินขบวนครั้งใหญ่ได้เกิดขึ้นตลอดเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556[8] การปราบปรามของรัฐบาลในเดือนมกราคม พ.ศ. 2556 ได้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 รายและมีการกวาดล้างค่ายหลักของผู้ชุมนุม[9]
เหตุการณ์ได้จบลงเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เมื่อสม รังสี และฮุน เซน ได้บรรลุข้อตกลงที่จะให้หาคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่แทนที่ชุดเก่าโดยมาจากผู้แทนจากพรรคหลัก 2 พรรค พรรคละ 4 คน และผู้แทนอิสระอีกหนึ่งคนที่สองพรรคเลือก ซึ่งนักวิเคราะห์กล่าวว่าการที่สม รังสี ยอมเจรจากับฮุน เซน นั้นอาจมาจากสมาชิกพรรคสงเคราะห์ชาติ 8 คนถูกทางการจับกุมไปก่อนหน้านั้น
เบื้องหลัง[แก้]
สม รังสี, หัวหน้าพรรคสงเคราห์ชาติ
ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 การเลือกตั้งทั่วไปถูกจัดขึ้นในกัมพูชา ซึ่งพรรคประชาชนกัมพูชาอ้างว่าได้รับชัยชนะโดยมีสมาชิกสมัชชาแห่งชาติกัมพูชาในสภา 68 คน[11] ทางด้านพรรคสงเคราะห์ชาติซึ่งเป็นพรรคฝ่านค้านหลักมีสมาชิกฯในสภา 55 คนได้ปฏิเสธผลการเลือกตั้งและไม่ร่วมประชุมสภาโดยอ้างว่ามีความผิดปกติในการลงคะแนน[12][13] ซึ่งสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาแสดงความกังวลต่อเรื่องดังกล่าว[4] และองค์การสิทธิมนุษยชนสากลซึ่งเป็นองค์การนอกภาครัฐเรียกร้องให้มี คณะกรรมการอิสระ ตรวจสอบข้อกล่าวหาการทุจริตการเลือกตั้ง[14] พรรคฝ่ายค้านได้จัดการประท้วงใหญ่ในกรุงพนมเปญในช่วงเดือนธันวาคมรวมทั้งการชุมนุมโดยรถมอเตอร์ไซค์[15] รัฐบาลกล่าวว่าการชุมนุมดังกล่าวเป็นการชุมนุมที่ผิดกฎหมายและพวกเขาได้ 'ปลุกระดมการล้มรัฐบาล'[15]
การประท้วงและความรุนแรง[แก้]
วันที่ 3 มกราคมทหารจากกองราชอาวุธหัตถ์ได้ปะทะกับกลุ่มผู้ชุมนุมแรงงานบนถนนเวงสเร็ง ในเขตชานเมืองของกรุงพนมเปญซึ่งมีผู้เสียชีวิต 4 รายและบาดเจ็บมากกว่า 20 คน[16][17][18] กลุมผู้ชุมนุมได้ปิดกั้นถนนและโยนขวด ก้อนหินใส่ตำรวจเพื่อตอบโต้ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้ชุมนุมกลุ่มอื่นและคณะสงฆ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้[19][20] คนงานได้นัดรวมตัวกันหยุดงานจากการที่รัฐบาลปฏิเสธที่จะปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 160 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ(5,280 บาท) ต่อเดือน[21][22]
นอกจากนี้ยังมีการใช้ความรุนแรงที่มีต่อชาวกัมพูชาเชื้อสายเวียดนามโดยกลุ่มผู้ประท้วง ซึ่งนำไปสู่การทำลายร้านกาแฟของชาวเวียดนาม[6]
ก่อนวันที่ปราบปราม นายกรัฐมนตรีฮุน เซนได้ไปเยือนประเทศเวียดนาม ซึ่งฝ่ายค้านได้กล่าวหาว่านายกรัฐมนตรีของได้แสวงหาความช่วยเหลือทางทหารจากประเทศเวียดนาม กึม สุขา รองหัวหน้าพรรคสงเคราะห์ชาติ กล่าวว่าฮุน เซนอาจจะใช้เดินทางไปเวียดนามเพื่อแสวงหาการสนับสนุนในการยึดอำนาจ และยังกล่าวอีกว่าผู้นำประเทศควรนำปัญหาภายในประเทศปรึกษากับคนกัมพูชาแทนที่จะไปปรึกษากับผู้นำประเทศอื่น[23]
วันเสาร์ที่ 4 มกราคมเจ้าหน้าที่กัมพูชาเข้าค่ายประท้วงหลักและใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุม แต่การประท้วงยังคงมีต่อไปต่อไปแม้จะถูกห้าม[20][9] ผู้นำฝ่ายค้านถูกศาลที่กรุงพนมเปญเรียกตัวไปชี้แจงในข้อกล่าวหายุยงให้คนงานก่อความไม่สงบ[24]
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 การห้ามการชุมนุมได้ถูกยกระดับขึ้น แต่นายกรัฐมนตรีฮุน เซน ได้เตือนว่าการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลใดๆของฝ่ายค้านในภายภาคหน้าอาจจะต้องเผชิญกับกลุ่มผู้ชุมนุมที่สนับสนุนเขา[25]
วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ผู้ชุมนุมได้ประท้วงที่หน้าสถานทูตเวียดนามในกรุงพนมเปญเพื่อประท้วงเวียดนามต่อการที่กัมพูชาเสียดินแดนเขมรกรมให้เวียดนามเมื่อในปี พ.ศ. 2492 และเรียกร้องให้เวียดนามออกมาขอโทษ สถานทูตออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคมเรียกร้องให้กัมพูชาจะเคารพอธิปไตยของเวียดนามและความเป็นอิสระและปฏิเสธที่จะขอโทษ[26] การชุมนุมได้สลายตัวโดยหน่วยงานท้องถิ่นซึ่งมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 10 ราย[27]
ปฏิกิริยาและการประณามจากนานาชาติ[แก้]
สหประชาชาติและกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประณามการใช้ความรุนแรง[28][29][30] เอ็ด รอยซ์ สมาชิกสภาคองเกรซเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีฮุน เซ็น ลงจากอำนาจโดยกล่าวว่า "มันเป็นเวลาที่ ฮุน เซ็น สมควรลงจากอำนาจหลังจากที่เขาครองอำนาจเกือบสามทศววษ"[31] นอกจากนี้ชาวกัมพูชาอเมริกันประมาณ 500 คนได้ชุมนุมหน้าทำเนียบขาวเพื่อเรียกร้องความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา พวกเขาได้เรียกร้องให้รัฐบาลกัมพูชาปล่อยตัวนักโทษจากการสลายการชุมนุมของตำรวจเมื่อวันที่ 3 มกราคมจำนวน 23 คน[32] สูรยา สุเบดี ทูตด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติได้เดินทางไปยังกัมพูชาและเข้าพบนายกรัฐมนตรีฮุน เซน[33]
วันที่ 29 มกราคม ผู้นำฝ่ายค้านสม รังสีเดินทางไปที่เจนีวาซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเรียกร้องให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิของรัฐบาลกัมพูชา[34]
สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย เยอรมนี โปแลนด์ ญี่ปุ่นและไทยได้แสดงความกังวลและความกังวลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในกัมพูชา[35][36] องค์การสิทธิมนุษยชนสากลเรียกร้องให้สหประชาชาติกดดันรัฐบาลกัมพูชา[37]
คลังภาพ[แก้]
นักข่าววิทยุบีฮีฟMam Sonando นำการประท้วงหน้ากระทรวงสารสนเทศ เมื่อมกราคม พ.ศ. 2557
ผู้ชุมนุมหนุ่มคนหนึ่งโฮ่ร้องให้นายกรัฐมนตรีฮุน เซน ลงจากอำนาจ ในวันสุดท้ายของการชุมนุมสามวันโดยฝ่ายค้าน
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Sokchea, Meas. "CNRP's Sunday 'tsunami'". The Phnom Penh Post. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
- ↑ 2.0 2.1 "Military vows to protect government, election results". The Cambodia Herald. 6 January 2014. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
- ↑ "Guards beaten senseless". The Phnom Penh Post. 15 July 2014. สืบค้นเมื่อ 17 July 2014.
- ↑ 4.0 4.1 "Cambodia rejects call for poll fraud inquiry". Al Jazeera. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
- ↑ "Four Killed as Riot Police Fire on Demonstrators". VOA Khmer. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
- ↑ 6.0 6.1 Reaksmey, Hul (6 January 2014). "Vietnamese Shop Near Protest Site Looted by Demonstrators". The Cambodia Daily. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
- ↑ "Cambodia opposition boycott opening of parliament". BBC News. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
- ↑ Dara, Mech (23 December 2013). "CNRP Holds Biggest Demonstration in Decades". The Cambodia Daily. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
- ↑ 9.0 9.1 "Cambodia Authorities Raid Protest Camp, Ban Further Demonstrations". VOA Khmer. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
- ↑ Marks, Simon. "Ruling party reels after Cambodia vote". Al Jazeera. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
- ↑ "Cambodia opposition claims massive poll fraud". Al Jazeera. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
- ↑ Fuller, Thomas (29 July 2013). "Cambodian Opposition Rejects Election Results". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
- ↑ Thul, Prak Chan. "Cambodian opposition boycotts parliament, Hun Sen remains PM". Reuters. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
- ↑ "Cambodia: Ruling Party Orchestrated Vote Fraud". Human Rights Watch. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
- ↑ 15.0 15.1 "Cambodian Opposition Party Defies Authorities With More Protests". Radio Free Asia. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
- ↑ "Workers, Police Clash, Leaving 3 Dead in Cambodia". VOA Khmer.
- ↑ Sokha, Cheang. "Crackdown turns deadly". The Phnom Penh Post. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
- ↑ Soenthrith, Saing (6 January 2014). "Five Killed During Protest Confirmed as Garment Workers". The Cambodia Daily. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
- ↑ "Cambodia garment workers killed in clashes with police". BBC News. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
- ↑ 20.0 20.1 Quinlan, Daniel (4 January 2014). "Democracy unraveling". The Phnom Penh Post. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
- ↑ Kunthear, Mom. "Exodus follows violent clash". The Phnom Penh Post. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
- ↑ เขมรนองเลือด!ตร.แจกลูกปืน, ไทยโพสต์, 7-1-2014
- ↑ "Cambodian PM to Visit Vietnam Amid Political Tensions at Home". Radio Free Asia. 23 December 2013. สืบค้นเมื่อ 19 February 2014.
- ↑ White, Stuart (6 January 2014). "Leadership of CNRP digging in". The Phnom Penh Post. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
- ↑ "Cambodia lifts ban on demonstrations". Channel NewsAsia. 26 February 2014. สืบค้นเมื่อ 27 February 2014.
- ↑ "វៀតណាមបដិសេធមិនសុំទោសរឿងបំភ្លៃប្រវត្តិសាស្ត្រខ្មែរកម្ពុជាក្រោម" (ภาษาเขมร). Radio Free Asia. 9 July 2014. สืบค้นเมื่อ 9 July 2014.
- ↑ Reaksmey, Heng (9 July 2014). "បាតុកម្មសុំឱ្យស្ថានទូតវៀតណាមសុំទោស រងការបង្ក្រាប" (ภาษาเขมร). Voice of America. สืบค้นเมื่อ 9 July 2014.
- ↑ Meyn, Colin (6 January 2014). "Government Blasted for Eviction of Freedom Park". The Cambodia Daily. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
- ↑ "US State Department condemn violence on protestors in Cambodia (in Khmer)". VOA Khmer.
- ↑ "Cambodia: UN expert urges restraint as police fire on striking garment workers". UN News Centre. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
- ↑ Sok Khemara (7 January 2014). "US House Foreign Affairs Chair Calls for Hun Sen To Step Down". VOA News. สืบค้นเมื่อ 30 January 2014.
- ↑ Men Kimseng (21 January 2014). "Cambodian-Americans Protest Outside White House". VOA News. สืบค้นเมื่อ 30 January 2014.
- ↑ "UN Rights Envoy to Visit Cambodia in Wake of Deadly Crackdown". Radio Free Asia. 2014-01-08. สืบค้นเมื่อ 30 January 2014.
- ↑ Sok Khemara (29 January 2014). "Cambodia at UN to Defend Rights Record". VOA News. สืบค้นเมื่อ 30 January 2014.
- ↑ Kong Sothanarith (30 January 2014). "International Community Wants Cambodia to Improve Rights Record". VOA Khmer.
- ↑ "International Community Criticize Human Rights in Cambodia". VOA Khmer. 29 January 2014.
- ↑ Kong Sothanarith (28 January 2014). "Human Rights Watch Condemns Weekend Cambodia Violence". VOA Khmer.
|