ยุคมืดของกัมพูชา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ราชอาณาจักรกัมพูชา ព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พ.ศ. 1974–พ.ศ. 2406 | |||||||||
![]() แผนที่อาณาจักรต่างๆในปี พ.ศ. 2083 (กัมพูชาแสดงเป็นสีเขียวอ่อน) | |||||||||
สถานะ | สมบูรณาญาสิทธิราชย์ | ||||||||
เมืองหลวง | ศรีสุนทร (1974–1977) จตุมุข (1977–2068) ละแวก (2068–2146) ลวาเอม (2146–2163) อุดงค์ลือไชย (2163–2406) | ||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาเขมรยุคกลาง | ||||||||
ศาสนา | พระพุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู | ||||||||
การปกครอง | สมบูรณาญาสิทธิราชย์ | ||||||||
พระมหากษัตริย์ | |||||||||
• 1974–2006 | พระบรมราชา (เจ้าพระยาญาติ) (อาณาจักรเขมรจตุรมุข) | ||||||||
• 2403-2447 | สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์ (อาณาจักรเขมรอุดงค์) | ||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สมัยกลางตอนต้น | ||||||||
• การเสียพระนคร | พ.ศ. 1974 | ||||||||
พ.ศ. 2476 - พ.ศ. 2490 | |||||||||
• กลายมาเป็นประเทศราชทั้งของไทยและเวียดนาม | พ.ศ. 2490 | ||||||||
• กลายมาเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส | 11 สิงหาคม พ.ศ. 2406 | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | ![]() ![]() ![]() |
ประวัติศาสตร์กัมพูชา | |
---|---|
![]() | |
ประวัติศาสตร์ยุคแรก | |
อาณาจักรฟูนาน (611–1093) | |
อาณาจักรเจนละ (1093–1345) | |
อาณาจักรพระนคร (1345–1974) | |
ยุคมืด | |
สมัยจตุมุข (1974–2068) | |
สมัยละแวก (2068–2136) | |
สมัยศรีสันธร (2136–2162) | |
สมัยอุดง (2162–2406) | |
ยุครัฐในอารักขา | |
ไทยและเวียดนาม | |
อาณานิคมฝรั่งเศส (2406–2496) ส่วนหนึ่งของอินโดจีนฝรั่งเศส | |
ยุคญี่ปุ่นยึดครอง (2484–2489) | |
หลังได้รับเอกราช | |
สงครามกลางเมืองกัมพูชา (2510–2518) | |
รัฐประหาร พ.ศ. 2513 | |
สาธารณรัฐเขมร | |
สงครามเวียดนาม พ.ศ. 2513 | |
ยุคเขมรแดง (2518–2519) | |
สงครามกัมพูชา–เวียดนาม (2518–2532) | |
สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา (2522–2536) | |
การจัดการเลือกตั้งโดยสหประชาชาติ | |
ราชอาณาจักรกัมพูชา (2536–ปัจจุบัน) | |
หลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2536 | |
| |
ยุคมืดของกัมพูชา เริ่มขึ้นหลังจากอาณาจักรเขมรเริ่มอ่อนแอลง ประเทศราชประกาศตัวเป็นอิสระ เกิดความวุ่นวายในราชอาณาจักร จนในที่สุดเกิดการล่มสลายของอาณาจักรเขมร โดยการยึดครองของสยาม
ยุคเสื่อมของอาณาจักรเขมร[แก้]
อาณาจักรเขมร ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 (พ.ศ. 1786-1838) ความไม่มั่นคงภายในอาณาจักรเริ่มเกิดขึ้น ประเทศราชเกิดการแข็งข้อ พ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองราดร่วมมือกับพ่อขุนบางกลางหาว แข็งเมืองไม่ขึ้นกับพระนคร และต่อมาได้ก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัยขึ้น ในช่วงนี้มีการเปลี่ยนศาสนาจากศาสนาพุทธนิกายมหายานมานับถือพระศิวะเหมือนเดิม และได้ทำลายภาพจำหลักหินที่เป็นรูปพระพุทธเจ้า ทำลายภาพสลักหินที่เกี่ยวกับพุทธประวัติออกไปจากปราสาทหลายแห่ง อาทิ ปราสาทตาพรหม หลังจากสิ้นรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 อาณาจักรเขมรเสื่อมอำนาจลงอย่างมาก ราชวงศ์ต่างๆเริ่มเกิดการแย่งชิงราชสมบัติกัน ในช่วงนี้ไม่มีสิ่งปลูกสร้างใดๆเกิดขึ้น หัวเมืองต่างๆเริ่มกบฏแข็งข้อและแยกตัวออก รวมไปถึงการขึ้นเป็นใหญ่ของ"อาณาจักรสุโขทัย"
การล่มสลายของอาณาจักรเขมร[แก้]
พ.ศ. 1896 ในสมัยพระเจ้าอู่ทองแห่งกรุงศรีอยุธยา อาณาจักรเขมรก็ถูกกองทัพกรุงศรีอยุธยานำโดยขุนหลวงพระงั่วซึ่งเป็นพี่เมียของพระเจ้าอู่ทองยกทัพโจมตียึดเป็นเมืองขึ้น กองทัพไทยจากพระนครศรีอยุธยาไปรวมกำลังที่นครโคราปุระหรือโคราชหรือนครราชสีมา แล้วแยกกองทัพลงไปโจมตีกัมพูชาเป็น 3 ทางมีทหารไทย มอญ ลาวรวมกันประมาณ 50,000 คนและสามารถทำให้อาณาจักรขอมแตกได้ อาณาจักรเขมรจึงกลายเป็นเมืองขึ้นของอยุธยา เป็นผลให้อาณาจักรเขมรล่มสลายอย่างสิ้นเชิง จนไม่สามารถฟื้นฟูอาณาจักรให้กลับมายิ่งใหญ่ตามเดิมได้
ยุคมืดของกัมพูชา[แก้]
หลังจากนั้นมาเขมรก็กลายเป็นประเทศราชของสยาม ต่อมาในปี พ.ศ. 1936 อาณาจักรเขมรแข็งเมืองจนสมเด็จพระราเมศวร กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาส่งกองทัพไปยึดเมืองพระนครเมืองหลวงของเขมรได้อีกครั้ง ประมาณว่ากองทัพไทยยกทัพไป 2 ทางมีทหารรวมกันระหว่าง 40,000 – 50,000 คน ในขณะที่กองทัพเขมรมีทหารระดมมาจากทั่วแคว้นประมาณ 100,000 คน ต่อมาในปีพ.ศ. 1974 อาณาจักรเขมรเกิดแข็งเมืองไม่ยอมส่งเครื่องบรรณาธิการมายังกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 โอรสของเจ้านครอินทร์หรือสมเด็จพระอินทราชายกทัพหลวงจากกรุงศรีอยุธยา คาดกันว่ามีกำลังพลประมาณ 60,000 คนไปตีเมืองพระนครของเขมร ยุทธวิธีรบของทหารไทยจากพระนครศรีอยุธยาจัดกำลังออกเป็น 2 กองทัพแรกคือกองทัพบกมีกำลัง 50,000 คนเข้าตีเขมรตรงด้านหน้ามีทั้งทหารช้าง ทหารม้า ทหารราบเครื่องทำลายกำแพงและทหารธนู กองทัพเรือมีกำลัง 10,000 คนล่องเรือไปทางแม่น้ำโขงเป็นเรือพายขนาดใหญ่จู่โจมทางด้านหลัง ฝ่ายอาณาจักรเขมรนั้นได้เกณฑ์ทหารตั้งรับจากทั่วอาณาจักรมีกำลังมากกว่าทหารไทย ประมาณกันว่ามีจำนวนระหว่าง 70,000 – 75,000 คน ประกอบด้วยพลเดินเท้าใช้ดาบยาว 2 มือและดาบยาวกับโล่หรือดั้งป้องกันตัว ทหารธนูมีกำลังพล 1 ใน 5 ของทหารทั้งหมด กองทหารม้ามีหอกยาว ทวนและโตมรพร้อมกับดาบยาวที่เอว เมืองพระนครของเขมรถูกทำลายจนต้องย้ายเมืองหลวงจากเมืองพระนครไปที่เมืองจตุรพักตร์ที่ตั้งของกรุงพนมเปญในปัจจุบัน และต่อมาย้ายไปเมืองละแวกใกล้ริมทะเลสาบเขมร และย้ายไปเมืองศรีสุนทร และเมืองอุดงมีชัย ตามลำดับ
การที่กองทัพไทยตีเมืองพระนครแตกทำให้ขอมหรือเขมรสิ้นอาณาจักร เขมรอยู่ในการปกครองของไทยเรื่อยมาตั้งแต่สมัย อยุธยา กรุงธนบุรี ถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาเกิดสงครามอานามสยามยุทธในสมัยรัชกาลที่3 ทำให้กัมพูชากลายเป็นรัฐอารักขาระหว่างสยามและญวณก่อนที่จะตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสในเวลาต่อมา