การเลิกล้มราชาธิปไตย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในประวัติศาสตร์โลก มีการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ในหลายประเทศทั่วโลก การเลิกล้มทำได้ด้วยวิธีหลายแบบ เช่นการปฏิวัติ, การตั้งสาธารณรัฐ, การลงประชามติของประชาชน, การรัฐประหาร หรือจากสงคราม

สาเหตุการล่มสลายของราชวงศ์ได้แก่มุมมองสมภาคนิยมและการต่อต้านระบบชนชั้น การกำจัดระบบคู่แข่งที่อาจต่อต้านระบบอื่นที่จะเข้ามา (เหมือนที่เกิดในประเทศโรมาเนียช่วง ค.ศ. 1947) การต่อต้านสถาบันที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและการสืบทอดแบบกรรมพันธุ์ ความเข้าใจในเรื่องพระมหากษัตริย์ว่าเป็นเรื่องที่ไม่เข้ากับยุคสมัยหรือล้าหลัง และการต่อต้านกษัตริย์หรือราชวงศ์จำเพาะ[1][2] ในอาณานิคมและอดีตอาณานิคมหลายแห่ง การเลิกล้มอิทธิพลกษัตริย์ในรัฐอาณานิคมถือเป็นส่วนหนึ่งของการให้เอกราช ในราชอาณาจักรเครือจักรภพหลายแห่ง มีมุมมองเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันต่างชาติที่ดำเนินการตรงข้ามกับเอกลักษณ์ประจำชาติหรืออธิปไตยของชาติ

  • ปัจจุบัน ประเทศที่ล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น เกาหลี, จักรวรรดิจีน และจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี เป็นต้น
  • บางประเทศ แม้จะล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ไปแล้วแต่ก็ได้มีการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ เช่น สเปน, สหราชอาณาจักร และกัมพูชา ซึ่งประเทศเหล่านี้เคยมีประวัติศาสตร์ในช่วงที่ไร้กษัตริย์หรือช่วงสาธารณรัฐ จนมีการฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์ในภายหลัง และพระมหากษัตริย์ก็ทรงกลับมาเป็นประมุขแห่งรัฐเช่นเดิมมาจนถึงปัจจุบัน
  • บางประเทศถึงมีการฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์แต่ก็ถูกล้มล้างอีก ทำให้การฟื้นฟูไม่เป็นผลสำเร็จ เช่น กรีซและฝรั่งเศส เป็นต้น

ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 มีบางประเทศที่มีพระมหากษัตริย์มีขบวนการสาธารณรัฐนิยมสำคัญ เช่นสเปน[3] และออสเตรเลีย[4]

พระบรมวงศานุวงศ์ที่เหลือรอดมาจากการล้มล้างก็ยังคงใช้คำนำหน้าพระนามเป็นพระอิสริยยศที่เคยดำรงอยู่ เช่น เจ้าหญิงเฮวอนแห่งเกาหลี ก็ยังคงใช้คำนำหน้าพระนามหรือพระอิสริยศว่า "จักรพรรดินีแห่งเกาหลี" ยังรอการหวนคืนสู่ราชบัลลังก์ และบางประเทศในปัจจุบันก็มีเสียงเรียกร้องให้ฟื้นฟูราชวงศ์ขึ้นมาใหม่ เช่นที่ สาธารณรัฐเกาหลี, สาธารณรัฐออสเตรีย และสาธารณรัฐฮังการี เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีการสิ้นสุดลงของพระราชวงศ์ที่ไม่ได้เกิดจากรัฐประหารหรือสาเหตุอื่น ๆ แต่เนื่องจากพระมหากษัตริย์ของประเทศนั้นไม่มีองค์รัชทายาทหรือผู้สืบทอดราชบัลลังก์ เช่น ซามัว

ประวัติศาสตร์[แก้]

ตัวอย่างของการล้มล้างพระราชวงศ์เช่น ในปี ค.ศ. 1649 พระราชวงศ์อังกฤษ โดยรัฐสภาแห่งอังกฤษภายใต้การนำของ โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ แต่ก็ได้มีการฟื้นฟูภายหลังในปี ค.ศ. 1660 อีกแห่งที่ฝรั่งเศส พระราชวงศ์ฝรั่งเศสถูกล้มล้างในปี ค.ศ. 1792 ในระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส และก็ได้มีการฟื้นฟูในภายหลังหลายครั้งแต่สุดท้ายฝรั่งเศสก็ได้กลายเป็นสาธารณรัฐ , ในปี ค.ศ. 1871 ราชวงศ์จีนอันเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานก็ถูกล้มล้างและพระจักรพรรดิก็ถูกถอดถอน ซึ่งพระจักรพรรดิองค์สุดท้ายของจีนก็คือ จักรพรรดิผู่อี๋ โดยการปฏิวัติของ ซุน ยัตเซ็น, สมเด็พระจักรพรรดิโกจงแห่งเกาหลี พระจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งจักรวรรดิเกาหลีก็สูญเสียราชบัลลังก์ในปี ค.ศ. 1910 เมื่อจักรวรรดิญี่ปุ่นเข้ายึดครองเกาหลีและให้พระราชวงศ์ญี่ปุ่นดำรงเป็นพระประมุขแห่งเกาหลีสืบต่อแทน และอีกแห่งหนึ่งนั้นก็คือมองโกเลีย หลังจากพระมหากษัตริย์ได้สวรรคตลง มองโกเลียก็ได้กลายเป็นสาธารณรัฐ

ในปี ค.ศ. 1893 ผู้นำของกระทรวงการค้าต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรฮาวาย ก็ได้ทำการยึดอำนาจจากสมเด็จพระราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรฮาวาย และได้ก่อตั้งเป็นสาธารณรัฐจนเข้าร่วมเป็นรัฐสมาชิกรัฐหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1898, พระราชวงศ์โปรตุเกสก็ถูกล้มล้างในปี ค.ศ. 1910 สองปีหลังจากการสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าคาร์ลอสที่ 1 แห่งโปรตุเกส

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ได้เกิดการล้มล้างอำนาจของพระราชวงศ์ทั่วโลกครั้งใหญ่ เช่น ในจักรวรรดิรัสเซียภาวะความอดอยากและยากจนของประเทศจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ได้ทำให้เกิดการปฏิวัติยึดอำนาจพระราชวงศ์รัสเซีย และได้ก่อให้เกิดลัทธิคอมมิวนิสต์ ที่เน้นการต้อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งภายหลังได้ทำการสังหารหมู่พระราชวงศ์รัสเซีย ส่วนประเทศที่ล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลง ได้แก่ จักรวรรดิเยอรมัน, จักรวรรดิออสเตรีย - ฮังการี, และจักรวรรดิออตโตมาน ในระหว่างสงครามพระราชวงศ์บางแห่งก็มีแผนที่จะประกาศเอกราชและก่อตั้งราชวงศ์เช่น ราชรัฐฟินแลนด์ และที่ ลิทัวเนีย รวมทั้งรัฐในอารักขา และอาณานิคมบางแห่งของจักรวรรดิเยอรมัน ซึ่งทั้งพระมหากษัตริย์แห่งฟินแลนด์และลิทัวเนีย ก็ได้สละราชบัลลังก์ภายหลังการพ้ายแพ้ของเยอรมัน ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918

ในปี ค.ศ. 1939 ราชอาณาจักรอิตาลี ก็ได้เข้ายึดครองแอลเบเนียซึ่งได้ทำการล้มล้างพระราชวงศ์แอลเบเนีย และสถาปนาพระราชวงศ์อิตาลีขึ้นเป็นพระประมุขแห่งแอลเบเนีย ตลอดจนพระราชวงศ์ของยุโรปตะวันออก เช่นพระราชวงศ์บัลแกเรีย, ฮังการี และโรมาเนีย ก็ได้เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะของเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่สอง ต่อต้านราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย, ฝ่ายสัมพันธมิตร และสหภาพโซเวียต ในขณะที่ฝ่ายอักษะกำลังพ้ายแพ้ในสงคราม แนวร่วมของลัทธิคอมมิวนิสต์ทั้งใน ยูโกสลาเวีย และแอลเบเนีย ก็ได้ทำการยึดอำนาจและล้มล้างพระราชวงศ์ของทั้งสองประเทศลง ส่วนลัทธิคอมมิวนิสต์ในบัลแกเรีย, ฮังการี และโรมาเนีย ก็ได้ทำการล้มล้างพระราชวงศ์ของตนโดยกองกำลังอันแข็งแกร่งของสหภาพโซเวียต ที่มีทั้งอาวุธและผู้สนับสนุนเป็นจำนวนมากในระหว่างการดำเนินไปของสงครามโลกครั้งที่สอง ในขณะที่พระมหากษัตริย์แห่งอิตาลีก็ได้ทำการสลับข้างจากฝ่ายอักษะเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามจากความอนุเคราะห์ของฝ่ายสัมพันธมิตร แต่ถึงอย่างไรก็ตามพระราชวงศ์อิตาลีก็สิ้นสุดลงจากการลงประชามติของประชาชนชาวอิตาลีในปี ค.ศ. 1946 เช่นกัน แต่มีพระมหากษัตริย์แห่งเดียวในโลกในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่ถึงแม้จะพ้ายแพ้ในสงคราม แต่พระราชวงศ์ก็มิได้ถูกล้มล้างนั้นคือ สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะแห่งญี่ปุ่น ที่ถึงแม้จะเป็นผู้ให้การต่อต้านการทำสงครามแต่ก็เป็นผู้คุมอำนาจสำคัญของการทำศึกต่อต้านฝ่ายสัมพันธมิตร ที่ยินยอมให้สหรัฐอเมริกาเข้าควบคุมญี่ปุ่นแทนการถูกนำตัวไปขึ้นศาลโลกในฐานะอาชญากรสงครามและล้มล้างพระราชวงศ์ญี่ปุ่น แต่ทว่าตระกูลเจ้าชายต่างๆ ในระบบศักดินาได้ถูกทำลายแทน

ในราชอาณาจักรกรีซ สมเด็จพระราชาธิบดีและพระราชวงศ์ก็ถูกเนรเทศโดยกองทัพจากการรัฐประหาร ในปี ค.ศ. 1967 ถึงแม้จะมีการฟื้นฟูในภายหลังแต่ก็ถูกล้มล้างอีกครั้งจากการลงประชามติของประชาชนในปี ค.ศ. 1974

ระบอบราชาธิปไตยในอินเดีย, เคนยา, แทนซาเนีย, แซมเบีย และซิมบับเว ถูกล้มลงไม่นานหลังจากได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร หลังจากที่ก่อนหน้านี้ในขณะที่เป็นรัฐสมาชิกของเครือจักรภพแห่งชาติได้มีสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร เป็นพระประมุขมาโดยตลอด

ความพยายามในการฟื้นฟูราชวงศ์[แก้]

นอกจากนี้ยังมีประเทศที่มีความพยายามที่จะฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์ของตนเองขึ้นมาอีกครั้งแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นที่ บราซิล ในปี ค.ศ. 1990 รัฐสภาแห่งบราซิลได้มีการลงมติให้มติการฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอันตกไป ในขณะที่ยังมีความพยายามในการฟื้นฟูพระราชวงศ์ยังคงดำเนินต่อไปในทางภาคตะวันออกของประเทศ ที่บัลแกเรีย พระเจ้าซาร์ซิเมออนที่ 2 พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายที่ได้ขึ้นเสวยราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ของประเทศ ทรงได้รับเลือกมาเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศ โดยดำรงตำแหน่งตามวาระ 4 ปี เริ่มดำรงตำแหน่งในปี ค.ศ. 2001 ถึง ค.ศ. 2005 แต่ท้ายที่สุดก็ไม่ได้มีการฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์ของประเทศขึ้นมาแต่อย่างใด ที่ออสเตรเลียเองก็มีปัญหาเกี่ยวกับพระราชวงศ์อังกฤษขึ้นมา เนื่องจากประชาชนบางกลุ่มต้องการให้ออสเตรเลียกลายเป็นสาธารณรัฐ จึงได้ยื่นข้อเสนอเข้ารัฐสภาและก็ได้มีการลงมติของรัฐสภาในเรื่องนี้ ผลที่ออกมาก็คือรัฐสภาของทุกรัฐลงมติให้ออสเตรเลียยังคงใช้ระบอบการปกครองแบบเดิม ที่มีพระประมุขของประเทศยังคงเป็น สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ยกเว้นที่เขตนครหลวงแห่งออสเตรเลียที่ผ่านข้อเสนอเท่านั้น ที่แอลเบเนียเองก็ได้มีความพยายามฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์เช่นกันในปี ค.ศ. 1997 แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ ส่วนที่สาธารณรัฐเกาหลี ค.ศ. 2007 สมเด็จพระจักรพรรดินีเฮวอนแห่งเกาหลี ได้ประกาศที่จะฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์ภายในประเทศขึ้นมาอีกครั้ง แต่รัฐบาลกลางของเกาหลีก็ยังไม่ได้มีการเข้ามายุ่งเกี่ยวหรือพิจารณาในกรณีนี้ ซึ่งแนวทางในการฟื้นฟูมีความเป็นไปได้สูงเพราะว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ของเกาหลีเองก็มีบทบาทในการเป็นศูนย์รวมใจของประชาชนเรื่อยมาตั้งแต่หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง โดยคาดการณ์กันว่าสองเกาหลีจะต้องรวมประเทศกันเสียก่อนถึงจะมีการฟื้นฟู และเกาหลีใหม่นี้จะต้องปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่โรมาเนียเองสถาบันพระมหากษัตริย์ของประเทศก็มีบทบาทเป็นเป็นศูนย์รวมใจของประชาชน โดยมีการยื่นให้รัฐสภามีการพิจารณาฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์ขึ้นมาอีกครั้ง เช่นเดียวกับที่เซอร์เบียที่พระราชวงศ์ต่างได้สิทธิจากรัฐบาลให้พำนักในพระราชวังในเมืองหลวงและยังคงมีบทบาททางสังคมเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน อีกทั้งพระราชวงศ์ยังปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่าง ๆ มากมายเช่น ด้านสิทธิมนุษยชน เป็นต้น ซึ่งที่เซอร์เบียนี้เองที่มีความพยายามอย่างมากในการฟื้นฟูพระราชวงศ์เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยังคงเป็นกลุ่มนิยมกษัตริย์

พระมหากษัตริย์ที่ถูกล้มล้าง[แก้]

ประเทศ พระรูป พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้าย ปี หมายเหตุ
ทศวรรษ 1700
ราชอาณาจักรอังกฤษ สมเด็จพระราชินีนาถแอนน์ ค.ศ. 1707 สถาปนาราชอาณาจักรบริเตนใหญ่
ราชอาณาจักรสกอตแลนด์
ทศวรรษ 1790
ราชบัลลังก์แห่งราชอาณาจักรโปแลนด์ พระเจ้าสตาญิสวัฟที่ 2 เอากุสตุส ค.ศ. 1795 ล้มล้างพระราชวงศ์
เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย
แกรนด์ดัชชีลิทัวเนีย แกรนด์ดยุกสตาญิสวัฟ เอากุสตุสที่ 2
ทศวรรษ 1800
ราชอาณาจักรไอร์แลนด์ พระเจ้าจอร์จที่ 3 ค.ศ. 1801 รวมกับราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ สถาปนาสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์
จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จักรพรรดิฟรันทซ์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 1806 ถูกยุบโดยจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
อาร์ชดัชชีออสเตรีย อาร์ชดยุกฟรันทซ์ที่ 2 เปลี่ยนเป็นจักรวรรดิออสเตรีย
จักรวรรดิเฮติที่หนึ่ง สมเด็จพระจักรพรรดิฌักที่ 1 แห่งเฮติ ล้มล้างพระราชวงศ์
ทศวรรษ 1810
จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ค.ศ. 1814 สถาปนาราชอาณาจักรฝรั่งเศส
ราชอาณาจักรอิตาลี สมเด็จพระเจ้าโปเลียนที่ 1 ล้มล้างพระราชวงศ์
เดนมาร์ก–นอร์เวย์ พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6 ประกาศแยกราชวงศ์
ราชอาณาจักรเนเปิลส์ สมเด็จพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 4 ค.ศ. 1816 สถาปนาราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสอง
ราชอาณาจักรซิซิลี สมเด็จพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 3
จักรวรรดิมราฐา สมเด็จพระจักรพรรดิประทับสิงห์ ค.ศ. 1818 ล้มล้างพระราชวงศ์
ทศวรรษ 1820
ราชอาณาจักรเฮติ พระเจ้าอ็องรีที่ 1 แห่งเฮติ ค.ศ. 1820 ล้มล้างพระราชวงศ์
สหราชอาณาจักรโปรตุเกส บราซิล และแอลการ์ฟ พระเจ้าฌูเอาที่ 6 ค.ศ. 1822 ประกาศแยกราชวงศ์
จักรวรรดิเม็กซิโกที่ 1 สมเด็จพระจักรพรรดิอากุสตินที่ 1 แห่งเม็กซิโก ค.ศ. 1823
ทศวรรษ 1830
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศส ค.ศ. 1830 สถาปนาราชอาณาจักรแห่งชาวฝรั่งเศส
สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ พระเจ้าวิลเลิมที่ 1 แห่งเนเธอร์แลนด์ ค.ศ. 1839 ประกาศแยกราชวงศ์
แกรนด์ดยุกวิลเลิมที่ 1 แห่งลักเซมเบิร์ก
ทศวรรษ 1840
ราชอาณาจักรแห่งชาวฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปที่ 1 แห่งฝรั่งเศส ค.ศ. 1848 สถาปนาสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2
จักรวรรดิซิกข์ ทุลีป สิงห์ ค.ศ. 1849 ล้มล้างพระราชวงศ์
ทศวรรษ 1850
จักรวรรดิโมกุล จักรพรรดิบาฮาดูร์ ชาห์ที่ 2 ค.ศ. 1857 เปลี่ยนเป็นบริติชราช
จักรวรรดิเฮติที่สอง จักรพรรดิโฟสแต็งที่ 1 แห่งเฮติ ค.ศ. 1859 ล้มล้างพระราชวงศ์
ทศวรรษ 1860
ราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 2 แห่งซาวอย ค.ศ. 1861 เปลี่ยนเป็นราชอาณาจักรอิตาลี
ราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสอง สมเด็จพระเจ้าฟรานซิสที่ 2 แห่งราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสอง รวมชาติกับราชอาณาจักรอิตาลี
ราชอาณาจักรลอมบาร์ดี-เวนีเชีย สมเด็จพระราชาธิบดีฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1 ค.ศ. 1866 รวมชาติกับราชอาณาจักรอิตาลี
ราชอาณาจักรฮันโนเฟอร์ พระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งฮันโนเฟอร์ รวบเข้ากับราชอาณาจักรปรัสเซีย
จักรวรรดิเม็กซิโกที่ 2 จักรพรรดิมัคซีมีลีอานที่ 1 แห่งเม็กซิโก ค.ศ. 1867
ทศวรรษ 1870
จักรวรรดิฝรั่งเศสที่สอง จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ค.ศ. 1870 สถาปนาสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3
รัฐสันตะปาปา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 9 รวมชาติกับราชอาณาจักรอิตาลี
อาณาจักรรีวกีว โช ไท ค.ศ. 1879 รวบเข้ากับจักรวรรดิญี่ปุ่น
ราชอาณาจักรซูลู สมเด็จพระราชาธิบดีเคตช์วาโย คามพันเด สงครามอังกฤษ–ซูลู-รวบเข้ากับจักรวรรดิอังกฤษ แต่ยังมีการสืบต่อระบอบราชาธิปไตยในซูลูแลนด์
ทศวรรษ 1880
ราชอาณาจักรตาฮีตี พระเจ้าโปมาเรที่ 5 แห่งตาฮีตี ค.ศ. 1880 รวบเข้ากับจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศส
จักรวรรดิพม่า พระเจ้าธีบอ ค.ศ. 1885 รวบเข้ากับบริติชราช
จักรวรรดิบราซิล จักรพรรดิเปดรูที่ 2 แห่งบราซิล ค.ศ. 1889 เกิดการปฏิวัติ
ทศวรรษ 1890
ราชอาณาจักรฮาวาย สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานีแห่งฮาวาย ค.ศ. 1895 สถาปนาสาธารณรัฐฮาวาย
ราชอาณาจักรเมรีนา สมเด็จพระราชินีนาถรานาวาโลนาที่ 3 แห่งมาดากัสการ์ ค.ศ. 1897 รวบเข้ากับจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศส
ราชอาณาจักรฟิลิปปินส์ พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 13 ค.ศ. 1898 สถาปนาสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 1 และ รัฐบาลทหารสหรัฐแห่งหมู่เกาะฟิลิปปินส์
คิวบา ถูกยึดโดยสหรัฐ
ปวยร์โตรีโก
ทศวรรษ 1900
อาณาจักรปัตตานี พระยาวิชิตภักดี ค.ศ. 1902 กลายเป็นมณฑลปัตตานี
รัฐสุลต่านอาเจะฮ์ อลาอุดดิน มูฮัมหมัด ดาอูด ชาห์ที่ 2 ค.ศ. 1903 รวบเข้ากับหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์
สหราชอาณาจักรสวีเดนและนอร์เวย์ สมเด็จพระเจ้าออสการ์ที่ 2 ค.ศ. 1905 ประกาศแยกราชวงศ์
วิลายะห์บอสเนีย สุลต่านอับดุล ฮามิดที่ 2 ค.ศ. 1908 รวบเข้ากับจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
ราชรัฐบัลแกเรีย เจ้าชายเฟอร์ดินานด์ที่ 1 สถาปนาราชอาณาจักรบัลแกเรีย
ทศวรรษ 1910
ราชอาณาจักรโปรตุเกส สมเด็จพระเจ้าเอ็มมานูเอลที่ 2 ค.ศ. 1910 เกิดการปฏิวัติ
จักรวรรดิเกาหลี สมเด็จพระจักรพรรดิซุนจง ค.ศ. 1910 ล้มล้างพระราชวงศ์โดยจักรวรรดิญี่ปุ่นและมีพระราชวงศ์ญี่ปุ่นเป็นประมุขจนถึงปี ค.ศ. 1945
จักรวรรดิจีน สมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋ ค.ศ. 1912 การปฏิวัติซินไฮ่ – พระจักรพรรดิถูกถอดถอนโดยขุนศึกและนักสาธารณรัฐนิยม
ราชรัฐแอลเบเนีย เจ้าชายวิลเลี่ยมที่ 1 ค.ศ. 1914 ถูกล้มล้างลงแต่ก็ได้มีการฟื้นฟูขึ้นในปี ค.ศ. 1928 (ราชอาณาจักรแอลเบเนีย)
คองเกรสโปแลนด์ สมเด็จพระเจ้านิโคลัสที่ 2 ค.ศ. 1915 ล้มล้างพระราชวงศ์
จักรวรรดิจีน จักรพรรดิหงเซียน ค.ศ. 1916 ล้มล้างพระราชวงศ์
เมืองสตูล พระยาภูมินารถภักดี กลายเป็นส่วนหนึ่งของสยาม
จักรวรรดิรัสเซีย สมเด็จพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ค.ศ. 1917 การปฏิวัติรัสเซีย
ราชรัฐฟินแลนด์ แกรนด์ดยุกนิโคไลที่ 2 สถาปนาราชอาณาจักรฟินแลนด์
ราชอาณาจักรมอนเตเนโกร สมเด็จพระเจ้านิกอลาที่ 1 แห่งมอนเตเนโกร ค.ศ. 1918 ลงประชามติให้ถอดถอนพระราชาและรวมประเทศเข้ากับราชอาณาจักรเซอร์เบีย
จักรวรรดิเยอรมัน สมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 รัฐสมาชิกของจักรวรรดิเยอรมันทั้งหมดพ้ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และจากการปฏิวัติเยอรมัน
ราชอาณาจักรปรัสเซีย
ราชอาณาจักรบาวาเรีย สมเด็จพระเจ้าลูทวิชที่ 3
ราชอาณาจักรเวือร์ทเทิมแบร์ค สมเด็จพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 2
ราชอาณาจักรแซกโซนี สมเด็จพระเจ้าฟรีดริช ออกัสที่ 3
แกรนด์ดัชชีเฮสเซอ สมเด็จพระเจ้าเอิร์นส์ ลุดวิกที่ 1
ราชรัฐบาเดิน สมเด็จพระเจ้าฟรีดริชที่ 2
ราชรัฐแซก-ไวมาร์-ไอเซนาร์ช สมเด็จพระเจ้าวิลเฮล์ม เอิร์นส์ที่ 1
ราชรัฐแมคเคลนบวร์ก-เชสวริน สมเด็จพระเจ้าฟรีดริช ฟรานส์ที่ 4
ราชรัฐเม็คเคลนบวร์ก-สเตรอลิตส์ สมเด็จพระเจ้าอดอลฟัส เฟรเดอริคที่ 6
รัฐโอลเดนบวร์ก สมเด็จพระเจ้าฟรีดริช ออกัสที่ 2
ดัชชีบรุนส์วิก สมเด็จพระเจ้าเอิร์นส์ ออกัสที่ 1
รัฐอันฮัลต์ สมเด็จพระเจ้าโจอาชิม เอิร์นส์ที่ 1
ดัชชีแซชเซน-โคบูร์กและโกธา สมเด็จพระเจ้าคาร์ล เอ็ดการ์ดที่ 1
รัฐแซก-เมนนิเจน สมเด็จพระเจ้าเบิร์นฮาร์ทที่ 3
ราชรัฐแซก-อัลเทนบวร์ก ดยุคเอิร์นส์ที่ 2
รัฐวัลด์เดค-พีรมอนต์ เจ้าชายฟรีดริชที่ 1
ราชรัฐลิปป์ สมเด็จพระเจ้าลีโอโพลด์ที่ 4
รัฐชควกควมเบิร์ก-ลิปป์ เจ้าชายอดอล์ฟที่ 2
รัฐเชควาร์ทบูร์ก-รูดอลสติตซ์ เจ้าชายกุนเตอร์ วิคเตอร์ที่ 1
รัฐเชควาร์ทบูร์ก-ซอนเดอร์ฮุสเซน
เรอสส์ สายหลัก
เรอสส์ สายรอง
จักรวรรดิออสเตรีย สมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 1 ถูกถอดถอนและล้มล้างพระราชวงศ์
จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
ราชอาณาจักรฮังการี สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 4 แม้จะฟื้นฟูในปี ค.ศ. 1920 แต่ก็เหลือไว้เพียงราชบัลลังก์อันว่างเปล่ากับผู้สำเร็จราชการแทน
ราชอาณาจักรโบฮีเมีย สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 3 รวมชาติกับสาธารณรัฐเชโกสโลวักที่ 1
ราชอาณาจักรฟินแลนด์ สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริค ชาร์ลส์ที่ 1 ขึ้นเสวยราชย์ได้1ปี
ราชอาณาจักรลิทัวเนีย สมเด็จพระเจ้ามินดัวกัส
(ว่าที่พระมหากษัตริย์)
ไม่เคยได้ขึ้นเสวยราชย์
ราชอาณาจักรโปแลนด์ - ไม่มี (สำเร็จราชการโดยคณะผู้สำเร็จราชการแทน) ไม่มีผู้สืบทอดราชบัลลังก์
ราชอาณาจักรบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 1 รวมชาติกับราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย
ราชอาณาจักรโครเอเชีย-สลาโวเนีย สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์โลที่ 4 รวมชาติกับรัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บ
ราชอาณาจักรแดลเมเชีย สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 1 รวมชาติกับรัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บ
ราชอาณาจักรกาลิเซียและโลโดเมเรีย สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 1 รวมชาติกับสาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2
ราชอาณาจักรเซอร์เบีย สมเด็จพระราชาธิบดีปีเตอร์ที่ 1 เปลี่ยนเป็นราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย
ทศวรรษ 1920
ราชอาณาจักรอิสลามบูคารา (อุซเบกิสถาน) สมเด็จพระเจ้าโมฮัมเม็ด อาลิม คาห์น ค.ศ. 1920
เขตปกครองของข่านแห่งคิวา (อุซเบกิสถาน) สมเด็จพระเจ้าอับดุลเลาะห์ คาห์น
ราชอาณาจักรซีเรีย สมเด็จพระเจ้าฟัยศ็อลที่ 1
ประมุขร่วมกับราชอาณาจักรอิรัก
ค.ศ. 1920 ระบอบกษัตริย์ถูกล้มล้างจากการพ่ายแพ้ในการปิดล้อมที่ดามัสกัส
ภายหลังได้มีการฟื้นฟู
จักรวรรดิออตโตมัน สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 6 ค.ศ. 1922 สงครามประกาศอิสรภาพตุรกีจากการตัดสินใจของรัฐบาลอังการาในปี ค.ศ. 1922
ราชอาณาจักรกรีซ สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 ค.ศ. 1924 มีการฟื้นฟูพระราชวงศ์ใน ค.ศ. 1935 แต่ต่อมาก็ถูกถอดถอนออกจาพระอิสริยยศอีกครั้งใน ค.ศ. 1974
มองโกเลีย บอจด์ ข่าน ถูกยึดอำนาจ
ทศวรรษ 1930
ราชอาณาจักรสเปน สมเด็จพระราชาธิบดีอัลฟอนโซที่ 13 ค.ศ. 1931 ภายหลังได้มีการฟื้นฟูพระราชวงศ์ขึ้นมาอีกครั้ง
ราชอาณาจักรแอลเบเนีย สมเด็จพระราชาธิบดีซ็อกที่ 1 ค.ศ. 1939 ราชบัลลังก์ถูกยึดโดยพระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 แห่งอิตาลี หลังจากการรุกรานโดยอิตาลี
ทศวรรษ 1940
ราชอาณาจักรแอลเบเนีย สมเด็จพระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 ค.ศ. 1943 ทรงสละราชบัลลังก์จากการสงบศึก
ราชอาณาจักรโครเอเชีย สมเด็จพระเจ้าโทมิสลาฟว์ที่ 2 ค.ศ. 1943 สละราชสมบัติภายหลังจากการบีบบังคับที่ราชอาณาจักรอิตาลีให้การสนับสนุน
ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย สมเด็จพระราชาธิบดีปีเตอร์ที่ 2 โค่นล้มโดยนาซีเยอรมัน
ราชอาณาจักรไอซ์แลนด์ สมเด็จพระราชาธิบดีคริสเตียนที่ 10 ค.ศ. 1944 การเป็นสหพันธรัฐกับเดนมาร์กสิ้นสุดลง
จักรวรรดิแมนจู สมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋ ค.ศ. 1945 สิ้นสุดการปกครองโดยญี่ปุ่น จักรวรรดิกลายเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐจีน
เกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ สิ้นสุดการปกครองโดยญี่ปุ่น
จักรวรรดิเวียดนาม สมเด็จพระจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย สิ้นสุดการปกครองโดยญี่ปุ่น
ราชอาณาจักรฮังการี - ไม่มี (ผู้สำเร็จราชการแทน) ค.ศ. 1946 มติรัฐสภาโดยปราศจากการลงประชามติ
ราชอาณาจักรอิตาลี สมเด็จพระเจ้าอุมแบร์โตที่ 2 ผลการลงประชามติ ร้อยละ 54.3 ให้เปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐ
ราชอาณาจักรบัลแกเรีย สมเด็จพระเจ้าซาร์ซิเมออนที่ 2 ผลการลงประชามติ ร้อยละ 95 ให้เปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐ
ราชอาณาจักรซาราวัก HH Charles Vyner Brooke, Rajah of Sarawak ชาร์ลส์ ไวเนอร์ บรู๊ค ราชามอบอำนาจให้อังกฤษ
ราชอาณาจักรโรมาเนีย สมเด็จพระราชาธิบดีไมเคิลที่ 1 ค.ศ. 1947 บังคับให้สละราชสมบัติโดยพวกคอมมิวนิสต์
จักรวรรดิอินเดีย สมเด็จพระจักรพรรดิจอร์จที่ 6 ล้มเลิกการเป็นราชอาณาจักรเครือจักรภพ สถาปนาสหภาพอินเดียและรัฐปากีสถาน
พม่า พระเจ้าจอร์จที่ 6 ค.ศ. 1948 สถาปนาสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า
เสรีรัฐไอริช พระเจ้าจอร์จที่ 6 ค.ศ. 1949 การเป็นสหราชอาณาจักรกับบริเตนใหญ่ สิ้นสุดลง
หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ สมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนา สถาปนาประเทศอินโดนีเซีย
ทศวรรษ 1950
สหภาพอินเดีย พระเจ้าจอร์จที่ 6 ค.ศ. 1950 ล้มเลิกการเป็นราชอาณาจักรเครือจักรภพ
ราชอาณาจักรไมซอร์ รายาชามาราเจนดรา วาดิยาร์ กลายเป็นรัฐหนึ่งของอินเดีย
ราชอาณาจักรทิเบต ทะไลลามะที่ 14 ค.ศ. 1951 รวบเข้ากับสาธารณรัฐประชาชนจีน
ชัมมูและกัศมีร์ ฮาริ ซิงห์ ค.ศ. 1952 กลายเป็นชัมมูและกัศมีร์ (ดินแดนสหภาพ)
ราชอาณาจักรอียิปต์ พระเจ้าฟูอัดที่ 2 ค.ศ. 1953 การปฏิวัติอียิปต์ ค.ศ. 1952
รัฐเวียดนาม บ๋าว ดั่ย ค.ศ. 1955 แบ่งประเทศและลงประชามติ
รัฐปากีสถาน สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ค.ศ. 1956 ล้มเลิกการเป็นราชอาณาจักรเครือจักรภพ
อาณาจักรอัสฮันติ โอเซย ตูตู อาเยแมน เพรมเพชที่ 2 ค.ศ. 1957 รวบเข้ากับประเทศกานา แต่ยังมีการสืบต่อระบอบราชาธิปไตยในอัสฮันติแลนด์
ราชอาณาจักรตูนิเซีย พระเจ้ามูฮัมหมัดที่ 8 อัล-อามินแห่งตูนิเซีย รัฐประหาร
ราชอาณาจักรอิรัก พระเจ้าฟัยศ็อลที่ 2 ค.ศ. 1958
ทศวรรษ 1960
คองโก สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวง ค.ศ. 1960 สถาปนาสาธารณรัฐคองโก (เลออปอลวีล)
กานา สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ล้มเลิกการเป็นราชอาณาจักรเครือจักรภพ
สหภาพแอฟริกาใต้ ค.ศ. 1961
ราชอาณาจักรรวันดา สมเด็จพระเจ้าคิเกลิที่ 5 รัฐประหาร
แทนกันยีกา สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ค.ศ. 1962 ล้มเลิกการเป็นราชอาณาจักรเครือจักรภพ
ราชอาณาจักรมุตาวัคคิไลต์เยเมน สุลต่านมูฮัมมัดที่ 11 รัฐประหาร
สิงคโปร์ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ค.ศ. 1963 เข้าร่วมกับสหพันธรัฐมาลายา
ไนจีเรีย ล้มเลิกการเป็นราชอาณาจักรเครือจักรภพ
ยูกันดา
เคนยา ค.ศ. 1964
แซนซิบาร์ สุลต่านจามชิด บิน อับดุลลาห์ รัฐประหาร
ราชอาณาจักรบุรุนดี สมเด็จพระเจ้านทาร์ที่ 5 ค.ศ. 1966
มาลาวี สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ล้มเลิกการเป็นราชอาณาจักรเครือจักรภพ
ราชอาณาจักรมัลดีฟส์ สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัด ฟารีด ดิดิ ค.ศ. 1968 การลงประชามติแยกตัวเป็นเอกราช
ราชอาณาจักรลิเบีย สมเด็จพระเจ้าไอดริสที่ 1 ค.ศ. 1969 รัฐประหาร
ทศวรรษ 1970
ราชอาณาจักรกัมพูชา พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหนุ ค.ศ. 1970 ภายหลังมีการฟื้นฟู
แกมเบีย สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ล้มเลิกการเป็นราชอาณาจักรเครือจักรภพ
กายอานา
เซียร์ราลีโอน ค.ศ. 1971
ซีลอน (ศรีลังกา) ค.ศ. 1972 ล้มเลิกการเป็นราชอาณาจักรเครือจักรภพ
ราชอาณาจักรอัฟกานิสถาน สมเด็จพระเจ้ามูฮัมเม็ด ซาฮีร์ ชาห์ ค.ศ. 1973 รัฐประหาร
จักรวรรดิเอธิโอเปีย สมเด็จพระจักรพรรดิเฮลี เซลาสซีที่ 1 ค.ศ. 1974
ราชอาณาจักรกรีซ สมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2 การลงประชามติ; ร้อยละ 69 ต้องการให้เปลี่ยนระบอบการปกครอง
มอลตา สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ล้มเลิกการเป็นราชอาณาจักรเครือจักรภพ
ราชอาณาจักรลาว พระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา ค.ศ. 1975 การยึดครองโดยคอมมิวนิสต์
ราชอาณาจักรสิกขิม ปาร์ลเดน ทอนดับ นามกยาล ผลการลงประชามติ ร้อยละ 97 ต้องการเป็นรัฐสมาชิกรัฐหนึ่งของอินเดีย
ตรินิแดดและโตบาโก สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ค.ศ. 1976 ล้มเลิกการเป็นราชอาณาจักรเครือจักรภพ
จักรวรรดิอิหร่าน สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัด เรซา ปาห์เลวี ค.ศ. 1979 การปฏิวัติอิสลาม
จักรวรรดิแอฟริกากลาง สมเด็จพระจักรพรรดิโบคัสซาที่ 1 รัฐประหาร
ทศวรรษ 1980
รัฐสุลต่านซูลู สุลต่านโมฮัมหมัดมหาราชอับดุลเลาะคีร ค.ศ. 1986 ล้มล้างพระราชวงศ์
ฟิจิ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ค.ศ. 1987 ล้มเลิกการเป็นราชอาณาจักรเครือจักรภพ
ทศวรรษ 1990
มอริเชียส สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ค.ศ. 1992 ล้มเลิกการเป็นราชอาณาจักรเครือจักรภพ
ฮ่องกง ค.ศ. 1997 เปลี่ยนเป็นเขตบริหารพิเศษฮ่องกง
ทศวรรษ 2000
ซามัว มาลีเอตัว ตานุมาฟิลิที่ 2 ค.ศ. 2007 ไม่มีผู้สืบทอดราชบัลลังก์
ราชอาณาจักรเนปาล สมเด็จพระราชาธิบดีชญาเนนทรวีรวิกรมศาหเทวะ ค.ศ. 2008 มติของรัฐสภา จัดตั้งสาธารณรัฐ[5]
ทศวรรษ 2010
เนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ ค.ศ. 2010 ดินแดนถูกยุบ
ทศวรรษ 2020
บาร์เบโดส สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ค.ศ. 2021 ล้มเลิกการเป็นราชอาณาจักรเครือจักรภพ

รายชื่อราชาธิปไตยในปัจจุบันที่ได้รับการฟื้นฟู[แก้]

ประเทศ ปีที่ล้มล้าง (ค.ศ.) หมายเหตุ ปีที่ฟื้นฟู (ค.ศ.)
ราชอาณาจักรอังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ 1649 เปลี่ยนผ่านมาจากเครือจักรภพแห่งอังกฤษและการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ 1660
ราชอาณาจักรสเปน 1873 เปลี่ยนผ่านมาจากสาธารณรัฐสเปนที่ 1 1874
1931 เปลี่ยนผ่านมาจากสาธารณรัฐสเปนที่ 2 แล้วจากนั้นจึงเกิดการฟื้นฟูในปี 1947 ซึ่งการฟื้นฟูมาจากคำสั่งเสียของจอมพลฟรันซิสโก ฟรังโก 1975
อันโกเล 1967 ถูกล้มล้างจากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของ มิลตัน โอเบเต 1993
บูกันดา
บุนโยโร
โตโร
ราชอาณาจักรกัมพูชา 1970 เกิดการรัฐประหาร 1975
1976 หลังจากการล้มล้างสองครั้งท้ายที่สุดก็ได้มีการฟื้นฟูอีกครั้งในปี ค.ศ. 1993 1993
รเวนซูรูรู (ส่วนหนึ่งของยูกันดา) 1982 ถูกล้มเลิกโดยรัฐบาล 2009
(พฤตินัย)

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "We need to abolish the monarchy – because it's not fair on anyone, including the royals". The Independent. 19 May 2018. สืบค้นเมื่อ 12 January 2020.
  2. "'Essentially, the monarchy is corrupt' – will republicanism survive Harry and Meghan?". The Guardian. 9 May 2018. สืบค้นเมื่อ 12 January 2020.
  3. "Royal families: The countries that feel the strongest about abolishing their monarchies". QZ. 18 May 2018. สืบค้นเมื่อ 12 January 2020.
  4. "Does the monarchy have a future?". Dhaka Tribune. 11 January 2020. สืบค้นเมื่อ 12 January 2020.
  5. BBC NEWS | World | South Asia | Nepal votes to abolish monarchy