รายพระนามจักรพรรดิไบแซนไทน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพรรดิ
แห่งโรมัน
ราชาธิปไตยในอดีต
Byzantine Palaiologos Eagle.svg
เครื่องยศจักรพรรดิที่ถูกใช้ในสมัยราชวงศ์พาลาโอโลกอส
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11
จักรพรรดิไบแซนไทน์องค์สุดท้าย

ปฐมกษัตริย์ จักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราช
องค์สุดท้าย จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 พาลาโอโลกอส
สถานพำนัก พระราชวังคอนสแตนติโนเปิล
ผู้แต่งตั้ง ไม่ระบุ, โดยพฤตินัย, สืบราชสันตติวงศ์ทางสายโลหิต[1]
เริ่มระบอบ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 330
สิ้นสุดระบอบ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1453
(1,123 ปี 18 วัน)

นี่คือ รายพระนามจักรพรรดิไบแซนไทน์ ตั้งแต่การสถาปนากรุงคอนสแตนติโนเปิลในปีค.ศ. 330 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นโดยทั่วไปของจักรวรรดิโรมันตะวันออก หรือ จักรวรรดิไบแซนไทน์ ไปจนถึงการเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิลแก่จักรวรรดิออตโตมันในปี ค.ศ. 1453 มีเพียงจักรพรรดิเท่านั้นที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ปกครองที่ถูกต้องตามกฎหมายและมีพระราชอำนาจในการใช้อำนาจอธิปไตย รวมทั้งการแยกตำแหน่งจักรพรรดิร่วม (symbasileis:ซิมบาซิเลอิส) ผู้ซึ่งไม่เคยเป็นสถานะของผู้ปกครอง และไม่นับรวมผู้ช่วงชิงราชบัลลังก์หรือกบฏที่ทำการอ้างสิทธิในตำแหน่งจักรพรรดิ

ตามประเพณีโบราณ สายสันตติวงศ์ของจักรพรรดิไบแซนไทน์จะเริ่มร่วมกับจักรพรรดิโรมัน จักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราช จักรพรรดิคริสตศาสนิกชนพระองค์แรก ผู้ทรงสร้างเมืองบิแซนเทียมขึ้นมาใหม่ในฐานะราชธานี นามว่า คอนสแตนติโนเปิล และเป็นผู้ซึ่งได้รับการยกย่องจากจักรพรรดิไบแซนไทน์ในสมัยหลังในฐานะรูปแบบของผู้ปกครอง ลักษณะเด่นสำคัญของรัฐไบแซนไทน์ได้เกิดขึ้นในรัชสมัยจักรพรรดิคอนสแตนติน คือ ระบบการปกครองได้มีศูนย์กลางอยู่ที่คอนสแตนติโนเปิลและถูกครอบงำทางวัฒนธรรมโดยกรีกตะวันออกกับศาสนาคริสต์ที่เป็นศาสนาประจำชาติ

จักรพรรดิไบแซนไทน์ทุกพระองค์ขนามนามพระองค์เองว่า "จักรพรรดิโรมัน"[2] คำว่า "ไบแซนไทน์" นั้นได้ถูกประกาศใช้โดยประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ตำแหน่ง "จักรพรรดิโรมัน" ไม่ได้ถูกท้าทายมาก่อนจนกระทั่งสมเด็จพระสันตะปาปาทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสวมมงกุฎให้แก่กษัตริย์ชาวแฟรงก์ คือ พระเจ้าชาร์เลอมาญ ในฐานะ "จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์" (25 ธันวาคม ค.ศ. 800) เป็นการกระทำเพื่อตอบโต้พระราชพิธีราชาภิเษกไบแซนไทน์ จักรพรรดินีไอรีน ซึ่งเป็นสตรี โดยไม่ได้รับการยอมรับจากสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 3

ตำแหน่งของจักรพรรดิทั้งหมดก่อนหน้าจักรพรรดิเฮราคลิอัสมีตำแหน่งอย่างเป็นทางการว่า "ออกัสตัส" (Augustus) ถึงแม้ว่าจะมีตำแหน่งอื่นที่ใช้อย่าง โดมินัส (Dominus) ชื่อตำแหน่งทั้งหลายก่อนหน้ามาจาก อิมเพอเรเตอร์ (Imperator) ซีซาร์ (Caesar) และตามมาด้วย ออกัสตัส ต่อมาในรัชสมัยจักรพรรดิเฮราคลิอัส ชื่อตำแหน่งได้กลายเป็นภาษากรีกคือ บาซิลิอัส (Basileus; ภาษากรีก:Βασιλεύς) ซึ่งมีความหมายแต่เดิมว่า ประมุข แต่ถูกใช้เพื่อแทนที่คำว่า ออกัสตัส ตามมาด้วยการสร้างศัตรูกับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในยุโรปตะวันตก ตำแหน่ง "ออโตคราเตอ" (Autokrator; ภาษากรีก:Αὐτοκράτωρ) ได้ถูกนำมาใช้มากขึ้น ในหลายศตวรรษต่อมา จักรพรรดิถูกกล่าวถึงโดยชาวคริสต์ตะวันตกว่าเป็น "จักรพรรดิแห่งกรีก" ในช่วงสุดท้ายของจักรวรรดิ จักรพรรดิจะเรียกตนเองว่า "[พระนามจักรพรรดิ]ในพระคริสต์ จักรพรรดิและอัตตาธิปัตย์แห่งชาวโรมัน"

ในช่วงยุคกลาง ระบบราชวงศ์ถือเป็นเรื่องปกติแต่หลักการสืบราชสันตติวงศ์ไม่ได้ถูกทำให้เป็นทางการในจักรวรรดิ[3] และการสืบราชสันตติวงศ์มีความเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีมากกว่าหลักการที่กำหนดเป็นกฎหมาย[4]

รวมทั้งราชวงศ์พาลาโอโลกอส ได้อ้างสิทธิในจักรพรรดิไบแซนไทน์ขณะลี้ภัย มีจักรพรรดิทั้งหมด 99 พระองค์ในระยะเวลา 1,000 ปีของจักรวรรดิไบแซนไทน์

ราชวงศ์คอนสแตนติเนียน (ค.ศ. 306 - 363)[แก้]

พระนาม รัชกาล
ระยะเวลาครองราชย์
พระประวัติ
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 "มหาราช"
Constantine I "the Great"
(ภาษากรีก: Κωνσταντῖνος Α' ὁ Μέγας, ภาษาละติน: Gaius Flavius Valerius Aurelius Constantinus)
19 กันยายน ค.ศ. 324 –
22 พฤษภาคม ค.ศ. 337
(12 ปี 245 วัน)
ประสูติที่นาอิซซัสราวปีค.ศ. 273/4 เป็นพระโอรสในออกัสตัส จักรพรรดิคอนสแตนติอัส คลอรัสกับจักรพรรดินีเฮเลนา ทรงได้รับการประกาศเป็นออกัสตัสแห่งจักรวรรดิตะวันตกหลังจากการสวรรคตของพระราชบิดาในวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 306 พระองค์กลายเป็นพระประมุขแห่งจักรวรรดิตะวันตกแต่เพียงพระองค์เดียวหลังจากสมรภูมิสะพานมิลเวียนในปีค.ศ. 312 ในปีค.ศ. 324 พระองค์ทรงกำจัดออกัสตัสตะวันออก จักรพรรดิลิซิเนียสและทรงรวมจักรวรรดิเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้ง และทรงเป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียวจนกระทั่งสวรรคต จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงเสร็จสิ้นการปฏิรูปทางการบริหารและกองทัพที่เริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยจักรพรรดิไดโอคลีเชียน ผู้ทรงเริ่มต้นนำไปสู่สมัยแห่งการปกครอง จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงสนพระทัยอย่างแข็งขันในศาสนาคริสต์ พระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการสร้างความเป็นคริสต์ในโลกโรมัน โดยผ่านการเรียกประชุมสังคายนาศาสนาครั้งแรกที่เมืองไนเซีย หรือ นิคาเอีย พระองค์ทรงเข้ารับบัพติศมาขณะทรงใกล้จะสวรรคตบนแท่นบรรทม พระองค์ยังทรงปฏิรูปการสร้างเหรียญโซลิดัสทองคำ และทรงริเริ่มการก่อสร้างขนาดใหญ่ ด้วยการสถาปนาเมืองบิแซนเทียมขึ้นมาอีกครั้งในฐานะ "โรมใหม่" ซึ่งมักจะเป็นที่รู้จักในนามว่า คอนสแตนติโนเปิล พระองค์ได้รับการยกย่องจากจักรพรรดิไบแซนไทน์ในสมัยหลังในฐานะรูปแบบของผู้ปกครอง[5]
จักรพรรดิคอนสแตนเชียสที่ 2
Constantius II
(ภาษากรีก: Κωνστάντιος [Β'], ภาษาละติน: Flavius Iulius Constantius)
22 พฤษภาคม ค.ศ. 337 –
5 ตุลาคม ค.ศ. 361
(24 ปี 136 วัน)
ประสูติในวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 317 เป็นพระโอรสองค์ที่สองในจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 พระองค์ทรงได้รับมรดกเป็นดินแดนจักรวรรดิโรมันหลังพระราชบิดาสวรรคต และเป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียวในปีค.ศ. 353 หลังจากทรงโค่นล้มอำนาจมักเนนเทียส ผู้ช่วงชิงราชบัลลังก์ทางตะวันตก รัชสมัยของจักรพรรดิคอนสแตนเชียสมีกิจการทหารบริเวณชายแดนและความไม่ลงรอยระหว่างลัทธิเอเรียสที่จักรพรรดิทรงสนับสนุน กับผู้สนับสนุน "ออร์ทอดอกซ์"แห่งหลักข้อเชื่อไนซีน ในรัชสมัยของพระองค์ คอนสแตนติโนเปิลได้ถูกมอบสถานะที่เท่าเทียมกับโรม และมีการเริ่มสร้างฮายาโซฟีอาขึ้น จักรพรรดิคอนสแตนเชียสทรงแต่งตั้งคอนสแตนเชียส กัลลัสและจูเลียนขึ้นเป็นซีซาร์ และทรงสวรรคตระหว่างเดินทางไปเผชิญหน้ากับจูเลียน ผู้ซึ่งลุกขึ้นต่อต้านพระองค์[6]
จักรพรรดิคอนสแตนที่ 1
Constans I
(ภาษากรีก: Κώνστας Α', ภาษาละติน: Flavius Iulius Constans )
22 พฤษภาคม ค.ศ. 337 –
มกราคม ค.ศ. 350
(12 ปี 223 วัน)
ประสูติราวค.ศ. 323 เป็นพระโอรสองค์ที่สามในจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 ทรงเป็นซีซาร์นับตั้งแต่ค.ศ. 333 พระองค์ได้รับมรดกเป็นดินแดนตอนกลางของจักรวรรดิโรมันหลังพระราชบิดาสวรรคต และทรงเป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียวทางฝั่งตะวันตกหลังการสวรรคตของจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 2 ในปีค.ศ. 348 ด้วยการสนับสนุนอะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรีย พระองค์ทรงต่อต้านลัทธิเอเรียส จักรพรรดิคอนสแตนทรงถูกลอบปลงพระชนม์ระหว่างการพยายามก่อรัฐประหารของมักเนนเทียส[7]
จักรพรรดิจูเลียน "เดอะอโพสเตท"
Julian "the Apostate"
(ภาษากรีก: Ἰουλιανὸς "ὁ Παραβάτης", ภาษาละติน: Flavius Claudius Iulianus )
5 ตุลาคม ค.ศ. 361 –
28 มิถุนายน ค.ศ. 363
(1 ปี 266 วัน)
ประสูติในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 332 เป็นพระนัดดาในจักรพรรดิคอนสแตนติอัส คลอรัส และเป็นพระญาติกับจักรพรรดิคอนสแตนเชียสที่ 2 ทรงประกาศโดยกองทัพของพระองค์ในกอลในฐานะจักรพรรดิที่ถูกต้องตามกฎหมายหลังการสวรรคตของจักรพรรดิคอนสแตนเชียส พระองค์สวรรคตในศึกสงครามกับจักรวรรดิแซสซานิด

ไม่ใช่ราชวงศ์ (ค.ศ. 363 - 364)[แก้]

พระนาม รัชกาล
ระยะเวลาครองราชย์
พระประวัติ
จักรพรรดิโจเวียน
Jovian
(ภาษากรีก: Ἰοβιανός, ภาษาละติน: Flavius Iovianus)
28 มิถุนายน ค.ศ. 363 –
17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 364
(0 ปี 234 วัน)
ประสูติราวค.ศ. 332 ทรงเป็นหัวหน้าราชองครักษ์ภายใต้จักรพรรดิจูเลียน ทรงได้รับการเลือกโดยกองทัพหลังจากจักรพรรดิจูเลียนสวรรคต พระองค์สวรรคตระหว่างเสด็จกลับกรุงคอนสแตนติโนเปิล

ราชวงศ์วาเล็นติเนียน (ค.ศ. 364 - 379)[แก้]

พระนาม รัชกาล
ระยะเวลาครองราชย์
พระประวัติ
จักรพรรดิวาเล็นติเนียนที่ 1
Valentinian I
(ภาษากรีก: Οὐαλεντιανός, ภาษาละติน: Flavius Valentinianus)
26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 364 –
17 พฤศจิกายน ค.ศ. 375
(11 ปี 264 วัน)
ประสูติในค.ศ. 321 ทรงเป็นนายทหารภายใต้จักรพรรดิจูเลียนและจักรพรรดิโจเวียน ทรงได้รับการเลือกโดยกองทัพหลังจากจักรพรรดิโจเวียนสวรรคต ต่อมาพระองค์ทรงแต่งตั้งพระอนุชาคือ วาเล็นส เป็นจักรพรรดิทางตะวันออก พระองค์สวรรคตด้วยภาวะเลือดออกในสมองใหญ่
จักรพรรดิวาเล็นส
Valens
(ภาษากรีก: Οὐάλης, ภาษาละติน: Flavius Iulius Valens)
28 มีนาคม ค.ศ. 364 –
9 สิงหาคม ค.ศ. 378
(14 ปี 134 วัน)
ประสูติในค.ศ. 328 ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นจักรพรรดิตะวันออกโดยจักรพรรดิวาเล็นติเนียนที่ 1 พระเชษฐา พระองค์สวรรคตในยุทธการที่เอเดรียโนเปิล
จักรพรรดิกราเชียน
Gratian
(ภาษากรีก: Γρατιανός, ภาษาละติน: Flavius Gratianus)
9 สิงหาคม ค.ศ. 378 –
19 มกราคม ค.ศ. 379
(0 ปี 163 วัน)
ประสูติวันที่ 18 เมษายน/23 พฤษภาคม ค.ศ. 359 เป็นพระโอรสในจักรพรรดิวาเล็นติเนียนที่ 1 ทรงเป็นจักรพรรดิตะวันตก พระองค์ขึ้นครองบัลลังก์ตะวันออกหลังการสวรรคตของจักรพรรดิวาเล็นส และพระองค์ทรงแต่งตั้งธีโอโดเซียสที่ 1 ขึ้นเป็นจักรพรรดิตะวันออก พระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์ในวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 383 ระหว่างการก่อกบฏของแม็กนัส แม็กซิมัส

ราชวงศ์ธีโอโดเซียน (ค.ศ. 379 - 457)[แก้]

พระนาม รัชกาล
ระยะเวลาครองราชย์
พระประวัติ
จักรพรรดิธีโอโดเซียสที่ 1 "มหาราช"
Theodosius I "the Great"
(ภาษากรีก: Θεοδόσιος Α' ὁ Μέγας, ภาษาละติน: Flavius Theodosius)
19 มกราคม ค.ศ. 379 –
17 มกราคม ค.ศ. 395
(15 ปี 363 วัน)
ประสูติในวันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 347 เป็นขุนนางและผู้นำทหาร เป็นพระเชษฐภาดาในจักรพรรดิกราเชียน ผู้ทรงแต่งตั้งให้พระองค์เป็นจักรพรรดิตะวันออก ตั้งแต่ค.ศ. 392 จนกระทั่งสวรรคต พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียว
จักรพรรดิอาร์เคดิอัส
Arcadius
(ภาษากรีก: Ἀρκάδιος, ภาษาละติน: Flavius Arcadius)
17 มกราคม ค.ศ. 395 –
1 พฤษภาคม ค.ศ. 408
(13 ปี 105 วัน)
ประสูติในปีค.ศ. 377/378 ทรงเป็นพระโอรสองค์โตในจักรพรรดิธีโอโดเซียสที่ 1 ทรงครองราชบัลลังก์หลังการสวรรคตของพระราชบิดา ในปีค.ศ. 395 จักรวรรดิโรมันถูกแบ่งอย่างถาวรระหว่างจักรวรรดิโรมันตะวันตกและจักรวรรดิโรมันตะวันออก
จักรพรรดิธีโอโดเซียสที่ 2
Theodosius II
(ภาษากรีก:Θεοδόσιος Β', ภาษาละติน: Flavius Theodosius)
1 พฤษภาคม ค.ศ. 408 –
28 กรกฎาคม ค.ศ. 450
(42 ปี 88 วัน)
ประสูติในวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 401 ทรงเป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวในจักรพรรดิอาร์เคดิอัส ทรงครองราชบัลลังก์หลังการสวรรคตของพระราชบิดา ขณะทรงพระเยาว์องค์รักษ์เพรทอเรียน แอนธีมิอุส ได้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ระหว่างค.ศ. 408 - 414 พระองค์สวรรคตจากอุบัติเหตุขณะทรงม้า
จักรพรรดินีปูลเชเรีย
Pulcheria
(ภาษากรีก:Πουλχερία, ภาษาละติน: Aelia Pulcheria)
28 กรกฎาคม ค.ศ. 450 –
กรกฎาคม ค.ศ. 453
(3 ปี 337 วัน)
ประสูติในวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 398 หรือ 399 ทรงเป็นในพระธิดาของจักรพรรดิอาร์เคดิอัสและเป็น ขนิษฐาของจักรพรรดิธีโอโดเซียสที่ 2 พระนางทรงครองราชย์พร้อมพระสวามีคือ จักรพรรดิมาร์เชียน
จักรพรรดิมาร์เชียน
Marcian
(ภาษากรีก:Μαρκιανός, ภาษาละติน: Flavius Marcianus Augustus)
ค.ศ. 450 –
มกราคม ค.ศ. 457
(4 ปี 31 วัน)
ประสูติในปีค.ศ. 396 เป็นทหารและนักการเมือง ทรงขึ้นเป็นจักรพรรดิหลังจากอภิเษกสมรสกับจักรพรรดินีปูลเชเรีย พระเชษฐภคินีในจักรพรรดิธีโอโดเซียสที่ 2 พระองค์สวรรคตด้วยโรคเนื้อตายเน่า

ราชวงศ์เลโอนิด (ค.ศ. 457 - 518)[แก้]

พระนาม รัชกาล
ระยะเวลาครองราชย์
พระประวัติ
จักรพรรดิเลโอที่ 1 "เดอะทราเชียน"
Leo I "the Thracian"
(ภาษากรีก:Λέων Α' ὁ Θρᾷξ, ὁ Μακέλλης, ὁ Μέγας, ภาษาละติน: Flavius Valerius Leo)
7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 457 –
18 มกราคม ค.ศ. 474
(16 ปี 345 วัน)
ประสูติที่ดาเซียราวค.ศ. 400 และทรงมีต้นกำเนิดเป็นชาวเบสเซียน เลโอทรงมาจากทหารระดับล่างและทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาทหารชาวกอท แอสปาร์ ผู้ซึ่งเลือกพระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิหลังจากการสวรรคตของจักรพรรดิมาร์เชียน พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์แรกที่ได้รับการสวมมงกุฎจากอัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิล รัชสมัยของพระองค์เป็นที่จดจำถึงความสงบที่ชายแดนดานูบและสันติภาพกับเปอร์เซีย ซึ่งทำให้พระองค์สามารถเข้าแทรกแซงกิจการในจักรวรรดิโรมันตะวันตก ด้วยการสนับสนุนผู้มีสิทธิในราชบัลลังก์ และทรงดำเนินการขยายดินแดนในสมรภูมิแคปบอนเพื่อฟื้นฟูคาร์เธจจากชาวแวนดัลในปีค.ศ. 468 ในช่วงแรกทรงเป็นประมุขหุ่นเชิดของแอสปาร์ จักรพรรดิเลโอทรงเริ่มต้นส่งเสริมชาวอิซอเรียเพื่อถ่วงดุลอำนาจกับชาวกอทของแอสปาร์ ด้วยการจัดการอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าหญิงเอเรียดเน พระธิดากับผู้นำชาวอิซอเรียนคือ ทาราซิโกดิสซา (จักรพรรดิเซโน) ด้วยการสนับสนุนจากชาวอิซอเรียน ในปีค.ศ. 471 แอสปาร์ถูกลอบสังหารและอำนาจของชาวกอทเหนือกองทัพก็สูญสิ้นไปด้วย[8]
จักรพรรดิเลโอที่ 2 "เดอะลิตเติ้ล"
Leo II "the Little"
(ภาษากรีก:Λέων Β' ὁ Μικρός, ภาษาละติน: Flavius Leo)
18 มกราคม ค.ศ. 474 –
17 พฤศจิกายน ค.ศ. 474
(0 ปี 303 วัน)
ประสูติราวค.ศ. 467 เป็นพระราชนัดดาในจักรพรรดิเลโอที่ 1 ผ่านทางพระราชธิดาคือเจ้าหญิงเอเรียดเนกับผู้นำชาวอิซอเรียนคือ เซโน ทรงถูกเลี้ยงดูในฐานะ ซีซาร์ และดำรงเป็นจักรพรรดิร่วมในฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 473 หลังจากทรงครองราชย์เป็นจักรพรรดิเลโอที่ 2 พระองค์ได้สถาปนาพระราชบิดา เซโน ขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วมและดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จักรพรรดิทรงสวรรคตหลังจากนั้นเพียงสั้นๆ มีความเป็นไปได้ว่าทรงถูกลอบวางยาพิษ[9]
จักรพรรดิเซโน
Zeno
(ภาษากรีก:Ζήνων, ภาษาละติน: Flavius Zeno)
17 พฤศจิกายน ค.ศ. 474 –
9 เมษายน ค.ศ. 491
(16 ปี 143 วัน)
ประสูติราวค.ศ. 425 ที่อิซอเรีย ทรงมีพระนามเดิมว่า ทาราซิโกดิสซา ในฐานะที่ทรงเป็นผู้นำกองทัพอิซอเรียนของจักรพรรดิเลโอที่ 1 ทรงก้าวขึ้นมาเป็นโดเมสติคัส อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเอเรียดเน พระราชธิดาในจักรพรรดิและทรงรับพระนาม เซโน มาใช้ และมีบทบาทสำคัญในการกำจัดแอสปาร์และกองทัพชาวกอทของเขา พระองค์ได้รับการแต่งตั้งเป็นจักรพรรดิร่วมกับพระโอรสในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 474 และทรงเป็นประมุขแต่เพียงผู้เดียวหลังจากพระโอรสสวรรคต แต่ทรงต้องหลบหนีไปยังดินแดนของพระองค์ในปีค.ศ. 475 เพราะการกบฏ ก่อนที่บาซิลิสคัสจะสามารถยึดครองเมืองหลวงได้ในปีค.ศ. 476 จักรพรรดิเซโนทรงสร้างสันติภาพกับชาวแวนดัล ทรงเผชิญกับการต่อต้านของนายพลอิลลัสและสมเด็จพระพันปีหลวงเวรีนา และทรงสร้างความสงบสุขในบอลข่านโดยทรงชักจูงให้ชาวออสโตรกอทภายใต้พระเจ้าธีโอดอริคมหาราชให้อพยพไปยังอิตาลี รัชสมัยของจักรพรรดิเซโนทรงพบกับจุดจบของจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันตะวันตก ด้วยท่าทางที่ทรงเชื่อมั่นว่าพระเจ้ามีลักษณะเดียวทำให้พระองค์ไม่ทรงเป็นที่นิยมชมชอบ และคำประกาศแห่งเฮโนติคอนของพระองค์ส่งผลให้เกิดความแตกแยกอะคาเชียนกับพระสันตะปาปา ในรัชสมัยนี้จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลาย[10]
จักรพรรดิบาซิลิสคัส
Basiliscus
(ภาษากรีก:Βασιλίσκος, ภาษาละติน: Flavius Basiliscus)
9 มกราคม ค.ศ. 475 –
สิงหาคม ค.ศ. 476
(1 ปี 204 วัน)
เป็นนายพลและเป็นพระเทวันในจักรพรรดิเลโอที่ 1 พระองค์ได้ยึดอำนาจจากจักรพรรดิเซโนแต่พระองค์ก็ถูกโค่นล้มบัลลังก์โดยจักรพรรดิเซโนเช่นกัน พระองค์สวรรคตในปีค.ศ. 476/477
จักรพรรดิอนาสตาซิออสที่ 1 ไดคอรัส
Anastasius I Dicorus
(ภาษากรีก:Ἀναστάσιος Α' ὁ Δίκορος, ภาษาละติน: Flavius Anastasius)
11 เมษายน ค.ศ. 491 –
9 กรกฎาคม ค.ศ. 518
(27 ปี 89 วัน)
ประสูติราวปีค.ศ. 430 ที่ไดร์ราเคียม พระองค์เป็นเจ้ากรมการวัง (ไซเลนทิอาริอัส) เมื่อพระองค์ได้ถูกเลือกโดยสมเด็จพระพันปีหลวงเอเรียดเนให้เป็นสวามีและต่อจากนั้นเป็นจักรพรรดิ พระองค์มักถูกเรียกว่า "ไดคอรอส" (Dikoros, ภาษาละติน: Dicorus) เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นโรคตาสองสี จักรพรรดิอนาสตาซิออสทรงปฏิรูปภาษีและระบบเงินเหรียญไบแซนไทน์และมีการพิสูจน์แล้วว่าเป็นพระประมุขที่มัธยัสถ์ ดังนั้นในช่วงปลายรัชกาลพระองค์ได้สร้างความมั่งคั่งอย่างมาก การที่ทรงมีความเห็นพระทัยเชื่อมั่นว่าพระเจ้ามีลักษณะเดียวได้นำไปสู่การต่อต้านในวงกว้าง ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือการกบฏของวิทาเลียนและความแตกแยกอะคาเชียน รัชสมัยของพระองค์เป็นจุดเริ่มต้นของชนบัลการ์ซึ่งเข้าไปรุกรานบอลข่านครั้งแรก และเกิดสงครามกับเปอร์เซียในการก่อตั้งเมืองดารา พระองค์สวรรคตโดยไม่มีทายาท[11]

ราชวงศ์จัสติเนียน (ค.ศ. 518 - 602)[แก้]

พระนาม รัชกาล
ระยะเวลาครองราชย์
พระประวัติ
จักรพรรดิจัสตินที่ 1
Justin I
(ภาษากรีก:Ἰουστῖνος Α', ภาษาละติน: Flavius Iustinus)
กรกฎาคม ค.ศ. 518 –
1 สิงหาคม ค.ศ. 527
(9 ปี 31 วัน)
ประสูติราวปีค.ศ. 450 ที่ เบเดเรียนา (จัสติเนียพรีมา) เขตดาร์ดานี พระองค์เป็นนายทหารและเป็นผู้บัญชาการกองทหารราชองครักษ์เอ็กซ์คิวบิเตอร์ในจักรพรรดิอนาสตาซิออสที่ 1 พระองค์ได้รับเลือกจากกองทัพให้ขึ้นเป็นจักรพรรดิหลังการสวรรคตของอนาสตาซิออสที่ 1
จักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 "มหาราช"
Justinian I "the Great"
(ภาษากรีก:Ἰουστινιανὸς Α' ὁ Μέγας, ภาษาละติน: Flavius Petrus Sabbatius Iustinianus)
1 สิงหาคม ค.ศ. 527 –
13/14 พฤศจิกายน ค.ศ. 565
(38 ปี 105 วัน)
ประสูติราวปีค.ศ. 482/483 ที่ ทอเรซิอุม แคว้นมาซิโดเนีย พระองค์เป็นพระนัดดาในจักรพรรดิจัสตินที่ 1 ซึ่งเป็นไปได้ว่าทรงได้รับการยกสถานะขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วมในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 527 ทรงขึ้นสืบราชบัลลังก์หลังจากจักรพรรดิจัสตินที่ 1 เสด็จสวรรคต ทรงพยายามรวบรวมดินแดนทางฝั่งตะวันตกของจักรวรรดิอีกครั้ง โดยทรงพิชิตอิตาลี แอฟริกาเหนือและส่วนหนึ่งของสเปนอีกครั้ง และยังทรงเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการประชุมกฎหมายแพ่ง (Corpus Iuris Civilis) ซึ่งจะเป็นการวางรากฐานระบบกฎหมายของชาติยุโรปสมัยใหม่ในเวลาต่อมา[12]
จักรพรรดิจัสตินที่ 2
Justin II
(ภาษากรีก:Ἰουστῖνος Β', ภาษาละติน: Flavius Iustinus Iunior)
14 พฤศจิกายน ค.ศ. 565 –
5 ตุลาคม ค.ศ. 578
(12 ปี 325 วัน)
ประสูติราวปีค.ศ. 520 เป็นพระราชนัดดาในจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 พระองค์ได้เข้ายึดราชบัลลังก์หลังการสวรรคตของจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 ด้วยการสนับสนุนจากกองทัพและสภาซีเนท พระองค์เริ่มมีพระจริตฟั่นเฟือน ดังนั้นในปีค.ศ. 573 - 574 ทรงอยู่ภายใต้การสำเร็จราชการแผ่นดินของจักรพรรดินีโซเฟีย พระมเหสี และในปีค.ศ. 574 - 578 ทรงอยู่ภายใต้การสำเร็จราชการแผ่นดินของไทบีเรียส คอนสแตนติน ผู้บัญชาการกองทหารราชองครักษ์เอ็กซ์คิวบิเตอร์
จักรพรรดิไทบีเรียสที่ 2 คอนสแตนติน
Tiberius II Constantine
(ภาษากรีก:Τιβέριος Β', ภาษาละติน: Flavius Tiberius Constantinus)
5 ตุลาคม ค.ศ. 578 –
14 สิงหาคม ค.ศ. 582
(3 ปี 313 วัน)
ประสูติราวปีค.ศ. 535 เป็นนายทหารและเป็นผู้บัญชาการกองทหารราชองครักษ์เอ็กซ์คิวบิเตอร์ เป็นพระสหายและพระโอรสบุญธรรมในจักรพรรดิจัสตินที่ 2 ได้รับอิสริยยศ ซีซาร์ และได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในปีค.ศ. 574 ช่วงที่จักรพรรดิจัสตินที่ 2 ทรงมีพระสติฟั่นเฟือน ทรงได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์หลังจากจักรพรรดิจัสตินที่ 2 สวรรคต
จักรพรรดิมอริซ
Maurice
(ภาษากรีก:Μαυρίκιος, ภาษาละติน: Flavius Mauricius Tiberius)
14 สิงหาคม ค.ศ. 582 –
22 พฤศจิกายน ค.ศ. 602
(20 ปี 100 วัน)
ประสูติราวปีค.ศ. 539 ที่อราบิสซัส แคปพาโดเชีย เป็นข้าราชการและเป็นนายพลในเวลาต่อมา ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงคอนสแตนตินา พระราชธิดาในจักรพรรดิไทบีเรียสที่ 2 และทรงสืบราชบัลลังก์หลังจากจักรพรรดิไทบีเรียสที่ 2 สวรรคต ทรงแต่งตั้ง เจ้าชายธีโอโดเซียส พระโอรสขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วมในปีค.ศ. 590 ทรงถูกโฟคาสปลดจากราชบัลลังก์และปลงพระชนม์ในวันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 602 ที่คาลเซดอน


ไม่ใช่ราชวงศ์ (ค.ศ. 602 - 610)[แก้]

พระนาม รัชกาล
ระยะเวลาครองราชย์
พระประวัติ
จักรพรรดิโฟคาส
Phocas
(ภาษากรีก: Φωκᾶς, ภาษาละติน: Flavius Phocas)
23 พฤศจิกายน ค.ศ. 602 –
4 ตุลาคม ค.ศ. 610
(7 ปี 315 วัน)
เป็นแม่ทัพในกองทัพบอลข่าน พระองค์ก่อการกบฏและล้มราชบัลลังก์ของจักรพรรดิมอริซ พระองค์ไม่ทรงไปที่นิยมและทรงปกครองอย่างกดขี่มากขึ้น สุดท้ายทรงถูกปลดจากราชบัลลังก์และปลงพระชนม์โดยเฮราคลิอัส


ราชวงศ์เฮราคลิเอียน (ค.ศ. 610 - 695)[แก้]

พระนาม รัชกาล
ระยะเวลาครองราชย์
พระประวัติ
จักรพรรดิเฮราคลิอัส
Heraclius
(ภาษากรีก:Ἡράκλειος, ภาษาละติน: Flavius Heraclius)
5 ตุลาคม ค.ศ. 610 –
11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 641
(30 ปี 129 วัน)
ประสูติราวค.ศ. 579 เป็นโอรสองค์โตในอุปราชแห่งอาณาจักรอุปราชแห่งแอฟริกา เฮราคลิอัสผู้อาวุโส เริ่มก่อการกบฏต่อจักรพรรดิโฟคาสในปีค.ศ. 609 และปลดพระองค์ออกจากบัลลังก์ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 610 พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดิที่นำไปสู่สงครามไบแซนไทน์-แซสซานิด ซึ่งทรงได้รับชัยชนะแต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งการพิชิตซีเรียของมุสลิม ทรงประกาศให้ภาษากรีกเป็นภาษาราชการแทนที่ภาษาลาติน
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 3
Constantine III
พระนามทางการคือ เฮราคลิอัส โนวัส คอนสแตนตินัส(ภาษากรีก:Ἡράκλειος νέος Κωνσταντῖνος, ภาษาละติน: Heraclius Novus Constantinus)
11 กุมภาพันธ์ –
24/26 พฤษภาคม ค.ศ. 641
(0 ปี 104 วัน)
ประสูติวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 612 เป็นพระโอรสองค์โตในจักรพรรดิเฮราคลิอัสซึ่งประสูติแต่จักรพรรดินีฟาเบีย ยูโดเกีย พระมเหสีองค์แรก ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นจักรพรรดิร่วมในปีค.ศ. 613 พระองค์ทรงสืบราชบัลลังก์พร้อมจักรพรรดิเฮราโคลนาส พระอนุชา หลังการสวรรคตของจักรพรรดิเฮราคลิอัส พระราชบิดา จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 3 สวรรคตด้วยวัณโรค ซึ่งมีการเชื่อกันว่าทรงถูกลอบวางยาพิษโดยสมเด็จพระพันปีหลวงมาร์ตินา
จักรพรรดิเฮราโคลนาส
Heraklonas
พระนามทางการคือ คอนสแตนตินัส เฮราคลิอัส(ภาษากรีก:Κωνσταντίνος Ἡράκλειος, ภาษาละติน: Constantinus Heraclius)
11 กุมภาพันธ์ –
กันยายน ค.ศ. 641
(0 ปี 201 วัน)
ประสูติในปีค.ศ. 626 เป็นพระโอรสองค์โตในจักรพรรดิเฮราคลิอัสซึ่งประสูติแต่จักรพรรดินีมาร์ตินา พระมเหสีองค์ที่สอง ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นจักรพรรดิร่วมในปีค.ศ. 638 พระองค์ทรงสืบราชบัลลังก์พร้อมจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 3 พระเชษฐา หลังการสวรรคตของจักรพรรดิเฮราคลิอัส ทรงกลายเป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียวหลังการสวรรคตของจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 3 ทรงอยู่ภายใต้การสำเร็จราชการของสมเด็จพระพันปีหลวงมาร์ตินา พระราชมารดา แต่ทรงถูกบีบบังคับให้แต่งตั้งจักรพรรดิคอนสแตนสที่ 2 เป็นจักรพรรดิร่วมโดยกองทัพ และจักรพรรดิเฮราโคลนาสทรงถูกปลดจากราชบัลลังก์โดยสภาซีเนทไบแซนไทน์ในเดือนกันยายน ค.ศ. 641
จักรพรรดิคอนสแตนสที่ 2
Constans II
พระนามทางการคือ คอนสแตนติน "เครา" (Constantine "the Bearded")(ภาษากรีก:Κῶνστας Β', ภาษาละติน: Constantus II)
กันยายน ค.ศ. 641 –
15 กันยายน ค.ศ. 668
(27 ปี 15 วัน)
ประสูติวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 630 เป็นพระโอรสในจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 3 ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นจักรพรรดิร่วมในฤดูร้อน ค.ศ. 641 หลังจากพระราชบิดาสวรรคต ด้วยแรงผลักดันจากกองทัพ พระองค์ทรงกลายเป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียวหลังจากจักรพรรดิเฮราโคลนาส พระปิตุลาถูกบีบบังคับให้สละราชบัลลังก์ ทรงประกอบพิธีบัพติศมาเฮราคลิอัส และทรงครองราชย์ด้วยพระนามว่า คอนสแตนติน "คอนสแตนส" เป็นพระนามลำลอง ทรงย้ายไปประทับที่ซีรากูซา ที่ซึ่งทรงถูกลอบปลงพระชนม์ คาดว่าน่าจะเป็นคำสั่งของเมเซซิอัส
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 4 "เครา"
Constantine IV "the Bearded"
(ภาษากรีก:Κωνσταντίνος Δ' ὁ Πωγωνάτος, ภาษาละติน: Flavius Constantinus IV)
15 กันยายน ค.ศ. 668 –
กันยายน ค.ศ. 685
(17 ปี 350 วัน)
ประสูติราวค.ศ. 652 พระองค์ทรงสืบราชบัลลังก์หลังจากที่จักรพรรดิคอนสแตนสที่ 2 พระราชบิดาถูกลอบปลงพระชนม์ นักประวัติศาสตร์เสนอว่าไม่ควรเรียกพระองค์ว่า "คอนสแตนติน เครา" เพื่อจะได้ไม่สับสนกับพระราชบิดาของพระองค์ พระองค์สามารถต้านทางการล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 674–678)ได้ และสวรรคตด้วยโรคบิด
จักรพรรดิจัสติเนียนที่ 2 "จมูกโหว่"
Justinian II "the Slit-nosed"
(ภาษากรีก:Ἰουστινιανὸς Β' ὁ Ῥινότμητος, ภาษาละติน: Flavius Iustinianus II)
ครั้งที่ 1
กันยายน ค.ศ. 685 –
ค.ศ. 695
(10 ปี 91 วัน)
ประสูติราวค.ศ. 669 พระองค์ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นจักรพรรดิร่วมในปีค.ศ. 681 และทรงเป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียวหลังจากจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 4 พระราชบิดาสวรรคต พระองค์ทรงถูกปลดออกจากราชบัลลังก์จากการกบฏของกองทัพในปีค.ศ. 695 ทรงถูกตัดพระนาสิก (ดังสมญานามของพระองค์) และเนรเทศไปที่เชอร์ซอน และทรงกลับคืนสู่ราชบัลลังก์ในปีค.ศ. 705

สมัยอนาธิปไตย 20 ปี (ค.ศ. 695 - 717)[แก้]

พระนาม รัชกาล
ระยะเวลาครองราชย์
พระประวัติ
จักรพรรดิลีออนติออส
Leontios
(ภาษากรีก:Λεόντιος, ภาษาละติน: LEONTIVS)
ค.ศ. 695 –
ค.ศ. 698
(3 ปี 0 วัน)
เป็นนายพลจากอิซอเรีย ทรงทำการปลดจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 2 ออกจากราชบัลลังก์ แต่หลังจากทรงครองราชย์ได้ไม่กี่ปีทรงถูกโค่นราชบัลลังก์ในปีค.ศ. 698 และทรงถูกปลงพระชนม์ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 706
จักรพรรดิไทบีเรียสที่ 3 อัพซิมาร์
Tiberius III Apsimar
(ภาษากรีก:Τιβέριος Γ' Ἀψίμαρος, ภาษาละติน: Tiberios III)
ค.ศ. 698 –
ค.ศ. 705
(7 ปี 0 วัน)
เป็นนายพลกองทัพเรือที่มีเชื้อสายเยอรมัน พระนามเดิมคือ อัพซิมาร์ ทรงก่อกบฏต่อจักรพรรดิลีออนติออสหลังจากล้มเหลวในการขยายอาณาเขต ทรงครองราชย์ด้วยพระนามว่า ไทบีเรียส จนกระทั่งถูกโค่นราชบัลลังก์โดยจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 2 ในปีค.ศ. 705 ทรงถูกปลงพระชนม์ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 706
จักรพรรดิจัสติเนียนที่ 2 "จมูกโหว่"
Justinian II "the Slit-nosed"
(ภาษากรีก:Ἰουστινιανὸς Β' ὁ Ῥινότμητος, ภาษาละติน: Flavius Iustinianus II)
ครั้งที่ 2
สิงหาคม ค.ศ. 705 –
ธันวาคม ค.ศ. 711
(6 ปี 122 วัน)
เสด็จกลับคืนสู่ราชบัลลังก์ด้วยการสนับสนุนจากจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 ทรงแต่งตั้ง เจ้าชายไทบีเรียส พระโอรสขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วมในปีค.ศ. 706 พระองค์ทรงถูกโค่นล้มราชบัลลังก์อีกครั้งและถูกปลงพระชนม์โดยการกบฏของกองทัพ
จักรพรรดิฟิลิปปิคอส บาร์ดาเนส
Philippikos Bardanes
(ภาษากรีก:Φιλιππικὸς Βαρδάνης, ภาษาละติน: Philippicus Bardanes)
ธันวาคม ค.ศ. 711 –
3 มิถุนายน ค.ศ. 713
(1 ปี 185 วัน)
เป็นนายพลเชื้อสายชาวอาร์มีเนีย ทรงปลดจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 2 ออกจากราชบัลลังก์ และต่อมาทรงถูกโค่นล้มราชบัลลังก์จากการกบฏของทหารชาวออบซิเกียน
จักรพรรดิอนาสตาซิออสที่ 2
Anastasios II
(ภาษากรีก:Ἀναστάσιος Β', ภาษาละติน: Anastasios II)
มิถุนายน ค.ศ. 713 –
พฤศจิกายน ค.ศ. 715
(2 ปี 153 วัน)
นามเดิมคือ อาร์เตมิออส ทรงเป็นขุนนางและราชเลขานุการในจักรพรรดิฟิลิปปิคอส ต่อมาทรงถูกผลักดันขึ้นสู่ราชบัลลังก์โดยเหล่าทหารที่ทำการล้มล้างจักรพรรดิฟิลิปปิคอส จักรพรรดิอนาสตาซิออสทรงถูกโค่นล้มราชบัลลังก์จากการกบฏของทหารอีกกลุ่มหนึ่ง พระองค์พยายามกลับคืนสู่ราชบัลลังก์อีกครั้งในปีค.ศ. 718 แต่ไม่ประสบความสำเร็จและทรงถูกปลงพระชนม์
จักรพรรดิธีโอโดเซียสที่ 3
Theodosios III
(ภาษากรีก:Θεοδόσιος Γ', ภาษาละติน: Theodosius III)
พฤษภาคม ค.ศ. 715 –
25 มีนาคม ค.ศ. 717
(1 ปี 329 วัน)
เป็นขุนนางในกรมคลัง พระองค์ได้รับการประกาศเป็นจักรพรรดิจากการกบฏของทหารชาวออบซิเกียน ได้เสด็จเข้าสู่กรุงคอนสแตนติโนเปิลในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 715 ทรงสละราชบัลลังก์จากการกบฏของเลโอเดอะอิซอเรียน จากนั้นทรงผนวชเข้าสู่ศาสนา

ราชวงศ์อิซอเรียน (ค.ศ. 717 - 802)[แก้]

พระนาม รัชกาล
ระยะเวลาครองราชย์
พระประวัติ
จักรพรรดิเลโอที่ 3 "เดอะอิซอเรียน"
Leo III the Isaurian
(ภาษากรีก:Λέων Γ΄ ὁ Ἴσαυρος, ภาษาละติน: Leo III the Isaurian)
25 มีนาคม ค.ศ. 717 –
18 มิถุนายน ค.ศ. 741
(24 ปี 85 วัน)
ประสูติราวค.ศ. 685 ในเจอร์มานิคาเอีย อาณาจักรคอมมาเจเน ทรงขึ้นครองราชบัลลังก์หลังจากทรงก่อกบฏได้ในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 717 ทรงได้ชัยชนะต่อชาวอาหรับในการล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 717-718)และทรงริเริ่มการทำลายรูปเคารพ
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 5 "พระนามมูลสัตว์"
Constantine V "the Dung-named"
(ภาษากรีก:Κωνσταντίνος Ε΄ ὁ Κοπρώνυμος, ภาษาละติน: Flavius Constantinus V)
18 มิถุนายน ค.ศ. 741 –
14 กันยายน ค.ศ. 775
(34 ปี 88 วัน)
ประสูติในปี ค.ศ. 718 เป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวในจักรพรรดิเลโอที่ 3 ทรงเป็นจักรพรรดิร่วมตั้งแต่ค.ศ. 720 พระองค์ทรงสืบราชบัลลังก์หลังจากพระราชบิดาสวรรคต หลังจากทรงได้รับชัยชนะในการช่วงชิงบัลลังก์ของอาร์ตาบาสดอส และพระองค์ยังป้องกันเมืองคอนสแตนติโนเปิลจากชาวบัลการ์ได้ พระองค์ยังคงดำเนินพระราโชบายตามพระราชบิดาคือ การทำลายรูปเคารพ และทรงได้รับชัยชนะในสงครามกับชาวอาหรับและชาวบัลการ์หลายครั้ง พระองค์ทรงได้รับพระสมัญญาว่า "พระนามมูลสัตว์" จากนักบันทึกประวัติศาสตร์ผู้เป็นปรปักษ์กับพระองค์
จักรพรรดิอาร์ตาบาสดอส
Artabasdos
(ภาษากรีก:Ἀρτάβασδος, ภาษาละติน: Artabasdus)
18 มิถุนายน ค.ศ. 741/742 –
2 พฤศจิกายน ค.ศ. 743
(2 ปี 155 วัน)
นายพลและพระชามาดา (ลูกเขย) ในจักรพรรดิเลโอที่ 3 เป็นเคานท์แห่งชาวออบซิเกียน ทรงเป็นผู้นำกบฏเข้ายึดกรุงคอนสแตนติโนเปิล แต่พ่ายแพ้และถูกปลดโดยจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 5 ซึ่งพระองค์ถูกทำให้พระเนตรบอดและโกนพระเกศา
จักรพรรดิเลโอที่ 4 "เดอะคาซาร์"
Leo IV "the Khazar"
(ภาษากรีก:Λέων Δ΄ ὁ Χάζαρος, ภาษาละติน: Leo IV)
14 กันยายน ค.ศ. 775 –
8 กันยายน ค.ศ. 780
(4 ปี 360 วัน)
ประสูติวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 750 เป็นพระโอรสองค์โตในจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 5 ทรงเป็นจักรพรรดิร่วมตั้งแต่ค.ศ. 751 พระองค์ทรงสืบราชบัลลังก์ต่อจากพระราชบิดาที่สวรรคต
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 6
Constantine VI
(ภาษากรีก:Κωνσταντίνος ΣΤ΄, ภาษาละติน: Flavius Constantinus VI)
8 กันยายน ค.ศ. 780 –
สิงหาคม ค.ศ. 797
(16 ปี 326 วัน)
ประสูติค.ศ. 771 ทรงเป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวในจักรพรรดิเลโอที่ 4 ทรงเป็นจักรพรรดิร่วมในปีค.ศ. 776 และทรงเป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียวหลังจากการสวรรคตของจักรพรรดิเลโอที่ 4 ในปีค.ศ. 780 ทรงอยู่ภายใต้การสำเร็จราชการของสมเด็จพระพันปีหลวงไอรีน พระราชมารดาจนถึงปีค.ศ. 790 จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 6 ทรงขัดแย้งกับพระราชมารดา พระองค์ทรงถูกโค่นราชบัลลังก์โดยพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระพันปีหลวง ในปีค.ศ. 797 ทรงถูกทำให้พระเนตรบอดและถูกคุมขัง พระอาการประชวรนี้ทำให้พระองค์สวรรคตในเวลาต่อมาอีกไม่นาน
จักรพรรดินีไอรีนแห่งเอเธนส์
Irene of Athens
(ภาษากรีก:Εἰρήνη ἡ Αθηναία, ภาษาละติน: Irene Atheniensis)
สิงหาคม ค.ศ. 797 –
31 ตุลาคม ค.ศ. 802
(Error in Template:Nts: Fractions are not supported ปี 123 วัน)
ประสูติราวค.ศ. 752 ในเอเธนส์ พระนางอภิเษกสมรสกับจักรพรรดิเลโอที่ 4 ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 6 พระราชโอรสในปีค.ศ. 780 - 790 พระนางทรงโค่นล้มราชบัลลังก์ของพระโอรสในปีค.ศ. 797 และทรงครองราชบัลลังก์ในฐานะ "จักรพรรดินีนาถ" พระประมุขสตรีพระองค์แรกแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์และคอนสแตนติโนเปิล พระนางทรงเรียกพระนางเองในฐานะ "จักรพรรดิแห่งชาวโรมัน" การขึ้นครองราชบัลลังก์ของพระนางไม่ได้รับการยอมรับจากพระสันตะปาปาแห่งกรุงโรม สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 3 ทรงสวมมงกุฏให้กับชาร์เลอมาญในฐานะจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในปีค.ศ. 800 ถือเป็นการหยามเกียรติของจักรวรรดิโรมันตะวันออก จักรพรรดินีไอรีนทรงเลื่อมใสในรูปเคารพและทรงประกาศฟื้นฟูอีกครั้งหลังจากที่ในรัชสมัยก่อนหน้ามีการทำลายรูปเคารพอย่างต่อเนื่อง จักรพรรดินีไอรีนทรงพยายามประคับประคองราชบัลลังก์แต่ท้ายที่สุดทรงถูกโค่นราชบัลลังก์โดยการรัฐประหารวังหลวงในปีค.ศ. 802 พระนางถูกเนรเทศและถูกบังคับให้ปั่นขนแกะเพื่อเป็นรายได้ยังชีพ พระนางไอรีนสวรรคตในวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 803

ราชวงศ์นิเคโฟเรียน (ค.ศ. 802 - 813)[แก้]

พระนาม รัชกาล
ระยะเวลาครองราชย์
พระประวัติ
จักรพรรดินิเคโฟรอสที่ 1
Nikephoros I
(ภาษากรีก:Νικηφόρος Α΄ ὁ Λογοθέτης, ภาษาละติน: Nicephorus I)
31 ตุลาคม ค.ศ. 802 –
26 กรกฎาคม ค.ศ. 811
(Error in Template:Nts: Fractions are not supported ปี 237 วัน)
เดิมเป็นโลโกเททิส ตูร์ เกอนิโค (เสนาบดีคลัง) ในรัชสมัยจักรพรรดินีไอรีน ทรงได้รับการสนับสนุนจากแพทริเซียนและขันทีในการรัฐประหารโค่นล้มจักรพรรดินีไอรีน จักรพรรดินิเคโฟรอสที่ 1 ทรงประสบความสำเร็จในการทำสงครามต่อต้านพวกบุลการ์ แต่พระองค์สวรรคตในสนามรบยุทธการที่พลิสกา ในรัชสมัยนี้ทรงทำการฟื้นฟูการบูชารูปเคารพสืบต่อเนื่องมาจากสมัยจักรพรรดินีไอรีน
จักรพรรดิสตอราคิออส
Staurakios
(ภาษากรีก:Σταυράκιος, ภาษาละติน: Stauracius)
26 กรกฎาคม ค.ศ. 811 –
2 ตุลาคม ค.ศ. 811
(0 ปี 68 วัน)
ทรงเป้นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวในจักรพรรดินิเคโฟรอสที่ 1 ทรงเป็นจักรพรรดิร่วมในเดือนธันวาคม ค.ศ. 803 ทรงสืบราชบัลลังก์หลังจากพระราชบิดาสวรรคต แต่พระองค์ทรงได้รับบาดเจ็บอย่างหนักในยุทธการที่พลิสกา ส่งผลให้พระวรกายซีกซ้ายของพระองค์เป็นอัมพาต พระองค์ทรงถูกบังคับให้สละราชบัลลังก์ และพระองค์เสด็จไปประทับในอาราม ที่ซึ่งสวรรคตในเวลาต่อมา
จักรพรรดิมิคาเอลที่ 1 รังกาเบ
Michael I Rangabe
(ภาษากรีก:Μιχαὴλ Α΄ Ραγγαβὲ, ภาษาละติน: Michael I Rhangabus)
2 ตุลาคม ค.ศ. 811 –
22 มิถุนายน ค.ศ. 813
(1 ปี 263 วัน)
ทรงเป็นพระชามาดาในจักรพรรดินิเคโฟรอสที่ 1 พระองค์ครองราชบัลลังก์ต่อจากจักรพรรดิสตอราคิออส หลังจากพระองค์สละราชบัลลังก์ จักรพรรดิมิคาเอลที่ 1 สละราชบัลลังก์หลังจากเหตุการณ์การก่อกบฏของเลโอ เดอะอาร์มีเนียน และเสด็จไปประทับในอาราม ที่ซึ่งสวรรคตในวันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 844 ขณะครองราชย์ทรงครองราชย์ร่วมกับพระโอรส คือ ธีโอพีแล็ค ในฐานะจักรพรรดิร่วม

ไม่ใช่ราชวงศ์ (ค.ศ. 813 - 820)[แก้]

พระนาม รัชกาล
ระยะเวลาครองราชย์
พระประวัติ
จักรพรรดิเลโอที่ 5 "เดอะอาร์มีเนียน"
Leo V "the Armenian"
(ภาษากรีก:Λέων Ε' ὁ Ἀρμένιος, ภาษาละติน: Leo V Armenius)
11 กรกฎาคม ค.ศ. 813 –
25 ธันวาคม ค.ศ. 820
(7 ปี 167 วัน)
ทรงเป็นนายพลชาวอาร์มีเนียโดยกำเนิด ประสูติราวค.ศ. 775 ทรงก่อกบฏต่อจักรพรรดิมิคาเอลที่ 1 และได้เป็นจักรพรรดิ ทรงแต่งตั้ง ซิมบาติออส พระโอรสขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วมในชื่อใหม่ว่า คอนสแตนตินในวันคริสต์มาส ค.ศ. 813 ทรงให้มีการทำลายรูปเคารพสมัยไบแซนไทน์ขึ้นอีกครั้ง จักรพรรดิเลโอที่ 5 ทรงถูกปลงพระชนม์ ซึ่งน่าจะเป็นฝีมือของมิคาเอล เดอะอะมอเรียน

ราชวงศ์อะมอเรียน (ค.ศ. 820 - 867)[แก้]

พระนาม รัชกาล
ระยะเวลาครองราชย์
พระประวัติ
จักรพรรดิมิคาเอลที่ 2 "เดอะอะมอเรียน"
Michael II "the Amorian"
(ภาษากรีก:Μιχαὴλ Β΄ ὁ ἐξ Ἀμορίου, ภาษาละติน: Michael II)
25 ธันวาคม ค.ศ. 820 –
2 ตุลาคม ค.ศ. 829
(8 ปี 281 วัน)
ประสูติในปีค.ศ. 770 ที่อะมอริอุม ได้เป็นทหารในกองทัพ ด้วยทรงเป็นพระสหายในจักรพรรดิเลโอที่ 5 ทำให้ได้รับการเลื่อนขั้นขึ้นเป็นนายทหารระดับสูง แต่ก็ถูกกล่าวหาว่าทรงสมคบคิดปลงพระชนม์จักรพรรดิเลโอที่ 5 ซึ่งทรงขึ้นครองราชย์สืบต่อ จักรพรรดิมิคาเอลทรงรอดพระชนม์ชีพมาได้จากการก่อกบฏของโทมัส เดอะสลาฟ รัชสมัยนี้ทรงสูญเสียครีตให้แก่อาหรับ และต้องทรงเผชิญกับการพิชิตซิชิลีโดยมุสลิม พระองค์ทรงสนับสนุนการทำลายรูปเคารพ
จักรพรรดิธีโอฟิโลส
Theophilos
(ภาษากรีก:Θεόφιλος, ภาษาละติน: Theophilus)
2 ตุลาคม ค.ศ. 829 –
20 มกราคม ค.ศ. 842
(12 ปี 110 วัน)
ประสูติในปีค.ศ. 813 เป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวในจักรพรรดิมิคาเอลที่ 2 ทรงเป็นจักรพรรดิร่วมตั้งแต่ค.ศ. 821 พระองค์ขึ้นสืบบัลลังก์หลังจากพระราชบิดาสวรรคต จักรพรรดิธีโอฟิโลสทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์สุดท้ายที่ทรงทำลายรูปเคารพ พระองค์ทรงใช้เวลาในพระชนม์ชีพของพระองค์ในการทำสงครามกับมุสลิมอาหรับโดยตลอดนับตั้งแต่ค.ศ. 831
จักรพรรดิมิคาเอลที่ 3 "ขี้เมา"
Michael III "the Drunkard"
(ภาษากรีก:ΘεόφιλοςΜιχαὴλ Γ΄ ὁ Μέθυσος, ภาษาละติน: Michael III)
20 มกราคม ค.ศ. 842 –
23 กันยายน ค.ศ. 867
(25 ปี 246 วัน)
ประสูติในวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 840 ทรงเป็นพระโอรสในจักรพรรดิธีโอฟิโลส ทรงขึ้นสืบราชบัลลังก์หลังจากพระราชบิดาสวรรคต ทรงอยู่ภายใต้การสำเร็จราชการของสมเด็จพระพันปีหลวงธีโอโดรา พระราชมารดาจนถึงค.ศ. 856 ในช่วงปีค.ศ. 862 - 866 ทรงถูกควบคุมภายใต้อำนาจและอิทธิพลของบาร์ดาส พระมาตุลา (พระเชษฐาในสมเด็จพระพันปีหลวงธีโอโดรา) รัชสมัยนี้ถือเป็นจุดสิ้นสุดของการทำลายรูปเคารพสมัยไบแซนไทน์ พระองค์ทรงถูกลอบปลงพระชนม์โดยบาซิล เดอะมาซิโดเนียน ทรงได้รับฉายานามว่า “มิคาเอลขี้เมา” (the Drunkard) โดยนักประวัติศาสตร์ของราชวงศ์มาซิโดเนียนผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อพระองค์และสนับสนุนจักรพรรดิบาซิล แต่นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีความเห็นใหม่ว่าทรงเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการดำรงอำนาจของจักรวรรดิไบแซนไทน์ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ไม่ว่าจะเป็นการทำสงครามกับอาหรับ หรือ การทำให้บัลแกเรียนับถือศาสนาคริสต์

ราชวงศ์มาซิโดเนียน (ค.ศ. 867 - 1056)[แก้]

พระนาม รัชกาล
ระยะเวลาครองราชย์
พระประวัติ
จักรพรรดิบาซิลที่ 1 "เดอะมาซิโดเนียน"
Basil I "the Macedonian"
(ภาษากรีก:Βασίλειος Α΄ ὁ Μακεδὸν, ภาษาละติน: Basilius I Macedonius)
ค.ศ. 867 –
2 สิงหาคม ค.ศ. 886
(19 ปี 245 วัน)
ประสูติราวค.ศ. 811 ที่เขตธีมแห่งมาซิโดเนีย ได้มีชื่อเสียงจากการเป็นข้าราชการในราชสำนัก และได้กลายเป็นคนโปรดของจักรพรรดิมิคาเอลที่ 3 พระองค์ได้ลอบปลงพระชนม์จักรพรรดิมิคาเอลที่ 3 และช่วงชิงราชบัลลังก์มาเป็นของพระองค์ ทรงสถาปนาราชวงศ์มาซิโดเนียน พระองค์ประสบความสำเร็จในการรบสมรภูมิตะวันออกกับชาวอาหรับและพวกพอลลิเชียน และทรงสามารถปกครองภาคใต้ของอิตาลีได้อีกครั้ง
จักรพรรดิเลโอที่ 6 "ผู้ชาญฉลาด"
Leo VI "the Wise"
(ภาษากรีก:Λέων ΣΤ΄ ὁ Σοφὸς, ภาษาละติน: Leo VI Sapiens)
ค.ศ. 886 –
11 พฤษภาคม ค.ศ. 912
(26 ปี 163 วัน)
ประสูติวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 866 มีความสับสนว่าพระองค์ทรงเป็นพระโอรสในจักรพรรดิบาซิลที่ 1 หรือจักรพรรดิมิคาเอลที่ 3 จักรพรรดิเลโอทรงเป็นที่รู้จักในฐานะที่ทรงเป็นผู้คงแก่เรียน แต่กระนั้นพระองค์ทรงพ่ายแพ้ในสงครามหลายครั้ง รัชสมัยของพระองค์ อยู่ในช่วงจุดรุ่งเรืองมุสลิมซาราเซ็นซึ่งได้ยกกองทัพเรือเข้าปล้น ซึ่งที่สำคัญที่สุดคือการปล้นเทสซาโลนีกา และทรงประสบความล้มเหลวในการทำสงครามกับบัลแกเรียในรัชสมัยของจักรพรรดิซีโมนที่ 1 แห่งบัลแกเรีย
จักรพรรดิอเล็กซานเดอร์
Alexander
(ภาษากรีก:Ἀλέξανδρος, ภาษาละติน: Alexander)
11 พฤษภาคม ค.ศ. 912 –
6 มิถุนายน ค.ศ. 913
(1 ปี 26 วัน)
ประสูติในปีค.ศ. 870 ทรงเป็นพระโอรสในจักรพรรดิบาซิลที่ 1 และทรงขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วมกับพระราชบิดาในปีค.ศ. 879 ทรงดำรงเป็นจักรพรรดิร่วมมาเป็นระยะเวลานาน โดยทรงถูกกีดกันจากอำนาจโดยจักรพรรดิเลโอที่ 6 พระเชษฐา เมื่อพระเชษฐาสวรรคต พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดิไบแซนไทน์พระองค์แรกที่ใช้คำว่า “autocrator” (αὑτοκράτωρ πιστὸς εὑσεβὴς βασιλεὺς) บนเหรียญเพื่อเป็นการฉลองการเป็นอิสระจากการเป็นพระจักรพรรดิร่วมมาถึง 33 ปี[13] พระองค์ก็ทรงปลดที่ปรึกษาและผู้ที่ได้รับแต่งตั้งของจักรพรรดิเลโอจนแทบหมดสิ้นรวมทั้งผู้บังคับบัญชากองทัพเรือและพระสังฆราช ทรงบังคับสมเด็จพระพันปีหลวงโซอี คาร์โบนอปซินา พระมเหสีในจักรพรรดิเลโอที่ 6 พระเชษฐาของพระองค์ ให้ไปประทับในสำนักชี[14] พระองค์ทรงเริ่มต้นสงครามกับบัลแกเรียในสงครามไบแซนไทน์-บัลแกเรีย ค.ศ. 913 - 927 จักรพรรดิอเล็กซานเดอร์เสด็จสวรรคตหลังจากการเล่นโปโลจากความเหน็ดเหนื่อยหลังจากทรงอยู่ในราชบัลลังก์เพียง 1 ปี
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 7 "ผู้ประสูติในรัชกาล"
Constantine VII "the Purple-born"
(ภาษากรีก:Κωνσταντίνος Ζ΄ ὁ Πορφυρογέννητος, ภาษาละติน: Constantinus VII Porphyrogenitus)
6 มิถุนายน ค.ศ. 913 –
9 พฤศจิกายน ค.ศ. 959
(46 ปี 156 วัน)
ทรงเป็นพระโอรสในจักรพรรดิเลโอที่ 6 ประสูติวันที่ 17/18 พฤษภาคม ค.ศ. 905 และทรงขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วมในวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 908 ช่วงต้นรัชกาลทรงถูกครอบงำโดยผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ครั้งแรกทรงอยู่ภายใต้การสำเร็จราชการของสมเด็จพระพันปีหลวงโซอี คาร์โบนอปซินา พระราชมารดา และอัครบิดรนิโคลัส มิสติคอส และในปีค.ศ. 919 ทรงอยู่ภายใต้จอมพลเรือ โรมานอส เลกาเปนอส ผู้ซึ่งให้จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 7 อภิเษกสมรสกับบุตรสาว คือ เฮเลนา เลกาเปเน และโรมานอสได้ครองราชย์เป็นจักรพรรดิอาวุโสในปีค.ศ. 920 จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงถูกกีดกันจากการเมืองในช่วงการปกครองของเลกาเปนอส แต่ด้วยความช่วยเหลือของพระมเหสี จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงสามารถยึดพระราชอำนาจคืนมาได้โดยทรงปลดพระโอรสของจักรพรรดิโรมานอสออกจากราชบัลลังก์ในต้นปีค.ศ. 945 รัชสมัยนี้ทรงขัดแย้งและทำสงครามกับซัฟ อัล-ตอละห์ เอมีร์แห่งอเลปโปทางตะวันออกและทรงล้มเหลวในการพิชิตเกาะครีต และนโยบายสนับสนุนชนชั้นสูงของพระองค์ได้เป็นไปในทางตรงกันข้ามกับการปกครองของเลกาเปนอสซึ่งต่อต้านไดนาโตย (ระบบที่ผูกขาดอำนาจโดยชนชั้นสูง) พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักในการสนับสนุนมาซิโดเนียนเรอแนซ็องส์ โดยทรงส่งเสริมงานสารานุกรมและประวัติศาสตร์ ทรงมีชื่อเสียงในการทรงพระราชนิพนธ์หนังสือสองเล่ม “De Administrando Imperio” และ “De Ceremoniis” ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับศิลปการปกครองประเทศและพิธีการ ตามลำดับ ซึ่งพระองค์ทรงรวบรวมเป็นประมวลงานนิพนธ์เพื่อมอบให้แก่พระโอรส คือ จักรพรรดิโรมานอสที่ 2[15] พระองค์สวรรคตในปีค.ศ. 959 ซึ่งมีข่าวลือว่า จักรพรรดิโรมานอสที่ 2 พระโอรส หรือ จักรพรรดินีธีโอฟาโน พระสุณิสา ทำการวางยาพิษลอบปลงพระชนม์
จักรพรรดิโรมานอสที่ 1 เลกาเปนอส
Romanos I Lekapenos
(ภาษากรีก:Ρωμανὸς Α΄ Λεκαπηνὸς, ภาษาละติน: Romanus I Lacapenus)
17 ธันวาคม ค.ศ. 920 –
16 ธันวาคม ค.ศ. 944
(23 ปี 365 วัน)
เป็นจอมพลเรือที่มีชาติกำเนิดต่ำต้อย โรมานอสทรงก้าวขึ้นสู่อำนาจในฐานะผู้ปกครองของยุวจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 7 ในการต่อต้านแผนการยึดราชบัลลังก์ของนายพลเลโอ โฟลคาส ผู้อาวุโส หลังจากที่ทรงเป็นพระสัสสุระในจักรพรรดิ พระองค์ก็มียศถาบรรดาศักดิ์สูงขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งทรงประกอบพิธีราชาภิเษกพระองค์เองขึ้นเป็นจักรพรรดิอาวุโส โดยครองราชบัลลังก์ร่วมกับจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 7 รัชสมัยของพระองค์นับว่าเป็นจุดจบในการทำสงครามกับบัลแกเรียและได้รับชัยชนะครั้งใหญ่ในการพิชิตตะวันออกภายใต้กองทัพของจอห์น คอร์คูอัส จักรพรรดิโรมานอสทรงแต่งตั้งพระโอรส คือ คริสโตเฟอร์, สตีเฟน และคอนสแตนติน ขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วมเหนือจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 7 แต่จักรพรรดิโรมานอสก็ทรงถูกล้มราชบัลลังก์โดยพระโอรสสองพระองค์หลังและถูกส่งไปคุมขังที่เกาะในฐานะบาทหลวงในอาราม พระองค์สวรรคตที่นั่นในวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 948
จักรพรรดิโรมานอสที่ 2 "ผู้ประสูติในรัชกาล"
Romanos II "the Purple-born"
(ภาษากรีก:Ρωμανὸς Β΄ ὁ Πορφυρογέννητος, ภาษาละติน: Romanus II)
9 พฤศจิกายน ค.ศ. 959 –
15 มีนาคม ค.ศ. 963
(3 ปี 126 วัน)
ทรงเป็นพระโอรสเพียงองค์เดียวที่ยังทรงพระชนม์ของจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 7 พระองค์ประสูติในวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 938 และทรงสิบราชบัลลังก์หลังจากพระราชบิดาสวรรคต ซึ่งมีข่าวลือว่าพระองค์ หรือ จักรพรรดินีธีโอฟาโน พระมเหสีทรงลอบปลงพระชนม์จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 7 ด้วยยาพิษ จักรพรรดิโรมานอสทรงครองราชย์จนกระทั่งสวรรคต แม้ว่ารัฐบาลของพระองค์ส่วนใหญ่จะอยู่ภายใต้อำนาจของขันที โจเซฟ บรินกาส รัชสมัยของพระองค์ประสบความสำเร็จในการทำสงครามกับศัตรูทางตะวันออกคือ ซัฟ อัล-ตอละห์ และประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูเกาะครีตภายใต้กองทัพของนิเคโฟรอส โฟลคาส จักรพรรดิโรมานอสสวรรคตอย่างกะทันหันในปีค.ศ. 963 ขณะทรงมีพระชนมายุ 25 พรรษา มีข่าวลือว่าทรงถูกลอบปลงพระชนม์ด้วยยาพิษโดยจักรพรรดิดนีธีโอฟาโน พระมเหสี
จักรพรรดินิเคโฟรอสที่ 2 โฟลคาส
Nikephoros II Phokas
(ภาษากรีก:Νικηφόρος Β΄ Φωκᾶς, ภาษาละติน: Nicephorus II Phocas)
16 สิงหาคม ค.ศ. 963 –
11 ธันวาคม ค.ศ. 969
(6 ปี 117 วัน)
เป็นนายพลที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในรุ่นของพระองค์ ประสูติราวปีค.ศ. 912 ในตระกูลโฟลคาส ที่ทรงอำนาจ หลังจากการสวรรคตของจักรพรรดิโรมานอสที่ 2 พระองค์ทรงขึ้นครองบัลลังก์ภายใต้การสนับสนุนจากกองทัพและประชาชนในฐานะผู้สำเร็จราชการของจักรพรรดิบาซิลที่ 2 และจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 8 ซึ่งทรงพระเยาว์ พระองค์ได้อภิเษกสมรสกับสมเด็จพระพันปีหลวงธีโอฟาโน พระมเหสีในจักรพรรดิรัชกาลก่อน ตลอดรัชกาลของพระองค์ ทรงทำสงครามกับตะวันออก โดยทรงสามารถยึดครองซีเรียส่วนใหญ่ พระองค์ทรงถูกลอบปลงพระชนม์โดยพระนัดดา คือ จอห์น ทซิมิสเคส โดยทรงวางแผนกับจักรพรรดินีธีโอฟาโน ซึ่งทรงได้กลายเป็นคู่รักกับจอห์น ทซิมิสเคส ผู้หนุ่มกว่าและมีเสน่ห์
จักรพรรดิจอห์นที่ 1 ทซิมิสเคส
John I Tzimiskes
(ภาษากรีก:Ἰωάννης Α΄ Κουρκούας ὁ Τσιμισκὴς, ภาษาละติน: Ioannes I Tzimisces)
11 ธันวาคม ค.ศ. 969 –
10 มกราคม ค.ศ. 976
(6 ปี 30 วัน)
เป็นพระนัดดาในจักรพรรดินิเคโฟรอสที่ 2 ทซิมิสเคสประสูติราวค.ศ. 925 เป็นแม่ทัพผู้มีความสามารถ ทรงพยายามห่างจากจักรพรรดิผู้เป็นพระมาตุลา และนำไปสู่การวางแผนสมรู้ร่สวมคิดปลงพระชนม์จักรพรรดิร่วมกับเหล่านายพลที่ไม่พอใจจักรพรรดิ และทรงได้รับความช่วยเหลือในแผนการจากจักรพรรดินีธีโอฟาโน จอห์น ทซิมิสเคสจึงได้เป็นจักรพรรดิและเป็นผู้สำเร็จราชการในพระโอรสผู้ทรงพระเยาว์ของจักรพรรดิโรมานอสที่ 2 จักรพรรดิจอห์นที่ 1 ทรงพยายามอภิเษกสมรสกับจักรพรรดินีธีโอฟาโน ผู้ทรงเป็นจักรพรรดินีมาสองรัชกาล แต่อัครบิดรทรงประกาศว่าจะไม่ประกอบพิธีราชาภิเษกให้พระองค์ถ้าไม่ทรงลงโทษผู้ก่อการลอบปลงพระชนม์ และถอดถอน "จักรพรรดินีผู้ชั่วร้าย" ออกจากราชสำนัก จักรพรรดิจอห์นทรงพยายามประนีประนอมกับฝ่ายศาสนาจึงเนรเทศจักรพรรดินีธีโอฟาโนออกไป ในฐานะประมุข จักรพรรดิจอห์นทรงทำสงครามกับชาวรัสในบัลแกเรียในสงครามการรุกรานบัลแกเรียของสเวียโตสลาฟและเป็นจุดล่มสลายของจักรวรรดิบัลแกเรีย โดยไบแซนไทน์ได้รับชัยชนะ จากนั้นทรงยกทัพไปทำสงครามด้านตะวันออก ซึ่งพระองค์สวรรคตอย่างกะทันหัน
จักรพรรดิบาซิลที่ 2 "ผู้ปราบบุลการ์"
Basil II "the Bulgar-Slayer"
(ภาษากรีก:Βασίλειος Β΄ ὁ Βουλγαροκτόνος, ภาษาละติน: Basilius II Bulgaroctonus)
10 มกราคม ค.ศ. 976 –
15 ธันวาคม ค.ศ. 1025
(49 ปี 339 วัน)
เป็นพระโอรสองค์โตในจักรพรรดิโรมานอสที่ 2 ประสูติในปีค.ศ. 958 ทศวรรษแรกของรัชกาล ทรงเป็นขัดแย้งกับบาซิล เลกาเปนอส มหาเสนาบดีผู้ทรงอำนาจ ทรงประสบความล้มเหลวในการทำสงครามกับบัลแกเรีย และเกิดกบฏในเอเชียไมเนอร์ซึ่งนำโดยกลุ่มนายพล จักรพรรดิบาซิลทรวพยายามสร้างความมั่นคงของราชบัลลังก์โดยทรงเป็นพันธมิตรกับวลาดิมีร์แห่งเคียฟ ทรงให้เจ้าหญิงแอนนา พอร์ฟีโรเกนิตา พระขนิษฐาเสกสมรสกับเจ้าชายวลาดิมีร์ และจากนั้นทรงปราบปรามกบฏ พระองค์ทรงเริ่มพิชิตบัลแกเรีย บัลแกเรียถูกปราบอย่างราบคาบในปีค.ศ. 1018 หลังจากภาวะสงครามถึง 20 ปี โดยมีเพียงเหตุการณ์ที่ทำให้การบุกบัลแกเรียต้องหยุดชะงักเพียงชั่วขณะ คือ การทำสงครามประปรายในซีเรียต่อต้านราชวงศ์ฟาติมียะห์ จักรพรรดิบาซิลยังทรงขยายอาณาเขตไปถึงอาร์เมเนียส่วนใหญ่ รัชกาลของพระองค์ถูกพิจารณาว่าเป็นจุดรุ่งเรืองถึงขีดสุดของจักรวรรดิไบแซนไทน์ในยุคกลาง
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 8 "ผู้ประสูติในรัชกาล"
Constantine VIII "the Purple-born"
(ภาษากรีก:Κωνσταντίνος Η΄ ὁ Πορφυρογέννητος, ภาษาละติน: Constantinus VIII)
15 ธันวาคม ค.ศ. 1025 –
11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1028
(2 ปี 332 วัน)
เป็นพระโอรสองค์ที่สองในจักรพรรดิโรมานอสที่ 2 ประสูติในปีค.ศ. 960 และทรงได้รับการสถาปนาเป็นจักรพรรดิร่วมในเดือนมีนาคม ค.ศ. 962 ในระหว่างรัชกาลของจักรพรรดิบาซิลที่ 2 พระองค์ทรงใช้เวลาเพื่อความเกษมสำราญ ในช่วงรัชกาลอันสั้นของพระองค์ ทรงเป็นประมุขผู้ไม่สนพระทัยกิจการบ้านเมือง ทำให้ทรงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของข้าราชสำนักโดยง่าย และทรงสงสัยว่าจะมีแผนการปลดพระองค์ออกจากราชบัลลังก์ โดยเฉพาะกลุ่มขุนนางฝ่ายทหาร ทำให้กลุ่มขุนนางจำนวนมากถูกจับทำให้ตาบอดและถูกเนรเทศ ในขณะที่ทรงใกล้สวรรคต พระองค์ทรงเลือกโรมานอส อาร์กีรอสให้เป็นพระสวามีในเจ้าหญิงโซอี พระราชธิดา[16]ซึ่งจะทรงขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อไป
จักรพรรดินีโซอี "ผู้ประสูติในรัชกาล"
Zoe "the Purple-born"
(ภาษากรีก:Ζωὴ Πορφυρογέννητη, ภาษาละติน: Zoë)
12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1028 –
มิถุนายน ค.ศ. 1050
(21 ปี 200 วัน)
เป็นพระราชธิดาในจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 8 พระนางทรงสืบราชบัลลังก์หลังจากพระบิดาสวรรคต พระนางทรงเป็นเชื้อพระวงศ์มาซิโดเนียนที่ยังทรงพระชนม์อยู่กับเจ้าหญิงธีโอโดรา พระขนิษฐา ทรงมีพระสวามีทั้งหมดสามพระองค์ ได้แก่ จักรพรรดิโรมานอสที่ 3 (1028 - 1034), จักรพรรดิมิคาเอลที่ 4 (1034 - 1041) และจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 9 (1042 - 1050) ซึ่งทั้งสามพระองค์ได้เป็นจักรพรรดิเคียงข้างราชบัลลังก์ของพระนาง จักรพรรดินีโซอีทรงพยายามรักษาพระราชอำนาจของพระนาง ด้วยการสนับสนุนจากหลายฝ่าย ซึ่งพระนางทรงพยายามจำกัดบทบาทของพระนางธีโอโดรา พระขนิษฐา อยู่เสมอจนกระทั่งทรงสวรรคต
จักรพรรดิโรมานอสที่ 3 อาร์กีรอส
Romanos III Argyros
(ภาษากรีก:Ρωμανὸς Γ΄ Ἀργυρὸς, ภาษาละติน: Romanus III Argyrus)
15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1028 –
11 เมษายน ค.ศ. 1034
(5 ปี 147 วัน)
ประสูติในปีค.ศ. 968 เป็นข้าราชการอาวุโสซึ่งได้ถูกเลือกโดยจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 8 ซึ่งทรงใกล้สวรรคต ให้เสกสมรสกับเจ้าหญิงโซอี พระธิดาของพระองค์ จักรพรรดิโรมานอสได้ครองราชย์ร่วมกับจักรพรรดินีโซอีหลังจากจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 8 สวรรคต เพียงไม่กี่วัน จักรพรรดิโรมานอสสวรรคตในปีค.ศ. 1034 มีข่าวลือว่าทรงถูกลอบปลงพระชนม์โดยแผนการของจักรพรรดินีโซอีและมิคาเอล พาฟลาโกเนียน คู่รักของพระนาง ด้วยการวางยาพิษ รัดพระศอ และจับพระองค์กดน้ำในห้องสรง
จักรพรรดิมิคาเอลที่ 4 "เดอะพาฟลาโกเนียน"
Michael IV "the Paphlagonian"
(ภาษากรีก:Μιχαὴλ Δ΄ ὁ Παφλαγὼν, ภาษาละติน: Michael IV Paphlagon)
11 เมษายน ค.ศ. 1034 –
10 ธันวาคม ค.ศ. 1041
(7 ปี 243 วัน)
ประสูติในปีค.ศ. 1010 เดิมทรงมีพื้นเพมาจากชาวนาในพาฟลาโกเนีย ทรงกลายมาเป็นคู่รักของจักรพรรดินีโซอีในขณะที่จักรพรรดิโรมานอสที่ 3 ยังทรงพระชนม์อยู่ และได้ขึ้นครองราชย์หลังจากจักรพรรดิโรมานอสสวรรคตและเป็นพระสวามีในจักรพรรดินีโซอี จักรพรรดิมิคาเอลที่ 4 ทรงมีพระสิริโฉม เฉลียวฉลาดและพระทัยกว้าง ในทางกลับกันทรงไม่ได้รับการศึกษาและทรงทรมานจากโรคลมชัก[17] เนื่องจากทรงได้รับการสนับสนุนจากพระเชษฐา คือ จอห์น เดอะออร์ฟาโนโทรฟอส ซึ่งเป็นหัวหน้าขันที ทำให้รัชกาลของพระองค์ประสบความสำเร็จพอสมควรในการปราบปรามกบฏภายใน แต่ความพยายามในการยึดซิซิลีประสบความล้มเหลว พระองค์สวรรคตหลังจากทรงประชวรมาเป็นเวลานาน
จักรพรรดิมิคาเอลที่ 5 คาลาฟาเตส
Michael V Kalaphates
(ภาษากรีก:Μιχαὴλ Ε΄ ὁ Καλαφάτης, ภาษาละติน: Michael V Calaphates)
10 ธันวาคม ค.ศ. 1041 –
20 เมษายน ค.ศ. 1042
(0 ปี 131 วัน)
ประสูติในปีค.ศ. 1015 ทรงเป็นพระนัดดาและเป็นพระโอรสเลี้ยงในจักรพรรดิมิคาเอลที่ 4 ในรัชกาลของพระองค์ทรงพยายามกีดกันอำนาจของจักรพรรดินีโซอี พระมารดาเลี้ยง ทรงมีพระราชโองการเนรเทศจักรพรรดินีโซอีออกจากราชบัลลังก์เพื่อจะได้ทรงเป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียว พระราชโองการของพระองค์ทำให้เกิดการจลาจล กลุ่มผู้ก่อการจลาจลได้ล้มพระราชวังเพื่อเรียกร้องให้ฟื้นฟูจักรพรรดินีโซอีกลับคืนสู่บัลลังก์ พระองค์ต้องทรงยอมให้จักรพรรดินีโซอีคืนสู่บัลลังก์ในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1042 โดยทรงครองราชย์ร่วมกับเจ้าหญิงธีโอโดรา พระขนิษฐา จักรพรรดิมิคาเอลที่ 5 ทรงถูกปลดจากราชบัลลังก์ในวันถัดมาโดยพระราชโองการของจักรพรรดินีธีโอโดรา พระองค์ทรงถูกตอนพระคุยหฐาน (อวัยวะเพศ) ทำให้พระเนตรบอดและถูกโกนพระเกศา พระองค์สวรรคตในฐานะพระในวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1042
จักรพรรดินีธีโอโดรา
Theodora
(ภาษากรีก:Θεοδώρα, ภาษาละติน: Theodora)
19 เมษายน ค.ศ. 1042 –
หลัง 31 สิงหาคม ค.ศ. 1056
(14 ปี 134 วัน)
ทรงเป็นพระขนิษฐาในจักรพรรดินีโซอี ประสูติในปีค.ศ. 984 ทรงเป็นจักรพรรดินีร่วมในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1056 หลังจากจักรพรรดินีโซอีทรงอภิเษกสมรสกับพระสวามีองค์ที่สาม คือ จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 9 ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1042 จักรพรรดินีธีโอโดราทรงถูกพระเชษฐภคินีกีดกันจากพระราชอำนาจอีกครั้ง หลังจากจักรพรรดินีโซอีสวรรคตในปีค.ศ. 1050 และจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 9 สวรรคตในปีค.ศ. 1055 จักรพรรดินีธีโอโดราจึงทรงได้รับพระราชอำนาจในการปกครองจักรวรรดิอย่างเต็มที่ และทรงครองราชย์จนกระทั่งสวรรคต พระนางทรงแต่งตั้งให้มิคาเอล บรินกาสเป็นผู้สืบราชบัลลังก์องค์ต่อไป หลังสวรรคตของจักรพรรดินีธีโอโดรา จักรวรรดิไบแซนไทน์เริ่มเข้าถึงจุดเสื่อมและเริ่มฟื้นฟูอีกครั้งในรัชสมัยจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 1 โคมเนนอส
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 9 โมโนมาคอส
Constantine IX Monomachos
(ภาษากรีก:Κωνσταντίνος Θ΄ Μονομάχος, ภาษาละติน: Constantinus IX Monomachus)
11 มิถุนายน ค.ศ. 1042 –
7/8 หรือ 11 มกราคม ค.ศ. 1055
(12 ปี 214 วัน)
ประสูติราวค.ศ. 1000 ในตระกูลขุนนาง พระชนม์ชีพของพระองค์ไม่เด่นชัด แต่ทรงถูกเนรเทศไปยังเลสบอสโดยจักรพรรดิมิคาเอลที่ 4 ทรงกลับมาเมื่อจักรพรรดินีโซอีทรงเลือกพระองค์เป็นพระสวามี จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 9 ทรงสนับสนุนชนชั้นพ่อค้าและทรงสนับสนุนกลุ่มปัญญาชน ในขณะที่ทรงตีห่างจากขุนนางฝ่ายทหาร พระองค์ทรงเป็นประมุขที่โปรดเรื่องกามารมณ์ ทรงดำรงพระชนม์ชีพอย่างฟุ่มเฟือยกับพระสนมของพระองค์ และทรงถวายทานแก่อารามจำนวนมาก หลักๆคือ เนียโมนีแห่งคิออสและอารามมันกานา ในรัชกาลของพระองค์ทรงถูกรุกรานโดยเปเชนเนกในบอลข่าน และการรุกรานจากราชวงศ์เซลจุคทางตะวันออก เกิดการกบฏของจอร์จ มาเนียเคสและเลโอ ทอร์นิคิออส และเกิดการแตกแยกทางศาสนาครั้งใหญ่ระหว่างคริสตจักรโรมกับคริสตจักรคอนสแตนติโนเปิล[18]

ไม่ใช่ราชวงศ์ (ค.ศ. 1056 - 1057)[แก้]

พระนาม รัชกาล
ระยะเวลาครองราชย์
พระประวัติ
จักรพรรดิมิคาเอลที่ 6 บรินกาส
Michael VI Bringas
(ภาษากรีก:Μιχαὴλ ΣΤ΄ Βρίγγας, ภาษาละติน: Michael VI Stratioticus)
กันยายน ค.ศ. 1056 –
31 สิงหาคม ค.ศ. 1057
(0 ปี 365 วัน)
เป็นข้าราชการราชสำนักและเป็น Logothetes tou stratiotikou ได้รับการสถาปนาเป็นรัชทายาทก่อนที่จักรพรรดินีธีโอโดราจะสวรรคต จักรพรรดิมิคาเอลที่ 6 ทรงถูกถอดถอนออกจากราชบัลลงก์โดยการกบฏของกองทัพภายใต้การนำของไอแซ็ค โคมเนนอส พระองค์ทรงเสด็จไปประทับในอาราม ซึ่งทรงสวรรคตในปีค.ศ. 1059

ราชวงศ์โคมเนนอส ครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1057 - 1059)[แก้]

พระนาม รัชกาล
ระยะเวลาครองราชย์
พระประวัติ
จักรพรรดิไอแซ็คที่ 1 โคมเนนอส
Isaac I Komnenos
(ภาษากรีก:Ἰσαάκιος Α΄ Κομνηνὸς, ภาษาละติน: Isaacius I Comnenus)
5 มิถุนายน ค.ศ. 1057 –
22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1059
(2 ปี 170 วัน)
ประสูติราวค.ศ. 1005 ทรงเป็นนายพลที่ประสบความสำเร็จ พระองค์ขึ้นสู่อำนาจด้วยการนำกองทัพจากตะวันออกและประกาศตนเป็นจักรพรรดิ ซึ่งพระองค์ทรงครองราชย์อย่างเป็นทางการหลังจากจักรพรรดิมิคาเอลที่ 6 สละราชบัลลังก์ในวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1057 พระองค์ทรงพยายามฟื้นฟูท้องพระคลังของจักรวรรดิที่หมดลงและทรงพยายามสร้างรัฐบาลกลางที่มีอำนาจเข้มแข็งและเป็นทางการ จักรพรรดิไอแซ็คที่ 1 ทรงสละราชบัลลังก์ในปีค.ศ. 1059 และเสด็จสวรรคตราวค.ศ. 1061

ราชวงศ์ดูคาส (ค.ศ. 1059 - 1081)[แก้]

พระนาม รัชกาล
ระยะเวลาครองราชย์
พระประวัติ
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 10 ดูคาส
Constantine X Doukas
(ภาษากรีก:Κωνσταντίνος Ι΄ Δούκας, ภาษาละติน: Constantinus X Ducas)
24 พฤษจิกายน ค.ศ. 1059 –
22 พฤษภาคม ค.ศ. 1067
(7 ปี 179 วัน)
ประสูติราวค.ศ. 1006 ทรงเป็นนายพลและเป็นพันธมิตรที่แนบแน่นกับไอแซ็ค โคมเนนอส และสืบราชบัลลังก์หลังจากจักรพรรดิไอแซ็คที่ 1 สละราชบัลลังก์ ทรงแต่งตั้งพระโอรสสามคนคือ มิคาเอล, อันโดรนิคอสและคอนสแตนติออส ดูคาส เป็นจักรพรรดิร่วม ทรงปฏิเสธที่จะสานต่อแนวทางการปฏิรูปของจักรพรรดิไอแซ็ค พระองค์ทรงกลายเป็นจักรพรรดิที่ไม่เป็นที่นิยมในวงกว้างเนื่องจากทรงประกาศขึ้นภาษีเพื่อจะนำไปใช้จ่ายเกี่ยวกับกองทัพ
มิคาอิลที่ 7 ดูคาส
Michael VII Doukas
(ภาษากรีก:Μιχαὴλ Ζ΄ Δούκας, ภาษาละติน: Michael VII Ducas)
22 พฤษภาคม ค.ศ. 1067 –
24 มีนาคม ค.ศ. 1078
(10 ปี 306 วัน)
ประสูติ ค.ศ. 1050 เป็นพระโอรสองค์โตในจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 10 ทรงเป็นจักรพรรดิร่วมตั้งแต่ค.ศ. 1059 พระองค์ทรงสืบราชบัลลังก์หลังจากพระราชบิดาสวรรคต ในช่วงวัยเยาว์ ทรงอยู่ภายใต้การสำเร็จราชการของสมเด็จพระพันปีหลวงยูโดเกีย มาเครมโบลิทิสซา พระมารดา ในปีค.ศ. 1067 - 1068 และทรงผลักไสจักรพรรดิผู้ทรงพระเยาว์ให้ไปอยู่ในการควบคุมของพระสวามีองค์ที่สองของพระนาง คือ โรมานอสที่ 4 ไดโอเจนีส ในปีค.ศ. 1068 - 1071 เมื่อทรงเจริญพระชันษาในปีค.ศ. 1071 - 1078 พระองค์ทรงสถาปนา เจ้าชายคอนสแตนติน พระโอรสเป็นจักรพรรดิร่วม พร้อมกับพระอนุชาของพระองค์เอง พระองค์ทรงสละราชบัลลังก์จากการกบฏของ นิเคโฟรอส โบตาเนอาตีส และสวรรคตราวปีค.ศ. 1090
จักรพรรดิโรมานอสที่ 4 ไดโอเจนีส
Romanos IV Diogenes
(ภาษากรีก:Ρωμανὸς Δ΄ Διογένης, ภาษาละติน: Romanus IV Diogenes)
1 มกราคม ค.ศ. 1068 –
24 ตุลาคม ค.ศ. 1071
(3 ปี 296 วัน)
ประสูติในปีค.ศ. 1032 เป็นนายพลผู้ประสบความสำเร็จและเสกสมรสกับสมเด็จพระพันปีหลวงยูโดเกีย มาเครมโบลิทิสซา และทรงกลายเป็นจักรพรรดิอาวุโส เป็นผู้ปกครองแก่พระโอรสของพระนางที่ประสูติกับจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 10 ทรงถูกปลดจากราชบัลลังก์โดยสมาชิกราชนิกูลดูคาสหลังจากสมรภูมิแมนซิเคิร์ท ทรงถูกทำให้พระเนตรบอดในปีเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1072 ถูกเนรเทศ และสวรรคตในเวลาต่อมา
จักรพรรดินิเคโฟรอสที่ 3 โบตาเนอาตีส
Nikephoros III Botaneiates
(ภาษากรีก:Νικηφόρος Γ΄ Βοτανειάτης, ภาษาละติน: Nicephorus III Botaniates)
31 มีนาคม ค.ศ. 1078 –
4 เมษายน ค.ศ. 1081
(3 ปี 4 วัน)
ประสูติในปีค.ศ. 1001 เป็นสเตรตกอสแห่งธีมอนาโตลิก พระองค์ทรงก่อกบฏต่อต้านจักรพรรดิมิคาเอลที่ 7 และได้รับการต้อนรับในเมืองหลวง พระองค์ต้องเผชิญกับการกบฏหลายครั้ง แต่ทรงถูกล้มราชบัลลังก์โดยตระกูลโคมเนนอส พระองค์ทรงเสด็จไปประทับที่อาราม ที่ซึ่งทรงสวรรคตในวันที่ 10 ธันวาคม ปีเดียวกัน (ค.ศ. 1081)

ราชวงศ์โคมเนนอส ครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1081 - 1185)[แก้]

พระนาม รัชกาล
ระยะเวลาครองราชย์
พระประวัติ
จักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 1 โคมเนนอส
Alexios I Komnenos
(ภาษากรีก:Ἀλέξιος Α' Κομνηνὸς, ภาษาละติน: Alexius I Comnenus)
4 เมษายน ค.ศ. 1081 –
15 สิงหาคม ค.ศ. 1118
(37 ปี 133 วัน)
ประสูติในปีค.ศ. 1056 เป็นพระนัดดาในจักรพรรดิไอแซ็คที่ 1 โคมเนนอส เป็นนายพลที่โดดเด่น พระองค์ทรงล้มราชบัลลังก์ของจักรพรรดินิเคโฟรอสที่ 3 รัชสมัยของพระองค์ต้องรบพุ่งกับนอร์มันและราชวงศ์เซลจุค และการมาถึงของสงครามครูเสดครั้งที่ 1และการจัดตั้งรัฐนักรบครูเสดอิสระ พระองค์ยังคงให้คอนสแตนติน ดูคาสดำรงเป็นจักรพรรดิร่วมต่อไปจนถึงค.ศ. 1087 และทรงแต่งตั้งจอห์น พระโอรสองค์โตเป็นจักรพรรดิร่วมในปีค.ศ. 1092 พระองค์ทรงสามารถหยุดยั้งความเสื่อมของจักรวรรดิและทรงเริ่มการเปลี่ยนแปลงทางการทหาร, ทางการเศรษฐกิจ และทางการได้ดินแดนคืนที่เรียกว่าสมัย “การปฏิรูปโคมีเนียน” (Komnenian restoration)
จักรพรรดิจอห์นที่ 2 โคมเนนอส
John II Komnenos
(ภาษากรีก:Ἰωάννης Β' Κομνηνὸς, ภาษาละติน: Ioannes II Comnenus)
15 สิงหาคม ค.ศ. 1118 –
8 เมษายน ค.ศ. 1143
(24 ปี 236 วัน)
ประสูติวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 1087 เป็นพระโอรสองค์โตในจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 1 ทรงได้รับการสถาปนาเป็นจักรพรรดิร่วมในปีค.ศ. 1092 พระองค์ทรงสืบราชบัลลังก์หลังจากพระราชบิดาสวรรคต รัชสมัยของพระองค์ต้องประสบกับสงครามกับเติร์ก ทรงเป็นพระประมุขที่เป็นที่นิยมและทรงตระหนี่ พระองค์ยังทรงเป็นที่รู้จักในพระนามว่า "จอห์น คนดี" ทรงแต่งตั้งพระโอรสองค์โตคือ เจ้าชายอเล็กซิออสเป็นจักรพรรดิร่วมในปีค.ศ. 1122 และพระโอรสได้สิ้นพระชนม์ก่อนหน้าพระองค์
จักรพรรดิมานูเอลที่ 1 โคมเนนอส
Manuel I Komnenos
(ภาษากรีก:Μανουὴλ Α' Κομνηνὸς, ภาษาละติน: Manuel I Comnenus)
ค.ศ. 1143 –
24 กันยายน ค.ศ. 1180
(37 ปี 299 วัน)
ประสูติวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1118 เป็นพระโอรสองค์ที่สี่และองค์สุดท้องในจักรพรรดิจอห์นที่ 2 พระองค์ทรงได้รับเลือกให้เป็นจักรพรรดิแทนที่พระเชษฐาคือ เจ้าชายไอแซ็ค โคมเนนอส โดยพระราชบิดาก่อนที่จะสวรรคต ทรงเป็นพระประมุขที่เข้มแข็ง พระองค์ทรงก่อสงครามกับเติร์ก และอ่อนน้อมต่อราชอาณาจักรฮังการี ทรงมีอำนาจสูงสุดเหนือรัฐครูเสด และทรงพยายามรื้อฟื้นดินแดนคืนในอิตาลีแต่ไม่สำเร็จ ความฟุ่มเฟือยและการทำสงครามาอย่างต่อเนื่องได้ทำให้ทรัพยากรของจักรวรรดิลดน้อยลง
จักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 2 โคมเนนอส
Alexios II Komnenos
(ภาษากรีก:Ἀλέξιος B' Κομνηνὸς, ภาษาละติน: Alexius II Comnenus)
24 กันยายน ค.ศ. 1180 –
ตุลาคม ค.ศ. 1183
(3 ปี 6 วัน)
ประสูติวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 1162 เป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวในจักรพรรดิมานูเอลที่ 1 ในช่วงปีค.ศ. 1180 - 1182 ทรงอยู่ภายใต้การสำเร็จราชการของพระมารดาคือ สมเด็จพระพันปีหลวงมาเรียแห่งแอนติออก พระนางมาเรียทรงถูกรัฐประหารโดยอันโดรนิคอส โคมเนนอส พระญาติในราชวงศ์ ซึ่งได้บีบบังคับให้จักรพรรดิอเล็กซิออสมีพระราชโองการประหารพระมารดา จากนั้นอันโดรนิคอสได้กลายเป็นจักรพรรดิร่วม ท้ายที่สุดได้โค่นล้มจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 2 เพื่อขึ้นครองบัลลังก์แทน จักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 2 ทรงถูกปลงพระชนม์
จักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 1 โคมเนนอส
Andronikos I Komnenos
(ภาษากรีก:Ἀνδρόνικος Α' Κομνηνὸς, ภาษาละติน: Andronicus I Comnenus)
ค.ศ. 1183 –
11 กันยายน ค.ศ. 1185
(2 ปี 285 วัน)
ประสูติราวค.ศ. 1118 เป็นพระนัดดาในจักรพรรดิจอห์นที่ 2 โดยเป็นโอรสในพระอนุชาของจักรพรรดิจอห์นที่ 2 คือ เจ้าชายไอแซ็ค ทรงเป็นนายพล ทรงถูกจับกุมหลังจากที่ทรงวางแผนสมคบคิดต่อต้านจักรพรรดิจอห์นที่ 2 พระปิตุลา แต่หลบหนีไปได้และใช้เวลา 15 ปีในการลี้ภัยไปยังราชสำนักต่างๆของยุโรปตะวันออกและตะวันออกกลาง พระองค์ทรงยึดตำแหน่งผู้สำเร็จราชการของสมเด็จพระพันปีหลวงมาเรียแห่งแอนติออกในปีค.ศ. 1182 และต่อมาทรงยึดราชบัลลังก์จากจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 2 พระนัดดา พระองค์ทรงเป็นพระประมุขที่ไม่ได้รับความนิยม พระองค์ทรงถูกโค่นล้มราชบัลลังก์และทรงถูกรุมประชาทัณฑ์โดยการลุกฮือของประชาชนจนสวรรคต

ราชวงศ์อันเจลอส (ค.ศ. 1185 - 1204)[แก้]

พระนาม รัชกาล
ระยะเวลาครองราชย์
พระประวัติ
จักรพรรดิไอแซ็คที่ 2 อันเจลอส
Isaac II Angelos
(ภาษากรีก:Ἰσαάκιος Β' Ἄγγελος, ภาษาละติน: Isaacius II Angelus)
ค.ศ. 1185 –
ค.ศ. 1195
ครั้งที่ 1
(10 ปี 0 วัน)
ประสูติในเดือนกันยายน ค.ศ. 1156 ไอแซ็คก้าวขึ้นสู่บัลลังก์ได้จากการที่เป็นผู้นำการลุกฮือต่อต้านจักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 1 รัชสมัยของพระองค์เต็มไปด้วยการกบฏและสงครามในบอลข่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการต่อต้านการฟื้นฟูบัลแกเรีย จักรพรรดิไอแซ็คที่ 2 ทรงถูกโค่นล้ม ทรงถูกทำให้พระเนตรบอดและถูกจับกุมโดย จักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 3 พระเชษฐาของพระองค์
จักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 3 อันเจลอส
Alexios III Angelos
(ภาษากรีก:Ἀλέξιος Γ' Ἄγγελος, ภาษาละติน: Alexius III Angelus)
ค.ศ. 1195 –
17/18 กรกฎาคม ค.ศ. 1203
(8 ปี 230 วัน)
ประสูติในปีค.ศ. 1153 จักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 3 ทรงเป็นพระเชษฐาในจักรพรรดิไอแซ็คที่ 2 รัชสมัยของพระองค์ประสบกับการปกครองที่ไม่มั่นคงและอำนาจการปกครองของแคว้นต่างๆได้เพิ่มมากขึ้น พระองค์ทรงถูกโค่นราชบัลลังก์โดยกองทัพครูเสดในสงครามครูเสดครั้งที่ 4 และทรงหลบหนีจากคอนสแตนติโนเปิล ทรงลี้ภัยและเดินทางไปยังกรีซและเอเชียไมเนอร์ เพื่อแสวงหาการสนับสนุนให้พระองค์กลับคืนสู่บัลลังก์ พระองค์สวรรคตหลังจากทรงถูกจับกุมในจักรวรรดิไนเซียในปีค.ศ. 1211
จักรพรรดิไอแซ็คที่ 2 อันเจลอส
Isaac II Angelos
(ภาษากรีก:Ἰσαάκιος Β' Ἄγγελος, ภาษาละติน: Isaacius II Angelus)
18 กรกฎาคม ค.ศ. 1203 –
27/28 มกราคม ค.ศ. 1204
ครั้งที่ 2
(0 ปี 194 วัน)
ทรงได้รับการฟื้นฟูราชบัลลังก์อีกครั้งโดยนักรบครูเสดแม้ว่าจะทรงพระเนตรบอด อำนาจของพระองค์ทรงตกอยู่กับจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 4 พระโอรส เนื่องจากทรงล้มเหลวในการต่อรองผลประโยชน์จากข้อเรียกร้องของนักรบครูเสด ทำให้พระองค์ทรงถูกโค่นราชบัลลังก์อีกครั้งโดยอเล็กซิออส ดูคาสในเดือนมกราคม ค.ศ. 1204 และสวรรคตในวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1204 คาดว่าอาจจะทรงถูกปลงพระชนม์ด้วยยาพิษ
จักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 4 อันเจลอส
Alexios IV Angelos
(ภาษากรีก:Ἀλέξιος Δ' Ἄγγελος, ภาษาละติน: Alexius IV Angelus)
1 สิงหาคม ค.ศ. 1203 –
27/28 มกราคม ค.ศ. 1204
(0 ปี 180 วัน)
ประสูติในปีค.ศ. 1182 ทรงเป็นพระโอรสในจักรพรรดิไอแซ็คที่ 2 พระองค์ทรงเข้าร่วมในกองทัพครูเสดครั้งที่สี่เพื่อนำพระราชบิดากลับคืนสู่ราชบัลลังก์ และทรงได้ครองราชย์ร่วมกับพระราชบิดาหลังจากทรงได้รับชัยชนะต่อจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 3 พระปิตุลาแล้ว เนื่องจากทรงล้มเหลวในการต่อรองผลประโยชน์จากข้อเรียกร้องของนักรบครูเสด ทำให้พระองค์ทรงถูกโค่นราชบัลลังก์อีกครั้งโดยอเล็กซิออส ดูคาสในเดือนมกราคม ค.ศ. 1204 พระองค์ทรงถูกปลงพระชนม์ด้วยการรัดพระศอในวันที่ 8 กุมภาพันธ์
จักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 5 ดูคาส "มอร์ทซูฟลอส"
Alexios V Doukas "Mourtzouphlos"
(ภาษากรีก:Ἀλέξιος Ε' Δούκας ὁ Μούρτζουφλος, ภาษาละติน: Alexius V Ducas)
5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1204 –
13 เมษายน ค.ศ. 1204
(0 ปี 68 วัน)
ประสูติในปีค.ศ. 1140 เป็นพระชามาดา (บุตรเขย) ในจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 3 และเป็นขุนนางที่โดดเด่น พระองค์ทรงโค่นล้มจักรพรรดิไอแซ็คที่ 2 และจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 4 ในการรัฐประหาร พระองค์พยายามขับไล่กองทัพครูเสด แต่กองทัพครูเสดได้เข้ายึดครองคอนสแตนติโนเปิล ทำให้มอร์ทซูฟลอสต้องทรงหลบหนี พระองค์เสด็จไปพบกับอดีตจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 3 ที่ทรงลี้ภัยอยู่ แต่อดีตจักรพรรดิทรงให้กองทัพซุ่มโจมตีและมีพระบัญชาทำให้พระเนตรของจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 5 บอด เพื่อให้พระองค์ไม่สามารถอ้างสิทธิในบัลลังก์ได้ พระองค์ทรงถูกทั้งทหารของพระองค์และศัตรูทอดทิ้ง และทรงถูกจับกุมโดยกองทัพครูเสด พะรองค์ทรงถูกตัดสินประหารชีวิตในโทษฐานกบฏต่อจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 4 ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1205

ราชวงศ์ลาสคาริส (จักรวรรดิไนเซีย ค.ศ. 1204 - 1261)[แก้]

พระนาม รัชกาล
ระยะเวลาครองราชย์
พระประวัติ
จักรพรรดิธีโอดอร์ที่ 1 ลาสคาริส
Theodore I Laskaris
(ภาษากรีก:Θεόδωρος Α΄ Λάσκαρις, ภาษาละติน: Theodorus I Lascares)
ค.ศ. 1205 –
ธันวาคม ค.ศ. 1221/1222
(17 ปี 365 วัน)
ประสูติในราวค.ศ. 1174 พระองค์ทรงมีชื่อเสียงขึ้นมาจากการที่ทรงเป็นพระชามาดาในจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 3 คอนสแตนติน ลาสคาริส พระเชษฐาของพระองค์ได้รับเลือกให้เป็นจักรพรรดิโดยประชาชนของคอนสแตนติโนเปิลในวันที่เมืองพ่ายแพ้ต่อกองทัพครูเสด พระองค์ได้เสด็จลี้ภัยไปยังไนเซีย ที่ซึ่งธีโอดอร์ทรงจัดตั้งกลุ่มชาวกรีกเพื่อต่อต้านชาวลาติน พระองค์ทรงประกาศพระองค์เองเป็นจักรพรรดิหลังการสิ้นพระชนม์ของคอนสแตนตินในปีค.ศ. 1205 จักรพรรดิธีโอดอร์ทรงสวมมงกุฎในปีค.ศ. 1208 พระองค์ทรงพยายามขัดขวางการเดินทัพของลาตินในเอเชียและทรงขับไล่การโจมตีของเซลยุค ทรงสถาปนาจักรวรรดิไนเซียซึ่งเป็นรัฐสืบทอดของชาวกรีกที่เข้มแข็ง
จักรพรรดิจอห์นที่ 3 ดูคาส วาตัทซีส
John III Doukas Vatatzes
(ภาษากรีก:Ἰωάννης Γ' Δούκας Βατάτζης, ภาษาละติน: Ioannes III Ducas Batatzes)
15 ธันวาคม ค.ศ. 1221/1222 –
3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1254
(31 ปี 323 วัน)
ประสูติในราวค.ศ. 1192 ทรงกลายเป็นพระชามาดาและรัชทายาทในจักรพรรดิธีโอดอร์ที่ 1 ในปีค.ศ. 1212 ทรงเป็นประมุขและนักการทหารที่มีความสามารถ พระองค์ทรงขยายจักรวรรดิไปยังบิธีเนีย เทรซและมาซิโดเนีย เพื่อเป็นการชดใช้ของจักรวรรดิละติน บัลแกเรียและรัฐกรีกที่เป็นศัตรูอย่าง รัฐเดสปอทอิไพรัส
จักรพรรดิธีโอดอร์ที่ 2 ลาสคาริส
Theodore II Laskaris
(ภาษากรีก:Θεόδωρος Β' Λάσκαρις, ภาษาละติน: Theodorus II Lascares)
3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1254 –
18 สิงหาคม ค.ศ. 1258
(3 ปี 288 วัน)
ประสูติในปีค.ศ. 1221/1222 ทรงเป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวในจักรพรรดิจอห์นที่ 3 พระองค์ทรงสืบราชบัลลังก์หลังจากพระราชบิดาสวรรคต รัชสมัยของพระองค์เป็นรัชสมัยที่เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มตระกูลขุนนางใหญ่ๆ และพระองค์ทรงได้รับชัยชนะในสงครามกับบัลแกเรียและทรงขยายอาณาเขตเข้าไปในแอลเบเนีย
จักรพรรดิจอห์นที่ 4 ลาสคาริส
John IV Laskaris
(ภาษากรีก:Ἰωάννης Δ' Λάσκαρις, ภาษาละติน: Ioannes IV Ducas Lascares)
18 สิงหาคม ค.ศ. 1258 –
25 ธันวาคม ค.ศ. 1261
(3 ปี 109 วัน)
ประสูติในวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1250 ทรงเป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวในจักรพรรดิธีโอดอร์ที่ 2 พระองค์ทรงสืบราชบัลลังก์หลังจากพระราชบิดาสวรรคต เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ ทำให้พระองค์ทรงตกอยู่ภายใต้การสำเร็จราชการของจอร์จ มูซาลอนจนกระทั่งเขาถูกลอบสังหาร ต่อมาทรงอยู่ภายใต้การสำเร็จราชการของมิคาเอล พาลาโอโลกอส ผู้ซึ่งในเวลาไม่กี่เดือนได้ครองราชย์เป็นจักรพรรดิอาวุโส หลังจากกองทัพไนเซียสามารถฟื้นฟูกรุงคอนสแตนติโนเปิลคืนมาได้ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1261 พาลาโอโลกอสสามารถกีดกันจักรพรรดิจอห์นที่ 4 ออกจากอำนาจอย่างสมบูรณ์ พระองค์ทรงถูกทำให้พระเนตรบอดและถูกจับกุม จักรพรรดิจอห์นที่ 4 สวรรคตในปีค.ศ. 1305

ราชวงศ์พาลาโอโลกอส (ฟื้นฟูคอนสแตนติโนเปิล ค.ศ. 1261 - 1453)[แก้]

พระนาม รัชกาล
ระยะเวลาครองราชย์
พระประวัติ
จักรพรรดิมิคาเอลที่ 8 พาลาโอโลกอส
Michael VIII Palaiologos
(ภาษากรีก:Μιχαὴλ Η' Παλαιολόγος, ภาษาละติน: Michael VIII Palaeologus)
1 มกราคม ค.ศ. 1259 –
11 ธันวาคม ค.ศ. 1282
(23 ปี 344 วัน)
ประสูติในปีค.ศ. 1223 เป็นพระปนัดดาในจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 3 และเป็นพระนัดดาในจักรพรรดิจอห์นที่ 3 โดยการสมรส ทรงเป็นจักรพรรดิอาวุโสในรัชสมัยของจักรพรรดิจอห์นที่ 4 ในปีค.ศ. 1259 พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียวในวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1261 พระองค์ทรงฟื้นฟูกรุงคอนสแตนติโนเปิลจากคืนจากจักรวรรดิละติน และเปลี่ยนจากจักรวรรดิไนเซียเป็นจักรวรรดิไบแซนไทน์ยุคฟื้นฟู
จักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 2 พาลาโอโลกอส
Andronikos II Palaiologos
(ภาษากรีก:Ἀνδρόνικος Β' Παλαιολόγος, ภาษาละติน: Andronicus II Palaeologus)
11 ธันวาคม ค.ศ. 1282 –
24 พฤษภาคม ค.ศ. 1328
(45 ปี 165 วัน)
ประสูติในวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1259 ทรงเป็นพระโอรสในจักรพรรดิมิคาเอลที่ 7 พระองค์ได้รับการสถาปนาเป็นจักรพรรดิร่วมในเดือนกันยายน ค.ศ. 1261 พระองค์ทรงสวามมงกุฎในปีค.ศ. 1272 พระองค์ทรงสืบราชบัลลังก์เป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียวหลังจากพระราชบิดาสวรรคต พระองค์ทรงโปรดบาทหลวงและปัญญาชน ทรงละเลยด้านการทหาร และรัชกาลของพระองค์ต้องประสบกับการล่มสลายของอิทธิพลจักรวรรดิไบแซนไทน์ในเอเชียไมเนอร์ พระองค์ทรงแต่งตั้งจักรพรรดิมิคาเอลที่ 9 พระโอรสขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วม ในช่วงสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อ พระองค์ทรงถูกบังคับให้รับรองพระนัดดาคือ จักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 3 ขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วม และจากนั้นจักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 2 ก็ทรงถูกปลดจากราชบัลลังก์ในทันที อดีตจักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 2 สวรรคตในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1332
จักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 3 พาลาโอโลกอส
Andronikos III Palaiologos
(ภาษากรีก:Ἀνδρόνικος Γ' Παλαιολόγος, ภาษาละติน: Andronicus III Palaeologus)
24 พฤษภาคม ค.ศ. 1328 –
15 มิถุนายน ค.ศ. 1341
(13 ปี 22 วัน)
ประสูติในวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1297 ทรงเป็นพระโอรสในจักรพรรดิร่วมมิคาเอลที่ 9 และทรงได้รับการแต่งต้งเป็นจักรพรรดิร่วมในปีค.ศ. 1316 ด้วยทรงเป็นจักรพรรดิที่ตีเสมอกันตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1321 พระองค์ทรงโค่นล้มจักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 2 พระอัยกาออกจากราชบัลลังก์ในปีค.ศ. 1328 และทรงเป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียวจนกระทั่งสวรรคต พระองค์ทรงได้รับการสนับสนุนจากจอห์น คันตาคูเซนอส รัชสมัยของพระองค์ทรงปราชัยต่อรัฐเอมิเรตออตโตมัน แต่ทรงประสบความสำเร็จในยุโรป พระองค์ทรงสามารถฟื้นฟูอิไพรัสและเทสซาลีได้
จักรพรรดิจอห์นที่ 5 พาลาโอโลกอส
John V Palaiologos
(ภาษากรีก:Ἰωάννης Ε' Παλαιολόγος, ภาษาละติน: Ioannes V Palaeologus)
15 มิถุนายน ค.ศ. 1341 –
12 สิงหาคม ค.ศ. 1376
ครั้งที่ 1
(35 ปี 58 วัน)
ทรงเป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวในจักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 3 พระองค์ไม่ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นจักรพรรดิร่วมหรือได้รับการประกาศว่าเป็นองค์รัชทายาทในครั้งที่พระราชบิดาสวรรคต ซึ่งทำให้เกิดสงครามกลางเมืองที่สร้างความเสียหายระหว่างพระองค์กับผู้สำเร็จราชการของพระองค์เองและเป็นเสนาธิการคนสนิทของพระราชบิดาคือ จอห์น คันตาคูเซนอส ซึ่งได้ครองราชย์เป็นจักรพรรดิร่วม ความขัดแย้งได้สิ้นสุดในปีค.ศ. 1347 โดยคันตาคูเซนอสได้รับการรับรองให้เป็นจักรพรรดิอาวุโส แต่พระองค์ก็ถูกโค่นจากราชบัลลังก์โดยจักรพรรดิจอห์นที่ 5 ในปีค.ศ. 1354 ในช่วงสงครามกลางเมืองอีกครั้งหนึ่ง แมทธิว คันตาคูเซนอสได้รับการแต่งตั้งจากจักรพรรดิจอห์นที่ 5 ให้เป็นจักรพรรดิร่วม และก็ถูกโค่นล้มจากราชบัลลังก์เช่นกันในปีค.ศ. 1357 จักรพรรดิจอห์นที่ 5 ทรงมีคำวิงวอนไปยังตะวันตกเพื่อให้ช่วยเหลือในการรบกับออตโตมัน แต่ในปีค.ศ. 1371 พระองค์ทรงถูกบังคับให้ยอมรับอำนาจของออตโตมัน พระองค์ทรงถูกโค่นราชบัลลังก์ในปีค.ศ. 1376 โดยพระโอรสของพระองค์เอง คือ จักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 4
จักรพรรดิจอห์นที่ 6 คันตาคูเซนอส
John VI Kantakouzenos
(ภาษากรีก:Ἰωάννης ΣΤ' Καντακουζηνὸς, ภาษาละติน: Ioannes VI Cantacuzenus)
8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1347 –
4 ธันวาคม ค.ศ. 1354
(7 ปี 299 วัน)
ทรงเป็นพระญาติฝ่ายมารดาของตระกูลพาลาโอโลกอส พระองค์ได้รับการแต่งตั้งเป็นจักรพรรดิร่วมในวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1341 และทรงได้รับการรับรองให้เป็นจักรพรรดิอาวุโสเป็นเวลาสิบปีหลังจากสิ้นสุดสงครามกลางเมืองในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1347 พระองค์ทรงถูกโค่นราชบัลลังก์โดยจักรพรรดิจอห์นที่ 5 ในปีค.ศ. 1354 พระองค์ทรงเข้าเป็นบาทหลวง สวรรคตในวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1354
จักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 4 พาลาโอโลกอส
Andronikos IV Palaiologos
(ภาษากรีก:Ἀνδρόνικος Δ΄ Παλαιολόγος, ภาษาละติน: Andronicus IV Palaeologus)
12 สิงหาคม ค.ศ. 1376 –
1 กรกฎาคม ค.ศ. 1379
(2 ปี 323 วัน)
ทรงเป็นพระโอรสในจักรพรรดิจอห์นที่ 5 และเป็นพระนัดดาในจักรพรรดิจอห์นที่ 6 พระองค์ประสูติวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1348 และทรงขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วมในปีค.ศ. 1352 พระองค์ทรงปลดพระราชบิดาออกจากราชบัลลังก์ในวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1376 และทรงครองราชย์จนกระทั่งทรงถูกโค่นราชบัลลังก์ในปีค.ศ. 1379 พระองค์ทรงได้รับการรับรองอีกครั้งในฐานะจักรพรรดิร่วมในปีค.ศ. 1381 และทรงได้รับแคว้นเซลิมเบรียเป็นทรัพย์สินที่ครอบครองตามกฎหมาย พระองค์สวรรคตที่นั่นในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1385
จักรพรรดิจอห์นที่ 5 พาลาโอโลกอส
John V Palaiologos
(ภาษากรีก:Ἰωάννης Ε' Παλαιολόγος, ภาษาละติน: Ioannes V Palaeologus)
1 กรกฎาคม ค.ศ. 1379 –
14 เมษายน ค.ศ. 1390
ครั้งที่ 2
(10 ปี 287 วัน)
ทรงกลับคืนสู่ราชบัลลังก์ในฐานะจักรพรรดิอาวุโส พระองค์ทรงประนีประนอมกับจักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 4 พระโอรส ในปีค.ศ. 1381 ทรงแต่งตั้งพระโอรสเป็นจักรพรรดิร่วมอีกครั้ง จักรพรรดิจอห์นที่ 5 ทรงถูกโค่นราชบัลลังก์อีกครั้งในปีค.ศ. 1390 โดยพระราชนัดดา คือ จักรพรรดิจอห์นที่ 7
จักรพรรดิจอห์นที่ 7 พาลาโอโลกอส
John VII Palaiologos
(ภาษากรีก:Ἰωάννης Ζ' Παλαιολόγος, ภาษาละติน: Ioannes VII Palaeologus)
14 เมษายน ค.ศ. 1390 –
17 กันยายน ค.ศ. 1390
(11 ปี 78 วัน)
ทรงเป็นพระโอรสในจักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 4 พระองค์ประสูติในปีค.ศ. 1370 และทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นจักรพรรดิร่วมในรัชสมัยของพระราชบิดาในปีค.ศ. 1377 - 1379 พระองค์ทรงช่วงชิงราชบัลลังก์มาจากพระอัยกา จักรพรรดิจอห์นที่ 5 ทรงครองราชย์เป็นเวลาห้าเดือนในปีค.ศ. 1390 แต่เนื่องด้วยออตโตมันเข้ามาเป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ย พระองค์จึงต้องประนีประนอมกับจักรพรรดิจอห์นที่ 5 พระอัยกาและจักรพรรดิมานูเอลที่ 2 พระปิตุลา พระองค์ทรงป้องกันกรุงคอนสแตนติโนเปิลจากการรุกรานของออตโตมันในปีค.ศ. 1399 - 1402 และทรงได้รับเทสซาโลนีกาเป็นทรัพย์สินที่ครอบครองตามกฎหมาย ซึ่งพระองค์ทรงปกครองจนกระทั่งสวรรคตในวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1408
จักรพรรดิจอห์นที่ 5 พาลาโอโลกอส
John V Palaiologos
(ภาษากรีก:Ἰωάννης Ε' Παλαιολόγος, ภาษาละติน: Ioannes V Palaeologus)
17 กันยายน ค.ศ. 1390 –
16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1391
ครั้งที่ 3
(0 ปี 152 วัน)
ทรงกลับคืนสู่ราชบัลลังก์ในฐานะจักรพรรดิอาวุโส พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดิจนกระทั่งสวรรคตในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1391
จักรพรรดิมานูเอลที่ 2 พาลาโอโลกอส
Manuel II Palaiologos
(ภาษากรีก:Μανουὴλ Β' Παλαιολόγος, ภาษาละติน: Manuel II Palaeologus)
16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1391 –
21 กรกฎาคม ค.ศ. 1425
(34 ปี 155 วัน)
ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่สองในจักรพรรดิจอห์นที่ 5 พระองค์ประสูติในวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 1350 ทรงขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วมในปีค.ศ. 1373 พระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิอาวุโสหลังจากจักรพรรดิจอห์นที่ 5 สวรรคต พระองค์ทรงเดินทางไปเยือนราชสำนักในยุโรปตะวันตกเพื่อแสวงหาความช่วยเหลือในการต่อต้านพวกเติร์ก และทรงใช้เหตุการณ์ที่ออตโตมันพ่ายแพ้ในสมรภูมิอังการาต่อกองทัพของราชวงศ์ตีมูร์ เพื่อยึดดินแดนคืนและสลัดความเป็นเบื้องล่างของออตโตมัน
จักรพรรดิจอห์นที่ 8 พาลาโอโลกอส
John VIII Palaiologos
(ภาษากรีก:Ἰωάννης Η' Παλαιολόγος, ภาษาละติน: Ioannes VIII Palaeologus)
21 กรกฎาคม ค.ศ. 1425 –
31 ตุลาคม ค.ศ. 1448
(23 ปี 102 วัน)
ทรงเป็นพระโอรสองค์โตในจักรพรรดิมานูเอลที่ 2 พระองค์ประสูติวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1392 ทรงเป็นจักรพรรดิร่วมราวปีค.ศ. 1416 พระองค์ทรงสืบราชบัลลังก์หลังจากพระราชบิดาสวรรคต พระองค์ทรงพยายามแสวงหาการช่วยเหลือในการต่อต้านออตโตมันที่ฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้ง พระองค์จึงทรงยอมรับในการรวมกันของศาสนจักรในปีค.ศ. 1439
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 พาลาโอโลกอส
Constantine XI Palaiologos
(ภาษากรีก:Κωνσταντίνος ΙΑ' Παλαιολόγος, ภาษาละติน: Constantinus XI Palaeologus)
6 มกราคม ค.ศ. 1449 –
29 พฤษภาคม ค.ศ. 1453
(4 ปี 143 วัน)
ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่สี่ในจักรพรรดิมานูเอลที่ 2 พระองค์ประสูติวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1405 ทรงเป็นเดสปอทแห่งมอเรียตั้งแต่ค.ศ. 1428 พระองค์ทรงประสบความสำเร็จในการทำสงครามซึ่งสามารถผนวกราชรัฐอาเคียและทรงทำให้ดัชชีเอเธนส์กลับมาอยู่ภายใต้อำนาจของไบแซนไทน์ แต่ไม่ทรงสามารถขับไล่กองทัพเติร์กที่เข้ามาโจมตีภายใต้การนำของตูราฮัน เบย์ พระเชษฐาของพระองค์ได้ครองราชย์เป็นจักรพรรดิจอห์นที่ 8 ต่อมาทรงสวรรคต ทำให้สุลต่านองค์ใหม่แห่งออตโตมัน สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 ทรงต้องการขยายอำนาจมาที่คอนสแตนติโนเปิล จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงยอมรับในการรวมศาสนจักรและทรงย้ำถึงการขอความช่วยเหลือจากตะวันตก แต่ก็ไร้ผล พระองค์ปฏิเสธที่จะยอมแพ้ต่อออตโตมัน ท้ายที่สุดพระองค์สวรรคตในสงครามจากการเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิลในวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1453[19]

ราชวงศ์พาลาโอโลกอส (ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์)[แก้]

พระรูป พระนาม สถานะ ประสูติ เริ่มอ้างสิทธิ สิ้นสุดการอ้างสิทธิ สิ้นพระชนม์
เจ้าชายเดมีทริออส พาลาโอโลกอส
เดสปอทแห่งมอเรีย
Demetrios Palaiologos
(Δημήτριος Παλαιολόγος)
พระโอรสในจักรพรรดิมานูเอลที่ 2, พระอนุชาในจักรพรรดิจอห์นที่ 8 และจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 ราว ค.ศ. 1407 ค.ศ. 1453 ค.ศ. 1460 ค.ศ. 1470
เจ้าชายโทมัส พาลาโอโลกอส
เดสปอทแห่งมอเรีย
Thomas Palaiologos
(Θωμᾶς Παλαιολόγος)
พระโอรสในจักรพรรดิมานูเอลที่ 2, พระอนุชาในจักรพรรดิจอห์นที่ 8 และจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 ราว ค.ศ. 1409 ค.ศ. 1453 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1465 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1470
แอนเดรียส พาลาโอโลกอส
เดสปอทแห่งมอเรีย
Andreas Palaiologos
((Ἀνδρέας Παλαιολόγος)
พระโอรสในเจ้าชายโทมัส ราว ค.ศ. 1453 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1465 ค.ศ. 1502
ทรงขายสิทธิในราชบัลลังก์ไบแซนไทน์แก่กษัตริย์ฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 และกษัตริย์คาทอลิก สมเด็จพระราชินีนาถอีซาเบลที่ 1 กับพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 5
ค.ศ. 1502

อ้างอิง[แก้]

  1. Nicol, Donald MacGillivray, Last Centuries of Byzantium, 1261-1453, Cambridge University Press, Second Edition, 1993, p. 72: "Hereditary succession to the throne was a custom or a convenience in Byzantium, not an inviolable principle. Emperors, particularly in the later period, would take pains to nominate their sons as co-emperors, for the rule of a dynasty made for stability and continuity. But in theory, the road to the throne was a carriere ouverte aux talents [career open to talents]..."
  2. Hooker, Richard (4 June 2007). "The Byzantine Empire. Middle Ages. World Cultures". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-26. สืบค้นเมื่อ 2014-10-12.
  3. p. 183, Karayannopoulous, Yanis, "State Organization, Social Structure, Economy, and Commerce," History of Hunamity - Scientific and Cultural Development from the Seventh to the Sixteenth Centuries, Vol. IV, M. A. Al-Bakhit, L. Bazin, S. M. Cissoko and M. S. Asimov, Editors, UNESCO, Paris (2000)
  4. Nicol, Donald MacGillivray, Last Centuries of Byzantium, 1261-1453, Cambridge University Press, Second Edition, 1993, p. 72: "Hereditary succession to the throne was a custom or a convenience in Byzantium, not an inviolable principle. Emperors, particularly in the later period, would take pains to nominate their sons as co-emperors, for the rule of a dynasty made for stability and continuity. But in theory, the road to the throne was a carriere ouverte aux talents [career open to talents]..."
  5. Gregory, Timothy E.; Cutler, Anthony (1991). "Constantine I the Great". ใน Kazhdan, Alexander P. (บ.ก.). Oxford Dictionary of Byzantium. New York; Oxford: Oxford University Press. pp. 498–500. ISBN 978-0-19-504652-6.
  6. Gregory, Timothy E. (1991). "Constantius II". ใน Kazhdan, Alexander P. (บ.ก.). Oxford Dictionary of Byzantium. New York; Oxford: Oxford University Press. p. 524. ISBN 978-0-19-504652-6.
  7. Gregory, Timothy E. (1991). "Constans". ใน Kazhdan, Alexander P. (บ.ก.). Oxford Dictionary of Byzantium. New York; Oxford: Oxford University Press. p. 496. ISBN 978-0-19-504652-6.
  8. Gregory, Timothy E.; Cutler, Anthony (1991). "Leo I". ใน Kazhdan, Alexander P. (บ.ก.). Oxford Dictionary of Byzantium. New York; Oxford: Oxford University Press. pp. 1206–1207. ISBN 978-0-19-504652-6.
  9. Kazhdan, Alexander P. (1991). "Leo II". ใน Kazhdan, Alexander P. (บ.ก.). Oxford Dictionary of Byzantium. New York; Oxford: Oxford University Press. pp. 1207–1208. ISBN 978-0-19-504652-6.
  10. Gregory, Timothy E. (1991). "Zeno". ใน Kazhdan, Alexander P. (บ.ก.). Oxford Dictionary of Byzantium. New York; Oxford: Oxford University Press. p. 2223. ISBN 978-0-19-504652-6.
  11. Gregory, Timothy E. (1991). "Anastasios I". ใน Kazhdan, Alexander P. (บ.ก.). Oxford Dictionary of Byzantium. New York; Oxford: Oxford University Press. pp. 86–87. ISBN 978-0-19-504652-6.
  12. McKay/HillA History of World Societies. Bedford/St. Martin's, 9th edition. 2012
  13. Ostrogorsky, George., History of the Byzantine State, Rutgers University Press (1969) p261. ISBN 0-8135-0599-2
  14. Ostrogorsky, p261
  15. Kazhdan, Alexander; Cutler, Anthony (1991). "Constantine VII Porphyrogennetos". ใน Kazhdan, Alexander P. (บ.ก.). Oxford Dictionary of Byzantium. New York; Oxford: Oxford University Press. pp. 502–503. ISBN 978-0-19-504652-6.
  16. Brand, Charles M.; Cutler, Anthony (1991). "Constantine VIII". ใน Kazhdan, Alexander P. (บ.ก.). Oxford Dictionary of Byzantium. New York; Oxford: Oxford University Press. pp. 503–504. ISBN 978-0-19-504652-6.
  17. Canduci, Alexander (2010), Triumph & Tragedy: The Rise and Fall of Rome's Immortal Emperors, Pier 9, ISBN 978-1-74196-598-8 p.266
  18. Brand, Charles M.; Cutler, Anthony (1991). "Constantine IX Monomachos". ใน Kazhdan, Alexander P. (บ.ก.). Oxford Dictionary of Byzantium. New York; Oxford: Oxford University Press. p. 504. ISBN 978-0-19-504652-6.
  19. Talbot, Alice-Mary (1991). "Constantine XI Palaiologos". ใน Kazhdan, Alexander P. (บ.ก.). Oxford Dictionary of Byzantium. New York; Oxford: Oxford University Press. p. 505. ISBN 978-0-19-504652-6.