พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2
พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 | |
---|---|
• พระมหากษัตริย์แห่ง อาณาจักรเขมร | |
ครองราชย์ | ค.ศ. 944 - ค.ศ. 968 |
ก่อนหน้า | พระเจ้าหรรษวรมันที่ 2 |
ถัดไป | พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 |
พระราชบุตร | พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์วรมัน |
ศาสนา | ศาสนาพราหมณ์ฮินดู |
พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 (เขมร: រាជេន្ទ្រវរ្ម័នទី២ อักษรโรมัน: Rajendravarman II) ครองราชย์ ค.ศ. 944 - ค.ศ. 968 พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรเขมร พระองค์ทรงเป็นพระราชนัดดาของ พระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 ประสูติแต่ พระนางมเหนทรเทวี[1] ทรงเป็นพระราชบิดาของ พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ทรงเป็นพระภาดา(ลูกพี่ลูกน้อง)ของ พระเจ้าหรรษวรมันที่ 2 พระองค์ได้ชิงพระราชบัลลังก์จากพระเจ้าหรรษวรมันที่ 2 [2] โอรสของพระเชษฐา พระเจ้าชัยวรรมันที่ 4 และทรงย้ายราชธานีจาก เกาะแกร์ กลับมาที่เมือง ยโศธรปุระ ทรงโปรดให้สร้าง ปราสาทแปรรูป และ ปราสาทแม่บุญตะวันออก [3] ราชตระกูลของพระองค์มีความเกี่ยวข้องกันกับกษัตริย์แห่ง อาณาจักรเจนละ ซึ่งมีเมืองหลวงอยู่ที่ ภวปุระ คำจารึกกล่าวว่าอาณาจักรเขมรภายใต้การปกครองของพระองค์แผ่ขยายไปถึงเวียดนามตอนใต้ ลาว และส่วนใหญ่ของไทย และไกลถึงตอนใต้ของจีน พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์และนักรบที่ยิ่งใหญ่ทรงทำสงครามเพื่อขยายอาณาจักรเขมรออกไปอย่างกว้างขวาง นอกจากเรื่องศึกสงครามแล้วพระองค์ยังทรงสร้างศาสนสถานหลายแห่งเพื่อถวายแด่เทพเจ้าใน ศาสนาพราหมณ์ฮินดู และทรงสร้างจารึกต่างๆอีกมากมาย ในปี ค.ศ. 946 พระองค์ทรงทำสงครามกับอาณาจักรจามปาและมีชัยชนะเหนืออาณาจักรจามปา โดยคำจารึกจากคริสตศักราช 946 กล่าวว่า " พระองค์ทรงมีชัยชนะเหนืออาณาจักรรามัญและอาณาจักรจามปา พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์และนักรบผู้ยิ่งใหญ่ดาบของพระองค์มักเปื้อนเลือด ร่างกายของพระองค์แข็งราวกับเพชร แม้ว่าพระองค์ทรงลงโทษผู้กระทำผิดอย่างรุนแรงแต่พระองค์ก็มีความเมตตาต่อผู้บริสุทธิ์ดั่งห้วงน้ำในมหาสมุทร "[4][5] เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตพระราชโอรสของพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ในวัย 10 ชันษา พระนามว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 5
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Kenneth T. So. "Preah Khan Reach and The Genealogy of Khmer Kings" (PDF). Cambosastra. สืบค้นเมื่อ February 16, 2023.
- ↑ จารึกแม่บุญตะวันออก:ความเคลื่อนใหวทางประวัติศาสตร์ พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2,ชัยณรงค์ กลิ่นน้อง,พระมหาปราโมทย์ แก้วนำ.มหาวิทยาลัยศิลปากร,มหาวิทยาลัยจุลาลงกรณราชวิทยาลัย.2560. (PDF)
- ↑ Higham, C., 2001, The Civilization of Angkor, London: Weidenfeld & Nicolson, ISBN 9781842125847
- ↑ Hall, Kenneth R. “Khmer Commercial Development and Foreign Contacts under Sūryavarman I.” Journal of the Economic and Social History of the Orient, vol. 18, no. 3, 1975, pp. 318–336. JSTOR, www.jstor.org/stable/3632140. Accessed:2020
- ↑ Maspero, G., 2002, The Champa Kingdom, Bangkok: White Lotus Co., Ltd., ISBN 9789747534993