ข้ามไปเนื้อหา

นครธม

พิกัด: 13°26′36″N 103°51′35″E / 13.4433026°N 103.8596821°E / 13.4433026; 103.8596821
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นครธม
អង្គរធំ
แผนผังนครธม
Angkor Thomตั้งอยู่ในประเทศกัมพูชา
Angkor Thom
Angkor Thom
ตำแหน่งในแผนที่กัมพูชา
ชื่ออื่นอังกอร์ธม
ที่ตั้งเสียมราฐ, กัมพูชา
ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
พิกัด13°26′36″N 103°51′35″E / 13.443302°N 103.859682°E / 13.443302; 103.859682
ประเภทโบราณสถาน
ส่วนหนึ่งของเมืองพระนคร
ความยาว3 km (1.9 mi)
ความกว้าง3 km (1.9 mi)
พื้นที่9 ตร.กม. (3.4 ตร.ไมล์)
เส้นผ่านศูนย์กลาง3 km (1.9 mi)
ปริมณฑล12 km (7.5 mi)
ความเป็นมา
ผู้สร้างพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
วัสดุหินทราย, ศิลาแลง
สร้างปลายศตวรรษที่ 12 (ไม่ได้รวมโบราณบางแห่งภายใน ซึ่งสร้างหลังจากนั้น)
ละทิ้งราวต้นศตวรรษที่ 17
สมัยยุคกลาง
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่
สภาพได้รับการบูรณะ
ผู้บริหารจัดการเอพีเอสเออาร์เอ (APSARA)
การเปิดให้เข้าชมเฉพาะชาวต่างชาติที่ต้องซื้อตั๋วก่อนเข้า
สถาปัตยกรรม
รูปแบบสถาปัตยกรรมบายน (รูปแบบสถาปัตยกรรมที่เด่นที่สุด; แต่ภายในนครธมก็มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่หลากหลาย)
โบราณสถานต่างๆ ภายในนครธม:
ปราสาทบาปวน
ปราสาทบายน
ปราสาทคะเลียง
ปราสาทมังคลารัถถะ
ปราสาทพิมานอากาศ
ปราสาทจรุง
ปราสาทซัวปรัต
ปราสาทพระป่าลิไลย์
หมู่ปราสาทปิตุ
วัดเทพพนม
พระลานจญดำรี
พระลานเสด็จขี้เรื้อน
ที่ตั้งบริเวณพระราชวังหลวงนครธม

นครธม (เขมร: អង្គរធំ) เป็นเมืองหลวงแห่งสุดท้ายและเป็นเมืองที่เข้มแข็งที่สุดของอาณาจักรขะแมร์ ปัจจุบันตั้งอยู่ในจังหวัดเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา สถาปนาขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7[1]: 378–382 [2]: 170  มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ 9 ตารางกิโลเมตร อยู่ทางทิศเหนือของ นครวัด ภายในนครมีสิ่งก่อสร้างมากมายนับแต่สมัยแรก ๆ และที่สร้างขึ้นต่อโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และรัชทายาท ใจกลางพระนครเป็นปราสาทหลักที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมัน เรียกว่า "ปราสาทบายน" ซึ่งยังประกอบด้วยกลุ่มปราสาทและลานกลางแจ้งขนาดใหญ่โดยรอบ

สัญลักษณ์สำคัญที่โดดเด่นสำหรับนครธม คือ พระพักตร์สี่หน้าของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 หรือตามแหล่งข้อมูลอื่นเชื่อว่าเป็น พระพักตร์ของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ซึ่งปรากฏพบตามปราสาทบายน หรือ ตามประตูเมืองทั้งสี่ด้าน นอกจากนี้ ประตูเมืองฝั่งเข้าสู่นคร จะพบถนนหลักที่ทั้งสองฝั่งเป็นแถวของยักษ์ (อสูร) ในทางด้านขวา และเทวดาทางด้านซ้าย เรียงรายแบกพญานาคอยู่สองข้างสะพาน โดยบริเวณประตูด้านใต้นี้ได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟูไว้ได้ดีกว่าบริเวณอื่น ๆ

นิรุกติศาสตร์

[แก้]

นครธม (อังกฤษ: Nokor Thom, เขมร: នគរធំ) หรือตามชื่อภาษาอังกฤษเรียกว่า อังกอร์ธม (อังกฤษ: Angkor Thom, เขมร: អង្គរធំ) โดยคำว่า นคร (เขมร: នគរ) มาจากภาษาสันสกฤตที่แปลว่า นคร ส่วนคำว่า ธม (เขมร: ធំ) นั้นมาจากศัพท์ของเขมร แปลว่า ใหญ่, ยิ่งใหญ่[3]

ประวัติ

[แก้]

นครธม สร้างขึ้นเพื่อเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และยังเป็นศูนย์กลางของการก่อสร้างปราสาทขนาดใหญ่ต่าง ๆ มากมาย ดั่งจารึกหนึ่งได้กล่าวว่าเปรียบเปรย พระเจ้าชัยวรมันว่าเป็นเสมือนเจ้าบ่าว ส่วนเมืองนั้นเปรียบเป็นเจ้าสาวของพระองค์[4]: 121 

นครธม อาจไม่ได้กล่าวว่าเป็นเมืองหลวงแห่งแรกในบริเวณที่ตั้งแห่งนี้ แต่ถึงอย่างไรก็ดี ยโศธรปุระ ในช่วงสามศตวรรษก่อนหน้านี้ เคยเป็นเมืองหลวงของเมืองพระนคร ที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งได้ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของนครธมในเวลาต่อมา ศาสนสถานที่สำคัญที่ตั้งก่อนเป็นเมืองหลวงใหม่ภายในเมืองได้แก่ ปราสาทบาปวน และ ปราสาทพิมานอากาศ ซึ่งได้ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังหลวง การเรียกชื่อเมืองหลวงของชาวเขมรนั้น ไม่ได้แบ่งแยกอย่างชัดเจนระหว่างนครธม หรือ ยโศธรปุระ จะเห็นได้จากในช่วงศตวรรษที่ 14 จารึกก็ยังคงใช้คำว่า ยโศธรปุระ อยู่แม้ว่าจะสิ้นสุดยุคยโศธรปุระ ไปแล้วก็ตาม[4]: 138  โดยคำว่า นครธม ในปัจจุบันนั้นถูกนำมาใช้ในช่วงศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา

ศาสนสถานแห่งสุดท้ายที่ก่อสร้างขึ้นในนครธม คือ ปราสาทมังคลารัถถะ ในราวปี ค.ศ. 1295 โดยศาสนสถานอื่น ๆ ในยุคหลังจากนั้นมักจะเป็นการปรับปรุง พัฒนาต่อจากปราสาทเดิม แต่วัสดุที่ใช้ในช่วงหลังนั้น มักเป็นวัสดุที่เปลื่อยสลายง่าย ทำให้ไม่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน

ในรัชสมัย สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 แห่งอาณาจักรอยุธยา ได้ขับไล่ชาวเขมรในสมัยพระบรมราชา ออกจากนครธม แล้วได้ย้ายเมืองหลวงแห่งใหม่ไปตั้งที่กรุงพนมเปญ[5]: 29 

นครธม ได้ถูกทิ้งร้างในบางช่วงเวลา จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1609 เมื่อชาวตะวันตกช่วงแรก ๆ ได้เดินทางเข้ามาแล้วพบกับเมืองร้างแห่งนี้ และได้เขียนบรรยายเปรียบเทียบกับ ตำนานนครแอตแลนติสของเพลโต[4]: 140  ซึ่งเชื่อว่าอาจมีประชากรอาศัยได้มากถึง 80,000–150,000 คน

คลังภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Higham, C., 2014, Early Mainland Southeast Asia, Bangkok: River Books Co., Ltd., ISBN 9786167339443
  2. Coedès, George (1968). Walter F. Vella (บ.ก.). The Indianized States of Southeast Asia. trans.Susan Brown Cowing. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
  3. word Nokor Thom and Nokor Wat in Khmer dictionary adopted from Khmer dictionary of Buddhist institute of Cambodia, p. 444 and 445, pub. 2007.
  4. 4.0 4.1 4.2 Higham, Charles. 2001. The Civilization of Angkor. Phoenix. ISBN 1-84212-584-2.
  5. Chakrabongse, C., 1960, Lords of Life, London: Alvin Redman Limited

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°26′36″N 103°51′35″E / 13.4433026°N 103.8596821°E / 13.4433026; 103.8596821