พระศรีสุริโยวงษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระศรีสุริโททัยที่ 1
พระมหากษัตริย์เมืองนครหลวง
ครองราชย์พ.ศ. 1900-1906
รัชกาลก่อนหน้าพระกฎุมบงพิสี
รัชกาลถัดไปพระบรมรามา
สวรรคตพ.ศ. 1906
พระราชบุตรพระบรมราชา (เจ้าพระยาญาติ)
พระนามเต็ม
พระบาทสมเด็จพระศรีสุริโยวงศ์ราชาธิราช
ราชวงศ์ราชวงศ์วรมัน
ราชสกุลราชสกุลตระซ็อกประแอม
พระราชบิดาพระบรมนิพพานบท

พระศรีสุริโยวงษ์ (เขมร: ឝ្រីសូយ៌្យោទយ) หรือ พระศรีสุริโยทัยที่ 1 พระมหากษัตริย์แห่งจักรวรรดิเขมรพระองค์ที่ 35 พระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 1872 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 2 ของพระบรมนิพพานบท

ก่อนที่กองทัพอยุธยาจะเข้าโจมตีและยึดนครธม ราชธานีเอาไว้ พระศรีสุริโยวงษ์ได้ปลีกพระองค์ (หลบหนี) ไปยังล้านช้าง ต่อมาในปี พ.ศ. 1900 พระศรีสุริโยวงษ์ได้ยกทัพมาตีนครธมคืนจากพระกฎุมบงพิสี จากนั้นพระองค์ขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ ขณะพระชนมายุได้ 28 พรรษา เฉลิมพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระศรีสุริโยวงศ์ราชาธิราช”

พระศรีสุริโยวงษ์ กำจัดชาวสยามให้ออกพ้นจากนครราชสีมาไปทางทิศพายัพและทิศประจิมไปทิศหรดี เป็นไปได้ว่า พระศรีสุริโยวงษ์ ได้รับคำสั่งจากจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิงพระองค์แรก ให้ส่งและจ่ายส่วยในทันที

[1]พงศาวดารเขมร จ.ศ.1158 ระบุว่าพระบาทสุริโยวงศ์ สวรรคตในปี พ.ศ. 1909 ขณะพระชนมายุได้ 37 พรรษา พระนัดดาของพระองค์คือ พระบรมราชา พระราชโอรสของพระบรมลำพงษ์ราชาเสด็จขึ้นครองราชย์แทน

หมายเหตุ[แก้]

- พงศาวดารเขมร จ.ศ. 1217 เรียกว่า พระศรีสุริโยวงษ์ราชา

- ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา ฉบับพระองค์นพรัตน์  เรียกว่า พระศรีสุริโยวงษ์

- พระราชพงศาวดารพระมหากษัตริย์เสวยราชสมบัติในกรุงกัมพูชาธิบดีเป็นลำดับเรียงมา เรียกว่าว่า พระศรีสุริโยวงศ์ราชาธิราช และระบุว่าขึ้นครองราชย์เมื่อ จ.ศ. 719 (พ.ศ. 1900 เหมือนกับพงศาวดารเมืองละแวก จ.ศ. 1158)

- พระราชพงศาวดารกรุงกัมพูชา ฉบับออกญาวังวรเวียงชัย (ชวน) เรียกว่า พระศรีสุริโยทัย และระบุว่าขึ้นครองราชย์เมื่อ จ.ศ. 711 (พ.ศ. 1892)

- เอกสารมหาบุรุษเขมร เรียกว่า พระสุริโยวงศ์ ขึ้นครองราชย์เมื่อ จ.ศ. 721 (พ.ศ. 1902)

อ้างอิง[แก้]

  1. ภักดีคำ, ศานติ (2011). เขมรรบไทย. Matichon Public Company Limited. ISBN 978-974-02-0810-5.