รายพระนามและชื่อประมุขแห่งรัฐลิทัวเนีย
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐลิทัวเนีย | |
---|---|
Lietuvos Respublikos Prezidentas | |
การเรียกขาน | ฯพณฯ ประธานาธิปดี |
จวน | ทำเนียบประธานาธิบดี วิลนีอุส |
ผู้แต่งตั้ง | เลือกตั้งโดยตรง |
วาระ | 5 ปี สามารถดำรงตำแหน่งได้สองวาระ |
ผู้ประเดิมตำแหน่ง | อันตานัส สเมโตนา 4 เมษายน ค.ศ. 1919 |
สถาปนา | รัฐธรรมนูญลิทัวเนีย |
เงินตอบแทน | 70,000 ยูโร[1] (รายปี,หลังหักภาษีแล้ว) |
เว็บไซต์ | Lietuvos Respublikos Prezidentė |
รายพระนามและชื่อต่อไปนี้คือประมุขแห่งรัฐของประเทศลิทัวเนีย (อันประกอบไปด้วยแกรนด์ดยุก พระมหากษัตริย์ และประธานาธิบดี) รายการต่อไปนี้ยังรวมไปถึงช่วงเวลาที่ประเทศลิทัวเนียอยู่ภายใต้สภาวะอธิปไตยที่เหนือกว่า หรือตกอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐอธิปไตยอื่น (เช่น สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย)
รัฐลิทัวเนียก่อตั้งขึ้นในคริสต์ทศวรรษที่ 1230 เมื่อครั้งถูกคุกคามโดยภาคีลิโวเนียนทางทิศเหนือ และจากอัศวินทิวทอนิกทางทิศตะวันตก ชนเผ่าบอลติกรวมกันเป็นปึกแผ่นภายใต้การนำของพระเจ้ามินกัวดาร์ พระมหากษัตริย์ลิทัวเนียพระองค์แรกและพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์ อาณาจักรของพระองค์กลายมาเป็นที่รู้จักกันในชื่อแกรนด์ดัชชีลิทัวเนีย หลังจากแกรนด์ดยุกโยไกลา ได้ขึ้นครองราชบัลลังก์โปแลนด์ ใน ค.ศ. 1386 ทั้งสองรัฐก็มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดมากขึ้น และนับตั้งแต่ ค.ศ. 1440 ทั้งสองก็มีพระประมุขร่วมกัน ในปี ค.ศ. 1569 ข้อตกลงในสหภาพลูบลินได้รับการลงนาม และรัฐภาวะใหม่—เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย—ได้รับการก่อตั้งขึ้น เครือจักรภพถูกแบ่งใน ค.ศ. 1795 และลิทัวเนียกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซียจนถึงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1918 สภาแห่งลิทัวเนีย สามารถประกาศอิสรภาพได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1919 หลังจากการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สาธารณรัฐลิทัวเนียที่หนึ่งดำรงอยู่จนถึง ค.ศ. 1940 เมื่อลิทัวเนียถูกสหภาพโซเวียตเข้ายึดครอง ในช่วงสงครามโซเวียต-เยอรมัน ลิทัวเนียถูกเข้ายึดครองต่อโดยนาซีเยอรมนีอีกทอดหนึ่ง ในปี ค.ศ. 1944 ขณะที่เยอรมนีกำลังจะพ่ายแพ้ สหภาพโซเวียตได้เข้ายึดครองลิทัวเนียอีกครั้ง และสถาปนาสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย ในวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1990 ลิทัวเนียเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตแห่งแรกที่ประกาศอิสรภาพจากรัฐบาลกลาง ปัจจุบันสาธารณรัฐลิทัวเนียปกครองในระบอบประชาธิบไตยและเป็นรัฐสมาชิกของทั้งสหภาพยุโรปและเนโท
แกรนด์ดัชชีลิทัวเนีย (ค.ศ. 1236 – ค.ศ. 1569)
[แก้]ผู้ปกครองทุกพระองค์ดำรงพระราชอิสริยยศแกรนด์ดยุก (ลิทัวเนีย: didysis kunigaikštis; เบลารุส: vialiki kniaź; โปแลนด์: wielki książę) ยกเว้นพระเจ้ามินกัวดาร์ซึ่งได้รับการราชาภิเษกเป็นกษัตริย์แห่งลิทัวเนีย (ลิทัวเนีย: Lietuvos karalius) อยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง
ราชวงศ์มินกัวดาร์ (ค.ศ. 1236 – ค.ศ. 1268)
[แก้]ช่วงรัชกาลด้านล่างเป็นการประมาณการเพราะขาดการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร
รัชกาล | พระนาม | พระฉายาลักษณ์ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
ประมาณ ค.ศ. 1236–1263 | มินกัวดาร์ | แต่เดิมทรงดำรงพระราชอิสริยยศแกรนด์ดยุก ทรงดำรงพระราชอิสริยยศกษัตริย์แห่งลิทัวเนีย ตั้งแต่ ค.ศ. 1253 เป็นต้นไป การลอบปลงพระชนม์ของพระองค์โดยพระราชนัดดา (หลานลุง) ทรีนีโอตา เป็นจุดเริ่มต้นสงครามชิงอำนาจในหมู่ขุนนาง | |
ค.ศ. 1263–1265 | ทรีนีโอตา | ||
ค.ศ. 1265–1268 | วาวีลคาร์ | พระราชโอรสในพระเจ้ามินกัวดาร์ ทรงเวนราชสมบัติให้แก่ซวาร์น พระเทวัน (พี่เขย) |
ราชวงศ์โมโนมัสคส์วิชี (ค.ศ. 1268 – ค.ศ. 1269)
[แก้]รัชกาล | พระนาม | พระฉายาลักษณ์ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
ค.ศ. 1268–1269 | ซวาร์น |
ราชวงศ์มินกัวดาร์ (ค.ศ. 1269 – ค.ศ. 1285)
[แก้]รัชกาล | พระนาม | พระฉายาลักษณ์ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
ค.ศ. 1270–1282 | ไทรเดนิส | ||
ค.ศ. 1282–1285 | ตัวมันตาร์ |
ราชวงศ์กีดีมีนาส (ค.ศ. 1285 – ค.ศ. 1440)
[แก้]รัชสมัยของผู้ปกครองบางพระองค์ด้านล่างเป็นการสันนิฐาน
รัชกาล | พระนาม | พระฉายาลักษณ์ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
ค.ศ. 1285–1291 | บูตีเกอดิส | ผู้ก่อตั้งราชวงศ์กีดีมีนาส | |
ค.ศ. 1291–1295 | บูตวีดัส | พระราชอนุชาในแกรนด์ดยุกบูตีเกอดิส พระราชบิดาของวีเตนิสและเกมีดีนาส | |
ค.ศ. 1295–1316 | วีเตนิส | พระราชโอรสในแกรนด์ดยุกบูตวีดัส | |
ค.ศ. 1316–1341 | เกมีดีนาส | พระราชโอรสในแกรนด์ดยุกบูตวีดัส หลังจากพระองค์สวรรคต อาณาจักรจึงถูกแบ่งให้แก่พระราชโอรสทั้งเจ็ด | |
ค.ศ. 1341–1345 | จัวนูติส | พระราชโอรสในแกรนด์ดยุกเกมีดีนาส ทรงถูกปลดจากราชสมบัติโดยพระราชอนุชาอัลกีร์ดัส และเคร์ตูติส | |
ค.ศ. 1345–1377 | อัลกีร์ดัส | พระราชโอรสในแกรนด์ดยุกเกมีดีนาส ทรงเป็นผู้ครองร่วมกับเคร์ตูติส พระราชอนุชาซึ่งปกครองทางตะวันตก ส่วนพระองค์ปกครองทางตะวันออก | |
ค.ศ. 1377–1381 | โยไกลา | พระราชโอรสในแกรนด์ดยุกอัลกีร์ดัส ทรงได้รับการราชาภิเษกเป็นกษัตริย์แห่งโปแลนด์ ในปี ค.ศ. 1386 ทำให้เกิดรัฐร่วมประมุขระหว่างโปแลนด์กับลิทัวเนีย ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ยากีลลัน | |
ค.ศ. 1381–1382 | เคร์ตูติส | พระราชโอรสในแกรนด์ดยุกเกมีดีนาส ทรงเป็นผู้ครองร่วมกับอัลกีร์ดัส พระเชษฐา พระองค์ปกครองทางตะวันตก (โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่ทราไค) ทรงชิงราชสมบัติจากแกรนด์ดยุกโยไกลาในปี ค.ศ. 1381 ก่อนที่จะถูกจับสำเร็จโทษในปีต่อมา | |
ค.ศ. 1382–1392 | โยไกลา | ทรงเป็นกษัตริย์แห่งโปแลนด์ระหว่าง ค.ศ. 1386–1434 ทรงปกครองผ่านข้าหลวงซกีไกอีลา (ค.ศ. 1387–1392) | |
ค.ศ. 1392–1430 | วีตัวนัส | พระราชโอรสในแกรนด์ดยุกเคร์ตูติส ทรงเข้าร่วมการต่อต้านแกรนด์ดยุกโยไกลากับพระราชบิดา ก่อนที่จะแปรพักตร์และได้ขึ้นครองราชย์เป็นแกรนด์ดยุกแห่งลิทัวเนียใน ค.ศ. 1392 พระองค์ทรงได้รับการประกาศให้เป็นกษัตริย์ในปี ค.ศ. 1429 แต่มงกุฎที่จำเป็นต้องใช้ในพิธีราชาภิเษกถูกริบไปเสียก่อนระหว่างข้ามพรมแดนเยอรมนี–โปแลนด์โดยชาวโปแลนด์ สวรรคก่อนที่มงกุฎองค์ที่สองจะมาถึง | |
ค.ศ. 1430–1432 | ซวีตรีกาอีลา | พระราชโอรสในแกรนด์ดยุกอัลกีร์ดัส พระราชอนุชาของแกรนด์ดยุกโยไกลา ทรงถูกปลดจากราชสมบัติโดยกองกำลังของซีกิสมุนด์ พระราชโอรสในแกรนด์ดยุกเคร์ตูติส | |
ค.ศ. 1432–1440 | ซีกิสมุนด์ เคสตูตาอีตริส | พระราชโอรสในแกรนด์ดยุกเคร์ตูติส พระราชอนุชาของแกรนด์ดยุกวีตัวนัส ทรงถูกปลงพระชนม์โดยผู้สนับสนุนซวีตรีกาอีลา |
ราชวงศ์ยากีลลัน (ค.ศ. 1440 – ค.ศ. 1569)
[แก้]พระราชบัญญัติการเป็นรัฐร่วมประมุขกับโปแลนด์ได้รับการลงนามมาตั้งแต่ ค.ศ. 1385 อย่างไรก็ตาม รัฐทั้งสองเริ่มมีพระประมุขร่วมกันในรัชสมัยพระเจ้ากาชีมีแยชที่ 4 (แม้ว่าโปแลนด์และลิทัวเนียจะต่างเลือกพระประมุขคนละพระองค์ถึงสองครั้ง หลังจากการสวรรคตของพระประมุขร่วม แต่ฝ่ายลิทัวเนียก็ได้ขึ้นครองราชบัลลังก์โปแลนด์ในภายหลัง) พระราชอิสริยยศของพระประมุขและการนับเลขรัชกาลก็ยังแยกกันอยู่ ราชวงศ์ยากีลลันเองก็เป็นสาขาหนึ่งของราชวงศ์กีดีมีนาส
รัชกาล | พระนาม | พระฉายาลักษณ์ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
ค.ศ. 1440–1492 | พระเจ้ากาชีมีแยชที่ 4 | พระราชโอรสในแกรนด์ดยุกโยไกลา ได้รับเลือกและราชาภิเษกเป็นกษัตริย์แห่งโปแลนด์ในปี ค.ศ. 1447 หลังจากการสวรรคตของพระเจ้าววาดือสวัฟที่ 3 พระเชษฐา | |
ค.ศ. 1492–1506 | พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ | พระราชโอรสในพระเจ้ากาชีมีแยชที่ 4 ได้รับเลือกและราชาภิเษกเป็นกษัตริย์แห่งโปแลนด์ในปี ค.ศ. 1501 หลังจากการสวรรคตของพระเจ้ายันที่ 1 อัลเบิร์ต พระเชษฐา | |
ค.ศ. 1506–1548 | พระเจ้าซิกมุนด์ที่ 1 ผู้อาวุโส | พระราชโอรสในพระเจ้ากาชีมีแยชที่ 4 | |
ค.ศ. 1548–1569 | พระเจ้าซิกมุนด์ที่ 2 เอากุสตุส | พระราชโอรสในพระเจ้าซึกมุนต์ที่ 1 ผู้ปกครอง โดยพฤตินัย ตั้งแต่ ค.ศ. 1529 |
เครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย (ค.ศ. 1569 – ค.ศ. 1795)
[แก้]เครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนียได้รับการก่อตั้งขึ้นจากข้อตกลงในสหภาพลูบลิน ใน ค.ศ. 1569 กษัตริย์โปแลนด์ผู้ถูกเลือกจะต้องได้รับการเลือกจากชนชั้นสูงชาวลิทัวเนียเพื่อขึ้นเป็นแกรนด์ดยุกแห่งลิทัวเนียด้วยเช่นกัน พระประมุขร่วมพระองค์แรกของทั้งสองชาติคือพระเจ้าซิกมุนด์ที่ 2 เอากุสตุส หลังจากการแบ่งดินแดนในปี ค.ศ. 1772, 1793 และ 1795 เครือจักรภพก็สิ้นสภาพลงและลิทัวเนียก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซียเป็นเวลา 123 ปี ในสมัยเครือจักรภพมักจะมีช่วงว่างระหว่างรัชกาลของพระประมุขแต่ละพระองค์ เนื่องจากการเลือกตั้งพระมหากษัตริย์ของเครือจักรภพจะไม่กระทำโดยทันที แกรนด์ดยุกพระองค์แรกที่ได้รับเลือกหลังจากการสิ้นสุดราชวงศ์ยากีลลัน และการหลบหนีกลับไปฝรั่งเศสของพระเจ้าอ็องรี คือ สเตฟาน บาโตรี ผู้ซึ่งพยายามหาผู้สนับสนุนในการเลือกตั้งโดยการสร้างมหาวิทยาลัยวิลนีอุส
พระราชอิสริยยศ: พระมหากษัตริย์แห่งโปแลนด์และแกรนด์ดยุกแห่งลิทัวเนีย
ลิทัวเนีย: Lenkijos karalius ir Lietuvos didysis kunigaikštis
เบลารุส: кароль Польшчы, вялікі князь літоўскі (karol Polščy, vialiki kniaź litoŭski)
โปแลนด์: Król Polski, wielki książę litewski
ละติน: Rex Poloniae et Magnus Dux Lituaniae
รัชกาล | พระนาม | พระฉายาลักษณ์ | ราชวงศ์ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1569–1572 | พระเจ้าซิกมุนด์ที่ 2 เอากุสตุส | ยากีลลัน | พระราชโอรสในพระเจ้าซิกมุนด์ที่ 1 | |
ค.ศ. 1573–1575 | อ็องรี เดอ วาลัว | วาลัว | พระองค์ทรงละทิ้งราชบัลลังก์เพื่อขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ฝรั่งเศส | |
ค.ศ. 1575- 1586/1596 |
สมเด็จพระราชินีนาถแอนนา | ยากีลลัน | พระราชธิดาในพระเจ้าซึกมุนต์ที่ 1 | |
ค.ศ. 1576–1586 | สเตฟาน บาโตรี | บาโตรี | ได้รับพระราชอิสริยยศจากสิทธิ์ของพระมเหสี | |
ค.ศ. 1588–1632 | พระเจ้าซิกมุนด์ที่ 3 วาซา | วาซา | การขึ้นครองราชย์ของพระองค์ทำให้เกิดรัฐร่วมประมุข ระหว่าง เครือจักรภพ และสวีเดน กษัตริย์แห่งสวีเดน ระหว่าง ค.ศ. 1592 ถึง 1599 | |
ค.ศ. 1632–1648 | พระเจ้าววาดือสวัฟที่ 4 วาซา | |||
ค.ศ. 1648–1668 | พระเจ้ายันที่ 2 กาชีมีแยช วาซา | ทรงสละราชสมบัติและต่อมาทรงรับศีลบวช สมาชิกพระองค์สุดท้ายในราชวงศ์วาซาสายโปแลนด์–ลิทัวเนีย | ||
ค.ศ. 1669–1673 | พระเจ้ามีเคา | วิชญอวีแยตสกี (ชนชั้นสูงชาวลิทัวเนีย) |
||
ค.ศ. 1674–1696 | พระเจ้ายันที่ 3 ซอบีแยสกี | ซอบีแยสกี (ชนชั้นสูงชาวโปแลนด์) |
||
ค.ศ. 1697–1706 | พระเจ้าออกัสตัสที่ 2 ผู้แข็งแกร่ง | เว็ททีน | ทรงเป็นผู้คัดเลือกแห่งซัคเซิน ในพระนามฟรีดริช เอากุสท์ที่ 1 | |
ค.ศ. 1706–1709 | พระเจ้าสตาญิสวัฟที่ 1 | เลชชินสกี | มหาสงครามเหนือ | |
ค.ศ. 1709–1733 | พระเจ้าออกัสตัสที่ 2 ผู้แข็งแกร่ง | เว็ททีน | ครองราชย์ครั้งที่ 2 ทรงเป็นผู้คัดเลือกแห่งซัคเซิน ในพระนามฟรีดริช เอากุสท์ที่ 1 | |
ค.ศ. 1733–1736 | พระเจ้าสตาญิสวัฟที่ 1 | เลชชินสกี | ครองราชย์ครั้งที่ 2 สงครามสืบราชบัลลังก์โปแลนด์ | |
ค.ศ. 1733–1763 | พระเจ้าออกัสตัสที่ 3 | เว็ททีน | ||
ค.ศ. 1764–1795 | พระเจ้าสตาญิสวัฟที่ 2 เอากุสตุส | ปอญาตอฟสกี | ในรัชสมัยของพระองค์ แกรนด์ดัชชีลิทัวเนียได้ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรโปแลนด์ ทรงสละราชสมบัติหลังจากการแบ่งโปแลนด์; เสด็จสวรรคตในขณะลี้ภัยที่รัสเซีย |
ราชอาณาจักรลิทัวเนีย (ค.ศ. 1918)
[แก้]สภาลิทัวเนีย ประกาศอิสรภาพในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1918 และได้ทูลเชิญเจ้าชายวิลเฮล์ม คาร์ลแห่งอูลรัล เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งลิทัวเนีย ชื่ออย่างเป็นทางการของประเทศคือราชอาณาจักรลิทัวเนีย ในวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1918 ดยุกวิลเฮล์มทรงยอมรับข้อเสนอและเลือกใช้พระนามทางการว่า พระเจ้ามินกัวดาร์ที่ 2 แต่ต่อมาในวันที่ 2 พฤศจิกายนสภาก็ลงมติให้การตัดสินใจดังกล่าวเป็นโมฆะ เนื่องจากจักรวรรรดิเยอรมันกำลังจะแพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
รัชกาล | พระนาม | พระฉายาลักษณ์ | ราชวงศ์ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
11 กรกฎาคม – 2 พฤศจิกายน 1918 | พระเจ้ามินกัวดาร์ที่ 2 (วิลเฮล์ม คาร์ล) |
อูลรัล | เปลี่ยนระบอบเป็นสาธารณรัฐ |
รัฐลิทัวเนีย (ค.ศ. 1918 – ค.ศ. 1920)
[แก้]รัฐลิทัวเนียปกครองโดยประธานสภาแห่งรัฐลิทัวเนีย (Presidium of the State Council of Lithuania) ซึ่งเป็นประมุขแห่งรัฐในทางพฤตินัย ตำแหน่งประธานสภาแห่งรัฐลิทัวเนียได้รับการเปลี่ยนผ่านไปยัง[โปรดขยายความ] ตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1919 ประธานสภาแห่งรัฐ อันตานัส สเมโตนา ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนแรกโดยสภาแห่งรัฐ
ลำดับที่ | วาระ | ชื่อ | ภาพ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
- | 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 – 4 เมษายน ค.ศ. 1919 | อันตานัส สเมโตนา | ประธานสภาลิทัวเนีย | |
1 | 4 เมษายน ค.ศ. 1919 – 19 มิถุนายน ค.ศ. 1920 | ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีโดยสภาลิทัวเนีย |
สาธารณรัฐลิทัวเนีย (ค.ศ. 1920– ค.ศ. 1940)
[แก้]ตำแหน่งประธานาธิบดี (ลิทัวเนีย: Prezidentas) ได้รับการจัดตั้งในวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1919
ลำดับที่ | วาระ | ชื่อ | ภาพ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
2 | 19 มิถุนายน ค.ศ. 1920 – 7 มิถุนายน ค.ศ. 1926 | อเล็กซานดรัส สตุลกินสกิส | รักษาการประธานาธิบดี (ในฐานะประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญลิทัวเนีย, Constituent Assembly of Lithuania) ได้รับเลือกอีกครั้งโดยสภาเซมุส ใน 21 ธันวาคม ค.ศ. 1922 และ มิถุนายน ค.ศ. 1923 | |
3 | 7 มิถุนายน – 18 ธันวาคม ค.ศ. 1926 | คาซีส กรินิอุส | ได้รับเลือกโดยรัฐสภา แต่ถูกขับออกจากตำแหน่งในการรัฐประหาร | |
— | 18–19 ธันวาคม ค.ศ. 1926 | โยนาส สเตาไกติส | ประธานาธิบดีโดยพฤตินัยเป็นระยะเวลาหนึ่งวัน ในฐานะประธานสภาเซมุส (ลาออกจากตำแหน่งหลังจากการรัฐประหาร) | |
— | 19 ธันวาคม ค.ศ. 1926 | อเล็กซานดรัส สตุลกินสกิส | ประธานาธิบดีโดยพฤตินัย ในฐานะประธานสภาเซมุส ดำรงตำแหน่งเป็นเวลาไม่กี่ชั่วโมง | |
— | 19 ธันวาคม ค.ศ. 1926 – 15 มิถุนายน ค.ศ. 1940 | อันตานัส สเมโตนา | ดำรงตำแหน่งสมัยที่ 2 ได้รับเลือกเป็นสมัยที่ 2 หลังจากการรัฐประหาร; หลังสหภาพโซเวียต รุกรานในปี ค.ศ. 1940 ได้หลบหนีไปยังเยอรมนีและสหรัฐตามลำดับ | |
— | 15–17 มิถุนายน ค.ศ. 1940 | อันตานัส เมอร์กิส | ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รักษาการประธานาธิบดี โดยพฤตินัย หลังจากการหลบหนีของสเมโตนา ไม่ได้รับการรับรองจากเจ้าหน้าที่การทูตลิทัวเนียเนื่องจากเข้ารับตำแหน่งโดยขัดรัฐธรรมนูญ เพราะสเมโตนาไม่ได้ลาออกจากตำแหน่งหรือเสียชีวิต | |
— | 17 มิถุนายน – สิงหาคม ค.ศ. 1940 | จุสตัส พาเลกกิส | ได้รับเลือกโดยขัดต่อหลักรัฐธรรมนูญจากเหล่าผู้นำของฝ่ายคอมมิวนิสต์ภายใต้การกดดันของสหภาพโซเวียต ไม่ได้รับการรับรองจากนานาชาติและเจ้าหน้าที่การทูตลิทัวเนีย[2] | |
4 | 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1949 – 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1954 | โยนาส เซเมติส | ได้รับการประกาศเป็นประมุขแห่งรัฐย้อนหลังในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2009[3] | |
- | 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1954 – 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1957 | อดอฟัส รามาเนากาส์ | ได้รับการประกาศเป็นประมุขแห่งรัฐย้อนหลังในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2018[4] |
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย (ค.ศ. 1940–1941 และ ค.ศ. 1944–1990)
[แก้]สหภาพโซเวียตเข้ายึดครองลิทัวเนียและสถาปนาสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนียในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1940 เมื่อนาซีเยอรมนีเข้าโจมตีสหภาพโซเวียต ลิทัวเนียจึงถูกเข้ายึดครองโดยเยอรมนี ก่อนหน้าที่นั้นลิทัวเนียถูกปกครองโดยรัฐบาลกบฎที่สนับสนุนฝ่ายเยอรมันของโยนาส เอบรามเซวิคุส (Juozas Ambrazevičius) ภายใต้การเข้ายึดครองโดยเยอรมนี ดินแดนบริเวณลิทัวเนียอยู่ภายใต้การปกครองของนายพลเปตราส คุบลิวนาส (Petras Kubiliūnas) เมื่อนาซีเยอรมนีถอนกำลังออกไป สหภาพโซเวียตจึงเข้ายึดครองลิทัวเนียและสถาปนาสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนียอีกครั้งในปี ค.ศ. 1944.
ตำแหน่ง: เลขาธิการคณะกรรมการกลางแห่งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งลิทัวเนีย (ลิทัวเนีย: Lietuvos komunistų partijos Centro komiteto pirmasis sekretorius; รัสเซีย: Первый секретарь Центрального Комитета Коммунистической партии Литвы).
ลำดับ | วาระ | เลขาธิการพรรค | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
1 | 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1940 – 24 มิถุนายน ค.ศ. 1941 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1944 – 22 มกราคม ค.ศ. 1974 |
อันตานัส สเนวคุส | |
2 | 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1974 – 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1987 | เปตราส กรีเตวิคุส | |
3 | 1 ธันวาคม ค.ศ. 1987 – 19 ตุลาคม ค.ศ. 1988 | ริเกาดาส บอนิโซวาส ซองกาเลีย | เลขาธิการพรรคคนแรกที่ถูกถอดออกจากอำนาจ (สเนวคุสและกรีเตวิคุสดำรงตำแหน่งจวบจนเสียชีวิต) |
4 | 19 ตุลาคม ค.ศ. 1988 – 11 มีนาคม ค.ศ. 1990 | อัลกิร์ดัส มิโคลาส บราเซาส์กาส์ | สูญเสียอำนาจจากการประกาศอิสรภาพ |
คณะผู้บริหารแห่งสภาโซเวียตสูงสุด (Presidium of the Supreme Soviet) ทำหน้าที่คณะประมุขแห่งรัฐตั้งแต่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1940 ถึง 11 มีนาคม ค.ศ. 1990
ลำดับ | วาระ | ประธานคณะผู้บริหาร แห่งสภาโซเวียตสูงสุด |
หมายเหตุ |
---|---|---|---|
1 | 25 สิงหาคม ค.ศ. 1940 – 14 เมษายน ค.ศ. 1967 | จุสตัส พาเลกกิส | ลี้ภัยในโซเวียตรัสเซียระหว่าง ค.ศ. 1941–1944 |
2 | 14 เมษายน ค.ศ. 1967 – 24 ธันวาคม ค.ศ. 1975 | มอยเตจัส ซูเมากาส | |
3 | 24 ธันวาคม ค.ศ. 1975 – 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1985 | อันตานัส บราเกาซาส | |
4 | 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1985 – 7 ธันวาคม ค.ศ. 1987 | ริเกาดาส ซองกาเลีย | |
5 | 7 ธันวาคม ค.ศ. 1987 – 15 มกราคม ค.ศ. 1990 | วิเทาตัว เอตราวคาส | |
6 | 15 มกราคม ค.ศ. 1990 – 11 มีนาคม ค.ศ. 1990 | อัลกิร์ดัส บราเซาส์กาส์ |
สาธารณรัฐลิทัวเนีย (ค.ศ. 1990–ปัจจุบัน)
[แก้]ประธานสภาสูงสุด (Supreme Council) เป็นประมุขแห่งรัฐตั้งแต่การประกาศอิสรภาพในวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1990 จนกระทั่งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ในปี ค.ศ. 1992 ตำแหน่งประธานาธิบดีและสภาเซมุสได้รับการจัดตั้งขึ้นใหม่ แต่นานาชาติไม่รับรองจนกระทั่งเดือนกันยายน ค.ศ. 1991 (หมายเหตุ: ประเทศไอซ์แลนด์เป็นประเทศแรกที่รับรองอิสรภาพของลิทัวเนียในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991)[5]
ตำแหน่งจาก ค.ศ. 1990 ถึง ค.ศ. 1992: ประธานสภาสูงสุด (รัฐสภา) (ลิทัวเนีย: Aukščiausiosios Tarybos pirmininkas) ตำแหน่งตั้งแต่ ค.ศ. 1992 เป็นต้นไป: ประธานาธิบดี (ลิทัวเนีย: Prezidentas)
ลำดับ | ภาพ | ชื่อ (เกิด–เสียชีวิต) |
รับเลือก | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | สังกัด/หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | วิเทาตัว แลนด์สเบอร์กิส (เกิด ค.ศ. 1932) |
— | 11 มีนาคม ค.ศ. 1990 | 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1992 | ในฐานะประธานสภาสูงสุด | |
2 | อัลกิร์ดัส บราเซาส์กาส์ (รักษาการ) (ค.ศ. 1932–2010) |
— | 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1992 | 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 | ประธานาธิบดีหลังยุคโซเวียตคนแรก | |
อัลกิร์ดัส บราเซาส์กาส์ (ค.ศ. 1932–2010) |
ค.ศ. 1993 | 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 | 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1998 | |||
3 | วัลดัส อะดัมคุส (เกิด ค.ศ. 1926) |
ค.ศ. 1997–98 | 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1998 | 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003 | ||
4 | โรลันดัส พากซัส (เกิด ค.ศ. 1956) |
ค.ศ. 2002–03 | 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003 | 6 เมษายน ค.ศ. 2004 | อภิปรายไม่ไว้วางใจและถูกถอดถอนจากตำแหน่ง | |
— | อาร์ทูรัส เพาลาสกาส์ (รักษาการ) (เกิด ค.ศ. 1953) |
— | 6 เมษายน ค.ศ. 2004 | 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2004 | ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานาธิบดีในฐานะประธานสภาเซมุส จนถึงการเลือกตั้งครั้งถัดไป | |
(3) | วัลดัส อะดัมคุส (เกิด ค.ศ. 1926) |
ค.ศ. 2004 | 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2004 | 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2009 | ||
5 | ดาเลีย กรีบาวสเคท (เกิด ค.ศ. 1956) |
ค.ศ. 2009 ค.ศ. 2014 |
12 กรกฎาคม ค.ศ. 2009 | 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2019 | ประธานาธิบดีหญิงคนแรกและได้รับเลือก 2 สมัย | |
6 | กิตานัส เนาเซดา (เกิด 1964) |
ค.ศ. 2019 | 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2019 | ปัจจุบัน |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://m.delfi.lt/verslas/verslas/article.php?id=79837533
- ↑ "Lietuvos okupacija (1940 m. birželio 15 d.)". LRS.lt. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-22. สืบค้นเมื่อ 4 December 2017.
- ↑ "Jonas Žemaitis-Vytautas". istorineprezidentura.lt. สืบค้นเมื่อ 12 June 2019.
- ↑ "XIII-1651 Dėl Adolfo Ramanausko-Vanago pripažinimo Lietuvos valstybės vadovu" (ภาษาลิทัวเนีย). Lietuvos Respublikos Seimas. 20 November 2018. สืบค้นเมื่อ 1 December 2019.
- ↑ "Lithuania: "Thank you, Iceland!".