พระนางชยเทวี
พระนางชยเทวี | |||||
---|---|---|---|---|---|
สมเด็จพระราชินีนาถแห่ง เจนละ | |||||
ครองราชย์ | ค.ศ. 681/690–713 | ||||
พระองค์ก่อน | พระเจ้าชัยวรมันที่ 1 | ||||
พระองค์ถัดไป | พระเจ้าพลาทิตย์ | ||||
สวรรคต | ค.ศ. 713 | ||||
พระราชสวามี | พระเจ้าปุษรักษะ | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์วรมัน • ราชสกุลเกาฑิณยะ (ประสูติ) • ราชสกุลกัมพุช (อภิเษกสมรส) | ||||
พระราชบิดา | พระเจ้าชัยวรมันที่ 1 |
ชยเทวี (เขมร: ជយទេវី; สวรรคต ค.ศ. 713) หรือพระนามเต็มว่า ธุลีเชงพระกมรเตงอัญศรีชัยเทวี[ต้องการอ้างอิง] (ธูลิ เชง วฺระ กํมฺรตางฺ อญฺ ศฺรีชยเทวี)[ต้องการอ้างอิง] เป็นพระราชินีแห่งอาณาจักรเจนละ ครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 681–713 แต่บางแหล่งก็ว่า ค.ศ. 690–713[1]
พระนางเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 1[2] และมีพระขนิษฐาหนึ่งพระองค์ คือ เจ้าหญิงโสภะชัยยะ ( Sobhajaya ) ผู้ซึ่งเสกสมรสกับนักบวชอินเดียนาม Sivait Brahim Sakrasvamin
พระเจ้าชัยวรมันที่ 1 สวรรคตเมื่อ ค.ศ. 681 โดยไม่มีรัชทายาทที่เป็นชาย พระนางจึงได้สืบราชสมบัติต่อ รัชสมัยของพระนางเต็มไปด้วยความวุ่นวายทางการเมือง และการขึ้นครองราชย์ของพระนางก็เป็นที่โต้แย้ง นำไปสู่การแบ่งแยกรัฐเจนละออกเป็นเจนละบกกับเจนละน้ำ[3][4]
ครั้นถึงปี ค.ศ. 707 อาณาจักรเจนละได้เกิดความวุ่นวายขึ้นเนื่องจากการก่อกบฏชิงราชสมบัติ โดยพระเจ้าพลาทิตยะราชได้เข้ายึดพระราชอำนาจและปลดพระนางลงจากตำแหน่งและสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นกษัตรย์อีกพระองค์ในอาณาจักรเจนละน้ำ พระเจ้าพลาทิตย์ทรงครองราชย์ได้เพียง 1 ปี แต่อย่างไรก็ตามพระนางยังคงถือเป็นกษัตริย์แห่งเจนละ (เจนละบก) ต่อมาพระเจ้าปตินทรวรมันก่อกบฏยึดพระราชอำนาจจากพระเจ้าพลาทิตย์และสถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่ (เจนละน้ำ) พระปตินทรวรมันครองอำนาจได้เพียง 3 ปี จึงถูกพระเจ้าปุษรักษ์พระราชสวามีของพระนางชัยเทวีเข้าชิงราชสมบัติ พระเจ้าปุกรักษ์ทรงครองราชสมบัติยาวนานถึง 14 ปีก่อนจะสละราชบัติให้พระบิดาของพระองค์ขึ้นครองราชสมบัติเป็น พระเจ้าสัมภูวรมัน พระองค์ได้รวมเจนละบกและเจนละน้ำเข้าไว้ด้วยกันอีกครั้ง แต่เมื่อพระองค์สวรรคตอาณาจักรเจนละได้แตกแยกออกเป็นสองอาณาจักรเช่นเดิม โดยเจนละบกมี พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 1 ปกครอง และเจนละน้ำมี พระเจ้ามหิปติวรมันปกครอง[5]
พระนางทรงสิ้นพระชนม์โดยไร้พระราชอำนาจในปี ค.ศ. 713 พระขนิษฐาของพระนางให้สร้างจารึกไว้ที่เมืองพระนครพรรณนาถึงช่วงเวลาอันเลวร้ายในบ้านเมือง และสิ่งต่าง ๆ ที่พระนางประทานแก่เทวาลัยของ Siva Tripurankata ซึ่งพระขนิษฐาของพระนางได้สร้างขึ้นไว้ ไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดเกี่ยวกับรัชกาลของพระนางหลังจาก ค.ศ. 713 อีก[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Early Civilizations of Southeast Asia by Dougald J. W. O'Reilly - Chenla". Google Books. สืบค้นเมื่อ 30 December 2015.
- ↑ Coedès, George (1968). Walter F. Vella (ed.). The Indianized States of Southeast Asia. trans.Susan Brown Cowing. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
- ↑ Coedès, George (1968). Walter F. Vella (บ.ก.). The Indianized States of Southeast Asia. trans.Susan Brown Cowing. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
- ↑ Higham, Charles. Early Mainland Southeast Asia. River Books Co., Ltd. ISBN 9786167339443.
- ↑ George Cœdès: The Indianized States of South-East Asia
- Coedes, G. (1962). "The Making of South-east Asia." London: Cox & Wyman Ltd.
- George Cœdès: The Indianized States of South-East Asia