ตราแผ่นดินของกัมพูชา
ตราแผ่นดินของกัมพูชา | |
---|---|
รายละเอียด | |
ผู้ใช้ตรา | รัฐบาลในพระราชอาณาจักรกัมพูชา |
เริ่มใช้ |
|
เครื่องยอด | พระมหามงกุฎเปล่งรัศมี |
ประคองข้าง | ราชสีห์และคชสีห์ |
ฐานรองข้าง | ลวดลายก้านขด |
คำขวัญ | เขมร: ព្រះចៅ ក្រុង កម្ពុជា (พระเจ้ากรุงกัมพูชา) |
อิสริยาภรณ์ | เครื่องอิสริยยศพระราชาณาจักรกัมพูชา |
ส่วนประกอบอื่น | พานรองพระแสงขรรค์ใต้อุณาโลม, ฉัตรห้าชั้น 2 คัน |
ตราแผ่นดินของกัมพูชา (พระราชอาณาจักรกัมพูชา) แบบปัจจุบัน ใช้เป็นตราประจำราชวงศ์กัมพูชาและใช้เป็นตราหน้าหมวกทหารกัมพูชาด้วย
ลักษณะ
[แก้]ตราแผ่นดินของกัมพูชาในปัจจุบันใช้ (รูปแบบที่ทวิ ២) มีลักษณะเป็นรูปฉลองพระองค์ครุยคลุมพานแว่นฟ้า อัญเชิญพระแสงขรรค์และเครื่องหมายอุณาโลมภายใต้พระมหามงกุฎเปล่งรัศมี มีลายช่อต่อออกมาจากกรรเจียกจรทั้งสองข้าง รูปดังกล่าวอยู่เหนือรูปดาราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์พระราชอาณาจักรกัมพูชา (Royal Order of Cambodia) และมีรูปลายก้านขดอยู่ใต้รูปฉลองพระองค์ครุยอีกชั้นหนึ่ง ถัดมาทางด้านข้างทั้ง 2 ด้านขนาบด้วยรูปฉัตร 5 ชั้น ซึ่งประคองโดยคชสีห์ทางด้านซ้าย และราชสีห์ทางด้านขวา เบื้องล่างสุดของรูปทั้งหมดเป็นแพรแถบแสดงข้อความว่า "ព្រះចៅក្រុងកម្ពុជា" ("พระเจ้ากรุงกัมพูชา") ด้วยอักษรเขมรแบบอักษรมูล
ความหมายของสัญลักษณ์ในดวงตรามีดังต่อไปนี้[2]
- รัศมีที่เปล่งออกมาจากพระมหามงกุฎ หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองแห่งอารยธรรมเขมร
- ฉัตร 5 ชั้นทั้งสองคัน หมายถึง พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินี
- พระแสงขรรค์ หมายถึง พระราชอำนาจและความยุติธรรม
- ราชสิห์และคชสีห์ หมายถึง ปวงชนชาวกัมพูชาผู้ค้ำจุนราชบัลลังก์
สมัยสาธารณรัฐเขมร
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สมัยกัมพูชาประชาธิปไตย
[แก้]ตราแผ่นดินของกัมพูชาในสมัยเขมรแดง (หรือในชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า กัมพูชาประชาธิปไตย) มีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในบทที่ 12 มาตรา 17 ของรัฐธรรมนูญแห่งกัมพูชาประชาธิปไตยไว้ว่า "ในตราแผ่นดินเป็นรูประบบเขื่อนกั้นน้ำและคลองชลประทาน เป็นสัญลักขณ์บอกถึงเกษตรกรรมสมัยใหม่ โรงงานโรงหนึ่งเป็นสัญลักขณ์บอกถึงอุตสาหกรรม รูปทั้งหมดนี้อยู่ภายในพวงมาลัยรวงข้าวมีคำจารึกข้างใต้ว่า "กัมพูชาประชาธิปไตย"[3]" ข้อความดังกล่าวนี้บรรจุอยู่ในแพรแถบสีแดง และเขียนด้วยอักษรเขมรแบบอักษรเชรียง
สมัยสาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
พัฒนาการ
[แก้]-
ตราแผ่นดินราชอาณาจักรกัมพูชา (แบบที่เอก) ช่วงปี พ.ศ. 2480-2513
-
สาธารณรัฐเขมร พ.ศ. 2513-2518
-
ตราแผ่นดินยุคกัมพูชาประชาธิปไตย พ.ศ. 2518-2522
-
ตราแผ่นดินสมัยสาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา พ.ศ. 2522-2532
-
รัฐกัมพูชา พ.ศ. 2532 - 2534
-
องค์กรบริหารชั่วคราวแห่งสหประชาชาติในกัมพูชา พ.ศ. 2535 - 2536
ตราแผ่นพระราชอาณาจักรกัมพูชา
[แก้]-
ตราแผ่นดิน
พระราชอาณาจักรกัมพูชา
ณ กรุงลอนดอน -
ตราแผ่นดิน
พระราชอาณาจักรกัมพูชา
หน้าบันพระที่นั่งโภชนีโสภา
พระบรมราชวังจตุมุขสิริมงคล
ราชธานีพนมเปญ -
ตราแผ่นดิน
พระราชอาณาจักรกัมพูชา
หน้าบัน วัดพระแก้วมรกต
ราชธานีพนมเปญ
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Vietnam, Laos, Cambodia. India, Pakistan, Nepal, Ceylon. Pergamon World Atlas.
- ↑ http://mengho.wordpress.com/about-cambodia/
- ↑ รัฐธรรมนูญแห่งกัมพูชาประชาธิปไตย บทที่ 12 มาตรา 17 ใน จินดา ดวงจินดา. รัฐธรรมนูญแห่งกัมพูชาประชาธิปไตยและบทวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: แสงรุ้งการพิมพ์, 2521. (ดูฉบับแปลภาษาอังกฤษ เก็บถาวร 2007-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)