การเมืองกัมพูชา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเมืองกัมพูชา

នយោបាយនៅកម្ពុជា
ประเภทรัฐรัฐเดี่ยว, ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ, ประชาธิปไตยระบบรัฐสภา, ระบบพรรคเด่น
รัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา คริสต์ศักราช 1993
ฝ่ายนิติบัญญัติ
ชื่อสภาผู้แทนราษฎร
ประเภทสองสภา
สถานที่ประชุมรัฐสภาชาติกัมพูชา
สภาสูง
ชื่อพฤฒสภา
ประธานสมเด็จวิบุลเสนาภักดี สาย ฌุม
ประธานพฤฒสภา
ผู้แต่งตั้งกรมปรึกษาฆุมสังกัดลงมติเลือก 62 คน รัฐสภาลงมติเลือก 2 คน และพระมหากษัตริย์แต่งตั้ง 2 คน
สภาล่าง
ชื่อรัฐสภา
ประธานสมเด็จอัครมหาพญาจักรี เฮง สัมริน
ประธานรัฐสภา
ผู้แต่งตั้งการเลือกตั้งแบบการลงคะแนนระบบคู่ขนาน
ฝ่ายบริหาร
ประมุขแห่งรัฐ
คำเรียกพระมหากษัตริย์
ปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี
ผู้แต่งตั้งการลงมติเลือกของกรมปรึกษาราชบัลลังก์
หัวหน้ารัฐบาล
คำเรียกนายกรัฐมนตรี
ปัจจุบันเอกอุดมกิตติเทศาภิบาลบัณฑิต ฮุน มาแณต
ผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์ตามการลงมติเลือกของรัฐสภา
คณะรัฐมนตรี
คำเรียกสำนักคณะรัฐมนตรี
ชุดปัจจุบันฮุน มาแณต 1
หัวหน้านายกรัฐมนตรี
รองหัวหน้ารองนายกรัฐมนตรี
ผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์ตามความเห็นชอบของนายกรัฐมนตรี
สำนักงานใหญ่วิมานสันติภาพ
กระทรวง28
ฝ่ายตุลาการ
ศาลศาลกัมพูชา
สภาผู้พิพากษาสูงสุด
ประธานศาลพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี
ที่ตั้งศาลที่ทำการสภาผู้พิพากษาสูงสุด กรุงพนมเปญ
การประชุมรัฐสภากัมพูชาครั้งที่ 6
คณะรัฐบาลในพระราชอาณาจักรกัมพูชา

การเมืองกัมพูชาอยู่ในกรอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและทรงเป็นที่เคารพสักการะ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล มีรัฐสภาและเป็นประชาธิปไตยแบบตัวแทน อำนาจบริหารเป็นของรัฐบาล อำนาจนิติบัญญัติเป็นของสภาคือรัฐสภาและพฤฒิสภา

รัฐธรรมนูญแห่งพระราชอาณาจักรกัมพูชายังได้กำหนดให้เป็นระบอบประชาธิปไตยแบบหลายพรรคเสรีนิยม ซึ่งอำนาจตกเป็นของผู้บริหาร ฝ่ายตุลาการ และฝ่ายนิติบัญญัติ อย่างไรก็ตามไม่มีการต่อต้านจากพรรคฝ่ายค้านอย่างมีประสิทธิภาพต่อนายกรัฐมนตรีสมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโชฮุน เซน ซึ่งดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 จนถึงวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566 เอกอุดมกิตติเทศาภิบาลบัณฑิตฮุน มาแณต ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นคนต่อมาในปัจจุบัน

ฝ่ายอำนาจบริหาร[แก้]

พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหมุนีพระมหากษัตริย์
สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโชฮุน เซนนายกรัฐมนตรี
ตรารัฐบาล
ผู้ถือตำแหน่งหลัก
ตำแหน่ง ชื่อ พรรค ตั้งแต่
พระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหมุนี 14 ตุลาคม ค.ศ. 2004
นายกรัฐมนตรี เอกอุดมกิตติเทศาภิบาลบัณฑิต ฮุน มาแณต พรรคประชาชนกัมพูชา 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566

นายกรัฐมนตรีกัมพูชามาจากพรรคการเมืองในรัฐสภา ได้รับการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ตามคำแนะนำของประธานและรองประธานรัฐสภา หลังจากนั้นต้องได้รับความไว้วางใจจากรัฐสภา นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลในกัมพูชา เมื่อเข้าทำงานจะแต่งตั้งรัฐมนตรีมารับผิดชอบงานต่างๆซึ่งเรียกว่าสภารัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือฮุน เซน มาจากพรรคประชาชนกัมพูชา ดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่การเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 หนึ่งปีหลังเหตุการณ์รัฐประหาร พ.ศ. 2540 [1][2]เพื่อโค่นล้มพระนโรดม รณฤทธิ์ จนปัจจุบัน

กระทรวง[แก้]

ลำดับที่ ตราสัญลักษณ์ ชื่อกระทรวง เว็บไซต์
1 กระทรวงมหาดไทย
(เขมร: ក្រសួងមហាផ្ទៃ กฺรสัวงมหาผฺไท)
(อังกฤษ: Ministry of Interior)
[3]
2 กระทรวงป้องกันราชอาณาจักร
(เขมร: ក្រសួងការពារជាតិ กฺรสัวงการพารชาติ)
(อังกฤษ: Ministry of National Defense)
[4]
3 กระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือนานาชาติ
(เขมร: ក្រសួងការបរទេស និងសហប្រតិបត្តិការអន្តរជាតិ กฺรสัวงการบรเทส นิงสหบฺรติบตฺติการอนฺตรชาติ)
(อังกฤษ: Ministry of Foreign Affairs and International Cooperation)
[5]
4 กระทรวงเศรษฐกิจ และการคลัง
(เขมร: ក្រសួងសេដ្ឋកិច្ច និងហិរញ្ញវត្ថុ กฺรสัวงเสฎฺฐกิจฺจ นิงหิรญฺญวตฺถุ)
(อังกฤษ: Ministry of Economy and Finance)
[6]
5 กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง
(เขมร: ក្រសួងកសិកម្ម រុក្ខាប្រមាញ់ និងនេសាទ กฺรสัวงกสิกมฺม รุกฺขาบฺรมาญ̍ นิงเนสาท)
(อังกฤษ: Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries)
[7]
6 กระทรวงการพัฒนาชนบท
(เขมร: ក្រសួងអភិវឌ្ឃន៌ជនបទ กฺรสัวงอภิวฑฺฆรฺนชนบท)
(อังกฤษ: Ministry of Rural Development)
[8]
7 กระทรวงพาณิชยกรรม
(เขมร: ក្រសួងពាណិជ្ជកម្ម กฺรสัวงพาณิชฺชกมฺม)
(อังกฤษ: Ministry of Commerce)
[9]
8 กระทรวงอุตสาหกรรม และหัตถกรรม
(เขมร: ក្រសួងឧស្សាហកម្ម និងសិប្បកម្ម กฺรสัวงอุสฺสาหกมฺม นิงสิบฺบกมฺม)
(อังกฤษ: Ministry of Industry and Handicraft)
[10]
9 กระทรวงแผนการ
(เขมร: ក្រសួងផែនការ กฺรสัวงแผนการ)
(อังกฤษ: Ministry of Planning)
[11]
10 กระทรวงศึกษาธิการ เยาวชน และกีฬา
(เขมร: ក្រសួងអប់រំ យុវជន និងកីឡា กฺรสัวงอบ̍รํ ยุวชน นิงกีฬา)
(อังกฤษ: Ministry of Education, Youth and Sport)
[12]
11 กระทรวงกิจการสังคม ทหารผ่านศึก และการฟื้นฟูเยาวชน
(เขมร: ​ក្រសួង​សង្គមកិច្ច អតីត​យុទ្ធជន និង​យុវនីតិ​សម្បទា กฺรสัวงสงฺคมกิจฺจ อตีตยุทฺธชน นิงยุวนีติสมฺบทา)
(อังกฤษ: Ministry of Social Affairs, Veterans and Youth Rehabilitation)
[13]
12 กระทรวงการจัดการที่ดิน การผังเมือง และการก่อสร้าง
(เขมร: ​ក្រសួងរៀបចំដែនដី នគររូបនីយកម្ម និងសំណង់ กฺรสัวงเรียบจํแฎนฎี นครรูบนียกมฺม นิงสํณง̍)
(อังกฤษ: Ministry of Land Management, Urban Planning and Construction)
[14]
13 กระทรวงสิ่งแวดล้อม
(เขมร: ក្រសួងបរិស្ថាន กฺรสัวงบริสฺถาน)
(อังกฤษ: Ministry of Environment)
[15]
14 กระทรวงทรัพยากรน้ำ และอุตุนิยมวิทยา
(เขมร: ក្រសួងធនធានទឹក និងឧតុនិយម กฺรสัวงธนธานทึก นิงอุตุนิยม)
(อังกฤษ: Ministry of Water Resources and Meteorology)
[16]
15 กระทรวงการข่าว
(เขมร: ក្រសួងព័ត៌មាន กฺรสัวงพัรฺตมาน)
(อังกฤษ: Ministry of Information)
[17]
16 กระทรวงยุติธรรม
(เขมร: ក្រសួងយុតិ្តធម៌ กฺรสัวงยุติตธรฺม)
(อังกฤษ: Ministry of Justice)
[18]
17 กระทรวงเหมืองแร่ และพลังงาน
(เขมร: ក្រសួងរ៉ែ​ និងថាមពល กฺรสัวงแร̎ นิงถามพล)
(อังกฤษ: Ministry of Mines and Energy)
[19]
18 กระทรวงไปรษณีย์ และโทรคมนาคม
(เขมร: ក្រសួងប្រៃសណីយ៍ និងទូរគមនាគមន៍ กฺรสัวงบฺไรสณีย์ นิงทูรคมนาคมน์)
(อังกฤษ: Ministry of Posts and Telecommunications)
[20]
19 กระทรวงสุขาภิบาล
(เขมร: ក្រសួងសុខាភិបាល กฺรสัวงสุขาภิบาล)
(อังกฤษ: Ministry of Health)
[21]
20 กระทรวงโยธาธิการ และคมนาคม
(เขมร: ក្រសួងសាធារណៈការ និងដឹកជញ្ជូន กฺรสัวงสาธารณะการ นิงฎึกชญฺชูน)
(อังกฤษ: Ministry of Public Works and Transport)
[22]
21 กระทรวงวัฒนธรรม และวิจิตรศิลป์
(เขมร: ក្រសួងវប្បធម៌ និងវិចិត្រសិល្បៈ กฺรสัวงวบฺบธรฺม นิงวิจิตฺรสิลฺบะ)
(อังกฤษ: Ministry of Culture and Fine Arts)
[23]
22 กระทรวงการท่องเที่ยว
(เขมร: ក្រសួងទេសចរណ៍ กฺรสัวงเทสจรณ์)
(อังกฤษ: Ministry of Tourism)
[24]
23 กระทรวงแรงงาน และการฝึกอาชีพ
(เขมร: ក្រសួងការងារ និងបណ្តុះបណ្តាលវិជ្ជាជីវៈ กฺรสัวงการงาร นิงบณฺตุะบณฺตาลวิชฺชาชีวะ̤)
(อังกฤษ: Ministry of Labour and Vocational Training)
[25]
24 กระทรวงกิจการสตรี
(เขมร: ក្រសួងកិច្ចការនារី กฺรสัวงกิจฺจการนารี)
(อังกฤษ: Ministry of Women's Affairs)
[26]
25 กระทรวงพระบรมราชวัง
(เขมร: ក្រសួងព្រះបរមរាជវាំង กฺรสัวงเพียะบรมนิจเวียง)
(อังกฤษ: Ministry of the Royal Palace)
[27]
26 กระทรวงธรรมการและศาสนา
(เขมร: ក្រសួងធម្មការ និងសាសនា กฺรสัวงทอมฺกา นิง สาสฺนา)
(อังกฤษ: Ministry of Cults and Religion)
[28]
27 กระทรวงประสานงานรัฐสภาและตรวจราชการแผ่นดิน
(เขมร: ក្រសួងទំនាក់ទំនងជាមួយរដ្ឋសភា-ព្រឹទ្ធសភា និងអធិការកិច្ច )
(อังกฤษ: Ministry of National Assembly-Senate Relations and Inspection)
[29]
28 สำนักงานคณะรัฐมนตรี
(เขมร: ទីស្តីការគណៈរដ្ឋមន្ត្រី ตี สฺเน กา คนะ รอดมนเตฺย )
(อังกฤษ: Office of the Council of Ministers)
[30]

ฝ่ายอำนาจนิติบัญญัติ[แก้]

รัฐสภา

ใช้ระบบสองสภาได้แก่

  • สมัชชาแห่งชาติหรือรัฐสภา มีสมาชิก 123 คน ดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ส่วนผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องมีอายุอย่างน้อย 25 ปี การเลือกตั้งครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2551 พรรคประชาชนกัมพูชาครองเสียงส่วนใหญ่คือ 90 ที่นั่ง พรรคสมรังสีได้ 26 ที่นั่ง ที่เหลือเป็นพรรคอื่นๆ อีก 7 ที่นั่ง
  • พฤฒิสภาหรือสภาสูง มีสมาชิก 61 คน มี 2 คนที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ 2 คนมาจากตัวแทนรัฐบาล ที่เหลืออีก 57 คนมาจากการเลือกตั้ง มีลักษณะคล้ายสภาสูงของฝรั่งเศส ดำรงตำแหน่งวาระละ 6 ปี ใน พ.ศ. 2549 พรรคประชาชนกัมพูชาได้ 43 ที่นั่งในสภาสูง พรรคฟุนซินเปกได้ 12 ที่นั่งและพรรคสมรังสีได้ 2 ที่นั่ง

หน้าที่ของสมัชชาแห่งชาติคือออกกฎหมาย โดยหลังจากผ่านสภาแล้วจึงเสนอต่อพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์ไม่มีอำนาจยับยั้งกฎหมายที่ผ่านรัฐสภาแล้ว รัฐสภายังมีอำนาจในการถอดถอนนายกรัฐมนตรีโดยการออกเสียงไม่ไว้วางใจมากกว่าสองในสาม

e • d สรุปผลการเลือกตั้ง สมัชชาแห่งชาติกัมพูชาเมื่อ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
พรรค คะแนน % ที่นั่ง
พรรคประชาชนกัมพูชา 3,492,374 58.1%
 
90
พรรคสมรังสี 1,316,714 21.9%
 
26
พรรคสิทธิมนุษยชน 397,816 6.62%
 
3
พรรคนโรดม รณฤทธิ์ 337,943 5.62%
 
2
ฟุนซินเปก 303,764 5.05%
 
2
พรรคพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย 68,909 1.15%
 
พรรคประชาธิปไตยเขมร 32,386 0.54%
 
พรรคขบวนการประชาธิปไตยฮัง ดารา 25,065 0.42%
 
พรรคสังคมยุติธรรม 14,112 0.23%
 
พรรคสาธารณรัฐเขมร 11,693 0.19%
 
พรรคเขมรต่อต้านความยากจน 9,501 0.16%
 
ทั้งหมด (มาใช้สิทธิ์ 81.5%) 6,010,277 123
Source: www.necelect.org.kh เก็บถาวร 2009-03-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน


e • d สรุปการเลือกตั้งพฤฒิสภาหรือสภาสูงในกัมพูชาเมื่อ 22 มกราคม พ.ศ. 2549
พรรค คะแนน % ที่นั่ง
พรรคประชาชนกัมพูชา 7,854 69.19%
 
43
ฟุนซินเปก 2,320 20.44%
 
9
พรรคสมรังสี 1,165 10.26%
 
2
ทั้งหมด (มาใช้สิทธิ์ 99.89%) 11,352 54
Source: www.necelect.org.kh เก็บถาวร 2009-03-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

Sources: List of Senators เก็บถาวร 2007-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

อำนาจตุลาการ[แก้]

ศาลฎีกา

อำนาจตุลาการเป็นอิสระจากรัฐบาล ศาลสูงสุดในกัมพูชาคือ ศาลแขวงสูงสุด (Supreme Council of the Magistracy)

ราชวงศ์[แก้]

การปกครองของกัมพูชาเป็นแบบที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข พระมหากษัตริย์มีฐานะเป็นประมุขรัฐ ไม่มีอำนาจปกครอง ทรงเป็นสัญลักษณ์ถึงความเป็นเอกภาพและความยั่งยืนของชาติ พระนโรดม สีหนุทรงเป็นประมุขรัฐระหว่าง 24 กันยายน พ.ศ. 2536 จนถึง 7 ตุลาคม พ.ศ. 2547 พระมหากษัตริย์ไม่มีอำนาจทางการเมืองแต่พระนโรดม สีหนุทรงมีบารมีที่ทำให้พระองค์มีอิทธิพลต่อรัฐบาลและมีบทบาทในการยับยั้งความขัดแย้งภายในรัฐบาล หลังจากพระนโรดม สีหนุสละราชสมบัติใน พ.ศ. 2547 พระโอรสของพระองค์คือพระนโรดม สีหมุนีได้เป็นกษัตริย์ต่อมา ส่วนพระนโรดม สีหนุที่สละราชสมบัติไปนั้น สมัชชาแห่งชาติได้กำหนดตำแหน่งของพระองค์เป็นพระมหาวีรกษัตริย์

การสืบราชสมบัติ[แก้]

การสืบราชสมบัติถูกกำหนดโดยสภาราชบัลลังก์ซึ่งประกอบด้วยประธานรัฐสภา นายกรัฐมนตรี พระสังฆราช รองประธานรัฐสภาคนที่ 1 และคนที่ 2 จะมีการเรียกประชุมสภาราชบัลลังก์ภายใน 1 สัปดาห์หลังจากพระมหากษัตริย์สวรรคตหรือสละราชสมบัติ และจะเลือกจากสมาชิกราชวงศ์ที่มีสิทธิในราชบัลลังก์

การเป็นสมาชิกองค์กรระดับนานาชาติ[แก้]

ACCT, AsDB, ASEAN, CP, ESCAP, FAO, G-77, IAEA, IBRD, ICAO, ICC, ICRM, IDA, IFAD, IFC, IFRCS, ILO, IMF, IMO, Intelsat (ยังไม่ได้ลงนามในสัญญา), กองทุนการเงินระหว่างประเทศ, Interpol, IOC, ISO, ITU, NAM, OPCW, PCA, UN, UNCTAD, UNESCO, UNIDO, UPU, WB, WFTU, WHO, WIPO, WMO, WTO, WToO, WTrO (ขอสมัคร)

การปกครองท้องถิ่น[แก้]

การปกครองท้องถิ่นทั้ง 24 จังหวัด[31] ขึ้นกับกระทรวงมหาดไทยของรัฐบาลกลาง[31] เริ่มมีการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น (กรมปรึกษาฆุมสังกัด) ใน พ.ศ. 2545 และเลือกตั้งทุก ๆ 5 ปี[32]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-06-27. สืบค้นเมื่อ 2012-10-15.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-09-10. สืบค้นเมื่อ 2012-10-15.
  3. [1]
  4. [2]
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-06. สืบค้นเมื่อ 2020-04-18.
  6. [3]
  7. [4]
  8. [5]
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-17. สืบค้นเมื่อ 2020-04-18.
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-03. สืบค้นเมื่อ 2021-09-06.
  11. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-08. สืบค้นเมื่อ 2012-10-15.
  12. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-10. สืบค้นเมื่อ 2020-04-18.
  13. [6]
  14. [7]
  15. [8]
  16. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-19. สืบค้นเมื่อ 2021-09-06.
  17. [9]
  18. [10]
  19. [11]
  20. [12]
  21. [13]
  22. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-25. สืบค้นเมื่อ 2020-04-18.
  23. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-23. สืบค้นเมื่อ 2020-04-18.
  24. [14]
  25. [15]
  26. [16]
  27. []
  28. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-14. สืบค้นเมื่อ 2021-10-29.
  29. [17]
  30. [18]
  31. 31.0 31.1 Private Solutions for Infrastructure in Cambodia: A Country Framework Report. World Bank (2002), p65. ISBN 0-8213-5076-5.
  32. Untitled Document

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

เกี่ยวกับราชวงศ์[แก้]

ทางการ[แก้]

อื่นๆ[แก้]