สุมาอี้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ซือหม่าอี้)
สุมาอี้
ภาพวาดของสุมาอี้ ในสมัยราชวงศ์หมิง
เสนาธิการและแม่ทัพแห่งวุยก๊ก
เกิดพ.ศ. 722
ถึงแก่กรรมพ.ศ. 794 (อายุ 73 ปี)
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม司馬懿
อักษรจีนตัวย่อ司马懿
ชื่อรองจ้งต๋า(จีนกลาง Zhongda)

สุมาอี้ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ ซือหม่าอี้ ตามสำเนียงกลาง (จีน: 司马懿; อังกฤษ: Sima Yi; ค.ศ. 179-7 กันยายน 251) ชื่อรอง จ้งต๋า (仲達) เป็นเสนาบดี รัฐบุรุษ และเสนาธิการของวุยก๊ก ในช่วงยุคสามก๊ก และยังเป็นบรรพชนของราชวงศ์จิ้นตะวันตก เขาต้านทานการเดินทัพขึ้นเหนือของจูกัดเหลียง ซึ่งเป็นอัครมหาเสนาบดีของจ๊กก๊ก และยืนหยัดอย่างมั่นคงมาสี่ชั่วอายุคนตั้งแต่ยุคของ โจโฉ โจผี โจยอย และโจฮอง เขาก่อการรัฐประหารในสุสานหลวงโกเบงเหลงและยึดอำนาจการปกครองของวุยก๊ก สุมาอี้เป็นพระอัยกา (ปู่) ของจักรพรรดิจิ้นอู่ (สุมาเอี๋ยน) จักรพรรดิผู้ก่อตั้งราชวงศ์จิ้น และเป็นบิดาของสุมาสู และสุมาเจียว เสนาบดีผู้มีอำนาจสองคนในช่วงปลายยุควุยก๊ก

ประวัติและบทบาท[แก้]

เป็นชาวอำเภออุน เมืองเหอเน่ย (โห้ลาย) มณฑลเหอหนาน มีชื่อรองว่า จ้งต๋า มีลักษณะ แววตาแหลมเล็กคล้ายตาเหยี่ยว สุมาอี้เป็นคนเฉลียวฉลาด ชำนาญตำราพิชัยสงคราม ใจคอหนักแน่นแต่ก็เด็ดขาดในการตัดสินใจ กระทั่งมีผู้สนใจประวัติศาสตร์สามก๊ก ได้วิจารณ์ในทำนองเสียดสีไว้ว่า สุมาอี้คือ "เจ้าสำนักด้านดำ" คือ มีความชาด้านทำเพื่อประโยชน์ของตนได้เสมอ โดยไม่สนใจในเรื่องคุณธรรมศักดิ์ศรี และมีความใจดำอำมหิตพร้อม ๆ กัน ซึ่งเป็นอุปนิสัยของผู้มีอำนาจในประวัติศาสตร์ทุกยุคสมัย และได้รับอีกฉายาหนึ่งว่า "งูแมวเซา" มีคำวิจารณ์ว่าบุคคลที่ฉลาดที่สุดในสามก๊ก คือ ขงเบ้ง แต่บุคคลที่ทั้งฉลาดและน่ากลัวที่สุดในสามก๊ก คือ สุมาอี้[1]

สุมาอี้เริ่มต้นจากการรับราชการตำแหน่งเล็กก่อนที่จะไต่เต้าไปสู่ตำแหน่งเสนาธิการและแม่ทัพ อย่างไรก็ตาม ความสุขุมลุ่มลึกของสุมาอี้นั้น ทำให้แม้แต่โจโฉยังไม่ไว้วางใจ และเคยเตือนบุคคลรอบข้างให้ระวังสุมาอี้ เมื่อโจโฉและโจผีสิ้นลง โจยอยได้ขึ้นครองราชย์ สุมาอี้ได้รับตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ของวุยก๊ก โดยผลัดแพ้ผลัดชนะกับขงเบ้งอยู่หลายครั้ง ทั้งคู่ต่างเกรงขามฝีมือของกันและกัน สุมาอี้เกือบตายด้วยวงล้อมไฟของขงเบ้งครั้งนึง แต่รอดมาได้ด้วยฝน ขณะที่ขงเบ้งก็เกือบตายเมื่อพลาดท่าที่จุดยุทธศาสตร์เกเต๋ง แต่อาศัยการเล่นพิณบนกำแพงเมืองแล้วเปิดประตูเมือง ทำให้สุมาอี้ระแวงแล้วไม่กล้าบุก

ในการรบครั้งสุดท้ายระหว่างขงเบ้งกับสุมาอี้ ขงเบ้งต้องการเสร็จศึกโดยเร็วเพราะมีแม่ทัพเก่ง ๆ เยอะ แต่มีเสบียงน้อย ในขณะที่สุมาอี้นั้นมีเสบียงมากมาย ดังนั้นจึงไม่ยอมออกมารบ ขงเบ้งได้ส่งคนท้าทายสุมาอี้หลายต่อหลายครั้ง ถึงขนาดส่งเสื้อผ้าสตรีเยาะเย้ยแต่สุมาอี้ก็ไม่ยอมออกมา ดังคำที่สุมาอี้ทักไว้ แต่หลังจากขงเบ้งได้รู้ว่าตนกำลังจะสิ้นบุญจึงทำพีธีต่อชะตาเป็นเวลา 7 วันโดยไม่ให้กองทัพเคลื่อนไหว สุมาอี้ได้ตรวจดูชะตาบนดวงดาวพบว่ากำลังจะเกิดอะไรขึ้นกับขงเบ้งและเห็นว่ากองทัพจ๊กก๊กไม่ยอมออกมาจากค่ายจึงแน่ใจว่าขงเบ้งกำลังป่วยจึงฉวยโอกาสสั่งให้กองทัพบุกโจมตีค่ายของจ๊กก๊ก ทำให้อุยเอี๋ยนรีบเข้ามารายงานกับขงเบ้งทำให้เทียนต่อชะตาดับจนพิธีต่อชะตาของขงเบ้งต้องล่มไป แต่ขงเบ้งสั่งอุยเอี๋ยนนำกองทัพไปตีโต้กลับขับไล่กองทัพของสุมาอี้ไปจนถึงหน้าค่ายจนทำให้สุมาอี้คิดว่าขงเบ้งไม่ได้ป่วยจึงได้แต่อยู่ในค่ายและไม่ยอมให้ออกจากค่ายตามเดิม จนกระทั่งสุมาอี้ก็ได้รับรู้ข่าวว่าขงเบ้งล้มป่วยตายแล้วและกองทัพจ๊กก๊กได้ถอยทัพกลับเสฉวนจึงรีบนำกองทัพบุกไล่ตีตลบหลังกองทัพจ๊กก๊ก แต่สุมาอี้ได้เจอกับขงเบ้งที่นั่งบนรถนำกองทัพจ๊กก๊กมาตั้งรับจึงตกใจและคิดว่าได้ถูกเล่ห์กลของขงเบ้งหลอกให้ออกจากค่ายจึงรีบถอยทัพกลับค่ายทันที ต่อมาภายหลังก็ได้รับรู้จากชาวบ้านว่าขงเบ้งได้ตายแล้วจริง ๆ และที่สุมาอี้เห็นก็เป็นหุ่นกระบอกไม้ที่กองทัพจ๊กก๊กได้นำมาแต่งชุดและนั่งบนรถนำทัพมาตั้งรับ แล้วหลังจากกองทัพสุมาอี้ถอยทัพกลับค่ายไปแล้ว กองทัพจ๊กก๊กก็ได้ถอยทัพไปได้ไกลจนถึงเสฉวน สุมาอี้ก็ได้รู้ว่าขงเบ้งได้รู้ล่วงหน้าก่อนว่าตนจะนำกองทัพตีตลบหลังกองทัพจ๊กก๊กที่กำลังถอยทัพหลังจากตนได้ตาย จึงได้ใช้กลอุบายใช้หุ่นไม้หลอกสุมาอี้ให้ถอยทัพกลับค่าย จนต้องทำให้สุมาอี้ต้องเอ่ยปากชมว่า ขงเบ้งนั้นเก่งจริง ๆ ขนาดตอนเป็นยังหลอกได้ แม้แต่ตอนตายยังหลอกอีก แต่ถึงอย่างไรแม้จะถูกขงเบ้งหลอกแต่สุมาอี้ก็ได้รับชัยชนะอย่างแท้จริงและไม่มีใครที่จะมีความเก่งเทียบเท่าและขัดขวางทางความทะเยอทะยานอย่างสุมาอี้ได้อีกแล้ว

ในปลายรัชสมัยโจยอย สุมาอี้ได้รับการเลื่อนยศและบรรดาศักดิ์ มีอำนาจควบคุมทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน โจยอยนับถือเสมือนพระราชบิดา คนในตระกูลสุมารับราชการในชั้นสูงมากถึง 11 คน[1] เมื่อสิ้นโจยอย โจฮองขึ้นครองราชย์แทน สุมาอี้ถูกตระกูลโจถอดออกจากตำแหน่งไปอยู่บ้านเฉย ๆ เพราะไม่ไว้ใจในความซื่อสัตย์ของสุมาอี้ แม้สุมาอี้จะถูกปลดเป็นเวลานานถึง 10 ปีแล้วแต่ก็ยังคงฝึกการต่อสู้และมีบารมีในกองทัพอยู่ โจซองก็ยังไม่ไว้ใจสุมาอี้อยู่จึงส่งคนไปจับตาดูแต่สุมาอี้ได้แกล้งป่วยอาการทรุดหนักทำให้โจซองตายใจไม่หวาดระแวงอะไร แต่ท้ายที่สุดก็ทำการรัฐประหารในเมืองลกเอี๋ยง โค่นอำนาจที่คุมกองทัพของตระกูลโจ ที่นำโดยโจซอง บุตรชายของอดีตแม่ทัพใหญ่โจจิ๋น หมดสิ้น และเป็นตระกูลสุมาที่ได้ขึ้นมาครองอำนาจแทน

สุมาอี้มีบุตรชาย 2 คน ที่ล้วนแต่มีความสามารถมาก เพราะสุมาอี้มักสั่งสอนและให้ติดตามทำศึกอยู่เสมอ ๆ คือ สุมาสู และสุมาเจียว ภายหลังจากสิ้น 3 คนนี้แล้ว สุมาเอี๋ยน บุตรชายของสุมาเจียว หลานปู่ของสุมาอี้ได้รวบรวมแผ่นดินเป็นหนึ่งเดียว และขึ้นครองราชย์เป็นเสวียนตี้ฮ่องเต้ ปฐมจักรพรรดิของราชวงศ์จิ้น เป็นอันสิ้นสุดยุคสามก๊ก และ ราชวงศ์ฮั่นสุมาอี้เสียชีวิตเมื่ออายุ 73 ปีที่เมืองลกเอี๋ยง ด้วยโรคชรา

ครอบครัว[แก้]

  • พ่อแม่
  • ภรรยาและบุตรธิดา
    • จางชุนหัว (189-247)
      • สุมาสู (208-255) ลูกชายคนแรก
      • สุมาเจียว (211-265) ลูกชายคนที่สอง
      • Princess Nanyang (南陽公主) ลูกสาวคนแรก
        • แต่งงานกับ Xun Yi (荀霬) มีลูกชายสองคน
      • Sima Gan, Prince of Pingyuan (平原王 司馬幹; 232–311) ลูกชายคนที่หก
    • Lady Fu (伏夫人)
      • Sima Liang, Prince (Wencheng) of Ru'nan (汝南文成王 司馬亮; exec. 291) ลูกชายคนที่สาม
      • สุมาเตี้ยม (227-283) ลูกชายคนที่สี่
      • Sima Jing, Marquis of Qinghui (清惠侯 司馬京; 230–253) ลูกชายคนที่ห้า
      • Sima Jun, Prince (Wu) of Fufeng (扶風武王 司馬駿; 232–286) ลูกชายคนที่เจ็ด
    • Lady Zhang (張夫人)
      • Sima Rong, Prince (Xiao) of Liang (梁孝王 司馬肜; d. 302) ลูกชายคนที่แปด
    • Lady Bai (柏夫人)
    • ไม่ทราบ
      • Princess Gaolu (高陸公主) ลูกสาวคนที่สอง
  1. 1.0 1.1 หน้า 5, ชัยชนะของงูแมวเซา. "ชักธงรบ" โดย กิเลน ประลองเชิง. ไทยรัฐปีที่ 68 ฉบับที่ 21638: วันพุธที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2560 แรม 8 ค่ำ เดือน 5 ปีระกา

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]