โจอี้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โจอี้ (เฉา ซี)
曹羲
ผู้บัญชาทหารกลาง (中領軍 จงหลิ่งจวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 249
กษัตริย์โจฮอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
เสียชีวิต9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 249[a]
ลั่วหยาง มณฑลเหอหนาน
บุพการี
ความสัมพันธ์
อาชีพขุนนาง
ชื่อรองเจาชู (昭叔)
บรรดาศักดิ์อันเซียงโหว (安鄉侯)

โจอี้ (เสียชีวิตวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 249)[a] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า เฉา ซี (จีน: 曹羲; พินอิน: Cáo Xī) ชื่อรอง เจาชู[2] (จีน: 昭叔; พินอิน: Zhāoshū​) เป็นขุนนางของรัฐวุยก๊ก เป็นน้องชายของโจซองซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของรัฐวุยก๊ก

ประวัติ[แก้]

โจอี้เป็นบุตรชายคนรองของโจจิ๋นขุนพลคนสำคัญของรัฐวุยก๊ก โจอี้เป็นน้องชายของโจซอง เป็นพี่ชายของโจหุ้น (曹訓 เฉา ซฺวิ่น) และโจง่าน (曹彥 เฉา เยี่ยน)

ในรัชสมัยของจักรพรรดิโจฮอง โจซองกุมอำนาจในราชสำนักวุยก๊กในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โจซองตั้งให้โจอี้เป็นผู้บัญชาทหารกลาง (中領軍 จงหลิ่งจวิน)[3] และให้มีบรรดาศักดิ์เป็นอันเซียงโหว (安鄉侯)[4] โจซองเมื่อได้กุมอำนาจในราชสำนักก็หลงระเริงในอำนาจ เอาแต่จัดงานเลี้ยงและงานสัตว์หาความสำราญ โจอี้พยายามเตือนโจซองแต่โจซองไม่ฟัง[5]

ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 249[b] โจซองและน้องชายสองคนคือโจอี้และโจหุ้นออกจากนครหลวงลกเอี๋ยงตามเสด็จจักรพรรดิโจฮองไปสักการะบรรพชนที่สุสานโกเบงเหลง (高平陵 เกาผิงหลิง) โจอี้เตือนโจซองให้ระวังสถานการณ์ในลกเอี๋ยง แต่โจซองก็ยังคงไม่ฟัง ฝ่ายสุมาอี้ได้ฉวยโอกาสนี้ก่อการรัฐประหารในนครหลวงลกเอี๋ยง ฮวนห้อมแนะนำโจซองให้เข้ารบกับสุมาอี้ แต่โจซองไม่กล้าตัดสินใจยกพลไปรบ ฮวนห้อมยังเสนอเช่นเดียวกันนี้กับโจอี้ แต่โจอี้ก็ไม่ฟัง[7] ในที่สุดโจซองก็ตัดสินใจยอมจำนนและสละอำนาจในฐานะผู้สำเร็จราชการให้กับสุมาอี้หลังจากที่สุมาอี้ให้คำมั่นจะไว้ชีวิตโจซองและครอบครัว

ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 249[a] หลังสุมาอี้ได้อำนาจมาแล้วก็กลับผิดคำมั่นที่เคยให้กับโจซอง โดยให้จับกุมตัวโจซองและครอบครัวแล้วนำไปประหารชีวิตในข้อหากบฏ โจอี้ที่เป็นน้องชายของโจซองก็ถูกจับกุมมาประหารชีวิตเช่นกัน[8]

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 พระราชประวัติโจฮองในจดหมายเหตุสามก๊กบันทึกว่า โจซองกับผู้มีส่วนร่วม ได้แก่ เตงปิด, เตงเหยียง, โฮอั๋น, ปิดห้วน, หลีซิน และฮวนห้อม ถูกประหารชีวิตพร้อมกับครอบครัวในวันอู้ซฺวีของเดือน 1 ของศักราชเจียผิง ปีที่ 1 ในรัชสมัยของโจฮอง[1] ตรงกับวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 249 ตามปฏิทินกริกอเรียน
  2. วันเจี๋ยอู่ของเดือน 1 ในศักราชเจียผิงปีที่ 1 ตามพระราชประวัติโจฮองในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. ([嘉平元年春正月]戊戌,有司奏収黃門張當付廷尉,考實其辭,爽與謀不軌。又尚書丁謐、鄧颺、何晏、司隷校尉畢軌、荊州刺史李勝、大司農桓範皆與爽通姦謀,夷三族。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
  2. 通典引曹昭叔述孝詩敘曰:「余年三十,遷中領軍,總六軍之要,秉選舉之機。」即曹羲
  3. (爽弟羲為中領軍) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
  4. (安鄉侯者,曹羲。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 28.
  5. (羲深以爲大憂,數諫止之。又著書三篇,陳驕淫盈溢之致禍敗,辭旨甚切,不敢斥爽,託戒諸弟以示爽。爽知其爲己發也,甚不恱。羲或時以諫喻不納,涕泣而起。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
  6. (嘉平元年春正月甲午,車駕謁高平陵。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
  7. (範說爽使車駕幸許昌,招外兵。爽兄弟猶豫未決,範重謂羲曰:「當今日,卿門戶求貧賤復可得乎?且匹夫持質一人,尚欲望活,今卿與天子相隨,令於天下,誰敢不應者?」羲猶不能納。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
  8. (於是收爽、羲、訓、晏、颺、謐、軌、勝、範、當等,皆伏誅,夷三族。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.

บรรณานุกรม[แก้]