กงซุน หฺว่าง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กงซุน หฺว่าง
公孫晃
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
มณฑลเหลียวหนิง
เสียชีวิตค.ศ. 238 หรือหลังจากนั้น
นครลั่วหยาง มณฑลเหอหนาน
บุตรบุตรชายอย่างน้อย 1 คน
บุพการี
ความสัมพันธ์
อาชีพขุนนาง

กงซุน หฺว่าง (เสียชีวิต ค.ศ. 238 หรือหลังจากนั้น; จีนตัวย่อ: 公孙晃; จีนตัวเต็ม: 公孫晃; พินอิน: Gōngsūn Huǎng) เป็นบุคคลในรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน เป็นบุตรชายคนโตของกองซุนของ (公孫康 กงซุน คาง) และเป็นพี่ชายของกองซุนเอี๋ยน (กงซุน เยฺวียน)

ประวัติ[แก้]

กงซุน หฺว่างเป็นบุตรชายของกองซุนของ ขุนศึกผู้ปกครองเมืองเลียวตั๋ง (遼東郡 เหลียวตงจฺวิ้น) ในช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก กองซุนของกลายเป็นขุนนางผู้ปกครองรัฐประเทศราชของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊ก เมื่อกองซุนของเสียชีวิต กงซุน หฺว่างและกองซุนของที่เป็นบุตรชายของกองซุนของต่างก็ยังอายุน้อยเกินไปที่สืบทอดอำนาจจากกองซุนของ กองซุนก๋ง (公孫恭 กงซุน กง) น้องชายของกองซุนของจึงรับช่วงตำแหน่งเจ้าเมืองเลียวตั๋งแทน[1] กองซุนก๋งส่งกงซุน หฺว่างหลานชายไปยังลกเอี๋ยงนครหลวงของวุยก๊กเพื่อไปเป็นขุนนาง ตามระบบการแต่งตั้งบุตรขุนนางเป็นข้าราชสำนัก

ในปี ค.ศ. 228 กองซุนเอี๋ยนได้ยึดอำนาจจากกองซุนก๋งผู้อาและให้จับตัวกองซุนก๋งไปขังคุก เมื่อกงซุน หฺว่างทราบเรื่องที่เกิดขึ้นจึงแสดงความเห็นว่ากองซุนเอี๋ยนน้องชายจะต้องก่อกบฏต่อวุยก๊กเป็นแน่ และเสนอให้วุยก๊กยกทัพเข้าปราบ แต่ราชสำนักวุยก๊กเชื่อว่ากองซุนเอี๋ยนคงพอใจเพียงแค่การยึดอำนาจจากกองซุนก๋งเท่านั้น จึงไม่ปฏิบัติตามข้อเสนอของกงซุน หฺว่าง[2]

ในปี ค.ศ. 237 กองซุนเอี๋ยนก่อกบฏต่อวุยก๊ก กงซุน หฺว่างที่อยู่ในนครหลวงลกเอี๋ยงได้ถูกจับกุม แม้ว่ากงซุน หฺว่างหวังว่าตนจะได้การละเว้นโทษจากคำพูดของตนก่อนหน้านี้ที่เคยพูดถึงกองซุนเอี๋ยน แต่กงซุน หฺว่างก็ตระหนักเช่นกันว่าด้วยความสัมพันธ์ในฐานะพี่ชายของกองซุนเอี๋ยนก็จะทำให้ตนได้รับผลกระทบ[3]

ในปี ค.ศ. 238 สุมาอี้ขุนพลวุยก๊กนำทัพเข้ารบกับกองซุนเอี๋ยน กองซุนเอี๋ยนพ่ายแพ้และถูกสังหาร เมื่อศีรษะของกองซุนเอี๋ยนถูกส่งมายังนครหลวงลกเอี๋ยง กงซุน หฺว่างจึงตระหนักได้ว่าตนจะต้องตายเช่นกัน จึงร้องไห้พร้อมกับบุตรชายของตน โจยอยจักรพรรดิวุยก๊กก็ทรงมีพระดำริจะไว้ชีวิตของกงซุน หฺว่าง โกหยิวก็เห็นพ้องกับพระดำริของโจยอย แต่ขุนนางส่วนใหญ่เห็นว่าไม่ควรไว้ชีวิตกงซุน หฺว่าง ด้วยเหตุนี้กงซุน หฺว่างพร้อมครอบครัวทั้งหมดจึงถูกประหารชีวิตด้วยพิษสุราทองคำ (賜金屑 ชื่อจินเซี่ย) ได้รับการฝังศพอย่างสมเกียรติ[4][5]

พงศาวลี[แก้]

 
 
 
 
เจี้ยนอี้โหว (建义侯)
กงซุน เหยียน (公孙延)
(แต่งตั้งย้อนหลัง)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
หย่งหนิงเซียงโหว (永寧鄉侯)
กงซุน ตู้ (公孙度)
?-190-204
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
เซียงผิงโหว (襄平侯)
กองซุนของ (公孙康 กงซุน คาง)
?-204-?
 
ผิงกัวโหว (平郭侯)
กองซุนก๋ง (公孙恭 กงซุน กง)
?-?-228-?
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กงซุน หฺว่าง (公孙晃)
 
เอียนอ๋อง (燕王 เยียนหวาง)
กองซุนเอี๋ยน (公孙渊 กงซุน เยฺวียน)
?-228-238
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กองซุนสิว (公孙脩 กงซุน ซิว)
?-238

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. (康死,子晃、淵等皆小,眾立恭為遼東太守。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 8.
  2. (始淵兄晃為恭任子,在洛,聞淵劫奪恭位,謂淵終不可保,數自表聞,欲令國家討淵。帝以淵已秉權,故因而撫之。) อรรถาธิบายจากเว่ย์เลฺว่ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 8.
  3. (及淵叛,遂以國法系晃。晃雖有前言,冀不坐,然內以骨肉,知淵破則己從及。) อรรถาธิบายจากเว่ย์เลฺว่ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 8.
  4. (淵首到,晃自審必死,與其子相對啼哭。時上亦欲活之,而有司以為不可,遂殺之。) อรรถาธิบายจากเว่ย์เลฺว่ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 8.
  5. (初,公孫淵兄晃,為叔父恭任內侍,先淵未反,數陳其變。及淵謀逆,帝不忍巿斬,欲就獄殺之。柔上疏曰:「書稱『用罪伐厥死,用德彰厥善』,此王制之明典也。晃及妻子叛逆之類,誠應梟縣,勿使遺育。而臣竊聞晃先數自歸,陳淵禍萌,雖為凶族,原心可恕。夫仲尼亮司馬牛之憂,祁奚明叔向之過,在昔之美義也。臣以為晃信有言,宜貸其死;苟自無言,便當巿斬。今進不赦其命,退不彰其罪,閉著囹圄,使自引分,四方觀國,或疑此舉也。」帝不聽,竟遣使齎金屑飲晃及其妻子,賜以棺、衣,殯歛於宅。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.

บรรณานุกรม[แก้]