โลซก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โลซก
魯肅
ภาพวาดโลซก สมัยราชวงศ์ชิง
ขุนพลข้ามแม่น้ำ (橫江將軍)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 214 (214) – ค.ศ. 217 (217)
ฮั่นชางไท่โฉ่ว (漢昌太守)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
ขุนพลรอง (偏將軍)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
เฟิ่นอู่เซี่ยวเว่ย์
(奮武校尉)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 210 (210) – ค.ศ. ? (?)
ซ่านจฺวินเซี่ยวเว่ย์ (贊軍校尉)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 208 (208) – ค.ศ. 210 (210)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดค.ศ. 172[a]
เทศมณฑลติ้งยฺเหวี่ยน มณฑลอานฮุย
เสียชีวิตค.ศ. 217 (45 ปี)[a]
บุตรLu Shu
อาชีพขุนพล, ขุนนาง
ชื่อรองจื้อจิง (子敬)

โลซก (จีนตัวย่อ: 鲁肃; จีนตัวเต็ม: 魯肅; ค.ศ. 172–217)[a] ชื่อรอง จื้อจิง เป็นขุนพลและขุนนางชาวจีนที่รับใช้ขุนศึกซุนกวนในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกตอนปลาย[1] ปรากฏตัวครั้งแรกเมื่อซุนกวนส่งตัวไปเกงจิ๋วเพื่อคารวะศพเล่าเปียวที่เพิ่งเสียชีวิตไม่นาน ขณะนั้นเล่าปี่กำลังลำบากเนื่องจากหาเมืองอาศัยไม่ได้ เพราะถูกรุกรานอย่างหนักจากโจโฉ ขงเบ้งจึงว่านี่เป็นโอกาสดีที่จะได้ความช่วยเหลือจากซุนกวน โดยจะชักชวนซุนกวนให้ร่วมรบกับโจโฉ อันเป็นที่มาของศึกเซ็กเพ็กอันลือลั่น

ประวัติ[แก้]

โลซกเกิดในปี พ.ศ. 715 ในครอบครัวเศรษฐีทำการค้าขายที่อพยพลงมายังกังตั๋ง ได้รู้จักกับทางฝ่ายง่อก๊กเมื่อจิวยี่และซุนเซ็กต้องการตั้งตัว จิวยี่ได้ไปขอยืมเสบียงและทุนทรัพย์จากโลซก โลซกก็ยกให้มากกว่าที่จิวยี่คาดเสียอีก

โลซกเป็นคนซื่อสัตย์ บุคลิกเป็นคนตรงไปตรงมา ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม แต่ก็ถือได้ว่าเป็นคนมีปัญญาและได้ขึ้นเป็นแม่ทัพใหญ่หลังจากจิวยี่ เมื่อขงเบ้งมาเป็นที่ปรึกษาให้กับง่อก๊กในศึกเซ็กเพ็ก จิวยี่ได้แย้มกรายให้โลซกรู้ว่า ตนต้องการกำจัดขงเบ้งเสียขณะนี้เพื่อไม่ให้เป็นศัตรูที่ยากต่อการต่อมาในภายหลัง โลซกตกใจและได้ห้ามปรามจิวยี่หลายครั้ง แต่โลซกก็ไม่เคยบอกแก่ขงเบ้งตรง ๆ เลยว่าจิวยี่ต้องการฆ่าขงเบ้ง ซ้ำโลซกยังได้ให้การช่วยเหลือขงเบ้งหลายต่อหลายครั้งระหว่างที่อยู่กังตั๋ง จนขงเบ้งตอนหนีกลับได้ขอบคุณโลซกที่ได้ช่วยเหลือหลายครั้ง

ครั้งหนึ่ง เมื่อจิวยี่ไปเยี่ยมโลซกถึงบ้านพัก เห็นสภาพบ้านพักทรุดโทรมทั้งที่เป็นขุนนางใหญ่ เมื่อจิวยี่มาถึง โลซกไม่มีทรัพย์สินเงินทองใด ๆ ที่จะเลี้ยงรับรองจิวยี่ โลซกให้คนรับใช้นำเสื้อคลุมของตนไปขายเพื่อซื้อสุรามาเลี้ยงจิวยี่[2]

เมื่อจิวยี่เสียชีวิตไปแล้ว โลซกได้ขึ้นเป็นแม่ทัพใหญ่แทน เมื่อขงเบ้งที่เสมือนเป็นคู่ปรับจิวยี่ และเป็นเหตุให้จิวยี่ต้องกระอักเลือดตาย ได้มาคารวะศพจิวยี่ ขงเบ้งได้ร้องไห้คร่ำครวญเสียใจต่อการตายของจิวยี่ จนขุนศึกหลายคนที่คิดจะล้างแค้นให้จิวยี่ ต้องเปลี่ยนใจไปตาม ๆ กันเพราะเชื่อว่า ขงเบ้งเสียใจจริง ๆ แม้แต่โลซกเองก็ยังคิดว่า ขงเบ้งจริงใจต่อจิวยี่ แต่จิวยี่เองที่ใจแคบ คิดร้ายต่อขงเบ้ง ก่อนจิวยี่ตาย โลซกมักเป็นบุคคลที่จิวยี่ใช้ให้ไปทวงถามเรื่องการคืนเมืองเกงจิ๋วของเล่าปี่ตามที่เคยได้ให้สัญญากันไว้ แต่ก็ไม่สำเร็จสักครั้งเดียว เนื่องจากความเป็นคนซื่อของโลซกนี่เอง ซ้ำโลซกยังต้องกลายมาเป็นผู้ลงชื่อรับประกันสัญญาเองเสียด้วย จิวยี่ถึงกับออกปากว่า ท่านนี่ซื่อจริง ๆ หลงกลขงเบ้งกับเล่าปี่แล้วโดยไม่รู้ตัว แต่โลซกกลับไม่คิดเช่นนั้น

โลซกมีบทบาทอีกครั้ง ตอนที่เล่าปี่เดินทัพสู่เสฉวนเพื่อหาทางยึดเป็นที่มั่นให้ได้ และเมืองเกงจิ๋วที่เคยเป็นของซุนกวน ก็ยกให้กวนอูรักษา โลซกวางแผนให้กวนอูข้ามฟากมายังง่อก๊ก เพื่อกินเลี้ยงแล้วใช้โอกาสนี้สังหารกวนอูเสีย แต่กวนอูรู้ทัน และด้วยความห้าวหาญของกวนอู ทำให้ทหารของโลซกไม่อาจกล้าทำตามแผนได้ และกวนอูก็เดินทางกลับมาอย่างปลอดภัย หลังจากนั้นไม่นาน โลซกก็ได้ล่มป่วยและเสียชีวิตโดยผู้ที่มาแทนที่เขาในตำแหน่งแม่ทัพใหญ่นั่นก็คือลกซุนซึ่งจะมีบทบาทในศึกอิเหลง[3]

คำว่า “โลซก” เคยได้นำมาเป็นคำสแลงในยุคสมัยหนึ่ง โดยเป็นการเปรียบเปรยหมายถึงคนที่ซื่อมากๆ[4]

กรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตซุน-เล่า[แก้]

เสียชีวิต[แก้]

โลซกเสียชีวิตตอนอายุ 46 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก) ใน ค.ศ. 217 ซุนกวนร่ำไห้ต่อการเสียชีวิตของเขาและเข้าร่วมพิธีศพ จูกัดเหลียงก็จัดพิธีศพแก่เขาด้วย[Sanguozhi 2]

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 ชีวประวัติของโลซกใน จดหมายเหตุสามก๊ก บันทึกว่า เขาเสียชีวิตตอนอายุ 46 ปี (ตามการนับแบบเอเชียตะวันออก) ในปีที่ 22 ของศักราช Jian'an ในรัชสมัยพระเจ้าเหี้ยนเต้[Sanguozhi 1] เมื่อคำนวณแล้ว ปีเกิดของโลซกควรเป็น ค.ศ. 172

อ้างอิง[แก้]

อ้างอิงจาก Sanguozhi
  1. (肅年四十六,建安二十二年卒。) Sanguozhi vol. 54.
  2. (肅年四十六,建安二十二年卒。權為舉哀,又臨其葬。諸葛亮亦為發哀。) Sanguozhi vol. 54.
อ้างอิงจาก Sanguozhi zhu
อ้างอิงอื่น ๆ
  1. de Crespigny (2007), p. 620.
  2. Ectsomchai (2017-03-24). "พลิกมุมคิดสามก๊ก ตอนที่ 14 ขายเสื้อ เพื่อเลี้ยงเหล้า". สตอรีบลอก. สืบค้นเมื่อ 2017-05-09.
  3. "โลซก กับ ชูชก". พันทิปดอตคอม.[ลิงก์เสีย]
  4. Wittaya, Samkok (2012-10-21). "ไอ้โลซก !". สามก๊กวิทยา. สืบค้นเมื่อ 2017-05-09.