ซินเป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซินเป (ซิน ฉ่าง)
辛敞
เสนาบดีกรมรักษาราชวัง (衛尉 เว่ย์เว่ย์)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
เจ้าเมืองโห้ลาย (河內太守 เหอเน่ย์ไท่โฉ่ว)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 264 หรือ 265 (264 หรือ 265) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์โจฮวน
เสนาธิการทัพ (參軍 ชานจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์โจฮอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดก่อน ค.ศ. 191
นครยฺหวี่โจว มณฑลเหอหนาน
เสียชีวิตไม่ทราบ
บุพการี
ญาติซินเหียนเอ๋ง (พี่สาว)
อาชีพขุนนาง
ชื่อรองไท่ยง (泰雍)
บรรดาศักดิ์อิ่งเซียงโหว (潁鄉侯)

ซินเป มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า ซิน ฉ่าง (จีน: 辛敞; พินอิน: Xīn Chǎng) ชื่อรอง ไท่ยง (จีน: 泰雍; พินอิน: Tàiyōng) เป็นขุนนางของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน เป็นบุตรชายของซินผีและเป็นน้องชายของซินเหียนเอ๋ง

ภูมิหลังครอบครัวและประวัติช่วงต้น[แก้]

บ้านเกิดของซินเปคือในอำเภอหยางจ๋าย (陽翟縣 หยางจ๋ายเซี่ยน) เมืองเองฉวน (潁川郡 อิ่งชฺวานจฺวิ้น) ซึ่งอยู่บริเวณนครยฺหวี่โจว มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน[1] บรรพบุรุษของซินเปแท้จริงแล้วมาจากเมืองหลงเส (隴西郡 หล่งซีจฺวิ้น; อยู่บริเวณนครติ้งซี มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) แต่ย้านถิ่นฐานมายังเมืองเองฉวนในช่วงศักราชเจี้ยนอู่ (建武; ค.ศ. 25–56) ในรัชสมัยจักรพรรดิฮั่นกองบู๊ช่วงต้นยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก[2]

บิดาของซินเปคือซินผี ผู้รับราชการเป็นขุนนางของขุนศึกโจโฉผู้กุมอำนาจราชสำนักส่วนกลางและคุมองค์พระเจ้าเหี้ยนเต้จักรพรรดิหุ่นเชิดในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก หลังราชวงศ์ฮั่นตะวันออกล่มสลาย ซินผีได้รับราชการต่อมากับรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กและมีตำแหน่งสูงสุดเป็นเสนาบดีกรมรักษาราชวัง (衛尉 เว่ย์เว่ย์) ซินเปมีพี่สาวชื่อซินเหียนเอ๋ง ผู้แต่งงานกับหยาง ตาน (羊耽) เสนาบดีกรมพิธีการ (太常 ไท่ฉาง)[3]

ซินเปสืบทอดบรรดาศักดิ์อิ่งเซียงโหว (潁鄉侯) ของซินผีผู้บิดาหลังซินผีเสียชีวิตเมื่อราวปี ค.ศ. 235[a]

ต้นรัชสมัยจักรพรรดิโจฮอง (ครองราชย์ ค.ศ. 239-254) ช่วงที่โจซองเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซินเปรับราชการเป็นเสนาธิการทัพ (參軍 ชานจฺวิน) ของโจซอง และพำนักในนครหลวงลกเอี๋ยง[5]

การก่อรัฐประหารของสุมาอี้[แก้]

ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 249[b] สุมาอี้ก่อการรัฐประหารยึดอำนาจโจซองในนครลกเอี๋ยง เวลานั้นโจซองตามเสด็จจักรพรรดิโจฮองออกจากลกเอี๋ยงไปสุสานโกเบงเหลง (高平陵 เกาผิงหลิง) ส่วนซินเปอยู่ในลกเอี๋ยง สุมาเล่าจี๋ผู้เป็นนายกองพันหรือสุมา (司馬 ซือหม่า) ได้นำกำลังทหารของโจซองที่อยู่ในลกเอี๋ยงเข้าสังหารทหารเฝ้าประตูเพื่อหนีจากลกเอี๋ยง สุมาเล่าจี๋ยังเรียกซินไปให้ไปพบโจซองด้วยกันกับตน[7] ซินเปหวาดกลัวสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่รู้จะทำอย่างไร จึงไปปรึกษากับซินเหียนเอ๋งผู้เป็นพี่สาว[8] ซินเหียนเอ๋งเชื่อว่าสุมาอี้ไม่ได้ตั้งใจจะก่อกบฏ เพียงแต่ต้องการโค่นล่มโจซองผู้เป็นเผด็จการเท่านั้น แต่ซินเหียนเอ๋งก็ยังแนะนำซินเปให้ยังปฏิบัติตามหน้าที่ของตนให้ดีเพราะซินเปมีฐานะเป็นเสนาธิการทัพของโจซอง ซินเปฟังคำแนะนำของพี่สาวแล้วจึงติดตามสุมาเล่าจี๋ออกทางประตูนครลกเอี๋ยงไป[9] ต่อมาเมื่อสุมาอี้สั่งประหารชีวิตโจซองและละเว้นโทษให้ซินเป ซินเปจึงพูดว่า "ถ้าเราไม่ปรึกษาพี่สาวเสียก่อน ก็คงทำสิ่งที่ไม่ชอบธรรมไปแล้ว"[10]

การรับราชการในภายหลัง[แก้]

ในช่วงศักราชเสียนซี (ค.ศ. 264-265) ซินเปมีตำแหน่งเป็นเจ้าเมือง (太守 ไท่โฉ่ว) ของเมืองโห้ลาย (河內 เหอเน่ย์)[11] ท้ายที่สุดได้ขึ้นมามีตำแหน่งสูงสุดที่ตำแหน่งเสนาบดีกรมรักษาราชวัง (衛尉 เว่ย์เว่ย์)[12]

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. วันที่ซินผีเสียชีวิตไม่มีบันทึกในจดหมายเหตุสามก๊ก เรฟ เดอ เครสพิกนี นักจีนวิทยาชาวออสเตรเลียเขียนว่าซินผีเสียชีวิต "ราวปี ค.ศ. 235"[4]
  2. วันเจี๋ยอู่ (甲午) ของเดือน 1 ในศักราชเจียผิงปีที่ 1 ตามพระราชประวัติโจฮองในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. (辛毗字佐治,潁川陽翟人也。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 25.
  2. (其先建武中,自隴西東遷。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 25.
  3. (其先建武中,自隴西東遷。) อรรถาธิบายจากชื่อ-ยฺหวี่ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 25.
  4. de Crespigny (2007), pp. 896–897.
  5. (弟敞爲大將軍曹爽參軍。) อรรถาธิบายจากชื่อ-ยฺหวี่ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 25.
  6. (嘉平元年春正月甲午,車駕謁高平陵。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
  7. (司馬宣王將誅爽,因爽出,閉城門。大將軍司馬魯芝將爽府兵,犯門斬關,出城門赴爽,來呼敞俱去。) อรรถาธิบายจากชื่อ-ยฺหวี่ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 25.
  8. (敞懼,問憲英曰:『天子在外,太傅閉城門,人云將不利國家,於事可得爾乎?』) อรรถาธิบายจากชื่อ-ยฺหวี่ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 25.
  9. (憲英曰:『天下有不可知,然以吾度之,太傅殆不得不爾!明皇帝臨崩,把太傅臂,以後事付之,此言猶在朝士之耳。且曹爽與太傅俱受寄託之任,而獨專權勢,行以驕奢,於王室不忠,於人道不直,此舉不過以誅曹爽耳。』敞曰:『然則事就乎?』憲英曰:『得無殆就!爽之才非太傅之偶也。』敞曰:『然則敞可以無出乎?』憲英曰:『安可以不出。職守,人之大義也。凡人在難,猶或卹之;爲人執鞭而棄其事,不祥,不可也。且爲人死,爲人任,親昵之職也,從衆而已。』敞遂出。) อรรถาธิบายจากชื่อ-ยฺหวี่ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 25.
  10. (宣王果誅爽。事定之後,敞歎曰:『吾不謀於姊,幾不獲於義。』) อรรถาธิบายจากชื่อ-ยฺหวี่ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 25.
  11. (子敞嗣,咸熈中爲河內太守。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 25.
  12. (敞字泰雍,官至衞尉。) อรรถาธิบายจากชื่อ-ยฺหวี่ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 25.

บรรณานุกรม[แก้]

  • ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อ).
  • เผย์ ซงจือ (ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อจู้).
  • ฝาน เสฺวียนหลิง (648). พงศาวดารราชวงศ์จิ้น (จิ้นชู).
  • ซือหม่า กวาง (1084). จือจื้อทงเจี้ยน.
  • de Crespigny, Rafe (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23-220 AD. Leiden: Brill. ISBN 9789004156050.