เปาสิ้น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เปาสิ้น
鮑信
เปาสิ้นจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI
เสนาบดีรัฐแห่งรัฐเจปัก (濟北相)
ดำรงตำแหน่ง
191–192
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
ขุนพลปราบคนเถื่อน
(破虜將軍)
(รักษาการ)
ดำรงตำแหน่ง
190–191
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
นายร้อยทหารม้า (騎都尉)
ดำรงตำแหน่ง
?–189
กษัตริย์จักรพรรดิฮั่นหลิง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดค.ศ. 152[1]
ซินไท่ มณฑลชานตง
เสียชีวิตค.ศ. 192 (40 ปี)[1]
เทศมณฑลตงผิง มณฑลชานตง
บุตร
บุพการี
  • Bao Dan (บิดา)
ญาติเปาต๋ง (น้องชาย)
อาชีพขุนพล ขุนนาง ขุนศึก

เปาสิ้น (อังกฤษ: Bao Xin; จีนตัวย่อ: 鲍信; จีนตัวเต็ม: 鮑信) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นขุนพล ขุนนาง และขุนศึกชาวจีน ที่มีชีวิตอยู่ในปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก[1] มีน้องชายชื่อเปาต๋ง เมื่อครั้งตั๋งโต๊ะเริ่มเข้ามามีอำนาจในเมืองหลวง เปาสิ้นคิดอ่านเห็นว่า หากนานไปตั๋งโต๊ะต้องคิดเหิมเกริมเป็นแน่แท้ จึงปรึกษาอ้วนเสี้ยวเพื่อหาทางกำจัดตั๋งโต๊ะ แต่อ้วนเสี้ยวยังมิเห็นด้วย อ้วนเสี้ยวว่าแผ่นดินเพิ่งสงบ ยังมิควรก่อการใดๆให้วุ่นวายอีก เปาสิ้นจึงไปปรึกษาอ้องอุ้น แต่อ้องอุ้นก็คิดอ่านเช่นเดียวกันกับอ้วนเสี้ยว อ้องอุ้นว่าจะทำการใดต้องคิดตรองดูให้ดีก่อน เปาสิ้นน้อยใจ พาพรรคพวกออกไปอยู่ป่า ภายหลังครั้งรวบรวมกองกำลังพันธมิตรปราบตั๋งโต๊ะ เปาสิ้นก็ได้นำทัพมาร่วมด้วย ครั้งนั้นเปาสิ้นสั่งให้เปาต๋งนำทหารม้า 5,000 นายบุกตีด่านกิสุยก๋วน แต่แตกพ่ายแก่ทัพของฮัวหยง เปาต๋งเสียชีวิตในการรบ ภายหลังเปาสิ้นเข้าเป็นขุนพลใต้สังกัดของแฮหัวตุ้น ปีหนึ่งโจรโพกผ้าเหลืองอาละวาดหนักในหลายพื้นที่ โจโฉส่งทัพไปปราบปรามโจรโพกผ้าเหลือง เปาสิ้นก็เข้าร่วมการรบด้วย แต่เสียชีวิตในการรบ

ครอบครัว[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  • ตันซิ่ว (คริสต์ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซันกั๋วจื้อ).
  • de Crespigny, Rafe (1996). To Establish Peace: being the Chronicle of the Later Han dynasty for the years 189 to 220 AD as recorded in Chapters 59 to 69 of the Zizhi tongjian of Sima Guang. Vol. 1. Canberra: Faculty of Asian Studies, The Australian National University. ISBN 0-7315-2526-4.
  • de Crespigny, Rafe (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23-220 AD. Leiden: Brill. ISBN 9789004156050.
  • เผย์ ซงจือ (คริสต์ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก (ซันกั๋วจื้อจู้).