เต๊งหงวน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ติง หยวน (มาตรฐาน)
เต๊งหงวน (ฮกเกี้ยน)
丁原
ภาพวาดตัวละครของเต๊งหงวนในสมัยราชวงศ์ชิง
ผู้ว่าการราชธานีผู้ถือคฑาทองคำ(執金吾)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 189
กษัตริย์จักรพรรดิฮั่นเซ่าตี้
ผู้ตรวจราชการมณฑลเป๊งจิ๋ว (并州刺史)
ดำรงตำแหน่ง
?–ค.ศ. 189
กษัตริย์จักรพรรดิฮั่นหลิง /
จักรพรรดิฮั่นเซ่าตี้
Commandant of Martial Ferocity
(武猛都尉)
ดำรงตำแหน่ง
?–ค.ศ. 189
กษัตริย์จักรพรรดิฮั่นหลิง /
จักรพรรดิฮั่นเซ่าตี้
Cavalry Commandant (騎都尉)
ดำรงตำแหน่ง
?–ค.ศ. 189
กษัตริย์จักรพรรดิฮั่นหลิง /
จักรพรรดิฮั่นเซ่าตี้
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ระบุ
เสียชีวิตค.ศ. 189[1]
อาชีพนักการเมือง, ขุนศึก
ชื่อรองเจี้ยนหยาง (建陽)


เต๊งหงวน หรือ ติงหยวน (อังกฤษ: Ding Yuan; จีน: 丁原; พินอิน: Dīng Yuán; เวด-ไจลส์: Ting Yuan)(ถึงแก่กรรม 26 กันยายน ค.ศ. 189) ชื่อรองว่า เจี้ยนหยาง เป็นนักการเมืองและขุนศึกชาวจีนที่มีชีวิตอยู่ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของจีน ใน ค.ศ. 189 ทั้งเขาและตั๋งโต๊ะได้ถูกเรียกตัวให้เข้าสู่เมืองราชธานีลกเอี๊ยงมาพร้อมกับกองทัพทหารส่วนตัวแต่ละคนเพื่อช่วยเหลือในการโค่นล้มอำนาจของสิบขันที อย่างไรก็ตาม เต๊งหงวนถูกสังหารในที่สุดโดย ลิโป้ ลูกน้องที่เขาไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งถูกตั๋งโต๊ะซื้อตัวไว้แล้ว

ชีวประวัติ[แก้]

จากบันทึกวีรบุรุษหรืออิงเสียงจี้(英雄記) ของอองซัน(หวังช้าน) เต็งหงวนเกิดในตระกูลยากจน มีความกล้าหาญและขี่ม้าเก่งยิงเกาทัณฑ์แม่น ในช่วงแรกของการเข้ารับราชการเป็นนายอำเภอ(ลิ่ง-令) จึงมีความรับผิดชอบสูง ไม่เคยละเลยหน้าที่ ไม่ว่าจะต้องเผชิญความเสี่ยงแค่ไหนในการเผชิญหน้ากับอาชญากรและโจรป่าก็จะออกนำหน้าเสมอ ในที่สุดเขาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจราชการมณฑลเป๊งจิ๋ว (并州; มณฑลฉ่านซีในปัจจุบัน) เมื่อเขาได้พบกับลิโป้ ความสามารถด้านการรบของนักรบหนุ่มนั้นได้สร้างความประทับใจให้กับเต็งหงวนอย่างมาก จึงแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าทหารคนสนิทและรับเป็นบุตรบุญธรรมของตนซึ่งลิโป้ได้ทำหน้าที่อารักขาเต็งหงวนอย่างใกล้ชิด

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 189 จักรพรรดิฮั่นหลิงสวรรคต แม่ทัพใหญ๋โฮจิ๋นได้เรียกเต๊งหงวนให้เข้ามาในเมืองราชธานีลกเอี๊ยงพร้อมกับกองทัพประจำแคว้นของเขาเพื่อช่วยเหลือในการโค่นล้มอำนาจของสิบขันที อย่างไรก็ตาม ก่อนที่เต๊งหงวนจะมาถึง สิบขันทีได้ลอบสังหารโฮจิ๋นเสียแล้ว ตั๋งโต๊ะ ขุนศึกจากแคว้นเหลียงจิ๋ว (涼州; ตะวันตกของมณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) ซึ่งถูกโฮจิ๋นเรียกตัวมาเช่นกัน มาถึงลกเอี๊ยงก่อนเต๊งหงวนและกำจัดสิบขันจนสิ้นซาก เข้าควบคุมกองกำลังทหารในเมืองหลวง

ภายหลังจากที่เต๊งหงวนเดินทางมาถึง ตั๋งโต๊ะสามารถซื้อตัวลิโป้ให้กลายเป็นลูกน้องของตนได้สำเร็จ ลิโป้ได้สังหารเต๊งหงวนและมอบศีรษะที่ถูกตัดมามอบให้แก่ตั๋งโต๊ะในที่สุด

ในวรรณกรรมสามก๊ก[แก้]

ภาพวาดประกอบในสมัยราชวงศ์ชิง ฉากลิโป้สังหารเต๊งหงวน

ในวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่ 14 เรื่องสามก๊ก เป็นเรื่องแต่งเกินจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนและช่วงยุคสมัยสามก๊ก ในบทที่ 3 เต๊งหงวนกลายเป็นศัตรูของตั๋งโต๊ะ ภายหลังจากที่เขาออกมาคัดค้านแผนการของตั๋งโต๊ะที่จะทำการปลดจักรพรรดิฮั่นเซ่าตี้ลงจากราชบังลังก์ และอัญเชิญตันหลิวอ๋องหองจูเหียบให้ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิเซี่ยนตี้ อย่างไรก็ตาม ตั๋งโต๊ะไม่สามารถสังหารเต๊งหงวนได้เพราะมีลิโป้ บุตรบุญธรรมของเต๊งหงวนซึ่งเป็นนักรบที่น่าเกรงขามคอยอารักขาปกป้องเขาอยู่

ลิซก ข้าราชการในสังกัดตั๋งโต๊ะซึ่งมาจากเมืองเดียวกันกับลิโป้ ได้อาสาที่จะเกลี้ยกล่อมลิโป้ให้แปรพักตร์เข้ากับฝ่ายตั๋งโต๊ะ เขาได้นำม้าเซ็กเธาว์ซึ่งเป็นยอดอาชาที่มีชื่อเสียงเลี่ยงลือและของขวัญอันล้ำค่าอื่น ๆ มาด้วย เขาได้เข้าพบกับลิโป้ที่ค่ายนอกเมือง ลิโป้ถูกดึงดูดใจด้วยของขวัญอันล้ำค่าและถูกลิซกโน้มน้าวใจ ลิโป้จึงตัดสินใจที่จะทรยศหักหลังบิดาบุญธรรมและแปรพักตร์ไปเข้ากับฝ่ายตั๋งโต๊ะ คืนนั้น ลิโป้ได้บุกเข้าไปสังหารเต๊งหงวนในเต๊นท์ที่พักของเขาพร้อมกับตัดศีรษะของเขา แล้วนำศีรษะที่ถูกตัดมาเป็นของบรรณาการมอบให้แก่ตั๋งโต๊ะในวันรุ่งขึ้น

รูปเต๊งหงวนจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI

อ้างอิง[แก้]

  1. de Crespigny (2007), p. 144.

ดูเพิ่ม[แก้]