เล่าฮอง
เล่าฮอง | |
---|---|
劉封 | |
ขุนพลรอง (副軍將軍) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 219 – ค.ศ. 220 | |
กษัตริย์ | เล่าปี่ (ฮันต๋งอ๋อง) / พระเจ้าเหี้ยนเต้ |
ฟู่จฺวินจงหลางเจียง (副軍中郎將) (ภายใต้เล่าปี่) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 214 – ค.ศ. 219 | |
กษัตริย์ | พระเจ้าเหี้ยนเต้ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไม่ทราบ |
เสียชีวิต | ค.ศ. 220 |
บุตร | Liu Lin |
ความสัมพันธ์ | เล่าปี่ (บิดาบุญธรรม) |
อาชีพ | ขุนพล |
เล่าฮอง หรือในภาษาจีนกลางว่า หลิว เฟิง (เสียชีวิต ค.ศ. 220) เป็นบุตรบุญธรรมของขุนศึกเล่าปี่ที่มีชีวิตอยู่ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออกและสถาปนาจ๊กก๊กในยุคสามก๊กของจีน เขาสืบเชื้อสายไปยังโหวที่มีชื่อตระกูลว่า "โค่ว" (寇) เขายังมีความเกี่ยวข้องกับราชวงศ์หลิว (ราชวงศ์ในราชวงศ์ฮั่นที่เล่าปี่เป็นผู้สืบทอด) แม้ว่าจะไม่ไปตามสายตรง เขารับใช้เป็นขุนพลในกองทัพของบิดาบุญธรรม[1]
ประวัติ
[แก้]เล่าฮองเดิมชื่อเค้าฮอง หลานเล่าปิด ลูกของเค้าล่อ ต่อมาเล่าปี่รับเป็นบุตรบุญธรรม หลังจากที่เล่าปี่ปราบกบฏเตียวบูกับตันสูน ตามคำขอของเล่าเปียวได้แล้ว จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นเล่าฮอง กวนอูไม่ค่อยพอใจนักกับการที่เล่าปี่รับเล่าฮอง มาเป็นลูกบุญธรรม กวนอูกล่าวกับเล่าปี่ว่า"บุตรท่านก็มีอยู่ เหตุไฉนจึงจะเอาผู้อื่นมาเป็นเนื้อ เหมือนหนึ่งเลี้ยงลูกปูลูกหอย นานไปจะได้รับความเดือดร้อน" เล่าปี่จึงว่า "ถึงผู้อื่นนอกเนื้อก็จริง แต่เรารักใคร่เสมอบุตร ได้เอามาเลี้ยงไว้ก็จะมีกตัญญูรักใคร่ เห็นจะไม่คิดร้ายต่อเรา" กวนอูได้ฟังดังนั้นก็ขัดใจนิ่งอยู่มิได้ตอบประการใด และเมื่อเล่าปี่ตีเอาเมืองซงหยงได้ เล่าปี่จึงให้เล่าฮองปกครองเมืองซงหยงอยู่กับเบ้งตัด อดีตขุนนางในของเล่าเจี้ยงที่เล่าปี่ไปยึดเมืองมา
เมื่อครั้งเกงจิ๋วถูกซุนกวนยึดในปี พ.ศ. 762 ด้วยแผนของลิบอง ซึ่งขณะเดียวกันกวนอูกำลังเข้าตาจนอยู่ที่เมืองเป๊กเสีย จึงสั่งให้เลียวฮัวไปขอความช่วยเหลือจากเล่าฮองและเบ้งตัด แต่ได้รับการปฏิเสธจาก ทั้งคู่เนื่องจากเบ้งตัดยุยง ให้เล่าฮองไม่ส่งกองทัพไปช่วย ด้วยการกล่าวทำนองว่า "ท่านคิดถึงกวนอูเป็นอา กลัวแต่ว่ากวนอูจะหาคิดว่าท่านเป็นหลานไม่ เมื่อก่อนพระเจ้าเล่าปี่เอาท่านมาเป็นบุตรเลี้ยง กวนอูมีความริษยา หาความสบายใจไม่ ครั้นเล่าปี่ได้เป็นฮันต๋งอ๋อง ได้ปรึกษาขงเบ้งว่า เราจะตั้งเล่าฮองบุตรเลี้ยงของเราให้เป็นเจ้า ต่างกรมดีหรือไม่ ขงเบ้งจึงขอให้เล่าปี่ไปปรึกษากวนอูกับเตียวหุย กวนอูทราบเรื่องก็ตอบว่าเล่าฮองนี้เป็นคนเขลา โง่เง่าหาชาติตระกูลมิได้" แล้วก็พูดด้วยถ้อยความแทงใจดำต่าง ๆ นา ๆ เล่าฮองเห็นด้วยกับความคิดเบ้งตัดจึง ไม่ส่งทหารไปช่วย กวนอูจึงจบชีวิตลงหลังจากตีฝ่าทหารซุนกวนไม่สำเร็จในปีเดียวกัน
ต่อมาเบ้งตัดสวามิภักดิ์ต่อวุยก๊ก (ขณะนั้นอยู่ในความปกครองของโจผี) เพราะทราบว่าเล่าปี่จะส่งทหารไปลอบสังหารเบ้งตัดเนื่องจากมีส่วนทำให้กวนอูสิ้นชีวิต พระเจ้าเล่าปี่โกรธมากจึงให้เล่าฮองยกทัพปราบเบ้งต้ด แต่รบแพ้กลับมา จึงถูกเล่าปี่ สั่งประหารชีวิต ในปี พ.ศ. 763 เมื่ออายุได้ 28 ปี
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ de Crespigny (2007), p. 504.
- ตันซิ่ว (คริสต์ศตวรรษที่ 3). สามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ).
- de Crespigny, Rafe (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23-220 AD. Leiden: Brill. ISBN 9789004156050.
- ล่อกวนตง (คริสต์ศตวรรษที่ 14). สามก๊ก (ซานกั๋วเหยี่ยนอี้).
- เผย์ ซงจือ (คริสต์ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายสามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อจู้).