กองซุนก๋ง
กองซุนก๋ง | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เจ้าเมืองแห่งเลียวตั๋ง | |||||||||||||||
เกิด | ไม่ปรากฏ | ||||||||||||||
ถึงแก่กรรม | ไม่ปรากฏ | ||||||||||||||
ผู้ดำรงตำแหน่งคนก่อนหน้า | กองซุนของ | ||||||||||||||
ผู้ดำรงตำแหน่งคนถัดไป | กองซุนเอี๋ยน | ||||||||||||||
บิดา | กองซุนตู้ | ||||||||||||||
บิดา | กองซุนตู้ | ||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 公孫恭 | ||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 公孙恭 | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
ยุคในประวัติศาสตร์ | ยุคสามก๊ก |
กองซุนก๋ง มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่ากงซุนกง (จีนตัวย่อ: 公孙恭; จีนตัวเต็ม: 公孫恭; พินอิน: Gōngsūn Gōng; เวด-ไจลส์: Kungsun Kung) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก[1]เป็นบุตรชายของกองซุนตู้เจ้าเมืองเลียวตั๋ง และเป็นน้องชายของกองซุนของซึ่งต่อมาสืบทอดตำแหน่งเจ้าเมืองเลียวตั๋งต่อจากกองซุนตู้
ประวัติ[แก้]
เมื่ออ้วนซงและอ้วนฮีรบแพ้โจโฉจนต้องหนีไปอาศัยกองซุนของที่เลียวตั๋ง กองซุนของทราบเรื่องที่อ้วนซงและอ้วนฮีมาขออาศัยจึงปรึกษากับขุนนางกับทหาร กองซุนก๋งได้พูดกับกองซุนของว่า "ครั้งอ้วนเสี้ยวเมื่อยังไม่ตายนั้น ข้าพเจ้าแจ้งกิตติศัพท์ว่า อ้วนเสี้ยวจะยกมาทำอันตรายเมืองเราเนืองๆ อยู่ บัดนี้อ้วนฮีอ้วนซงเสียเมืองหนีมา ซึ่งเราจะให้อยู่อาศัยนั้นไม่ได้ ด้วยน้ำใจอ้วนฮีอ้วนซงนั้นอุปมาเหมือนหนึ่งกา แม้จะให้อาศัยอยู่ในเมืองเรา นานไปจะคิดการกำเริบชิงเอาเมืองเราเหมือนชิงรังนกกระเหว่า ของให้ลวงอ้วนฮีอ้วนซงเข้ามาแล้วจับตัวฆ่าเสีย แล้วตัดเอาศีรษะไปให้แก่โจโฉ เมืองเราก็จะไม่มีอันตราย" [2] กองซุนของตอบว่า "พี่เกรงอยู่ว่าโจโฉนั้นมีกำลังกล้าหาญนัก เกลือกจะยกกองทัพล่วงตีถึงเมืองเรา ซึ่งเราจะให้ฆ่าอ้วนฮีอ้วนซงเสียนั้นไม่ควร ถ้าเลี้ยงไว้เป็นทหารก็จะได้ต่างมือเราไปรบพุ่งโจโฉดีกว่า" กองซุนก๋งจึงแนะนำกองซุนของว่า "ซึ่งท่านคิดนี้ก็ชอบอยู่ ขอให้แต่งทหารออกไปสืบดูให้รู้ว่า ถ้าโจโฉจะยกล่วงมาตีเมืองเราจึงเลี้ยงอ้วนฮีอ้วนซงไว้ แม้โจโฉไม่ยกมาแล้วก็ให้จับเอาอ้วนฮีอ้วนซงฆ่าเสีย ตัดเอาศีรษะส่งไปให้โจโฉ" [2] กองซุนของเห็นด้วยกับคำแนะนำของกองซุนก๋งจึงให้ทหารไปสืบข่าวโจโฉ ได้ความว่าโจโฉยังอยู่ที่เมืองเอ๊กจิ๋วไม่ได้คิดจะมาตีเมืองเลียวตั๋ง กองซุนของจึงลวงอ้วนซงและอ้วนฮีมาฆ่าแล้วตัดศีรษะส่งไปให้โจโฉ
เมื่อกองซุนของเสียชีวิต กองซุนก๋งจึงได้สืบทอดตำแหน่งเจ้าเมืองเลียวตั๋งต่อจากพี่ชาย พระเจ้าโจผีได้แต่งตั้งให้กองซุนก๋งเป็นขุนพลทหารม้า และมีบรรดาศักดิ์เป็นเซียงผิงโหว (พระยาเมืองเซียงเป๋ง) [3][4] ต่อมาในปีที่ 2 ของศักราชไท่เหอ (ค.ศ. 228 รัชสมัยพระเจ้าโจยอย) กองซุนเอี๋ยน ลูกชายของกองซุนของ หลานชายของกองซุนก๋ง ได้ยึดอำนาจของกองซุนก๋งผู้เป็นอา แล้วขึ้นเป็นเจ้าเมืองเลียวตั๋งแทน[3][4]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Gongsun Gong 公孫恭" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 26 July 2017.
- ↑ 2.0 2.1 สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เล่ม 1, เจ้าพระยาพระคลัง (หน) , สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, พ.ศ. 2544, หน้า 474
- ↑ 3.0 3.1 สามก๊ก ฉบับแปลใหม่ เล่ม 2, วรรณไว พัธโนทัย , สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, พ.ศ. 2553, หน้า 1561
- ↑ 4.0 4.1 สามก๊ก ฉบับสมบูรณ์ เล่มปลาย, แพทย์หญิงกัลยา สุพันธุ์วณิช , สำนักพิมพ์เกลอเรียน, พ.ศ. 2556, หน้า 897
ดูเพิ่ม[แก้]
ก่อนหน้า | กองซุนก๋ง | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
กองซุนของ | ![]() |
เจ้าเมืองเลียวตั๋ง (พ.ศ. 764 - พ.ศ. 771) |
![]() |
กองซุนเอี๋ยน |
![]() |
บทความเกี่ยวกับสามก๊กนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:โครงการวิกิสามก๊ก |