เฮ็กเจียว
เฮ็กเจียว (เห่า เจา) | |
---|---|
郝昭 | |
ขุนพลตำแหน่งเบ็ดเตล็ด (雜號將軍 จ๋าเฮ่าเจียงจฺวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | โจผี / โจยอย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไม่ทราบ นครไท่หยวน มณฑลชานซี |
เสียชีวิต | ค.ศ. 229?[a] |
บุตร | เหา ข่าย |
อาชีพ | ขุนพล |
ชื่อรอง | ปั๋วเต้า (伯道) |
เฮ็กเจียว หรือ เฮกเจียว (มีบทบาทในช่วงปี ค.ศ. 220-229) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า เห่า เจา (จีน: 郝昭; พินอิน: Hǎo Zhāo) ชื่อรอง ปั๋วเต้า (จีน: 伯道; พินอิน: Bódào) เป็นขุนพลแห่งรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน มีชื่อเสียงจากชัยชนะในการล้อมตันฉองเมื่อปี ค.ศ. 229 โดยเฮ็กเจียวป้องกันตันฉองจากการโจมตีโดยกองกำลังที่มีจำนวนมากกว่าของรัฐจ๊กก๊กรัฐอริของวุยก๊กได้เป็นผลสำเร็จ แต่เฮ็กเจียวเสียชีวิตด้วยอาการป่วยหลังจากนั้นไม่นาน
การรับราชการก่อนรักษาตันฉอง
[แก้]เฮ็กเจียวเป็นชาวเมืองไท่หยวน (太原郡 ไท่ยฺเหวียนจฺวิ้น) ซึ่งอยู่บริเวณนครไท่หยวน มณฑลชานซีในปัจจุบัน เฮ็กเจียวได้รับการระบุว่าเป็นผู้ "แข็งแกร่งสมชาย" เฮ็กเจียวเข้าร่วมกองทัพตั้งแต่อายุยังเยาว์ และได้เลื่อนขั้นเป็นขุนพลตำแหน่งเบ็ดเตล็ด (雜號將軍 จ๋าเฮ่าเจียงจฺวิน)[b] หลังประสบความสำเร็จในยุทธการ[1]
ในปี ค.ศ. 220[2] ชฺวี เหยี่ยน (麴演), จาง จิ้น (張進) และหฺวาง หฺวา (黃華) เริ่มก่อกบฏในเมืองเสเป๋ง (西平 ซีผิง), จางเย (張掖) และจิ่วเฉฺวียน (酒泉) ทั้งหมดอยู่ในมณฑลกานซู่และมณฑลชิงไห่ในปัจจุบัน ชนเผ่าท้องถิ่นในเมืองอู่เวย์ (武威郡 อู่เวย์จฺวิ้น) ก็ก่อจลาจลขึ้นและเข้าร่วมกลุ่มกบฏ เฮ็กเจียวและงุยเป๋ง (魏平 เว่ย์ ผิง) ร่วมกับขุนพลซู เจ๋อ (蘇則) นำทัพหลวงปราบปรามกบฏ สังหารชฺวี เหยี่ยนและจาง จิ้นได้สำเร็จ และบังคับหฺวาง หฺวาและชนเผ่าท้องถิ่นในเมืองอู่เวย์ให้ยอมจำนน[3] เฮ็กเจียวยังคงดูแลอาณาบริเวณด้านตะวันตกของแม่น้ำฮองโห ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของมณฑลชานซี, มณฑลฉ่านซี และมณฑลกานซู่ในปัจจุบัน ในระหว่างที่ทำหน้าที่เป็นเวลามากกว่า 10 ปี เฮ็กเจียวสามารถรักษาความสงบมั่นคงในภูมิภาคได้เป็นอย่างดี[4][5]
ในปี ค.ศ. 227 ชฺวี อิง (麴英) ชาวเมืองเสเป๋งเริ่มก่อกบฏและสังหารนายอำเภอของอำเภอหลินเชียง (臨羌) และซีตู (西都) เฮ็กเจียวและลู่ ผาน (鹿磐) นำทัพหลวงโจมตีชฺวี อิง ปราบปรามกบฏได้สำเร็จและสังหารชฺวี อิง[6]
ป้องกันตันฉอง
[แก้]หลังการก่อการกำเริบที่เทียนซุยและยุทธการที่เกเต๋งเมื่อต้นปี ค.ศ. 228 โจจิ๋นมหาขุนพลแห่งวุยก๊กคาดการณ์ว่าการบุกครั้งต่อไปของจ๊กก๊กที่เป็นรัฐอริของวุยก๊กจะต้องมาทางตันฉอง (陳倉 เฉิงชาง; อยู่ทางตะวันออกของนครเป่าจี มณฑลฉ่านซีในปัจจุบัน) จึงมอบหมายให้เฮ็กเจียวและหวาง เชิง (王生) ไปรักษาตันฉองและเสริมการป้องกัน[7] การคาดการณ์ของโจจิ๋นถูกต้อง เมื่อจูกัดเหลียงผู้สำเร็จราชการของรัฐจ๊กก๊กนำกองกำลังเข้าโจมตีตันฉองเมื่อราวเดือนมกราคม ค.ศ. 229[8]
จูกัดเหลียงรู้ว่าตันฉองมีป้อมปราการที่แข็งแกร่งยากต่อการยึดครอง เมื่อจูกัดเหลียงนำทหารจ๊กก๊กยกมาถึงตันฉอง ก็ประหลาดใจที่ตันฉองมีการเสริมการป้องกันอย่างดีมาก และยิ่งประหลาดใจเมื่อรู้ว่าเฮ็กเจียวรับหน้าที่รักษาตันฉอง จูกัดเหลียงเคยได้ยินชื่อเสียงของเฮ็กเจียวในฐานะขุนพลผู้มากความสามารถ ตระหนักดีว่าตนไม่สามารถยึดตันฉองได้โดยง่าย[9] จูกัดเหลียงจึงสั่งให้กำลังทหารเข้าล้อมตันฉอง และส่งกิมเซียง (靳詳 จิ้น เสียง) ที่เป็นคนบ้านเกิดเดียวกันกับเฮ็กเจียว ให้ไปเกลี้ยกล่อมเฮ็กเจียวให้ยอมจำนน เฮ็กเจียวตอบว่า "ท่านก็รู้กฎหมายของวุยและท่านก็รู้จักข้าดี ข้าได้รับพระคุณเป็นล้นพ้นจากรัฐของข้าและบ้านของข้าก็สำคัญ ไม่มีอะไรที่ท่านจะพูดได้ (เพื่อเปลี่ยนใจข้า) กลับไปหาจูกัด (เหลียง) และบอกให้เตรียมเข้าโจมตีเถิด"[10] หลังจากกิมเซียงกลับไปรายงานจูกัดเหลียงถึงคำพูดของเฮ็กเจียว จูกัดเหลียงจึงส่งกิมเซียงให้พยายามเกลี้ยกล่อมเฮ็กเจียวอีกครั้งและบอกเฮ็กเจียวว่าตัวเฮ็กเจียวไม่มีทางต้านทัพจ๊กก๊ก ไม่จำเป็นต้องเข้าหาความตายและความพินาศ เฮ็กเจียวตอบว่า "ข้ายืนกรานในสิ่งที่ข้าบอกท่านไปแล้วก่อนหน้านี้ แม้ข้าจะรู้จักท่าน แต่เกาทัณฑ์ของข้าไม่รู้จักท่าน" กิมเซียงจึงลาจากไป[11]
โอกาสที่ทัพจ๊กก๊กจะเอาชนะเฮ็กเจียวได้นั้นมีสูงมาก เพราะเฮ็กเจียวมีทหารเพียงราว 1,000 นายในการต้านทัพจ๊กก๊กที่มีจำนวนนับหมื่นนาย และไม่มีวี่แววว่ากำลังเสริมของวุยก๊กจะมุ่งมายังตันฉอง จูกัดเหลียงจึงสั่งกองกำลังทหารให้ใช้บันไดพาดและไต่ขึ้นกำแพงของตันฉอง แต่เฮ็๋กเจียวโต้ตอบโดยสั่งให้ทหารมือเกาทัณฑ์ยิงเกาทัณฑ์ไฟไปยังบันไดพาด ทำให้บันไดลุกติดไฟคลอกทหารที่อยู่บนบันได เมื่อทัพจ๊กก๊กใช้รถกระทุ้งประตู เฮ็กเจียวจึงสั่งกำลังทหารให้ผูกหินกับสายโซ่ แล้วทุ่มจากบนกำแพงไปทำลายรถกระทุ้งประตู[12] ทหารจ๊กก๊กจึงหันไปใช้วิธีถมคูเมืองรอบตันฉองเพื่อจะส่งหอรบเข้าไปใกล้กำแพงเมืองเพื่อให้ทหารปีนเข้าไป เฮ็กเจียวโต้กลับยุทธวิธีนี้ด้วยการสั่งทหารให้สร้างกำแพงชั้นในด้านหลังกำแพงชั้นนอกเพื่อป้องกันไม่ให้ข้าศึกรุกเข้ามาอีก[13] จูกัดเหลียงจึงคิดที่จะให้กำลังทหารขุดอุโมงค์ตรงเข้าไปภายในตันฉอง แต่เฮ็กเจียวเตรียมการป้องกันโดยสั่งให้ทหารขุดอุโมงค์ในแนวตั้งฉากเพื่อสกัดข้าศึก[14][15]
การปิดล้อมกินเวลานานกว่า 20 วัน จูกัดเหลียงไม่สามารถทำการใด ๆ เพื่อเอาชนะเฮ็กเจียวและยึดตันฉองได้ เมื่อจูกัดเหลียงทราบข่าวว่ากำลังเสริมของวุยก๊กกำลังยกมาถึงจึงตัดสินใจถอยทัพ[16]
เสียชีวิต
[แก้]ราชสำนักวุยก๊กออกหนังสือยกย่องเฮ็กเจียวสำหรับความกล้าหาญในการป้องกันตันฉอง และมอบบรรดาศักดิ์ระดับโหวให้กับเฮ็กเจียวสำหรับความดีความชอบ ภายหลังเมื่อเฮ็กเจียวมายังลกเอี๋ยงนครหลวงของวุยก๊ก โจยอยจักรพรรดิแห่งวุยก๊กทรงได้พบปะกับเฮ็กเจียว โจยอยตรัสกับซุนจู (孫資 ซุน จือ) ขุนนางที่มีบ้านเกิดเดียวกับเฮ็กเจียวว่า "บ้านเกิดของท่านมีผู้กล้าหาญมั่นคงเช่นนี้ จะมีอะไรให้กังวลในเมื่อข้ามีขุนพลผู้ร้อนแรงเช่นพวกเขา" โจยอยต้องการจะมอบหมายความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่มากขึ้นแก่เฮ็กเจียว แต่เฮ็กเจียวเกิดป่วยหนักและในที่สุดก็เสียชีวิตในเวลาไม่นาน[17]
ก่อนที่เฮ็กเจียวจะเสียชีวิต ได้บอกกับเหา ข่าย (郝凱) ผู้เป็นบุตรชายว่า "ในฐานะขุนพลแล้ว พ่อรู้ว่าสิ่งใดที่ขุนพลไม่ควรทำ พ่อขุดหลุมศพจำนวนมากเพื่อนำไม้มาใช้สร้างยุทโธปกรณ์ พ่อจึงรู้ว่าหลุมศพอันยิ่งใหญ่ไม่มีประโยชน์กับคนตาย (หลังจากพ่อตาย) ลูกต้องแต่งกายพ่อด้วยเสื้อผ้าเรียบ ๆ ยามมีชีวิตเรามีสถานที่ที่อาศัยอยู่ ยามตายเราจะไปที่ไหนได้เล่า ขึ้นอยู่กับลูกที่จะตัดสินใจว่าหลุมศพของพ่อจะอยู่ที่ใด เหนือ ใต้ ตะวันออก หรือตะวันตก"[18]
ในวัฒนธรรมประชานิยม
[แก้]ฉิน ฟ่านเฉียง (秦梵祥) รับบทเป็นเฮ็กเจียวในละครโทรทัศน์ปี พ.ศ. 2553 เรื่อง สามก๊ก
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ปีที่เสียชีวิตของเฮ็กเจียวไม่มีการบันทึกไว้ เฮ็กเจียวเสียชีวิตหลังการล้อมตันฉองที่เกิดขึ้นช่วงต้นปี ค.ศ. 229 ปีที่เฮ็กเจียวเสียชีวิตจึงอาจเป็นปี ค.ศ. 229
- ↑ ในยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกและยุคสามก๊ก ยศขุนพลสองแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ขุนพลตำแหน่งสำคัญ (重號將軍 จ้งเฮ่าเจียงจฺวิน) และขุนพลตำแหน่งเบ็ดเตล็ด (雜號將軍 จ๋าเฮ่าเจียงจฺวิน) ประเภทแรกประกอบด้วยขุนพลที่มีการแต่งตั้งโดยเช่นเฉพาะ เช่น มหาขุนพล (大將軍 ต้าเจียงจฺวิน), ขุนพลทหารม้าทะยาน (驃騎將軍 เพี่ยวฉีเจียงจฺวิน), ขุนพลพิทักษ์ภาคตะวันออก (鎮東將軍 เจิ้นตงเจียงจฺวิน) และขุนพลทัพหน้า (前將軍 เฉียนเจียงจฺวิน) ประเภทหลังประกอบด้วยขุนพลที่ไม่มีการแต่งตั้งโดยเฉพาะ เช่น ขุนพลรอง (偏將軍 เพียนเจียงจฺวิน), ขุนพลนายพัน (裨將軍 ผีเจียงจฺวิน), ขุนพลปราบอนารยชน (破虜將軍 พั่วหลู่เจียงจฺวิน) และขุนพลโจมตีกบฏ (討逆將軍 เถานี่เจียงจฺวิน) ยศของเฮ็กเจียวจัดอยู่ในประเภทหลัง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ (昭字伯道,太原人,為人雄壯,少入軍為部曲督,數有戰功,為雜號將軍, ...) อรรถาธิบายจากเว่ย์เลฺว่ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 3.
- ↑ จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 69.
- ↑ (後[麴]演復結旁郡為亂,張掖張進執太守杜通,酒泉黃華不受太守辛機,進、華皆自稱太守以應之。又武威三種胡並寇鈔,道路斷絕。武威太守毌丘興告急於則。時雍、涼諸豪皆驅略羌胡以從進等,郡人咸以為進不可當。又將軍郝昭、魏平先是各屯守金城,亦受詔不得西度。 ... 於是昭等從之,乃發兵救武威,降其三種胡,與興擊進於張掖。演聞之,將步騎三千迎則,辭來助軍,而實欲為變。則誘與相見,因斬之,出以徇軍,其黨皆散走。則遂與諸軍圍張掖,破之,斬進及其支黨,眾皆降。演軍敗,華懼,出所執乞降,河西平。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 16.
- ↑ (... 遂鎮守河西十餘年,民夷畏服。) Weilue annotation in Sanguozhi vol. 3.
- ↑ 南门太守 (2016). 诸葛亮:蜀汉舵手的历史真相 [Zhuge Liang: The Historical Truth of the Shu Han Helmsman] (ภาษาจีน). 中国纺织出版社. ISBN 9787518020942. สืบค้นเมื่อ 10 January 2022.
- ↑ (太和元年春正月, ... 西平麴英反,殺臨羌令、西都長,遣將軍郝昭、鹿磐討斬之。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 3.
- ↑ (真以亮懲於祁山,後出必從陳倉,乃使將軍郝昭、王生守陳倉,治其城。明年春,亮果圍陳倉,已有備而不能克。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
- ↑ (魏略曰:先是使將軍郝昭築陳倉城;會亮至,圍昭,不能拔。) อรรถาธิบายจากเว่ย์เลฺว่ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 3.
- ↑ (大和中,魏遣將軍郝昭築城陳倉城。適訖,㑹諸葛亮來攻。亮本聞陳倉城惡,及至,怪其整頓,聞知昭在其中,大驚愕。亮素聞昭在西有威名,念攻之不易。) ไท่ผิงหฺวานยฺหวีจี้ เล่มที่ 30.
- ↑ (亮圍陳倉,使昭鄉人靳詳於城外遙說之,昭於樓上應詳曰:「魏家科法,卿所練也;我之為人,卿所知也。我受國恩多而門戶重,卿無可言者,但有必死耳。卿還謝諸葛,便可攻也。」). อรรถาธิบายจากเว่ย์เลฺว่ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 3.
- ↑ (詳以昭語告亮,亮又使詳重說昭,言人兵不敵,無為空自破滅。昭謂詳曰:「前言已定矣。我識卿耳,箭不識也。」詳乃去。) อรรถาธิบายจากเว่ย์เลฺว่ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 3.
- ↑ (亮自以有眾數萬,而昭兵才千餘人,又度東救未能便到,乃進兵攻昭,起雲梯衝車以臨城。昭於是以火箭逆射其雲梯,梯然,梯上人皆燒死。昭又以繩連石磨壓其衝車,衝車折。) อรรถาธิบายจากเว่ย์เลฺว่ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 3.
- ↑ (亮乃更為井闌百尺以付城中,以土丸填壍,欲直攀城,昭又於內築重牆。) อรรถาธิบายจากเว่ย์เลฺว่ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 3.
- ↑ (亮足為城突,欲踊出於城裏,昭又於城內穿地橫截之。) อรรถาธิบายจากเว่ย์เลฺว่ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 3.
- ↑ Shi, Yue. "Taiping Huanyu Ji 25-26" (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 10 January 2022.
- ↑ (晝夜相攻拒二十餘日,亮無計,救至,引退。) อรรถาธิบายจากเว่ย์เลฺว่ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 3.
- ↑ (詔嘉昭善守,賜爵列侯。及還,帝引見慰勞之,顧謂中書令孫資曰:「卿鄉里乃有爾曹快人,為將灼如此,朕復何憂乎?」仍欲大用之。會病亡, ...) อรรถาธิบายจากเว่ย์เลฺว่ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 3.
- ↑ (... 遺令戒其子凱曰:「吾為將,知將不可為也。吾數發冢,取其木以為攻戰具,又知厚葬無益於死者也。汝必斂以時服。且人生有處所耳,死復何在邪?今去本墓遠,東西南北,在汝而已。」) อรรถาธิบายจากเว่ย์เลฺว่ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 3.
บรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (คริสต์ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (คริสต์ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อจู้).
- ซือหม่า กวาง (1084). จือจื้อทงเจี้ยน.
- เยฺว่ ฉื่อ (คริสต์ศตวรรษที่ 10). ไท่ผิงหฺวาน-ยฺหวี่จี้.