เตงฮอง
เตงฮอง (ติง เฟิ่ง) | |
---|---|
丁奉 | |
![]() ภาพวาดเตงฮองในสมัยราชวงศ์ชิง | |
มหาเสนาบดีกลาโหมฝ่ายขวา (右大司馬 โย่วต้าซือหม่า) (ร่วมกับชือ จี) | |
ดำรงตำแหน่ง กันยายน ค.ศ. 264 – ค.ศ. 271 | |
กษัตริย์ | ซุนโฮ |
ถัดไป | ลกข้อง |
ที่ปรึกษาทัพฝ่ายซ้าย (左軍師 จั่วจฺวินชือ) | |
ดำรงตำแหน่ง กันยายน ค.ศ. 264 – ค.ศ. 271 | |
กษัตริย์ | ซุนโฮ |
ขุนพลใหญ่ (大將軍 ต้าเจียงจวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 258 – กันยายน ค.ศ. 264 | |
กษัตริย์ | ซุนฮิว |
ขุนพลฝ่ายซ้าย (左將軍 จั่วเจียงจฺวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 258 | |
กษัตริย์ | ซุนเหลียง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไม่ทราบ เทศมณฑลกู้ฉื่อ มณฑลเหอหนาน |
เสียชีวิต | ค.ศ. 271[a] |
ญาติ | ติง เฟิง (น้องชาย) ติง เวิน (บุตรชาย) |
อาชีพ | ขุนศึก, ขุนนาง |
ชื่อรอง | เฉิงเยฺวียน (承淵) |
บรรดาศักดิ์ | อันเฟิงโหว (安豐侯) |
เตงฮอง (เสียชีวิต ค.ศ. 271)[1] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า ติง เฟิ่ง (จีน: 丁奉; พินอิน: Dīng Fèng) ชื่อรอง เฉิงเยฺวียน (จีน: 承淵; พินอิน: Chéngyuān) เป็นขุนพลและขุนนางของรัฐง่อก๊กในยุคสามก๊กของจีน[2]
ประวัติและการรับราชการช่วงต้น
[แก้]เตงฮองเป็นชาวอำเภอตันฉอง (安豐縣 อานเฟิงเซี่ยน) เมืองโลกั๋ง (廬江郡 หลูเจียงจฺวิ้น) ซึ่งอยู่ในอำเภอกู้ฉื่อ มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน[3] เริ่มรับราชการเป็นทหารภายใต้ขุนศึกซุนกวนในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่น และได้รับการแต่งตั้งเป็นขุนนางเนื่องด้วยความกล้าหาญในการสู้รบ เตงฮองทำหน้าที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของขุนพลหลายนายที่อยู่ภายใต้ซุนกวน ได้แก่ กำเหลง ลกซุน และพัวเจี้ยง เตงฮองสู้รบในหลายสมรภูมิและเป็นที่รู้จักในเรื่องความกล้าหาญ เตงฮองได้รับบาดเจ็บในสนามรบหลายครั้งและสังหารผู้บัญชาการของศัตรูได้หลายคน รวมทั้งยึดธงของศัตรูได้ ทำให้เขาได้รับการเลื่อนขั้นเป็นขุนพลผู้ช่วย (偏將軍)[4]
รับใช้ซุนเหลียง
[แก้]![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
รับใช้ซุนฮิว
[แก้]![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
รับใช้ซุนโฮ
[แก้]![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เสียชีวิต
[แก้]เตงฮองเสียชีวิตใน ค.ศ. 271 โดยไม่มีการบันทึกสาเหตุการเสียชีวิต[5]
ใน ค.ศ. 2020-2021 มีการขุดพบหลุมศพอิฐสี่หลุมของเตงฮองและครอบครัวของเขาที่หนานจิง หลุมศพเหล่านี้ถูกปล้นทรัพย์สินไปแล้ว แต่พบหนังสือรับรองการซื้อขายที่ดินสี่แห่งที่จารึกบนอิฐในหลุมศพหนึ่ง ซึ่งระบุว่าผู้ครอบครองหลุมศพนี้คือเตงฮองและภรรยา หนังสือรับรองนี้ยังระบุเพิ้มเติมอีกว่าเตงฮองและภรรยาเสียชีวิตใน ค.ศ. 271 และ ค.ศ. 251 ตามลำดับ[6]
ครอบครัว
[แก้]ติง เฟิง (丁封) น้องชายเตงฮอง ก็รับใช้เป็นขุนพลในง่อก๊กและตำแหน่งสูงสุดที่ได้รับคือขุนพลทัพหลัง (後將軍) ติง เฟิงเสียชีวิตก่อนหน้าพี่ชาย[7]
ในวัฒนธรรมร่วมสมัย
[แก้]เตงฮองปรากฏเป็นตัวละครที่เล่นได้ครั้งแรกในชุดวิดีโอเกมไดนาสตีวอริเออส์ภาคเจ็ดของโคเอ
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ชีวประวัติของเตงฮองในสามก๊กจี่บันทึกว่า เขาเสียชีวิตในปีที่ 3 ของศักราชเจี้ยนเหิง (ค.ศ. 269–271) ในรัชสมัยซุนโฮ[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 (建衡元年, ... 三年,卒。) Chen Shou (1977) [429]. Pei Songzhi (บ.ก.). อรรถาธิบายสามก๊กจี่ 三國志注. Vol. 55. Taipei: Dingwen Printing. p. 1302.
- ↑ de Crespigny (2007), p. 141.
- ↑ (丁奉字承淵,廬江安豐人也。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 55.
- ↑ (少以驍勇為小將,屬甘寧、陸遜、潘璋等。數隨征伐,戰鬬常冠軍。每斬將搴旗,身被創夷。稍遷偏將軍。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 55.
- ↑ ([建衡]三年,卒。) สามก๊กจี่ เลขที่ 55.
- ↑ "南京考古发现"江表之虎臣"之一丁奉及其家族墓地" (ภาษาChinese). 21 January 2021. สืบค้นเมื่อ 2 February 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ (奉弟封,官至後將軍,先奉死。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 55.
บรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (คริสต์ศตวรรษที่ 3). สามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ).
- de Crespigny, Rafe (2007). A biographical dictionary of Later Han to the Three Kingdoms (23–220 AD). Leiden: Brill. ISBN 978-90-04-15605-0.