วุยก๊ก
รัฐวุย 魏 | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พ.ศ. 763–พ.ศ. 808 | |||||||||
![]() แผนที่สามก๊ก วุยก๊กแสดงด้วยสีเหลือง | |||||||||
เมืองหลวง | ลกเอี๋ยง | ||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาจีน | ||||||||
ศาสนา | เต๋า, ขงจื๊อ, ศาสนาชาวบ้านจีน | ||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | ยุคสามก๊ก | ||||||||
• พระเจ้าโจผีโค่นล้มราชวงศ์ฮั่น ก่อตั้งวุยก๊ก | พ.ศ. 763 | ||||||||
• พระเจ้าสุมาเอี๋ยนโค่นล้มราชวงศ์วุย ก่อตั้งราชวงศ์จิ้น วุยก๊กล่มสลาย | พ.ศ. 808 | ||||||||
ประชากร | |||||||||
• | สำมะโน 4,432,881 5-10 ล้านคน รวมกับคนที่อาจตกหล่นจากการสำมะโน | ||||||||
|
วุยก๊ก หรือ รัฐเว่ย (จีน: 曹魏; พินอิน: Cáo Wèi) จัดเป็นก๊กที่ยิ่งใหญ่และมีอำนาจมากที่สุดในบรรดาสามก๊ก ในระหว่างปี พ.ศ. 763 — พ.ศ. 808 (ปี ค.ศ. 220 — 265) ครอบคลุมพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศจีน ปกครองโดยโจโฉ ต่อมาโจผีสถาปนาราชวงศ์วุยและได้สถาปนาโจโฉเป็นปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์วุยอีกพระองค์หนึ่ง วุยก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 5 พระองค์ ได้แก่[1]
- โจผี ปกครองวุยก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 763 — พ.ศ. 769
- โจยอย ปกครองวุยก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 769 — พ.ศ. 782
- โจฮอง ปกครองวุยก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 782 — พ.ศ. 797
- โจมอ ปกครองวุยก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 797 — พ.ศ. 803
- โจฮวน ปกครองวุยก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 803 — พ.ศ. 808
วุยก๊กถูกยึดอำนาจโดยครอบครัวขุนนางตระกูลสุมา ต่อมาราชวงศ์วุยก็ถูกโค่นล้มโดยสุมาเอี๋ยน ซึ่งต่อมาภายหลังได้สถาปนาราชวงศ์จิ้นขึ้นแทนและรวบรวมแผ่นดินที่แบ่งเป็นก๊กต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
ประวัติ[แก้]
จุดเริ่มต้นและการสถาปนา[แก้]
ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ภาคเหนือของจีนอยู่ใต้การปกครองของโจโฉ อัครมหาเสนาบดีในพระเจ้าเหี้ยนเต้ จักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ฮั่น ในปี ค.ศ. 213 พระเจ้าเหี้ยนเต้สถาปนาโจโฉขึ้นเป็น "วุยก๋ง" (魏公 เว่ย์กง) และพระราชทานเมืองให้ปกครองสิบเมือง พื้นที่นี้ถูกเรียกว่า "วุย" (เว่ย์) ขณะนั้นภาคใต้ของจีนถูกแบ่งเป็นสองพื้นที่ที่ปกครองโดยอีกสองขุนศึกคือเล่าปี่และซุนกวน ในปี ค.ศ. 216 พระเจ้าเหี้ยนเต้เลื่อนโจโฉขึ้นเป็น "วุยอ๋อง" (魏王 เว่ย์หวาง) และมอบอาณาเขตให้ปกครองมากขึ้น
โจโฉถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 220 โจผีขึ้นสืบทอดตำแหน่งวุยอ๋อง หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายนในปีเดียวกัน โจผีบังคับพระเจ้าเหี้ยนเต้ให้สละราชสมบัติ โจผีขึ้นครองราชย์แทนและสถาปนาวุยก๊ก (รัฐวุย) ขึ้น เล่าปี่ตอบโต้การอ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ของโจผีทันทีโดยการสถาปนาตนเป็น "จักรพรรดิแห่งจ๊กก๊ก" ในปีถัดมา ซุนกวนดำรงตำแหน่งอ๋องภายใต้วุยก๊ก แต่ก็ได้ประกาศตนเป็นอิสระในปี ค.ศ. 222 และสถาปนาตนเป็น "จักรพรรดิแห่งง่อก๊ก" ในปี ค.ศ. 229
รัชสมัยพระเจ้าโจผีและพระเจ้าโจยอย[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การบุกเลียวตั๋งของสุมาอี้[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ศึกโคกูรยอ-วุยก๊ก[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การล่มสลายของวุยก๊ก[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ราชสำนัก[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วัฒนธรรม[แก้]
ลายสือศิลป์แบบไข่ชูได้รับการพัฒนาในระหว่างช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออกและราชวงศ์วุยก๊ก ผู้เชี่ยวชาญลายสือศิลป์แบบไข่ชูที่เป็นที่รู้จักคือจงฮิว ขุนนางแห่งวุยก๊ก[2]
รายชื่ออาณาเขต[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
รายพระนามกษัตริย์[แก้]
ชื่อวัด | พระราชสมัญญานาม | แซ่ (ตัวหนา) และชื่อตัว | ครองราชย์ (ค.ศ.) | ชื่อรัชศกและช่วงเวลา (ค.ศ.) | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
(-) | จักรพรรดิเกา (เกาหฺวังตี้) 高皇帝 |
โจเท้ง (เฉา เถิง) 曹騰 |
(-) | (-) | พระราชสมัญญานามของโจเท้งได้รับการยกย่องย้อนหลังโดยพระเจ้าโจยอย |
(-) | จักรพรรดิไท่ (ไท่หฺวังตี้) 太皇帝 |
โจโก๋ (เฉา ซง) 曹嵩 |
(-) | (-) | พระราชสมัญญานามของโจโก๋ได้รับการยกย่องย้อนหลังโดยพระเจ้าโจผี |
ไท่จู่ 太祖 |
จักรพรรดิอู่ (อู่หฺวังตี้) 武皇帝 |
โจโฉ (เฉา เชา) 曹操 |
(-) | (-) | ชื่อวัดและพระราชสมัญญานามของโจโฉได้รับการยกย่องย้อนหลังโดยพระเจ้าโจผี |
ชื่อจู่ 世祖 |
จักรพรรดิเหวิน (เหวินหฺวังตี้) 文皇帝 |
โจผี (เฉา ผี) 曹丕 |
220-226 |
|
|
เลี่ยจู่ 烈祖 |
จักรพรรดิหมิง (หมิงหฺวังตี้) 明皇帝 |
โจยอย (เฉา รุ่ย) 曹叡 |
227-239 |
|
|
(-) | (-) | โจฮอง (เฉา ฟาง) 曹芳 |
240-249 |
|
โจฮองถูกลดขั้นเป็น "เจอ๋อง" (齊王 ฉีหวาง) หลังถูกถอดจากราชสมบัติ โจฮองได้รับการสถาปนาย้อนหลังเป็น "เช่าหลิงลี่กง" (邵陵厲公) ในยุคราชวงศ์จิ้นตะวันตก |
(-) | (-) | โจมอ (เฉา เหมา) 曹髦 |
254-260 |
|
โจมอได้รับการสถาปนาย้อนหลังเป็น "เกากุ้ยเซียงกง" (高貴鄉公). |
(-) | จักรพรรดิยฺเหวียน (ยฺเหวียนหฺวังตี้) 元皇帝 |
โจฮวน (เฉา ฮฺวั่น) 曹奐 |
260-266 |
|
พงศาวลีวุยก๊ก[แก้]
วุยก๊ก | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
- - - - - = เส้นประแสดงถึงการรับเป็นโอรสบุญธรรม
|
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชวงศ์วุย, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พ.ศ. 2550, หน้า 58
- ↑ Qiu Xigui (2000). Chinese Writing. Translated by Mattos and Jerry Norman. Early China Special Monograph Series No. 4. Berkeley: The Society for the Study of Early China and the Institute of East Asian Studies, University of California, Berkeley. ISBN 1-55729-071-7; p.142-3