ม้าเท้ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ม้าเท้ง
เจ้าเมืองแห่งเสเหลียง
เกิดพ.ศ. 699
ถึงแก่กรรมพ.ศ. 755 (อายุ 56 ปี)
ผู้ดำรงตำแหน่งคนถัดไปม้าเฉียว
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม馬騰
อักษรจีนตัวย่อ马腾
ชื่อรองโซ้วเฉิง

ม้าเท้ง (อังกฤษ: Ma Teng; จีนตัวย่อ: 马腾; จีนตัวเต็ม: 馬騰; พินอิน: Mă Téng) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ที่มีตัวตนจริงตามประวัติศาสตร์ เป็นขุนศึก ในยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก และสามก๊กของจีน ปกครองเมืองเสเหลียง(มลฑลเหลียงโจว) ด้วยกันกับหันซุย น้องร่วมสาบานของเขาม้าเท้งและหันซุย ใช้ความมุมานะพยายามเป็นแรมปี เพื่อที่จะแยกตัวเป็นอิสระจากแผ่นดินส่วนกลาง ม้าเท้งเป็นบิดาของม้าเฉียวและเป็นอาของม้าต้าย ผู้ที่รับใช้ต่อจ๊กก๊กในภายหลัง

ประวัติ[แก้]

ม้าเท้ง เป็นบุตรของม้าเป้ง ซึ่งเป็นข้าราชการเล็ก ๆ ในเมืองเทียนซุย แต่เพราะมีการโต้เถียงหลายอย่าง เขาจึงถูกปลดออกจากตำแหน่งและไปอยู่อาศัยกับชนชาวเกียง(ทางทิศตะวันตกของจีน) เขาได้แต่งงานกับหญิงชาวเกียง ซึ่งก็คือผู้ที่ให้กำเนิดม้าเท้ง ม้าเท้งในวัยเยาว์นั้น เขามีฐานะยากจนมาก ว่ากันว่าเขาต้องขึ้นไปเก็บฟืนบนเขา เพื่อเอามาขาย เมื่อเขาเติบโตขึ้นกล่าวกันว่า เขาสูงถึง 8 เชียะ (ประมาณ184 ซ.ม.) ม้าเท้งเป็นคนที่ใจดีกับผู้อื่น และเป็นคนสุขุม มีผู้นับหน้าถือตามากมาย

ในปี พ.ศ. 727 เมื่อสิ้นสุดยุคสมัยของพระเจ้าเลนเต้แห่งราชวงศ์ฮั่น ชนชาวเกียงจับอาวุธขึ้นเพื่อต่อต้านราชสำนัก และมีขุนพลผู้ที่เข้าร่วมคือหันซุย ราชสำนักก็ได้ให้แม่ทัพหลวงนำทัพ เพื่อปราบกบฏชาวเกียง และม้าเท้งก็ได้เข้าสมัครเป็นพลทหารเข้าร่วมทัพ ปราบกบฏ ทักษะความสามารถของเขาในสนามรบนั้นเป็นที่ยอมรับ เขามุ่งทะลวงทัพกบฏเข้าไปอย่างไม่ลดละ อย่างไรก็ตามเมื่อแม่ทัพหลวงถูกกบฏฆ่าตายม้าเท้งกลับแปรภักดิ์ไปเข้ากับหันซุย แม่ทัพฝ่ายกบฏ และในที่สุดกองทัพกบฏ ก็พ่ายแพ้ต่อแม่ทัพฮั่นนามว่า ฮองฮูสง แต่ม้าเท้งก็สามารถหนีมากับแม่ทัพกบฏได้ สุดท้ายม้าเท้งและเพื่อนร่วมทัพกบฏก็จะได้รับยศจากราชสำนัก

ในคราวที่ลิฉุยและกุยกี ยึดอำนาจจากเมืองเตียงฮัน หลังจากที่ตั๋งโต๊ะถูกสังหาร ม้าเท้ง และหันซุยได้เข้าสวามิภักดิ์พวกเขาและได้รับบรรดาศักดิ์เป็นแม่ทัพปราบตะวันออก (征東将軍) และแม่ทัพป้องกันตะวันตก (鎮西将軍) ตามลำดับ ถึงกระนั้น ความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่ายก็แย่ลงอย่างรวดเร็ว ม้าเท้งและหันซุยได้นำทัพบุกตีเมืองเตียงฮัน แต่พวกเขาก็ได้รับความปราชัย และด้วยเสบียงที่เหลืออยู่เพียงน้อยนิดจึงยกทัพกลับเมือง แม้ว่าม้าเท้งและหันซุย จะทำสงครามมากมายเพื่อขยายเขตแคว้นของพวกเขา จนถึงจุดที่ต้องฆ่าลูกเมียของเจ้าเมือง เมืองอื่น ๆ โจโฉ ผู้มีชัยเหนืออ้วนเสี้ยว จากสงครามศึกกัวต๋อ ซึงได้ทำลายความสงบสุขระหว่างม้าเท้งและหันซุย ผู้ที่เข้าสวามิภักดิ์ต่อโจโฉ หลังจากนั้นก็มีคำสั่งจากราชสำนักให้ม้าเท้ง และครอบครัวของเขา เข้าไปในภาคกลาง ซึ่งเหลือเพียงม้าเฉียว ลูกคนโตของเขาเท่านั้นที่อยู่ในเมืองกับหันซุย

ราวต้นปี พ.ศ. 753 ม้าเฉียวได้จัดตั้งพันธมิตรอย่างลับ ๆ กับหันซุยและขุนศึกรองคนอื่น ๆ ในเหลียงโจว และเริ่มก่อกบฏต่อต้านราชวงศ์ฮั่น ในขณะที่เกลี้ยกล่อมหัยซุยให้เข้าร่วม ม้าเฉียวได้บอกกล่าวว่า [...] ตอนนี้, ข้าได้ละทิ้งบิดาของข้าแล้ว, และข้าเต็มใจที่จะรับท่านเป็นบิดาของข้า. ท่านควรจะละทิ้งบุตรชายของท่านด้วย, และปฏิบัติต่อข้าเฉกเช่นเป็นบุตรชายของท่าน"[1] โจโฉสามารถเอาชนะม้าเฉียวและพันธมิตรในยุทธการที่ด่านตงก๋วน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 753 ในช่วงฤดูร้อน พ.ศ. 754 จักรพรรดิเหี้ยนเต้ทรงมีพระราชโองการให้ประหารม้าเท้งและครอบครัวที่เหลือซึ่งอยู่กับพระองค์ในเมืองเย่ในช่วงเวลานั้น[2][3]

วรรณกรรมสามก๊ก[แก้]

ในวรรณกรรมสามก๊ก ม้าเท้งเป็นผู้ที่ภักดีต่อราชวงศ์ฮั่น ได้เข้าร่วมแผนการลอบสังหารโจโฉ กับเล่าปี่ และตังสินแต่แผนการล้มเหลวจึงกลับเมือง ต่อมาจึงถูกโจโฉลวงเข้าเมืองฮูโต๋ เขาจึงวางแผนลอบสังหารโฉอีกคราหนึ่งแต่โจโฉผู้มีเล่เหลี่ยมก็ได้วางแผนล้างแค้นด้วยการจับกุม และประหารม้าเท้ง พร้อมกับบุตรทั้งสอง เมื่อได้ทราบว่าพ่อและน้องๆของตนถูกโจโฉลวงไปฆ่า ม้าเฉียวผู้เกรี้ยวกราดจึงจัดทัพนำกำลังบุกโจโฉเรื่องของการประหารม้าเท้ง และการกบฏของม้าเฉียวนั้นได้มีบันทึกอยู่ในพงศาวดาร

ครอบครัว[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  • บทความนี้แปล และเรียบเรียงบางส่วนมาจากวิกิพีเดียภาคภาษาอังกฤษ
  • สามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)

ดูเพิ่ม[แก้]

  1. (及約還,超謂約曰:「前鍾司隸任超使取將軍,關東人不可複信也。今超棄父,以將軍為父,將軍亦當棄子,以超為子。」行諫約,不欲令與超合。約謂行曰:「今諸將不謀而同,似有天數。」乃東詣華陰。) Weilue annotation in Sanguozhi vol. 15.
  2. (超至安定,遂奔涼州。詔收滅超家屬。超復敗於隴上。) Dianlue annotation in Sanguozhi vol. 36.
  3. (十七年夏五月癸未,誅衞尉馬騰,夷三族。) Houhanshu vol. 9.