ข้ามไปเนื้อหา

เทียเภา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทียเภา
程普
ขุนพลปราบโจร (盪寇將軍)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
เจียงเซี่ยไท่โส่ว (江夏太守)
ดำรงตำแหน่ง
ป. ต้นคริสต์ทศวรรษ 210 – ค.ศ. ? (?)
หนานจฺวิ้นไท่โส่ว
(南郡太守)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 210 (210) – ป. ต้นคริสต์ทศวรรษ 210
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ[1]
อำเภอเฟิงรุ่น ถังชาน มณฑลเหอเป่ย์
เสียชีวิตหลัง ค.ศ. 210[a]
บุตรCheng Zi
อาชีพขุนพล, ขุนนาง
ชื่อรองเต๋อโหมว (德謀)
ชื่ออื่น"เฉิงกง" (程公)

เทียเภา หรือในภาษาจีนกลางว่า เฉิง ผู่ (ออกเสียง; เสียชีวิตหลัง ค.ศ. 210)[2] ชื่อรอง เต๋อโหมว เป็นขุนพลและขุนนางชาวจีนที่รับใช้ขุนศึกซุนกวนในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของจีน ก่อนหน้านั้นเขาเคยรับใช้ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าซุนกวน ได้แก่ ซุนเกี๋ยน (บิดาของซุนกวน) และซุนเซ็ก (พี่ชายของซุนกวน)[3]

อาชีพช่วงต้นภายใต้ซุนเกี๋ยน

[แก้]

เทียเภาเดิมเป็นชาวเมืองปักเป๋ง (มณฆลเหอเป่ย์ในปัจจุบัน)

อำเภอถู่หยิน (土垠縣) โย่วเป่ย์ผิงจฺวิ้น (右北平郡) ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของอำเภอเฟิงรุ่น ถังชาน มณฑลเหอเป่ย์ในปัจจุบัน ในตอนแรกเขามีอาชีพเป็นขุนนางผู้น้อยในสำนักงานผู้บัญชาการท้องถิ่น เขาเป็นคนที่มีหน้าตาดี มีไหวพริบ และเชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์ทางการทหาร[4]

ภายหลังเทียเภารับใช้ซุนเกี๋ยนและเข้าร่วมปราบกบฏโผกผ้าเหลืองในคริสต์ทศวรรษ 180 เอาชนะกบฏที่หวาน (宛; ปัจจุบันคืออำเภอหวานเฉิง หนานหยาง มณฑลเหอหนาน) และเติ้ง (鄧; ปัจจุบันคือเติ้งโจว มณฑลเหอหนาน) ใน ค.ศ. 190 เขาเข้าร่วมการทัพปราบตั๋งโต๊ะในฝ่ายซุนเกี๋ยน และเอาชนะกองทัพของตั๋งโต๊ะที่หยางเหริน (陽人; เชื่อว่าอยู่ใกล้เวินเฉวียน มณฑลเหอหนาน) เทียเภาเข้ารบหลายครั้งและได้รับบาดเจ็บหลายรอบ[5]

รับใช้ซุนเซ็ก

[แก้]

รับใช้ซุนกวน

[แก้]

เสียชีวิต

[แก้]

ชีวประวัติของเทียเภาไม่ได้ระบุว่าเขาเสียชีวิตเมื่อไหร่ อย่างไรก็ตาม อู๋ชู (吳書; หนังสือง่อก๊ก) เขียนโดยเหวย์ จาว ระบุว่า เทียเภาสังหารคนทรยศหลายร้อยคน และโยนร่างลงในกองไฟ หลังเหตุการณ์นี้เขาป่วยและอีกกว่า 100 วันก็เสียชีวิต[6]

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 229 หลังซุนกวนสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิและจัดตั้งง่อก๊ก พระองค์พระราชทานบรรดาศักดิ์โหวแก่เฉิง ซือ (程咨) บุตรชายของเทียเภา เพื่อยกย่องการมีส่วนร่วมของเทียเภา[7]

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. สามก๊กจี่ไม่ได้บันทึกว่าเทียเภาเสียชีวิตตอนไหน อย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้กันว่าเขาเสียชีวิตหลัง ค.ศ. 210 ซึ่งเป็นปีที่จิวยี่เสียชีวิต[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ในขณะที่ปีเกิดของเทียเภาไม่ได้มีการบันทึก อรรถาธิบาย Jiang Biao Zhuan ในชีวประวัติจิวยี่จากสามก๊กจี่ระบุว่า เขามีอายุมากกว่าจิวยี่ (《江表传》曰:普颇以年长...) Jiang Biao Zhuan annotation in Sanguozhi, vol. 54. ชีวประวัติของเทียเภาในสามก๊กจี่ยังระบุอีกว่าเขามีอายุมากที่สุดในบรรดาขุนพลแนวหน้า (先出诸将,普最年长...) สามก๊กจี่ เล่มที่ 55
  2. 2.0 2.1 (周瑜卒,代領南郡太守。權分荊州與劉備,普復還領江夏,遷盪寇將軍,卒。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 55.
  3. de Crespigny (2007), p. 90.
  4. (程普字德謀,右北平土垠人也。初為州郡吏,有容貌計略,善於應對。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 55.
  5. (從孫堅征伐,討黃巾於宛、鄧,破董卓於陽人,攻城野戰,身被創夷。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 55.
  6. (吳書曰:普殺叛者數百人,皆使投火,即日病癘,百餘日卒。) Wu Shu annotation in Sanguozhi vol. 55.
  7. (權稱尊號,追論普功,封子咨為亭侯。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 55.
  • ตันซิ่ว (คริสต์ศตวรรษที่ 3). สามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ).
  • de Crespigny, Rafe (2007). A biographical dictionary of Later Han to the Three Kingdoms (23–220 AD). Leiden: Brill. ISBN 978-90-04-15605-0.
  • เผย์ ซงจือ (คริสต์ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายสามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อจู้).