เอียวจ๋ง
เอียวจ๋ง (หยาง จง) | |
---|---|
楊綜 | |
หัวหน้าเลขานุการ (長史 จ๋างสื่อ) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
เสนาธิการทัพสงบตะวันออก (安東參軍 อานตงชานจฺวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 249 – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | โจฮอง |
ขุนนางสำนักราชเลขาธิการ (尚書郎 ช่างชูหลาง) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 249 – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | โจฮอง |
นายทะเบียน (主簿 จูปู้) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. 249 | |
กษัตริย์ | โจฮอง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไม่ทราบ |
เสียชีวิต | ไม่ทราบ |
อาชีพ | ขุนนาง |
ชื่อรอง | ชูปั๋ว (初伯) |
เอียวจ๋ง มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า หยาง จง (จีน: 楊綜; พินอิน: Yáng Zōng) ชื่อรอง ชูปั๋ว (จีน: 初伯; พินอิน: Chūbó) เป็นขุนนางของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน
ประวัติ
[แก้]เอียวจ๋งรับราชการกับโจซองผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของรัฐวุยก๊กในรัชสมัยจักรพรรดิโจฮอง โดยเอียวจ๋งดำรงตำแหน่งนายทะเบียน (主簿 จูปู้)
ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 249[a] สุมาอี้ก่อการรัฐประหารยึดอำนาจโจซองในนครลกเอี๋ยง เวลานั้นโจซองตามเสด็จจักรพรรดิโจฮองไปสุสานโกเบงเหลง (高平陵 เกาผิงหลิง) สุมาอี้ส่งข้อเสนอไปถึงโจซองให้ยอมแพ้และสละอำนาจของตน แล้วโจซองกับครอบครัวจะไม่เป็นอันตราย โจซองคิดจะมอบตราประจำตำแหน่งส่งไปให้สุมาอี้ เอียวจ๋งจึงทัดทานการสละอำนาจของโจซองโดยกล่าว "นายท่านยังมีองค์ประมุขและกุมอำนาจอยู่ บัดนี้กลับต้องการยอมจำนน ไม่เป็นการไปตะแลงแกงเพื่อขอให้ตัดศีรษะตนหรอกหรือ" โจซองไม่ฟังคำของเอียวจ๋ง[2]
ต่อมามีเจ้าหน้าที่ไปรายงานสุมาอี้เรื่องที่เอียวจ๋งแนะนำโจซองให้ก่อกบฏ สุมาอี้พูดว่า "ต่างตนต่างก็มีนายของตน" และไม่ดำเนินการสืบสวนใด ๆ กับเอียวจ๋ง และยังตั้งเอียวจ๋งเป็นขุนนางสำนักราชเลขาธิการ (尚書郎 ช่างชูหลาง)[3]
ในจิ้นจี้ (晉紀) ของกาน เป่า (干寶) ระบุว่าหลังจากที่โจซองถูกประหารชีวิต สุมาอี้ตั้งให้เอียวจ๋งเป็นเสนาธิการทัพสงบตะวันออก (安東參軍 อานตงชานจฺวิน)[4] ต่อมาเอียวจ๋งได้เป็นหัวหน้าเลขานุการ (長史 จ๋างสื่อ) ของสุมาเจียวผู้เป็นขุนพลสงบภาคตะวันออก (安東將軍 อานตงเจียงจฺวิน)[5]
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ (嘉平元年春正月甲午,車駕謁高平陵。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
- ↑ (及爽解印綬,將出,主簿楊綜止之曰:「公挾主握權,捨此以至東巿乎?」爽不從。) อรรถาธิบายจากชื่อ-ยฺหวี่ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
- ↑ (有司奏綜導爽反,宣王曰:「各爲其主也。」宥之,以爲尚書郎。) อรรถาธิบายจากชื่อ-ยฺหวี่ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
- ↑ (夏侯湛爲芝銘及干寶晉紀並云爽旣誅,宣王即擢芝爲并州刺史,以綜爲安東參軍。) อรรถาธิบายของเผย์ ซงจือในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
- ↑ (綜字初伯,後爲安東將軍司馬文王長史。) อรรถาธิบายจากชื่อ-ยฺหวี่ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
บรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อจู้).