เตียวหุย
เตียวหุย (จาง เฟย์) 張飛 | |
---|---|
![]() | |
ภาพวาดเตียวหุยในสมัยราชวงศ์ชิง | |
ผู้บัญชาการกองพลทหารม้ารถศึก (車騎將軍) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 221 – ค.ศ. 221 | |
กษัตริย์ | เล่าปี่ |
นายพันเอกผู้บัญชาการมณฑลราชธานี (司隸校尉) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 221 – ค.ศ. 221 | |
กษัตริย์ | เล่าปี่ |
ถัดไป | จูกัดเหลียง |
แม่ทัพฝ่ายขวา (右將軍) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 219 – ค.ศ. 221 | |
กษัตริย์ | เล่าปี่ |
เจ้าเมืองปาเส (巴西太守) (ภายใต้เล่าปี่) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 214 – ค.ศ. 219 | |
กษัตริย์ | หองจูเหียบ |
เจ้าเมืองหนาน (南郡太守) (ภายใต้เล่าปี่) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. 214 | |
กษัตริย์ | หองจูเหียบ |
เจ้าเมืองอี๋ตู (宜都太守) (ภายใต้เล่าปี่) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | หองจูเหียบ |
แม่ทัพผู้โจมตีเชลยศึก (征虜將軍) (ภายใต้เล่าปี่) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 209 – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | หองจูเหียบ |
General of the Household (中郎將) (ภายใต้เล่าปี่) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 199 – ค.ศ. 209 | |
กษัตริย์ | หองจูเหียบ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไม่ปรากฏ เมืองจัวจวิ้น จักรวรรดิฮั่น (ปัจจุบันคือ อำเภอจัวโจว มณฑลเหอเป่ย์) |
เสียชีวิต | กรกฎาคม หรือ สิงหาคม ค.ศ. 221[a] หลางจง เมืองปาเส จ๊กก๊ก (ปัจจุบันคือ เมืองหลางจง มณฑลเสฉวน) |
คู่สมรส | Xiahou Ji |
บุตร | |
อาชีพ | แม่ทัพ |
ชื่อรอง | อี้เต๋อ/เอ๊กเต๊ก (益德/翼德) |
สมัญญานาม | หฺวันโหฺว (桓侯) |
ตำแหน่งขุนนาง | Marquis of Xi District (西鄉侯) |
เตียวหุย (จาง เฟย์) | |||||||||||||||||||||||||
![]() "เตียวหุย" (จาง เฟย์) เขียนเป็นอักษรจีนตัวเต็ม (บน) และอักษรจีนตัวย่อ (ล่าง) | |||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 張飛 | ||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 张飞 | ||||||||||||||||||||||||
|
เตียวหุย (เสียชีวิต ค.ศ. 221)[1][2] มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า จางเฟย์ (จีน: 张飞; พินอิน: Zhāng Fēi; เวด-ไจลส์: Chang Fei) ชื่อรอง เอ๊กเต๊ก หรือ อี้เต๋อ (益德) เกิดในอำเภอจัวจวิน (ปัจจุบันคือ อำเภอจัวโจว, เมืองเป่าติ้ง, มณฑลเหอเป่ย์) ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เขาเป็นขุนพลคนสำคัญของจ๊กก๊ก ในสมัยสามก๊กและเป็นหนึ่งในพี่น้องร่วมสาบานของเล่าปี่ เขาและกวนอูถูกเรียกว่า "ศัตรูหมื่นคน"
ประวัติ[แก้]
เตียวหุย เป็นพระอนุชาร่วมสาบานคนสุดท้องของพระเจ้าเล่าปี่และกวนอู โดยการสาบานที่สวนดอกท้อนั้น กระทำขึ้นที่หลังบ้านของเตียวหุยเอง และเป็นเตียวหุยที่ออกทุนทรัพย์ในการรวบรวมผู้คนเป็นครั้งแรกของทั้ง 3 มีนิสัยวู่วามอารมณ์ร้อน ชอบดื่มสุราจนเมามายแล้วเฆี่ยนตีทหารบ่อย ๆ ศีรษะโตเหมือนเสือ หน้าสีดำ ตาพองโต เสียงดังปานฟ้าผ่า กิริยาดั่งม้าควบ เป็นผู้มีพละกำลังมากและมีแรงมากที่สุดในสามพี่น้อง อาวุธประจำตัวคือทวนยาว 8 ศอก หนัก 80 ชั่งจีน เรียกว่าทวนอสรพิษ บางตำราเรียกว่า ทวนยาวอสรพิษ ตัวคมทวนขดไปมาเป็นคลื่นคล้ายงู ปลายคมเป็นรูปจันทร์เสี้ยว อาชีพเดิมของเตียวหุยคือคนขายหมูในเมืองตุ้นกวน ต่อมาได้ติดตามเล่าปี่เพื่อปราบกบฏโจรโพกผ้าเหลือง และเตียวหุยก็ได้ร่วบรบกับพระเจ้าเล่าปี่ มาตลอดทั้งชีวิต ทั้งสู้รบมาหลายศึกอย่างศึกเซ็กเพ็ก ศึกเขาเตงกุนสัน ร่วมรบกับทหารเสือหลายคน ภายหลังเตียวหุยเสียชีวิตขณะยกทัพไปหมายจะล้างแค้นให้กวนอู เพราะถูกลอบฆ่าตัดหัวโดยฮอมเกียงและเตียวตัดทหารฝ่ายตนเอง เตียวหุยอายุได้ 54 ปี (ในฉบับหลอกว้านจงกล่าวว่าเสียชีวิตเมื่ออายุ 50 ปี) เนื่องจากนิสัยวู่วามของตนเอง
ภายนอกเตียวหุยอาจดูเป็นคนหยาบช้า อารมณ์ร้อนไม่มีสติปัญญา แต่แท้ที่จริงแล้วเตียวหุยเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์มาก เป็นคนตรงไปตรงมา นับถือคุณธรรม กล้าหาญ และเป็นผู้ที่มีสติปัญญาในการวางอุบายรบด้วย ดั่งจะเห็นได้จากหลายตอน เช่น เมื่อครั้งที่เล่าปี่อพยพครอบครัวและชาวเมืองจากเมืองซินเอี๋ยหนีการตามล่าของโจโฉ เตียวหุยเป็นผู้ใช้อุบายใช้กิ่งไม้ผูกหางม้า แล้วให้ทหารวิ่งไปมาในป่าหลังสะพานเตียงปันให้ฝุ่นตลบ เพื่อลวงทหารโจโฉว่ามีกองกำลังซุ่มในป่าจำนวนมาก ทั้งยังมีอุบายเปิดเผยเส้นทาง เพื่อหลอกเงียมหงันให้มาลอบโจมตี แต่สุดท้ายก็เข้าแผนของเตียวหุยที่ใช้กองทัพซุ่มซ้อนกลจนพ่ายแพ้ไป และอีกครั้งที่แสร้งทำเป็นเมามายเพื่อลวงเตียวคับ จนในที่สุดก็เอาชนะเตียวคับได้ ทั้งที่มีชัยภูมิเสียเปรียบกว่า เป็นต้น
ครอบครัว[แก้]
- พี่ร่วมสาบาน
- บุตร
- แม่ทัพเตียวเปา
- พระนางเตียวฮองเฮา มเหสีของสมเด็จพระเจ้าเล่าเสี้ยน
อาวุธ[แก้]
อาวุธประจำกายของเตียวหุยมีลักษณะเป็นโค้งคล้ายงูเลื้อยไปมา หัวตัด รู้จักกันดีในชื่อว่า ทวนงูเลื้อย หรือ ทวนอสรพิษ (Viper Blade) หลอมพร้อมกันกับอาวุธของเล่าปี่และกวนอู หนักถึง 80 ชั่ง
รายชื่อบุคคลที่ถูกสังหารโดยเตียวหุย[แก้]
- เตงเมา โจรโพกผ้าเหลือง
- โกเสง โจรโพกผ้าเหลือง
- โจป้า พ่อตาของลิโป้
- เอียวฮอง อดีตขุนพลของอ้วนสุด
- กิเหลง ขุนพลของอ้วนสุด
- ตันสูน ขุนพลของเล่าเปียว ที่กลับคิดกบฏต่อเล่าเปียว
- ลิเซียง ขุนพลของโจโฉ อดีตขุนพลของอ้วนเสี้ยว
- แฮหัวอัน ขุนพลของโจโฉ ถูกเตียวหุยสังหารในศึกทุ่งพกบ๋อง
- แฮหัวเจี๋ย ขุนพลของโจโฉ
- จิวเสี้ยน คนสนิทของซุนกวน
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 จดหมายเหตุสามก๊กระบุว่าเตียวหุยถูกผู้ใต้บังคับบัญชาสังหารในเดือนหก ปีแรกของศักราชจางอู่ (ค.ศ. 221-223) ในรัชสมัยของพระเจ้าเล่าปี่ ความจากจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 32 ว่า: ([章武元年]六月, ... 車騎將軍張飛為其左右所害。)
- ↑ de Crespigny, Rafe (2007). A biographical dictionary of Later Han to the Three Kingdoms (23–220 AD). Brill. p. 1042. ISBN 978-90-04-15605-0.
- หนังสือ คุยเฟื่องเรื่องสามก๊ก โดย โกวิท ตั้งตรงจิตร (พ.ศ. 2550 สำนักพิมพ์ชมรมเด็ก)
- หนังสือ สามก๊กฉบับนายทุน โดย หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
- หนังสือ โจโฉ นายกรัฐมนตรีตลอดกาล โดย หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
ดูเพิ่ม[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- เตียวหุย-นักรบจอมดีเดือด
- หนังสือขุนพลสามก๊ก ทองแถม นาถจำนง ผู้เขียน
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/>
ที่สอดคล้องกัน หรือไม่มีการปิด </ref>