เตียวต๋อง
เตียวต๋อง (จาง ตาง) | |
---|---|
張當 | |
ผู้ตรวจสอบนครหลวง (都監 ตูเจียน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – 9 กุมภาพันธํ ค.ศ. 249 | |
กษัตริย์ | โจฮอง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไม่ทราบ |
เสียชีวิต | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 249[a] นครลั่วหยาง มณฑลเหอหนาน |
อาชีพ | ขันทีราชสำนัก |
เตียวต๋อง (เสียชีวิตวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 249)[a] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า จาง ตาง (จีน: 張當; พินอิน: Zhāng Dāng) เป็นขุนนางขันทีในรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน เป็นขุนนางขันทีสำนักประตูเหลือง (黃門 หฺวางเหมิน) ในรัชสมัยของโจฮอง จักรพรรดิลำดับที่ 3 ของวุยก๊ก
ประวัติ
[แก้]เตียวต๋องเป็นมิตรสนิทกับโจซองผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งวุยก๊กในรัชสมัยจักรพรรดิโจฮอง โจซองตั้งให้เตียวต๋องเป็นผู้ตรวจสอบนครหลวงหรือเต้าก๋ำ (都監 ตูเจียน)
หลังสุมาอี้ก่อก่อการรัฐประหารยึดอำนาจจากโจซองเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 249[b] สุมาอี้ได้กล่าวโทษเตียวต๋องว่าตัวเตียวต๋องคอยจับตาดูความเคลื่อนไหวของจักรพรรดิโจฮอง สร้างความแตกแยกระหว่างจักรพรรดิและพระพันปีหลวงสองวัง ทำร้ายความพันธ์ของเลือดเนื้อ ทำให้แผ่นดินวุ่นวายไม่สงบ และทำให้ทุกคนหวาดกลัว[2]
ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 249[a] มีขุนนางถวายฎีกาทูลว่า "ขันทีสำนักประตูเหลืองเตียวต๋องลอบจับตัวสนมชั้นไฉเหริน (才人) จางชื่อ (張氏) เหอชื่อ (何氏) และคนอื่น ๆ แล้วเตียวต๋องจึงส่งไปให้โจซอง ครั้งหนึ่งตัวโจซองยังเคยพาสนมชั้นไฉเหรินในจักรพรรดิโจยอย 7-8 คนไปเป็นหญิงขับร้องฟ้อนรำสร้างความสำราญ ปลอมราชโองการให้ส่งสนมชั้นไฉเหริน 57 คนส่งไปยังหอที่เงียบกุ๋น (鄴 เย่) แล้วให้สนมชั้นเจี๋ย-ยฺหวี (婕妤) สอนการขับร้องฟ้อนรำ เกรงว่าพวกเขากำลังวางแผนก่อการกบฏ" เตียวต๋องจึงถูกจับกุมและนำไปให้เสนาบดีตุลาการ (廷尉 ถิงเว่ย์) ไต่สวน เตียวต๋องสารภาพว่า "โจซองสมคบคิดกับราชเลขาธิการ (尚書 ช่างซู) โฮอั๋น เตงเหยียง เตงปิด ผู้บังคับการมณฑลราชธานี (司隸校尉 ซือลี่เซี่ยวเว่ย์) ปิดห้วน ข้าหลวงมณฑลเกงจิ๋ว (荊州刺史 จิงโจวชื่อฉื่อ) หลีซิน และคนอื่น ๆ วางแผนก่อกบฏ จะเริ่มก่อการกลางเดือนสาม" ราชสำนักจึงจับกุมโจซอง โจอี้ โจหุ้น โฮอั๋น เตงเหยียง เตงปิด ปิดห้วน หลีซิน และฮวนห้อม ทั้งหมดรวมทั้งเตียวต๋องถูกประหารชีิวิต[3]
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 พระราชประวัติโจฮองในจดหมายเหตุสามก๊กบันทึกว่า โจซองกับผู้มีส่วนร่วม ได้แก่ เตงปิด, เตงเหยียง, โฮอั๋น, ปิดห้วน, หลีเสง และฮวนห้อม ถูกประหารชีวิตพร้อมกับครอบครัวในวันอู้ซฺวีของเดือน 1 ของศักราชเจียผิง ปีที่ 1 ในรัชสมัยของโจฮอง[1] ตรงกับวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 249 ตามปฏิทินกริกอเรียน
- ↑ วันเจี๋ยอู่ของเดือน 1 ในศักราชเจียผิงปีที่ 1 ตามพระราชประวัติโจฮองในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ([嘉平元年春正月]戊戌,有司奏収黃門張當付廷尉,考實其辭,爽與謀不軌。又尚書丁謐、鄧颺、何晏、司隷校尉畢軌、荊州刺史李勝、大司農桓範皆與爽通姦謀,夷三族。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
- ↑ (外旣如此,又以黃門張當爲都監,專共交關,看察至尊,候伺神器,離間二宮,傷害骨肉。天下汹汹,人懷危懼,陛下但爲寄坐,豈得久安!) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
- ↑ (戊戌,有司奏:「黃門張當私以所擇才人與爽,疑有奸。」收當付廷尉考實,辭云:「爽與尚書何晏、鄧颺、丁謐、司隸校尉畢軌、荊州刺史李勝等陰謀反逆,須三月中發。」於是收爽、羲、訓、晏、颺、謐、軌、勝並桓范皆下獄,劾以大逆不道,與張當俱夷三族。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 75.
บรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อ).
- ฝาน เสฺวียนหลิง (648). พงศาวดารราชวงศ์จิ้น (จิ้นชู).
- ซือหม่า กวาง (1084). จือจื้อทงเจี้ยน.