อุบัติการณ์สุสานโกเบงเหลง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุบัติการณ์สุสานโกเบงเหลง
วันที่5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 249[1]
สถานที่ลกเอี๋ยง มณฑลเหอหนาน
ผล สุมาอี้ยึดอำนาจจากโจซอง
คู่สงคราม

คณะรัฐประหารนำโดยสุมาอี้

  • กองทัพหลวงที่เข้ากับสุมาอี้
  • กองทัพเสเหลียง
  • กองทัพในแต่ละสังกัด
กลุ่มขุนนางที่เข้ากับสุมาอี้
นายทหารที่เข้ากับสุมาอี้

กองทัพของโจซอง

  • กองทหารรักษาพระองค์
  • กองทัพหลวง
กลุ่มขุนนางในพระราชสำนัก
กลุ่มขันทีวุยก๊ก
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สุมาอี้
สุมาสู
สุมาเจียว
อินต้ายบก
โกฮิว
อองก๋วน
ซูหวน
โจซอง โทษประหารชีวิต
โจอี้ โทษประหารชีวิต
โจหุ้น โทษประหารชีวิต
ฮวนห้อม
เตียวต๋อง โทษประหารชีวิต
อุบัติการณ์สุสานโกเบงเหลง
อักษรจีนตัวเต็ม高平陵之變
อักษรจีนตัวย่อ高平陵之变

อุบัติการณ์สุสานโกเบงเหลง (จีน: 高平陵之變; อังกฤษ: Incident at Gaoping Tombs) ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นใน วุยก๊ก ช่วงปลาย ยุคสามก๊ก เมื่อ ค.ศ. 249 ในรัชสมัย พระเจ้าโจฮอง จักรพรรดิองค์ที่ 3 โดยเป็นความขัดแย้งระหว่าง สุมาอี้ ผู้เป็นราชครูและ โจซอง บุตรชายของอดีตแม่ทัพใหญ่ โจจิ๋น ผู้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินสุดท้ายเป็นฝ่ายสุมาอี้ที่ได้ชัยชนะและจัดการกวาดล้างตระกูลของโจซองจนหมดสิ้นทำให้ตระกูลสุมาได้ครองอำนาจในวุยก๊กได้แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดโดยองค์จักรพรรดิเป็นเพียงแค่จักรพรรดิหุ่นเชิดไม่มีพระราชอำนาจใด ๆ ทั้งสิ้นก่อนจะถูกโค่นราชบัลลังก์โดยสุมาเอี๋ยน ในรัชสมัยพระเจ้าโจฮวน เมื่อ ค.ศ. 265

โดยเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 249 เมื่อโจซองได้ทูลเชิญพระเจ้าโจฮองไปสักการะพระราชสุสานโกเบงเหลงของ พระเจ้าโจยอย จักรพรรดิองค์ที่ 2 ผู้เป็นพระราชบิดาของพระเจ้าโจฮองโดยแต่งตั้งให้สุมาอี้เป็นผู้รักษาพระนครซึ่งสุมาอี้ได้สบโอกาสในช่วงนี้ส่งบุตรชายทั้ง 2 ของตนคือ สุมาสู และ สุมาเจียว ไปกราบทูลให้กวยทายเฮาผู้เป็นพระราชมารดาของพระเจ้าโจฮองในการขอพระบรมราชโองการเพื่อความชอบธรรมในการปลดโจซองและน้องชายอีก 2 คนออกจากตำแหน่งเมื่อโจซองทราบเรื่องจึงรีบกลับมายังพระนครลกเอี๋ยงแต่สุมาอี้รู้ทันจึงสั่งให้ปิดประตูเมืองโจซองจึงส่งคนมาถามว่าทำไมต้องทำอย่างนี้สุมาอี้จึงบอกว่าแค่ต้องการให้โจซองและพรรคพวกวางอาวุธเท่านั้นเมื่อโจซองวางอาวุธสุมาอี้จึงสั่งจับโจซองและน้องชายและได้สั่งประหารชีวิตโจซองรวมถึงน้องชายทั้ง 2 และครอบครัวทั้งหมด

อ้างอิง[แก้]

  1. jiawu day of the 1st month of the 1st year of the Jia'ping era, per Cao Fang's biography in vol. 04 of Sanguozhi