เล่าเซียว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เล่าเซียว (หลิว เช่า)
劉劭
ขุนนางทหารม้ามหาดเล็ก
(散騎常侍 ซ่านฉีฉางชื่อ)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์โจยอย
นายร้อยทหารม้า (騎都尉 ฉีตูเว่ย์)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์โจยอย
เจ้าเมืองตันลิว (陳留太守 เฉินหลิวไท่โฉ่ว)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์โจยอย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
นครหานตาน มณฑลเหอเป่ย์
เสียชีวิตไม่ทราบ
บุตรหลิว หลิน
อาชีพขุนนาง
ชื่อรองข่งไฉ (孔才)
บรรดาศักดิ์กวนไล่เหา (關內侯 กวานเน่ย์โหว)

เล่าเซียว[1] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า หลิว เช่า (จีน: 劉劭; พินอิน: Liú Shào) ชื่อรอง ข่งไฉ (จีน: 孔才; พินอิน: Kǒngcái) เป็นขุนนางของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน

ประวัติ[แก้]

เล่าเซียวเป็นชาวอำเภอหานตาน (邯鄲縣 หานตานเซี่ยน) เมืองกว่างผิง (廣平郡 กว่างผิงจฺวิ้น) ซึ่งปัจจุบันครนครหานตาน มณฑลเหอเป่ย์ เป็นทายาทรุ่นที่ 11 ของหลิว ชาง (劉蒼) ผู้มีบรรดาศักดิ์อินเฉิงซือโหว (陰城思侯) และเป็นโอรสของหลิว เผิงจู่ (劉彭祖) ผู้มีฐานันดรศักดิ์เจ้าจิ้งซู่หวาง (趙敬肅王) ในยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันตก[2] เกิดในช่วงศักราชเจี้ยนหนิง (ค.ศ. 168-172) ในรัชสมัยพระเจ้าเลนเต้แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก

เล่าเซียวเริ่มเข้ารับราชการในรัชสมัยพระเจ้าเหี้ยนเต้ โดยเริ่มจะการเป็นเจ้าพนักงานของที่ว่าการเมืองกว่างผิง แล้วขึ้นมามีตำแหน่งข้าราชบริพารของรัชทายาท (太子舍人 ไท่จื๋อเฉ่อเหริน) และขุนนางห้องสมุดหลวง (秘書郎 มี่ชูหลาง)[3] ในยุควุยก๊ก เล่าเซียวได้ดำรงตำแหน่งเป็นขุนนางสำนักราชเลขาธิการ (尚書郎 ช่างชูหลาง), ขุนนางทหารม้ามหาดเล็ก (散騎侍郎 ซ่านฉีชื่อหลาง)[4] และเจ้าเมือง (太守 ไท่โฉ่ว) ของเมืองตันลิว (陳留 เฉินหลิว)[5] ภายหลังได้รับบรรดาศักดิ์เป็นกวนไล่เหา (關內侯 กวานเน่ย์โหว)[6]

เล่าเซียวมักถวายคำแนะนำแก่จักรพรรดิโจยอยแห่งวุยก๊ก โจยอยยกย่องว่าคำแนะนำของเล่าเซียวเป็นคำแนะนำที่ดี แม้โจยอยจะไม่ค่อยได้ทรงทำตามคำแนะนำนั้นก็ตาม เล่าเซียวยังเขียนบทกวีเพื่อพยายามทัดทานโจยอยในเรื่องโครงการทางการทหารและการก่อสร้างพระราชวัง เมื่อซุนกวนจักรพรรดิแห่งรัฐง่อก๊กที่เป็นรัฐอริของวุยก๊กนำทัพเข้าโจมตีฐานที่มั่นของกองกำลังวุยก๊กที่หับป๋าในปี ค.ศ. 234 เล่าเซียวทูลเสนอให้โจยอยส่งกองกำลังไปตัดเส้นทางลำเลียงเสบียงของซุนกวนแทนที่จะปะทะกับซุนกวนโดยตรง กลยุทธ์นี้ทำให้ซุนกวนต้องล่าถอย (แต่ในจือจื้อทงเจี้ยนของซือหม่า กวางระบุว่าเป็นเตียวอี้ที่เป็นผู้ถวายคำแนะนำนี้ ไม่ใช่เล่าเซียว)

เล่าเซียวมีความรู้กว้างขวาง อ่านหนังสือจำนวนมาก และเคยรับหน้าที่สอนตำรา เล่าเซียวเรียบเรียงตำราหมวดหมู่หฺวางหล่าน (皇覽) และมีส่วนร่วมในการร่างประมวลกฎหมายซินลฺวี่ (新律) เป็นผู้ประพันธ์เล่อลุ่น (樂論), สวี่ตูฟู่ (許都賦), ลั่วตูฟู่ (洛都賦) และผลงานอื่น ๆ ผลงานส่วนใหญ่ของเล่าเซียวสูญหายไป ในปัจจุบันเหลือเพียงเหรินอู้จื้อ (人物志), เจ้าตูฟู่ (趙都賦) และช่างตูกวานเข่าเค่อชู (上都官考課疏)

เล่าเซียวเสียชีวิตในช่วงศักราชเจิ้งฉื่อในรัชสมัยจักรพรรดิโจฮอง หลังจากเล่าเซียวเสียชีวิตได้แต่งตั้งย้อนหลังให้เป็นเสนาบดีกรมวัง (光祿勳 กวางลู่ซฺวิน)[7]

ทายาท[แก้]

เล่าเซียวมีบุตรชายชื่อหลิว หลิน (劉琳) สืบบรรดาศักดิ์กวนไล่เหาถัดจากบิดา[8]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. (ฝ่ายพระเจ้าโจยอยจึงให้เล่าเซียวคุมทหารไปช่วยเมืองกังแฮ ให้เตียวอี้คุมทหารไปช่วยเมืองซงหยง) "สามก๊ก ตอนที่ ๗๗". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ November 23, 2023.
  2. (【廣平陰城】漢景帝子趙敬肅王彭祖,生隂城思侯蒼,始居廣平。十一代〈注:案唐世系表十六代此作十一代〉孫邵字孔才魏散騎常侍。) ยฺเหวียนเหอซิ่งจฺว่าน เล่มที่ 5 แซ่หลิว
  3. (御史大夫郗慮辟劭,會慮免,拜太子舍人,遷祕書郎。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 21
  4. (黃初中,為尚書郎、散騎侍郎。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 21
  5. (明帝即位,出為陳留太守,敦崇教化,百姓稱之。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 21
  6. (執經講學,賜爵關內侯。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 21
  7. (卒,追贈光祿勳。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 21
  8. (子琳嗣。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 21

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]