ข้ามไปเนื้อหา

งักจิ้น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
งักจิ้น
樂進
ขุนพลฝ่ายขวา (右將軍)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 215 (215) – ค.ศ. 218 (218)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
หัวหน้ารัฐบาลโจโฉ
แม่ทัพผู้จู่โจมปะทะแตกหัก
(折衝將軍)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 206 (206) – ค.ศ. 215 (215)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
หัวหน้ารัฐบาลโจโฉ (ตั้งแต่ ค.ศ. 208)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
เทศมณฑลชิงเฟิง มณฑลเหอหนาน
เสียชีวิตค.ศ. 218[a]
บุตรYue Lin
อาชีพขุนพล
ชื่อรองเหวินเชียน (文謙)
ชื่อหลังเสียชีวิตเวย์โหว (威侯)
ตำแหน่งกว่างชางถิงโหว (廣昌亭侯)

งักจิ้น (จีนตัวย่อ: 乐进; จีนตัวเต็ม: 樂進; พินอิน: Yuè Jìn; เสียชีวิต ค.ศ. 218),[1] ชื่อรอง เหวินเชียน เป็นขุนพลที่รับใช้ขุนศึก โจโฉ ในราชวงศ์ฮั่นตะวันออกตอนปลายของจีน เขามีส่วนร่วมในการทัพช่วงแรกของโจโฉ และประสบความสำเร็จในการทัพต่อลิโป้, เล่าปี่, กบฏโพกผ้าเหลืองที่หลงเหลือ และอ้วนเสี้ยวกับพันธมิตรหลายครั้ง เขาได้รับการยกย่องเป็นพิเศษว่าเป็นกองหน้าที่มีความสามารถ แต่ครั้งที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคืกการทำหน้าที่เป็นผู้ป้องกันเหอเฝย์จากกองทัพของซุนกวนในยุทธการที่หับป๋าเมื่อ ค.ศ. 214–215[2]

ตันซิ่ว ผู้เขียนจดหมายเหตุสามก๊ก จัดให้งักจิ้นเป็นหนึ่งในห้าทหารเสือแห่งวุยก๊ก ร่วมกับอิกิ๋ม, เตียวคับ, เตียวเลี้ยว และซิหลง[3]

ชีวิตช่วงต้น

[แก้]

งักจิ้นเกิดที่หยางผิงจฺวิ้น (陽平郡) ซึ่งปัจจุบันคือเทศมณฑลชิงเฟิง มณฑลเหอหนาน[4] ในราชวงศ์ฮั่นตะวันออกตอนปลาย งักจิ้นเป็นคนรูปร่างเตี้ยและตัวเล็ก แต่จิตใจห้าวหาญ เก่งกาจในเชิงยุทธ์ เมื่อเขาเข้ารับใช้ขุนศึก โจโฉ ในตอนแรก เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นเสมียนที่ทำหน้าที่บริหารงานในค่าย[5]

ประมาณต้น ค.ศ. 190[6] เมื่อโจโฉเรียกกองทัพให้เข้าร่วมศึกต่อขุนศึก ตั๋งโต๊ะ ที่ควบคุมรัฐบาลกลางฮั่น งักจิ้นได้รับภารกิจเกณฑ์ทหารเข้าค่ายของโจโฉ ซึ่งเขานำคนจากบ้านเกิดของเขาเข้ากองทัพ 1,000 คน ทำให้เขาได้รับการทดสอบเป็น ซือหม่า (司馬) และ เซี่ยนเจิ้นตูเว่ย์ (陷陣都尉)[7]

ประวัติ

[แก้]

รายละเอียดการดำเนินชีวิตของงักจิ้นในตอนต้นของวรรณกรรมสามก๊ก ไม่ปรากฏหลักฐานแน่นอน มีการกล่าวถึงในตอนได้เข้าร่วมกับกองทัพของโจโฉในตำแหน่งนายทหารชั้นผู้น้อย โดยได้รับมอบหมายให้กลับไปรวบรวมผู้คนจำนวนมากที่บ้านเกิด เพื่อให้เข้าร่วมกับกองทัพในการทำศึกสงคราม งักจิ้นสามารถเกณฑ์ผู้คนจำนวนมากกว่าพันคนในการเข้าร่วมกับกองทัพ จึงได้รับความดีความชอบจากโจโฉด้วยการเลื่อนขั้นจากนายทหารชั้นผู้น้อย เป็นนายทหารระดับนายพัน ภายหลังงักจิ้นได้ช่วยทำศึกออกรบร่วมกับโจโฉหลายต่อหลายครั้ง จนได้เลื่อนยศเป็นเจ๋อชงเจียงจวินหรือนายทหารระดับนายพล

เสียชีวิต

[แก้]

งักจิ้นเสียชีวิตใน ค.ศ. 218 แต่บันทึกประวัติศาสตร์ไม่ได้บันทึกสาเหตุการเสียชีวิต เขาได้รับตำแหน่งหลังเสียชีวิตเป็น "เวย์โหว" (威侯)[8]

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ชีวประวัติของงักจิ้นใน ซันกั๋วจื้อ บันทึกว่าเขาเสียชีวิตในปีที่ 23 ของศักราชเจี้ยนอัน ในรัชสมัยพระเจ้าเหี้ยนเต้[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 (建安二十三年薨, ...) Sanguozhi vol. 17.
  2. de Crespigny (2007), p. 1017.
  3. (評曰:太祖建茲武功,而時之良將,五子為先。于禁最號毅重,然弗克其終。張郃以巧變為稱,樂進以驍果顯名,而鑒其行事,未副所聞。或注記有遺漏,未如張遼、徐晃之備詳也。) Sanguozhi vol. 17.
  4. (樂進字文謙,陽平衞國人也。) Sanguozhi vol. 17.
  5. (容貌短小,以膽烈從太祖,為帳下吏。) Sanguozhi vol. 17.
  6. Sima (1084), vol. 59.
  7. (遣還本郡募兵,得千餘人,還為軍假司馬、陷陣都尉。) Sanguozhi vol. 17.
  8. (建安二十三年薨,謚曰威侯。) Sanguozhi vol. 17.
  • Chen, Shou (คริสต์ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซันกั๋วจื้อ).
  • de Crespigny, Rafe (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23-220 AD. Leiden: Brill. ISBN 9789004156050.
  • Leban, Carl (1971). Ts'ao Ts'ao and the Rise of Wei: The Early Years. Columbia University.
  • Luo, Guanzhong (คริสต์ศตวรรษที่ 14). สามก๊ก (Sanguo Yanyi).
  • Pei, Songzhi (คริสต์ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก (ซันกั๋วจื้อจู้).
  • Sima, Guang (1084). จือจื้อทงเจี้ยน.