บังทอง
บังทอง (ผัง ถ่ง) 龐統 | |
---|---|
![]() | |
ภาพวาดบังทองสมัยราชวงศ์ชิง | |
ที่ปรึกษาการทหารขุนพลองครักษ์ (軍師中郎將) (ภายใต้เล่าปี่) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ป. 209 – ค.ศ. 214 ดำรงตำแหน่งร่วมกับจูกัดเหลียง | |
กษัตริย์ | พระเจ้าเหี้ยนเต้ |
เจ้าหน้าที่ผู้ช่วยสำนักส่วนกลาง (治中從事) (ภายใต้เล่าปี่) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | พระเจ้าเหี้ยนเต้ |
เจ้าหน้าที่ผู้ช่วย(從事) (ภายใต้ซุนกวน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. 209 | |
กษัตริย์ | พระเจ้าเหี้ยนเต้ |
นายอำเภอลอยเอี๋ยง (耒陽令) (ภายใต้ซุนกวน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. 209 | |
กษัตริย์ | พระเจ้าเหี้ยนเต้ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ค.ศ. 179[a] เมืองเซียงหยาง มณฑลหูเป่ย์ |
เสียชีวิต | คงศ. 214 (อายุ 35 ปี)[a] เมืองกวั่งฮั่น มณฑลเสฉวน |
ที่ฝังร่าง | ศาลและสุสานบังทอง |
บุตร | ผัง หง |
อาชีพ | นักการเมือง |
ชื่อรอง | ชื่อเยฺหวียน (士元) |
สมัญญานาม | จิ้งโหฺว (靖侯) |
ฉายา | "ฮองซู" (鳳雛) |
บังทอง (ค.ศ. 179 – 214)[a] หรือชื่อในภาษาจีนกลางว่า ผัง ถ่ง ( การออกเสียง (วิธีใช้·ข้อมูล) ; จีนตัวย่อ: 庞统; จีนตัวเต็ม: 龐統; พินอิน: Páng Tǒng) มีชื่อรองว่า ชื่อเยฺหวียน (士元) เป็นนักการเมืองชาวจีน เป็นที่ปรึกษาของขุนศึกเล่าปี่ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของจีน บังทองในวัยเยาว์มักถูกผู้อื่นมองข้ามเพราะมีรูปร่างหน้าตาธรรมดา แต่สุมาเต๊กโชนับถือบังทองอย่างมากเรียกบังทองว่าเป็น "มงกุฎของบัณฑิตแห่งเกงจิ๋ว" บังทองเรียนตำรากับสุมาเต๊กโชพร้อมกับจูกัดเหลียง ชีซีและเซี่ยง หลั่ง แล้วได้รับฉายาว่า "ฮองซู" (鳯雛 เฟิ่งฉู) แปลว่า "หงส์อ่อน" ด้วยความที่บังทองมีท่าทีเป็นมิตรจึงได้รับราชการเป็นนักประเมินบุคคลในเมืองลำกุ๋น เมื่อพิจารณาบุคคลใด ๆ จะความสำคัญกับคุณธรรมมากกว่าความสามารถและส่งเสริมให้พวกเขาช่วยเหลือผู้อื่น
บังทองรับราชการกับจิวยี่เป็นเวลาสั้น ๆ ได้ผูกมิตรเป็นเพื่อนกับลกเจ๊ก, กู้ เช่า และจวนจ๋อง ก่อนจะเข้าร่วมกับเล่าปี่ในปี ค.ศ. 209 หลังจากที่เล่าปี่ได้ขึ้นเป็นเจ้ามณฑลเกงจิ๋ว เล่าปี่ตั้งให้บังทองมีตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ช่วยตามคำแนะนำของโลซกและจูกัดเหลียง และเลื่อนขึ้นเป็นที่ปรึกษาการทหารขุนพลองครักษ์ บังทองแนะนำเล่าปี่ให้ยึดมณฑลเอ๊กจิ๋ว แล้วได้ติดตามเล่าปี่ไปร่วมการศึกที่เอ๊กจิ๋ว (ครอบคลุมพื้นที่ของมณฑลเสฉวนและนครฉงชิ่งในปัจจุบัน) รบกับขุนศึกเล่าเจี้ยง แต่บังทองถูกสังหารโดยเกาทัณฑ์ลูกหลงระหว่างการรบที่อำเภอลกเสีย (ปัจจุบันอยู่ทางเหนือของเมืองกวั่งฮั่น มณฑลเสฉวน) ในปี ค.ศ. 214[1]
หมายเหตุ[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 ชีวประวัติบังทองในจดหมายเหตุสามก๊กบันทึกว่าบังทองเสียชีวิตขณะอายุ 36 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก) ในปี ค.ศ. 214 เมื่อคำนวณแล้วปีเกิดของบังทองจึงควรเป็นราว ค.ศ. 179
อ้างอิง[แก้]
- ↑ de Crespigny 2007, p. 689.
ดูเพิ่ม[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: บังทอง |