ซุนฮูหยิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซุนฮูหยิน (ซุน ฟูเหริน)
ภาพวาดซุนฮูหยินสมัยราชวงศ์ชิง
เกิดไม่ปรากฏ
เสียชีวิตไม่ปรากฏ
คู่สมรสเล่าปี่
บุพการี

ซุนฮูหยิน หรือชื่อในภาษาจีนกลางว่า ซุน ฟูเหริน (จีนตัวย่อ: 孙夫人; จีนตัวเต็ม: 孫夫人; พินอิน: Sūn Fūrén) หรือรู้จักในชื่อ ซุนหยิน ในนิยายอิงประวัติศาศตร์สมัยศตวรรษที่ 14 เรื่องสามก๊ก และ ซุน ช่างเซียง[a]ในอุปรากรจีนและวัฒนธรรมร่วมสมัย เป็นสตรีสูงศักดิ์ผู้มีชีวิตในช่วงปลายสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก[1] เป็นบุตรสาวของขุนศึกซุนเกี๋ยนและงอฮูหยิน มีพี่ชายคือขุนศึกซุนเซ็กและซุนกวนผู้ก่อตั้งรัฐง่อก๊กในยุคสามก๊ก ราวปี ค.ศ. 209 ซุนฮูหยินแต่งงานกับขุนศึกเล่าปี่เพื่อเสริมสร้างความเป็นพันธมิตรระหว่างเล่าปี่และซุนกวน ราวปี ค.ศ. 211 ซุนฮูหยินกลับไปยังอาณาเขตของซุนกวนในระหว่างที่เล่าปี่จากมณฑลเกงจิ๋ว (ปัจจุบันครอบคลุมพื้นที่ของมณฑลหูเป่ย์และหูหนาน) เพื่อมาตั้งมั่นอยู่ที่มณฑลเอ๊กจิ๋ว (ปัจจุบันครอบคลุมพื้นที่ของมณฑลเสฉวนและนครฉงชิ่ง)

ประวัติ[แก้]

ซุนฮูหยินเป็นบุตรสาวคนเดียวของซุนเกี๋ยนและงอฮูหยิน มีพี่ชายสี่คนซึ่งล้วนเกิดจากงอฮูหยิน ได้แก่ ซุนเซ็ก ซุนกวน ซุนเซียง และซุนของ[2][3] ชื่อตัวของซุนฮูหยินไม่มีการบันทึกในประวัติศาสตร์

ราวปี ค.ศ. 209[4] ซุนฮูหยินแต่งงานกับขุนศึกเล่าปี่เพื่อเสริมสร้างความเป็นพันธมิตรระหว่างเล่าปี่และซุนกวน สันนิษฐานว่าการแต่งงานจัดขึ้นที่อำเภอกังอั๋นเพราะเป็นศูนย์กลางของมณฑลเกงจิ๋วและเล่าปี่มีฐานะเป็นเจ้ามณฑลในนามในเวลานั้น[b] ซุนฮูหยินมีชื่อเสียงว่าเป็๋นผู้มีความสามารถและฉลาดหลักแหลม และยังมีอุปนิสัยกล้าหาญและดุดันคล้ายกับพวกพี่ชาย ซุนฮูยินยังมีข้ารับใช้หญิงมากกว่าร้อยคนถือดาบยืนอารักขาอยู่นอกห้องส่วนตัว[7] ตัวเล่าปี่เองก็ระแวงและหวาดกลัวซุนฮูหยิน ครั้งหนึ่งจูกัดเหลียงที่ปรึกษาของเล่าปี่กล่าวว่า ""เมื่อนายท่าน [เล่าปี่] อยู่ที่กังอั๋น ก็กลัวอิทธิพลของโจโฉทางเหนือและกลัวการมีอยู่ของซุนกวนทางตะวันออก แม้แต่ในเขตบ้านตัวเองก็กลัวว่าซุนฮูหยินจะก่อปัญหา"[8]

ครอบครัว[แก้]

ชื่อ[แก้]

ชื่ออื่น ๆ ของซุนฮูหยิน ได้แก่:

  • ซุนหยิน หรือในภาษาจีนกลางคือ ซุน เหริน (孙仁; 孫仁; Sūn Rén; Sun Jen) ในนิยายอิงประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่ 14 เรื่องสามก๊ก[9]
  • ซุน ช่างเซียง (孙尚香; 孫尚香; Sūn Shàngxiāng; Sun Shang-hsiang) ในละครและวัฒนธรรมร่วมสมัย
  • เซียวจี (枭姬; 梟姬; Xiāo Jī; Hsiao Chi; "ท่านหญิงผู้ร้ายกาจ") ชื่อเล่นในวัฒนธรรมร่วมสมัย
  • กงเยาจี (弓腰姬; Gōngyāo Jī; Kung-yao Chi; "ท่านหญิงผู้มีเอวดั่งคันเกาทัณฑ์") ชื่อเล่นในสามก๊กฉบับแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นโดยเอจิ โยชิกาวะ

ในนิยายสามก๊ก[แก้]

นักแสดงที่รับบทซุนฮูหยินในภาพยนตร์[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ดูรายละเอียดในส่วนนี้
  2. บทชีวประวัติเล่าปี่ในจดหมายเหตุสามก๊กระบุว่าซุนกวนเกรงอิทธิพลของเล่าปี่หลังจากเลาปี่ขึ้นเป็นเจ้ามณฑลเกงจิ๋ว จึงจัดให้มีการแต่งงานระหว่างน้องสาวกับเล่าปี่[5] บทชีวประวัติซุนกวนในจดหมายเหตุสามก๊กระบุว่าเล่าปี่ขึ้นเป็นเจ้ามณฑลเกงจิ๋วในรัชศกเจี้ยนอันปีที่ 14 (ค.ศ. 209) ดังนั้นจึงสันนิษฐานว่าซุนฮูหยินแต่งงานกับเล่าปี่ในปี ค.ศ. 209[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. de Crespigny (2007), pp. 763–764.
  2. (孫破虜吳夫人,吳主權母也。 ... 生四男一女。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 50.
  3. (志林曰:堅有五子:策、權、翊、匡,吳氏所生;少子朗,庶生也,一名仁。) อรรถาธิบายจากจื้อหลินในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่ม 46.
  4. (權以妹妻備。妹才捷剛猛,有諸兄風,侍婢百餘人,皆執刀侍立,備每入,心常凜凜。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 66.
  5. (琦病死,群下推先主為荊州牧,治公安。權稍畏之,進妹固好。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 32.
  6. (十四年, ... 劉備表權行車騎將軍,領徐州牧。備領荊州牧,屯公安。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 47.
  7. (初,孫權以妹妻先主,妹才捷剛猛,有諸兄之風,侍婢百餘人,皆親執刀侍立,先主每入,衷心常凜凜;亮又知先主雅愛信正,故言如此。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 37.
  8. (亮荅曰:「主公之在公安也,北畏曹公之彊,東憚孫權之逼,近則懼孫夫人生變於肘腋之下; ...) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 37.
  9. (吳夫人之妹,即為孫堅次妻,亦生一子一女:子名朗,字早安;女名仁。) สามก๊ก ตอนที่ 7.
  10. มาดูงานเปิดตัวสามก๊กและบทสัมภาษร์กานคัฟก๊อปมา.เข้าถึง 7 พฤษภาคม 2015.
  11. Sun Shangxiang (Character) เก็บถาวร 2016-03-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.เข้าถึง 12 มิถุนายน 2016.
  • ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซันกั๋วจื้อ).
  • ฉาง ฉฺวี (ศตวรรษที่ 4). พงศาวดารหฺวาหยาง (หฺวาหยางกั๋วจื้อ).
  • de Crespigny, Rafe (2004). Generals of the South: The foundation and early history of the Three Kingdoms state of Wu (internet ed.). Canberra: Faculty of Asian Studies, Australian National University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-07.
  • de Crespigny, Rafe (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23-220 AD. Leiden: Brill. ISBN 9789004156050.
  • ล่อกวนตง (ศตวรรษที่ 14). สามก๊ก (ซันกั๋วเหยี่ยนอี้).
  • เผย์ ซงจือ (ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก (ซันกั๋วจื้อจู้).
  • ซือหม่า กวัง (ค.ศ. 1084). จือจื้อทงเจี้ยน.