องอาจ คล้ามไพบูลย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
องอาจ คล้ามไพบูลย์
องอาจ ในปี พ.ศ. 2553
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ก่อนหน้าวีระชัย วีระเมธีกุล
ถัดไปสุรวิทย์ คนสมบูรณ์
กฤษณา สีหลักษณ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 (70 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2516—ปัจจุบัน)
คู่สมรสดร. อโณทัย คล้ามไพบูลย์

องอาจ คล้ามไพบูลย์ (เกิด 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์[1] ดูแลพื้นที่กรุงเทพมหานคร และอดีตประธาน ส.ส. ของพรรคประชาธิปัตย์[2] ในอดีตเคยดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครหลายสมัย

ประวัติ[แก้]

องอาจ คล้ามไพบูลย์ เกิดวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 มีน้องชาย 2 คน คือ ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการอิสระและอดีตพิธีกรรายการข่าวทางช่อง วอยซ์ทีวี (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชลอิสระ) และ วรพันธุ์ คล้ามไพบูลย์ เจ้าของและผู้ก่อตั้งบริษัท Supergreen Studio และ สถาปนิกชาวไทยเจ้าของรางวัล Difference Design Awards 2006

องอาจ คล้ามไพบูลย์ สมรสกับ ดร.อโณทัย ศรีกิจจา ผู้ช่วยกรรมการบริหาร การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 ณ โรงแรมพลาซ่า แอทธินี รอยัล เมอริเดียน มีบุตรสาว 1 คน คือ นันทพัชร์ คล้ามไพบูลย์ เกิดวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553[3]

การศึกษา[แก้]

องอาจ คล้ามไพบูลย์ จบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล , FIL.STUD.STATSKUNSKAP จาก ประเทศสวีเดน ต่อมาได้ศึกษาจนสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี จาก คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และระดับปริญญาโท 2 สาขา คือ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2540 และคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นอกจากนั้นยังผ่านการศึกษาอบรมหลักสูตรอื่นๆ อาทิ INTYG "TURISM" LINEA SKOLAN ประเทศสวีเดน และ CERTIFICATE POLITICAL STRATEGIES ACADEMIA INTERNACIONAL LIBERDADE E DESENVOLVIMENTO ประเทศโปรตุเกส

การทำงาน[แก้]

ก่อนที่จะเข้าสู่วงการการเมือง องอาจ คล้ามไพบูลย์ เคยทำงานหนังสือพิมพ์ และมีผลงานเขียนหนังสือ ของตัวเองหลายเล่ม และเคยทำงานการเมืองในระดับท้องถิ่นด้วยการเป็น สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ในเขตบางกอกน้อย เมื่อปี พ.ศ. 2528 จากการชักชวนของ มารุต บุนนาค หลังจากเห็นแววจากการไปช่วยปราศรัยหาเสียงให้กับการเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรสาคร

องอาจ คล้ามไพบูลย์ ลงสมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งแรกในสังกัด พรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ต่อมา องอาจ คล้ามไพบูลย์ ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง และชนะการเลือกตั้งที่เขตบางกอกน้อย เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2539 และหลังจากนั้นสามารถชนะการเลือกตั้งในพื้นที่เดิมต่อเนื่องมาโดยตลอด แม้กระทั่งในช่วงที่กระแสความนิยม พรรคประชาธิปัตย์ โดยภาพรวมลดต่ำลงอย่างมาก

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 องอาจ คล้ามไพบูลย์ เป็น ผู้สมัคร ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขต 12 (บางกอกน้อย บางพลัด ตลิ่งชัน และทวีวัฒนา) หมายเลข 10 สามารถชนะการเลือกตั้งเป็นอันดับ 1 ด้วยคะแนนเสียง 107,695 เสียง และสามารถนำพาเพื่อนร่วมทีมที่ลงสมัคร ส.ส. เป็นครั้งแรก คือ ชนินทร์ รุ่งแสง อดีต ส.ก.เขตบางกอกน้อย และผศ.ดร. รัชดา ธนาดิเรก อาจารย์จาก ม.มหิดล โดยชนะเลือกตั้งแบบยกทีม

ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 พรรคประชาธิปัตย์ ประกาศจัดตั้ง คณะรัฐมนตรีเงา หรือ ครม.เงาขึ้น องอาจ คล้ามไพบูลย์ ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรค ให้ทำหน้าที่ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเงา

องอาจ คล้ามไพบูลย์ ได้รับโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายรัฐมนตรี ในรัฐบาลของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ครม.อภิสิทธิ์) เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553[4] ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ[5] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกสมัย เช่นเดียวกับในปี พ.ศ. 2562[6]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 องอาจได้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ของพรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 6 [7]


ตำแหน่งทางการเมือง[แก้]

องอาจ เคยดำรงตำแหน่งทางการเมือง หลายตำแหน่ง อาทิ

  • พ.ศ. 2526 : เลขานุการและที่ปรึกษา รัฐมนตรีช่วย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (ระหว่างปี พ.ศ. 2526-2529)
  • พ.ศ. 2528 : สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ระหว่างปี พ.ศ. 2528–2532)
  • พ.ศ. 2535 : เลขานุการส่วนตัว นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย (พ.ศ. 2535-2538)
  • พ.ศ. 2540 : เลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ (ระหว่างปี พ.ศ. 2540-2542)
  • พ.ศ. 2543 : โฆษกกระทรวงมหาดไทย (ระหว่างปี พ.ศ. 2543-2544)
  • เลขานุการสภาพรรคการเมืองเสรีประชาธิปไตยเอเชีย
  • อดีตโฆษกพรรคประชาธิปัตย์
  • อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเงา

การดำรงตำแหน่งอื่นๆ[แก้]

  • ผู้อำนวยการสมาคมบ้านเยาวชนแห่งประเทศไทย
  • ประธานศิษย์เก่าโครงการปริญญาโทสำหรับผู้บริหาร (EX MBA) รุ่น 10 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผลงานเขียน[แก้]

  • ติมอร์เอกราชเลือด
  • กฤษณา ไม้หอม ไม้มหาเศรษฐี (เป็นหนังสือติดอันดับขายดี ได้รับการตีพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง)

ผลงานการแสดง[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. เปิดรายชื่อกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 39 คน
  2. ปชป.เรียกประชุมลูกพรรควางแนวอภิปรายนโยบายรัฐบาล!
  3. “องอาจ”เฮเมียคลอดลูกสาว[ลิงก์เสีย]
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รวม ๑๘ ราย) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอน พิเศษ 72ง วันที่ 8 มิถุนายน 2553
  5. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
  6. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 พฤษภาคม 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-05-10.
  7. "เผยเซฟโซนปาร์ตี้ลิสต์ ปชป. "จุรินทร์-ชวน" นำทีม "ตั๊น" ที่ 10 เบียด "เดียร์" พร้อมใส่เฝือกหาเสียง". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-04-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-06. สืบค้นเมื่อ 2023-04-06.
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า องอาจ คล้ามไพบูลย์ ถัดไป
วีระชัย วีระเมธีกุล
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ครม. 59)
(6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554)
สุรวิทย์ คนสมบูรณ์
กฤษณา สีหลักษณ์