ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มั่น พัธโนทัย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 38: บรรทัด 38:
ในทางการเมืองได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมัยแรกใน[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย มีนาคม พ.ศ. 2535|การเลือกตั้ง พ.ศ. 2535 (ครั้งที่ 1)]] และได้รับเลือกตั้งต่อมาอีกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2535 (ครั้งที่ 2) พ.ศ. 2538 และ พ.ศ. 2539 และเคยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีอีกหลายสมัย ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดสมุทรปราการ
ในทางการเมืองได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมัยแรกใน[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย มีนาคม พ.ศ. 2535|การเลือกตั้ง พ.ศ. 2535 (ครั้งที่ 1)]] และได้รับเลือกตั้งต่อมาอีกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2535 (ครั้งที่ 2) พ.ศ. 2538 และ พ.ศ. 2539 และเคยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีอีกหลายสมัย ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดสมุทรปราการ


มั่น พัธโนทัย เป็นนักการเมืองผู้ใกล้ชิดกับนาย[[วัฒนา อัศวเหม]] นายมั่น ได้กลับเข้าทำงานในพรรคราษฎร ในช่วงปี พ.ศ. 2553 และภายหลังได้เปลี่ยนชื่อพรรคเป็น "[[พรรคมาตุภูมิ]]" ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการพรรคมาตุภูมิ<ref>[http://www.matubhum.or.th/main/content.php?page=content&category=4&id=3 คณะกรรมการบริหารพรรคมาตุภูมิ]</ref> โดยใน[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2554|การเลือกตั้งในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554]] ได้ลงรับสมัครเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 2 [[พรรคมาตุภูมิ]]<ref>[http://www.matubhum.or.th/main/content.php?page=sub&category=20&id=817 รายชื่อผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ]</ref>
มั่น พัธโนทัย เป็นนักการเมืองผู้ใกล้ชิดกับนาย[[วัฒนา อัศวเหม]]ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าพ่อปากน้ำ นายมั่น ได้กลับเข้าทำงานในพรรคราษฎร ในช่วงปี พ.ศ. 2553 และภายหลังได้เปลี่ยนชื่อพรรคเป็น "[[พรรคมาตุภูมิ]]" ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการพรรคมาตุภูมิ<ref>[http://www.matubhum.or.th/main/content.php?page=content&category=4&id=3 คณะกรรมการบริหารพรรคมาตุภูมิ]</ref> โดยใน[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2554|การเลือกตั้งในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554]] ได้ลงรับสมัครเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 2 [[พรรคมาตุภูมิ]]<ref>[http://www.matubhum.or.th/main/content.php?page=sub&category=20&id=817 รายชื่อผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ]</ref>


== การดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ==
== การดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:57, 5 กันยายน 2554

มั่น พัธโนทัย
ไฟล์:Mun Pattanothai.jpg
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 – 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ก่อนหน้าพฤฒิชัย ดำรงรัตน์
ถัดไปบุญทรง เตริยาภิรมย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 9 กันยายน พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
ก่อนหน้าโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
ดำรงตำแหน่ง
24 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ถัดไปร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 มกราคม พ.ศ. 2484 (83 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองมาตุภูมิ

ดร.มั่น พัธโนทัย (21 มกราคม พ.ศ. 2484 -) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์

ประวัติ

มั่น พัธโนทัย เป็นบุตรของนายสังข์ พัธโนทัย กับนาง วิไล พัธโนทัย เกิดเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2484 มีพี่น้องกัน 5 คน ได้แก่ นายมั่น พัธโนทัย นายวรรณไว พัธโนทัย นางสิรินทร์ ฮอร์น นางผ่องศรี ฟอร์น วังเด็กก์ และนางวิริยะวรรณ สาทิสสะรัต

นายมั่น จบการศึกษาชั้นมัธยม 8 ที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 1) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2507 ระดับปริญญาโทสาขารัฐศาสตร์ (ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ) จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2512 ปริญญาโททางรัฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยแมริแลนด์ ในปี พ.ศ. 2516 และระดับปริญญาเอก สาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเคนชิงตัน แคลิฟอร์เนีย ในปี พ.ศ. 2522

การเมือง

ในทางการเมืองได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมัยแรกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2535 (ครั้งที่ 1) และได้รับเลือกตั้งต่อมาอีกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2535 (ครั้งที่ 2) พ.ศ. 2538 และ พ.ศ. 2539 และเคยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีอีกหลายสมัย ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดสมุทรปราการ

มั่น พัธโนทัย เป็นนักการเมืองผู้ใกล้ชิดกับนายวัฒนา อัศวเหมผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าพ่อปากน้ำ นายมั่น ได้กลับเข้าทำงานในพรรคราษฎร ในช่วงปี พ.ศ. 2553 และภายหลังได้เปลี่ยนชื่อพรรคเป็น "พรรคมาตุภูมิ" ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการพรรคมาตุภูมิ[1] โดยในการเลือกตั้งในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้ลงรับสมัครเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 2 พรรคมาตุภูมิ[2]

การดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี

มั่น พัธโนทัย ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์[3] ต่อมาภายหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อวันที่31 พฤษภาคม และ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ซึ่งเกิดกรณีการลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีของสมาชิกพรรคเพื่อแผ่นดิน ทำให้เกิดกระแสความไม่พอใจของพรรคภูมิใจไทย จึงมีการปรับโควต้ารัฐมนตรีของพรรคเพื่อแผ่นดิน และดึงพรรคมาตภูมิ เข้าร่วมรัฐบาล โดยนายมั่น พัธโนทัย ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

  • พ.ศ. 2553 - มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
  • พ.ศ. 2551 - มหาวชิรมงกุฏไทย (ม.ว.ม.)[6]

อ้างอิง

  1. คณะกรรมการบริหารพรรคมาตุภูมิ
  2. รายชื่อผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รวม ๑๘ ราย)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอน พิเศษ 72ง วันที่ 8 มิถุนายน 2553
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี 2553
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย