โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา
Debaratana Nakhonratchasima Hospital
ประเภทรัฐ โรงพยาบาลทั่วไป (S)
ที่ตั้งเลขที่ 345/5 หมู่ที่ 6 ตำบลโคกกรวด อำเภอเมืองนครราชสีมา
จังหวัดนครราชสีมา 30000
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้ง1 สิงหาคม พ.ศ. 2550
(โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 2)
11 กันยายน พ.ศ. 2555
(โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา)
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ผู้อำนวยการนพ.ชวศักดิ์ กนกกันฑพงษ์
จำนวนเตียง290 เตียง[1]
เว็บไซต์http://dnrh.go.th

โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา เป็นโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิของจังหวัดนครราชสีมา ให้บริการรักษาทั่วผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก

ประวัติ[แก้]

โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานชื่อโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555 ซึ่งเดิมนายมงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในสมัยนั้น มีนโยบายพัฒนาศักยภาพเป็นโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ โดยใช้ชื่อในขณะนั้นว่าโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 2 ซึ่งได้เปิดอย่างเป็นทางการ โดยนายแพทย์ปราชญ์ บุญยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ด้วยความร่วมมือจากบุคลากรของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพแต่ด้วยความจำกัดของพื้นที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพที่ไม่อาจขยายรองรับโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิและมีผลกระทบต่อพันธกิจและงานเดิมของศูนย์อนามัยที่ 5 จึงมีแนวคิดที่จะปรับเปลี่ยนสถานที่ดำเนินการของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 2

การดำเนินการช่วงเวลาต่อมากรมสุขภาพจิต มอบพื้นที่ให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ด้วยความเหมาะสมตามสภาพภูมิศาสตร์ และการกระจายประชากรของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 2 ได้พิจารณาขอใช้พื้นที่ศูนย์จิตสังคมบำบัด โรงพยาบาลจิตเวชนคราชสีมาราชนครินทร์ ซึ่งมีพื้นที่กว้างขวางถึง 56 ไร่ ตั้งอยู่ริมถนนมิตรภาพห่างจากศูนย์อนามัยที่ 5 ไม่ไกลนัก เป็นพื้นที่ซึ่งได้พัฒนาสำหรับให้บริการด้านจิตเวชแล้วบางส่วน ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุขจึงได้มีความเห็นพ้องต้องกันว่าโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิควรอยู่ในพื้นที่นี้

การก่อสร้างโรงพยาบาลในขณะนั้น เพื่อพัฒนาเป็นโรงพยาบาลทั่วไป ขนาด 200 เตียง และอาจขยายจำนวนเตียงเพิ่มขึ้นในระยะต่อไปโดยใช้หลักของ GIS ระบบเครือข่ายการส่งต่อผู้ป่วยของจังหวัดนครราชสีมา โดยได้รับอนุมัติงบประมาณก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุ 5 ชั้น วงเงิน 141 ล้านบาท และในปีต่อมาโรงพยาบาลได้ของบประมาณของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อก่อสร้างอาคารผู้ป่วยใน 10 ชั้น รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 400 ล้านบาท[2]

เขตพื้นที่รับผิดชอบ[แก้]

จำนวนประชากรในเขตรับผิดชอบทั้งหมด 548,643 คน

รายนามผู้อำนวยการโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา[แก้]

ทำเนียบรายนามผู้อำนวยการโรงพาบาลด่านขุนทด[3]
รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
1. พญ.พวงเพ็ญ อ่ำบัว ตุลาคม 2551 - กันยายน 2553
2. ร้อยเอก นพ.วรัญญู สัตยวงศ์ทิพย์ ตุลาคม 2553 - พฤษภาคม 2556
3. นพ.ชัยสิทธิ์ มัทวานนท์ มิถุนายน 2556 - ตุลาคม 2558
4. นพ.จิรศักดิ์ วิจักขณาลัญฉ์ พฤศจิกายน 2558 - 30 กันยายน 2564
5. นพ.ชวศักดิ์ กนกกันฑพงษ์ ตุลาคม 2564 - ปัจจุบัน

อ้างอิง[แก้]

  1. http://203.157.163.6/SPHO_Meeting_Sys/upload/Files/22_449_465_691147.pdf สรุปข้อมูลพื้นฐานโรงพยาบาล เขตสุขภาพที่ 9 หน้าที่ 59
  2. http://dnrh.go.th/v4/about ประวัติของโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา
  3. http://dnrh.go.th โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา