ข้ามไปเนื้อหา

โรงพยาบาลดารารัศมี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลดารารัศมี
Dararassamee Hospital
ชื่อย่อดร.รพ.ตร.
ก่อตั้ง1 ตุลาคม พ.ศ. 2523
ประเภทโรงพยาบาลของรัฐ
สังกัดโรงพยาบาลตำรวจ
ที่ตั้ง
ผู้บังคับการโรงพยาบาล (ผบก.ดร.รพ.ตร.)
พลตำรวจตรีหญิง พิมพรรณ ทรัพย์ขำ
บุคลากรหลัก
ผู้อำนวยการโรงพยาบาล (ผอ.ดร) พ.ต.อ.แสวง เที่ยงใจ (นายแพทย์ สบ.5)
องค์กรปกครอง
โรงพยาบาลตำรวจ
เว็บไซต์www.darahospital.go.th

โรงพยาบาลดารารัศมี (Dararassamee Hospital) โรงพยาบาลของรัฐในสังกัดโรงพยาบาลตำรวจ ตั้งชื่อตามพระนามของเจ้าดารารัศมี พระราชชายา

ประวัติ

[แก้]

กิจการแพทย์ตำรวจได้เริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2441 รัฐบาลได้เปลี่ยนโรงพยาบาลสำหรับรักษาหญิงโสเภณีที่หลังวัดพลับพลาไชย ซึ่งสร้างปี พ.ศ. 2440 มาเป็นโรงพยาบาลตำรวจสำหรับพลตระเวน เพื่อรักษาตำรวจที่เจ็บป่วยพิสูจน์บาดแผลและชันสูตรพลิกศพ เพื่อประกอบการพิจารณาคดีต่าง ๆ

ต่อมาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้แพทย์ตำรวจปฏิบัติงานในส่วนภูมิภาค พร้อมรับสั่งให้ผู้อำนวยการโรงพยาบาลตำรวจเข้าเฝ้า ณ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2512 แต่ขณะนั้นทำได้เพียงส่งแพทย์ไปช่วยราชการภูธรชายแดน และออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เป็นครั้งคราวเท่านั้น ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งสถานพยาบาลของกรมตำรวจประจำภาคต่าง ๆ ขึ้น โดยเริ่มดำเนินการในภาคเหนือเป็นแห่งแรก กระทั่งในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2522 กองแพทย์ได้รับการยกฐานะเป็น สำนักงานแพทย์ใหญ่ (พต.) มีการแบ่งส่วนราชการภายในเป็น 4 กองบังคับการ และ 1 งาน โดยมีงานโรงพยาบาลดารารัศมี เป็นหนึ่งในนั้น

กรมตำรวจได้จัดสรรงบประมาณก่อสร้างอาคาร และประกาศจัดตั้งเป็น "โรงพยาบาลดารารัศมี" ที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2523[1] เป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง เป็นโรงพยาบาลขึ้นตรงต่อสำนักแพทย์ใหญ่ กรมตำรวจ และในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2548 โรงพยาบาลตำรวจ ได้รับการยกฐานะให้เป็นหน่วยงานในระดับกองบัญชาการ โดยควบรวมสำนักงานแพทย์ใหญ่ (พต.) เข้าด้วยกัน ขึ้นตรงต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามพระราชกฤษฎีการแบ่งส่วนราชการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2548 [2] ส่งผลให้โรงพยาบาลดารารัศมี เป็นโรงพยาบาลในสังกัดโรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประวัติความเป็นมา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-28. สืบค้นเมื่อ 2014-12-10.
  2. พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2548