สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

พิกัด: 13°43′50″N 100°30′16″E / 13.730455°N 100.504401°E / 13.730455; 100.504401
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
Somdet Chaopraya Institute of Psychiatry
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
แผนที่
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งแขวงคลองสาน เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย, ประเทศไทย
พิกัด13°43′50″N 100°30′16″E / 13.730455°N 100.504401°E / 13.730455; 100.504401
หน่วยงาน
ประเภทเฉพาะทาง
บริการสุขภาพ
จำนวนเตียง500 เตียง
ประวัติ
ชื่อเดิมโรงพยาบาลคนเสียจริต
โรงพยาบาลโรคจิตต์ธนบุรี
เปิดให้บริการ1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2432
ลิงก์
เว็บไซต์www.somdet.go.th/public/Eng/main.php

สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา (หรือที่รู้จักในชื่อโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา) เป็นโรงพยาบาลจิตเวชในเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ซึ่งอาคารหลังเดิมได้รับการออกแบบโดยสถาปนิกชาวอังกฤษและดูแลโดยแพทย์ชาวอังกฤษ ดร. มอร์เดน คาร์ธิว ที่ได้รับการก่อตั้งขึ้นในฐานะเป็นโรงพยาบาลคนเสียจริต[1] ในฐานะโรงพยาบาลจิตเวชแห่งแรกและเป็นโรงพยาบาลที่เก่าแก่ที่สุดอันดับสองของประเทศไทย โรงพยาบาลแห่งนี้จึงเป็นที่รู้จักในฐานะผู้บุกเบิกการรักษาผู้ป่วยทางจิตอย่างมีมนุษยธรรมภายในประเทศ

ประวัติ[แก้]

โรงพยาบาลนี้ได้รับการก่อตั้งขึ้นตามพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใน พ.ศ. 2432 โดยเริ่มแรกมีเนื้อที่ห้าไร่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทศวรรษต่อมา ได้ย้ายมาอยู่ที่วิทยาเขต 44 ไร่ในปัจจุบัน ชื่อเดิมของโรงพยาบาลนี้คือ "โรงพยาบาลคนเสียจริต" (Hospital for the Mentally Ill) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็น "โรงพยาบาลโรคจิตต์ธนบุรี" (Thon Buri Psychosis Hospital)[2] ครั้นเมื่อฝน แสงสิงแก้ว เข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวช เขาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา" ใน พ.ศ. 2497 เพื่อขจัดมลทินที่เกี่ยวข้องกับชื่อเดิมของโรงพยาบาล โดยชื่อใหม่นี้คือชื่อถนนสมเด็จเจ้าพระยาที่ก่อตั้งสถาบัน[3][4] ต่อมา ใน พ.ศ. 2498 โรงพยาบาลนี้ได้เริ่มจัดโปรแกรมการฝึกเพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญในด้านจิตเวชศาสตร์และสุขภาพจิต ไม่นานหลังจากที่สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทยได้รับการก่อตั้ง[5]

คลินิกสุขวิทยาจิตเปิดขึ้นในโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาหลังจากประสบความสำเร็จในการฝึกอบรมจากทีมผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาสุขวิทยาจิต, จิตเวชศาสตร์เด็ก, จิตวิทยาคลินิก และสังคมสงเคราะห์จิตเวช โดยส่วนนี้ได้ขยายเพิ่มเติมเพื่อให้บริการจิตใจผู้ป่วยนอก เมื่อก่อตั้งศูนย์สุขภาพจิตเด็ก โรงพยาบาลดังกล่าวได้เริ่มให้บริการผู้ป่วยนอกใน พ.ศ. 2513 เนื่องจากการขาดแคลนบุคลากร[5]

โรงพยาบาลนี้ได้รับการยกฐานะเป็นแผนกตามพระราชกฤษฎีกาปรับโครงสร้างกรมการแพทย์ พ.ศ. 2517[5] ครั้น พ.ศ. 2545 โรงพยาบาลดังกล่าวได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา"

ทั้งนี้ วิทยาเขตของสถาบันมีต้นไม้อายุมากกว่าหนึ่งศตวรรษ[2] ซึ่งนายแพทย์ สินเงิน สุขสมปอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาล เชื่อว่าความเขียวขจีช่วยให้ผู้ป่วยจิตสงบได้ ผู้บริหารไม่ยอมตัดต้นไม้เพื่อขยายพันธุ์ และเชิญบุคคลสำคัญให้ปลูกต้นไม้ในโอกาสพิเศษ[2]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Scull, Andrew (ed.) (2014). "Cultural Sociology of Mental Illness: An A-to-Z Guide." SAGE Publications
  2. 2.0 2.1 2.2 Supoj Wancharoen (28 June 2014). "Mindful about the importance of being green". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2 November 2015.
  3. Balgos, Cecile C.A., บ.ก. (2007). "Phon Sangsingkeo". Great Men and Women of Asia: Ramon Magsaysay Awardees from Southeast Asia 1958-1973. Anvil.
  4. "HISTORY OF SOMDET CHAOPRAYA INSTITUTE OF PSYCHIATRY". SOMDET CHAOPRAYA INSTITUTE OF PSYCHIATRY. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-25. สืบค้นเมื่อ 8 May 2020.
  5. 5.0 5.1 5.2 "Mental Health Thailand". Department of Mental Health of Thailand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-08. สืบค้นเมื่อ 1 November 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]