โรงพยาบาลค่ายสุรนารี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลค่ายสุรนารี
Fort Suranari Hospital
ประเภทโรงพยาบาลทหาร
ที่ตั้ง211 ถนนพิบูลละเอียด
ตำบลหนองไผ่ล้อม
อำเภอเมืองนครราชสีมา
จังหวัดนครราชสีมา 30000
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้งพ.ศ. 2443
ผู้อำนวยการพลตรี เกรียงชัย ประสงค์สุกาญจน์
จำนวนเตียง420 เตียง
เว็บไซต์https://fsh.rta.mi.th/

โรงพยาบาลค่ายสุรนารี เป็นโรงพยาบาลประจำกองทัพภาคที่ 2 ค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ในสังกัดกองทัพบก

ประวัติโรงพยาบาล[แก้]

พ.ศ. 2443 ก่อตั้งกองการพยาบาล 1 กอง ในกรมทหารบกนครราชสีมา มี พลตรี หม่อมเจ้าศรีไศเฉลิมศักดิ์ เป็นผู้บังคับบัญชา สำหรับกองพยาบาลนั้นมี ร้อยเอก หลวงบำรุงรสระงับพยาธิ (ชื่น) แพทย์แผนโบราณเป็นผู้บังคับกอง แบ่งการรักษาออกเป็น ๒ แผนก คือ คนไข้ทางยา และ คนไข้ทางบาดแผล ยาที่ใช้เป็นยาแผนโบราณ เช่น ยาต้มและยาผง พื้นที่ทำการเป็นโรงไม้พื้นกระดานฝาขัดแตะและหลังคามุงแฝกหนึ่งโรง เป็นที่รักษาพยาบาลและที่ทำการด้วย จุคนไข้ประมาณ 100 คน

พ.ศ. 2447 กรมทหารบกนครราชสีมา ได้เปลี่ยนเป็น กองพลที่ 5 ดังนั้น กองพยาบาลจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น กองพยาบาลที่ 5

พ.ศ. 2468 ได้เปลี่ยนชื่อกองพยาบาลในกองพลทหารบกที่ 5 มาเป็น กองเสนารักษ์ ในกองพลทหารบกที่ 5

พ.ศ. 2493 กอง. สร. มณฑล 3 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงพยาบาลภาคที่ 2 และไปขึ้นการบังคับบัญชากับภาคทหารบกที่ 2

พ.ศ. 2499 ได้เปลี่ยนชื่อโรงพยาบาลภาคทหารบกที่ 2 เป็น โรงพยาบาลสุรนารี โอนการบังคับบัญชาไปขึ้นกับ มทบ. 3

พ.ศ. 2504 ขึ้นการบังคับบัญชากองทัพภาคที่ 2

พ.ศ. 2507 โรงพยาบาลสุรนารี ได้ย้ายจากที่ตั้งเดิม ( กองพันเสนารักษ์ที่ 3 ในปัจจุบัน) มาอยู่ที่บริเวณหนองนางแหนบ ( บุ่งตาหลั่ว)

พ.ศ. 2509 โอนการบังคับบัญชาไปขึ้นกับมณฑลทหารบกที่ 3 อีกครั้งหนึ่ง

พ.ศ. 2512 โอนการบังคับบัญชา โรงพยาบาลค่ายสุรนารี ไปขึ้นกับกองทัพภาคที่ 2 เป็นโรงพยาบาลทั่วไปของกองทัพบก ขึ้นตรงการบังคับบัญชาต่อกองทัพภาคที่ 2

พ.ศ. 2516 โรงพยาบาลค่ายสุรนารี ได้รับพระราชทานชื่อเป็น โรงพยาบาลค่ายสุรนารี[1]

รายนามผู้บังคับบัญชา[แก้]

ทำเนียบรายนามผู้อำนวยการโรงพยาบาลค่ายสุรนารี[2]
รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
1. พันโท ใหญ่ ชุณหนันท์ พ.ศ. 2491 - 2493
2. พันเอก ประสิทธิ์ สักการเวช พ.ศ. 2494 - 2500
3. พันเอก บุญยัง เวชชบูล พ.ศ. 2501 - 2505 ครั้งที่ 1
4. พันเอก โพธิ์ ทองใหญ่ พ.ศ. 2506 - 2507
5. พันเอก บุญยัง เวชชบูล พ.ศ. 2507 - 2510 ครั้งที่ 2
6. พันเอก จิตติ จิตติเวช พ.ศ. 2510 - 2513
7. พันเอก สุชาต ปาลวัฒน์วิไชย พ.ศ. 2513 - 2515
8. พันเอก เจริญ วัฒนจินดา พ.ศ. 2515 - 2520
9. พันเอก ศิริชัย สุวรรมณ พ.ศ. 2520 - 2523
10. พันเอก สุพจน์ สัมปัตตะวนิช พ.ศ. 2523 - 2526
11. พลตรี สุพจน์ สัมปัตตะวนิช พ.ศ. 2526 - 2532
12. พลตรี คำรบ สายสุวรรณ พ.ศ. 2532 - 2535
13. พลตรี อิทธิพล ไชยเสนะ พ.ศ. 2535 - 2536
14. พลตรี ปรัชญา จรัณยานนท์ พ.ศ. 2536 - 2538
15. พลตรี สุกิจ เลาหสุรโยธิน พ.ศ. 2538 - 2540
16. พลตรี เอกจิต ช่างหล่อ พ.ศ. 2540 - 2544
17. พลตรี ชูศิลป์ คุณาไทย พ.ศ. 2544 - 2546
18. พลตรี ธวัชชัย ศศิประภา พ.ศ. 2546 - 2550
19. พลตรี บุญลือ วงษ์ท้าว พ.ศ. 2550 - 2552
20. พลตรี ธีรยุทธ ศศิประภา พ.ศ. 2552 - 2555
21. พลตรี พศิน บัวแสง พ.ศ. 2555 - 2557
22. พลตรี ชาญชัย ติกขะปัญโญ พ.ศ. 2557 - 2560
23. พลตรี ธนา สุรารักษ์ พ.ศ. 2560 - 2561
24. พลตรี สุรศักดิ์ ถนัดศีลธรรม พ.ศ. 2561 - 2563
25. พลตรี เกรียงชัย ประสงค์สุกาญจน์ พ.ศ. 2563 - 2566
26. พลตรี ธวัชชัย ศิลปีโยดม พ.ศ. 2566 ถึง ปัจจุบัน

อ้างอิง[แก้]

  1. https://fsh.rta.mi.th/page/index.php/home-3[ลิงก์เสีย] ประวัติโรงพยาบาลค่ายสุรนารี
  2. https://fsh.rta.mi.th/page/index.php/home-2/home-3[ลิงก์เสีย] รายนามผู้อำนวยการโรงพยาบาลค่ายสุรนารี