โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

พิกัด: 16°52′23″N 99°07′54″E / 16.873030°N 99.131575°E / 16.873030; 99.131575
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
Somdejphrajaotaksin Maharaj Hospital
กระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 2
แผนที่
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง16/2 ถนนพหลโยธิน ตำบลระแหง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก 63000, ประเทศไทย
พิกัด16°52′23″N 99°07′54″E / 16.873030°N 99.131575°E / 16.873030; 99.131575
หน่วยงาน
ประเภททั่วไป
สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
บริการสุขภาพ
จำนวนเตียง310 เตียง
ประวัติ
ชื่อเดิมโรงพยาบาลตาก
เปิดให้บริการ24 มิถุนายน พ.ศ. 2487
ลิงก์
เว็บไซต์www.tsm.go.th

โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นโรงพยาบาลหลักของจังหวัดตาก ประเทศไทย ซึ่งได้รับการจัดอยู่ในประเภทโรงพยาบาลทั่วไปในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และเป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์ชั้นคลินิกของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตามโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท

ประวัติ[แก้]

การก่อสร้างโรงพยาบาลตากเริ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2482 โดยหมัง สายชุมอินทร์ ผู้แทนราษฎรจังหวัดตาก แต่ล่าช้าออกไปเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่สองได้เริ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลดังกล่าวก็ได้เปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2487 โดยมีอาคารหนึ่งหลังที่สามารถรองรับได้ 25 เตียง[1] กระทั่งใน พ.ศ. 2502 ได้มีการขยายโรงพยาบาลเป็น 100 เตียง เนื่องจากไม่มีโรงพยาบาลอื่นในพื้นที่โดยรอบของจังหวัดกำแพงเพชร, จังหวัดสุโขทัย และอำเภอเถิน ในจังหวัดลำปาง ครั้นเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2527 ได้เปลี่ยนชื่อโรงพยาบาลเป็นโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และใน พ.ศ. 2548 ทางโรงพยาบาลได้ทำข้อตกลงในการฝึกอบรมนักศึกษาแพทย์รวมถึงทำหน้าที่เป็นโรงพยาบาลสอนคลินิกให้แก่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ภายใต้โครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (CPIRD)[2]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประวัติโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-17.
  2. "ประวัติคณะแพทยศาสตร์".{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]