อนันต์ กลินทะ
อนันต์ กลินทะ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 14 เมษายน พ.ศ. 2535 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกสุจินดา คราประยูร |
ก่อนหน้า | พลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี |
ถัดไป | พลตำรวจเอก เภา สารสิน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 มิถุนายน พ.ศ. 2476 |
เสียชีวิต | 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (86 ปี) |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพอากาศไทย |
ยศ | พลอากาศเอก |
พลอากาศเอก อนันต์ กลินทะ (19 มิถุนายน พ.ศ. 2476 – 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562) เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร อดีตรองผู้บัญชาการทหารอากาศ และเป็นอดีตราชองครักษ์พิเศษ[1]
ประวัติ
[แก้]พลอากาศเอกอนันต์ กลินทะ เกิดเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ณ บ้านที่ตำบล รองเมือง อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร สมรสกับ น.ต.หญิง รัชนี กลินทะ (ประทีปเสน) ต่อมา น.ต.หญิง รัชนี ถึงแก่กรรม จึงสมรสใหม่กับนางสุรภีร์ กลินทะ (เสถียรศรี) พลอากาศเอกอนันต์ มีบุตรและธิดาดังนี้ 1. นายนนท์ กลินทะ ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายขาย บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) 2. นางชญาดา สิรินุกุล ข้าราชการกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ 3. นางสาวอภิสรา กลินทะ เจ้าหน้าที่บริหาร 7 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) 4. นายภัทรพล กลินทะ นักวิชาการนโยบายและแผนปฏิบัติการระดับสูง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ในการก่อการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติ[2] ซึ่งเขาได้รับแต่งตั้งในครั้งนั้นด้วย ต่อมาเขาได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน[3]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร[4] และเป็นสมาชิกวุฒิสภาในปีเดียวกัน[5]
การศึกษา
[แก้]- พ.ศ. 2492 - ชั้นมัธยมจากโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย
- พ.ศ. 2494 - ชั้นเตรียมอุดมศึกษา จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รุ่นที่ 13
- พ.ศ. 2495 - ชั้นอุดมศึกษา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะรัฐศาสตร์ รุ่นที่ 5
- พ.ศ. 2496 - โรงเรียนนายเรืออากาศ รุ่นที่ 1
- พ.ศ. 2498 - โรงเรียนนายเรืออากาศ กองทัพอากาศอังกฤษ
(Royal Air Force Academy, Cranwell)
- พ.ศ. 2501 - โรงเรียนนายร้อย กองทัพบกอังกฤษ (Royal Military Academy Sandhurt)
- พ.ศ. 2502 - เป็นศิษย์การบิน ร.ร.การบิน กองทัพอากาศ รุ่น น.26
- พ.ศ. 2505 - ศึกษาที่สหรัฐอเมริกา หลักสูตร (USAF Language Training Weapon Controller Foreign, Combat Operation Specialist Course Keesler AFB, USA)
- พ.ศ. 2511 - โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับฝูง รุ่นที่ 18
- พ.ศ. 2512 - โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับฝูง กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา
(Squadron Officer School, Maxwell AFB, USA)
- พ.ศ. 2513 - โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ รุ่นที่ 15
- พ.ศ. 2525 - วิทยาลัยการทัพอากาศ รุ่นที่ 17
- พ.ศ. 2528 - วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 28
การทำงาน
[แก้]การรับราชการ
[แก้]- พ.ศ. 2503 - นักบินประจำกอง กองบิน 2 ฝูงบิน 22
- พ.ศ. 2504 - นักบินประจำกอง กองบิน 6 ฝูงบิน 63
- พ.ศ. 2506 - ครูการบิน ฝูงฝึกขั้นต้น โรงเรียนการบิน
- พ.ศ. 2508 - ครูการบิน ซึ่งทำการบินกับเครื่องบินไอพ่น
- พ.ศ. 2518 - ผู้บังคับฐานบินนครพนม
- พ.ศ. 2519 - รองผู้อำนวยการกองนโยบายและวางแผน กรมยุทธการทหารอากาศ
- พ.ศ. 2522 - ผู้ช่วยทูตทหารอากาศไทย ประจำกรุงจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย
- พ.ศ. 2525 - รองเจ้ากรมยุทธการทหารอากาศ
- พ.ศ. 2526 - เสนาธิการกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ
- พ.ศ. 2529 - ผู้ช่วยเสนาธิการทหารอากาศฝ่ายยุทธการ
- พ.ศ. 2531 - รองปลัดกระทรวงกลาโหม
- พ.ศ. 2532 - เสนาธิการทหารอากาศ
- พ.ศ. 2534 - รองผู้บัญชาการทหารอากาศ
งานการเมือง
[แก้]- พ.ศ. 2530 - สมาชิกวุฒิสภา
- พ.ศ. 2533 - คณะกรรมการวิสามัญ ศึกษาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ
รายจ่าย ประจำปี 2533
- พ.ศ. 2534 - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- พ.ศ. 2535 - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- พ.ศ. 2535 - สมาชิกวุฒิสภา วาระที่ 2 และเป็นประธานคณะกรรมาธิการคมนาคม
ราชการพิเศษ
[แก้]- พ.ศ. 2526 - ราชองครักษ์เวร
- พ.ศ. 2532 - ราชองครักษ์พิเศษ
- พ.ศ. 2533 - ตุลาการศาลทหารสูงสุด
การดำรงตำแหน่งในคณะต่างๆ
[แก้]- พ.ศ. 2529 - ผู้แทน ทอ. ในคณะกรรมการ การบินเกษตร
- พ.ศ. 2533 - ผู้แทน ทอ. ในคณะกรรมการอำนวยการโรงงานยาสูบ
- พ.ศ. 2534 - รองประธานกรรมการ ในคณะกรรมการวางแผนระยะยาว
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
- พ.ศ. 2534 - ประธานกรรมการ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2534 - ผู้แทน ทอ. ในคณะกรรมการ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
- พ.ศ. 2534 - ผู้แทน ทอ. ในคณะอนุกรรมการวางแผนระยะยาวบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
- พ.ศ. 2534 - ประธานกรรมการการสื่อสารแห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2535 - นายกสมาคมกีฬาไทยแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- พ.ศ. 2536 - นายกสมาคมกีฬาไทยแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
ยศ
[แก้]ยศทหาร
[แก้]- พ.ศ. 2503 - เรืออากาศตรี
- พ.ศ. 2504 - เรืออากาศโท
- พ.ศ. 2507 - เรืออากาศเอก
- พ.ศ. 2511 - นาวาอากาศตรี
- พ.ศ. 2516 - นาวาอากาศโท
- พ.ศ. 2519 - นาวาอากาศเอก
- พ.ศ. 2522 - นาวาอากาศเอก (พิเศษ)
- พ.ศ. 2526 - พลอากาศตรี
- พ.ศ. 2529 - พลอากาศโท
- พ.ศ. 2531 - พลอากาศเอก (อัตราจอมพล)
ยศกองอาสารักษาดินแดน
[แก้]- พ.ศ. 2534 - นายกองเอก
ราชการสงคราม
[แก้]- พ.ศ. 2509 - นักบินประจำหน่วยบินลำเลียง ซึ่งปฏิบัติการรบร่วมกับสหประชาชาติ
ในกรณีสงครามเกาหลี รุ่นที่ 15 ผลัดที่ 2
- พ.ศ. 2516 - นายทหารยุทธการ เครื่องบินขับไล่ ปฏิบัติการรบร่วมในสาธารณรัฐกัมพูชา
- พ.ศ. 2529 - ที่ปรึกษา ประจำกองบัญชาการยุทธการด้านบูรพา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.)[8]
- พ.ศ. 2533 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[9]
- พ.ศ. 2523 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[10]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[11]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/092/T_0001.PDF
- ↑ ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๗ (ไม่เป็นกฎหมาย เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติและคณะที่ปรึกษา)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
- ↑ "สมาชิกวุฒิสภา ชุดที่ 6" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-07-17.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๒๓ ง หน้า ๗๗๕, ๕ มีนาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๑ มกราคม ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๗, ๗ สิงหาคม ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๕๑, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๓๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๑๐ สิงหาคม ๒๕๓๔
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2476
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2562
- ทหารอากาศชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไทย
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน
- บุคคลจากโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย