ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นายกรัฐมนตรีไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thmmrth (คุย | ส่วนร่วม)
ครั้งนี้การแต่งตั้งมาจากคำสั่งคสช.
Famefill (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 20: บรรทัด 20:
'''นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย''' เป็นตำแหน่งหัวหน้า[[รัฐบาล]]ของ[[ประเทศไทย]] โดย[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย]]ว่า ให้[[พระมหากษัตริย์ไทย|พระมหากษัตริย์]]ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของ[[ประธานรัฐสภาไทย|ประธานรัฐสภา]]<ref name=racha2550>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2550/A/047/1.PDF รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550]</ref> จากผู้เป็น[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]หรือไม่ก็ได้ ตามแต่[[รัฐธรรมนูญ]]ที่มีใช้อยู่ในขณะนั้น โดย[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550]] กำหนดให้นายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร<ref name=racha2550/>
'''นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย''' เป็นตำแหน่งหัวหน้า[[รัฐบาล]]ของ[[ประเทศไทย]] โดย[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย]]ว่า ให้[[พระมหากษัตริย์ไทย|พระมหากษัตริย์]]ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของ[[ประธานรัฐสภาไทย|ประธานรัฐสภา]]<ref name=racha2550>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2550/A/047/1.PDF รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550]</ref> จากผู้เป็น[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]หรือไม่ก็ได้ ตามแต่[[รัฐธรรมนูญ]]ที่มีใช้อยู่ในขณะนั้น โดย[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550]] กำหนดให้นายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร<ref name=racha2550/>


ปัจจุบัน ตำแหน่งนี้ว่างลงหลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติยึดอำนาจการปกครองประเทศเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557<ref>[http://www.thairath.co.th/content/424520 'ประยุทธ์' นำคสช.แถลงคุมอำนาจการปกครองประเทศเรียบร้อยแล้ว], ไทยรัฐ, 22 พฤษภาคม 2557</ref> [[ประยุทธ์ จันทร์โอชา|พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา]] หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงใช้อำนาจนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี
ปัจจุบัน ตำแหน่งนี้ว่างลงหลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติยึดอำนาจการปกครองประเทศเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557<ref>[http://www.thairath.co.th/content/424520 'ประยุทธ์' นำคสช.แถลงคุมอำนาจการปกครองประเทศเรียบร้อยแล้ว], ไทยรัฐ, 22 พฤษภาคม 2557</ref> [[ประยุทธ์ จันทร์โอชา|พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา]] หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงใช้อำนาจนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 10/2557<ref>[http://www.thairath.co.th/content/424561 รวมประกาศ-คำสั่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ], ไทยรัฐ, 24 พฤษภาคม 2557</ref>


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:28, 24 พฤษภาคม 2557

นายกรัฐมนตรี
แห่งราชอาณาจักรไทย
ธงประจำตำแหน่ง
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
(หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ)

ตั้งแต่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
จวนบ้านพิษณุโลก
ผู้แต่งตั้งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
วาระ4 ปี (ติดต่อได้ไม่เกิน 2 วาระ)
ผู้ประเดิมตำแหน่งพระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)
สถาปนา28 มิถุนายน พ.ศ. 2475
เงินตอบแทน125,590 บาท[1]
เว็บไซต์cabinet.thaigov.go.th

นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลของประเทศไทย โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยว่า ให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของประธานรัฐสภา[2] จากผู้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ก็ได้ ตามแต่รัฐธรรมนูญที่มีใช้อยู่ในขณะนั้น โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้นายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[2]

ปัจจุบัน ตำแหน่งนี้ว่างลงหลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติยึดอำนาจการปกครองประเทศเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557[3] พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงใช้อำนาจนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 10/2557[4]

ประวัติ

ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้นมีขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เรียกว่า "ประธานคณะกรรมการราษฎร" ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475[5] และภายหลังพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ก็เปลี่ยนมาเรียก "นายกรัฐมนตรี"[6]

การดำรงตำแหน่ง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติไว้ว่า สภาผู้แทนราษฎรจะต้องมีมติเห็นชอบให้ผู้ได้รับการเสนอชื่อ ซึ่งโดยส่วนมากมักจะเป็นตัวแทนหรือหัวหน้าพรรคการเมืองที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกมากที่สุดในสภาผู้แทนราษฎร แม้รัฐธรรมนูญจะมิได้บัญญัติไว้เช่นนั้นก็ตาม และอาจเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ก็ได้ตามแต่รัฐธรรมนูญที่มีใช้ผลบังคับอยู่ในขณะนั้น เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากนั้น พระมหากษัตริย์ไทยจึงจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งต่อไป

ตำแหน่ง รายนาม พรรคการเมือง ได้รับเลือกโดยสภาฯ เริ่มดำรงตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรี ว่าง

การปฏิบัติหน้าที่

นายกรัฐมนตรีจะมีวาระดำรงตำแหน่งคราละสี่ปี แต่จะอยู่ในตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้[2]

นายกรัฐมนตรีอาจพ้นจากตำแหน่งเพราะถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดมีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ญัตตินี้ต้องเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปไว้ด้วย เมื่อเสนอญัตติแล้วจะมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรมิได้ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้นายกรัฐมนตรีหลีกหนีการอภิปราย เว้นแต่จะมีการถอนญัตติหรือการลงมตินั้นไม่ได้เสียงครบ หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่ไว้วางใจ นายกรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่ง และมีผลให้คณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลงทั้งคณะด้วย[2]

การรักษาราชการแทน

ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 41 กำหนดให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการ ถ้ามีรองนายกรัฐมนตรีหลายคนให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน[7]

สถานที่ปฏิบัติงานและบ้านพัก

นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยปฏิบัติหน้าที่ที่ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งเป็นสถานที่ราชการสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 1 ถนนพิษณุโลก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 27 ไร่ 3 งาน 44 ตารางวา ทั้งนี้ ยกเว้น สมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ซึ่งปฏิบัติงานที่อาคารสำนักงาน และอาคารรับรองพิเศษ ท่าอากาศยานดอนเมือง เพราะพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยึดทำเนียบรัฐบาลเป็นสถานที่ชุมนุม

สำหรับบ้านพักประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทย คือ บ้านพิษณุโลก ซึ่งมีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม ออกแบบและสร้างโดย มาริโอ ตามานโญ สถาปนิกประจำราชสำนักสยามชาวอิตาลี มีเนื้อที่ 25 ไร่ 3 งาน

รองนายกรัฐมนตรี

รองนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ในการกำกับการบริหารราชการของกระทรวง หรือทบวงหนึ่งหรือหลายกระทรวงหรือทบวง ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย รวมทั้งเป็นผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (เรียงลำดับรองนายกรัฐมนตรี)

ตำแหน่ง รายนาม พรรคการเมือง เริ่มดำรงตำแหน่ง
รองนายกรัฐมนตรี ว่าง

อดีตนายกรัฐมนตรีที่ยังมีชีวิตอยู่

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น