รายชื่อมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ หรือ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) หมายถึงประเพณีและการปฏิบัติที่ไม่ใช่ทางกายภาพที่ดำเนินการโดยบุคคล ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศ ซึ่งรวมถึงการเฉลิมฉลอง เทศกาล การแสดง ประเพณีปากเปล่า ดนตรี และการทำหัตถกรรม[1] ตามอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ซึ่งร่างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2546[2] และมีผลบังคับใช้ใน พ.ศ. 2549[3] การขึ้นทะเบียนรายการมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโกนั้นกระทำโดยคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเพื่อการปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ซึ่งเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดยอนุสัญญานี้[4]

ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ค.ศ. 2003 เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) ซึ่งในปัจจุบัน ยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของประเทศไทย ทั้งสิ้น 4 รายการ ในชนิดรายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity : RL)

รายการที่ขึ้นทะเบียนแล้ว (Inscribed)[แก้]

หมายเหตุ: ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมฯ[5]
รายการ ภาพ ประเภท ปีขึ้นบัญชี
(พ.ศ./ค.ศ.)
หมายเหตุ อ้างอิง
โขน ละครรำสวมหน้ากากในไทย RL 2561/2018 เป็นศิลปะการแสดงของไทย ที่ผสมผสานองค์ประกอบทางดนตรี การร้อง วรรณกรรม นาฏศิลป์ พิธีกรรม และงานฝีมือ 01385
นวดไทย การนวดแผนไทย RL 2562/2019 เป็นส่วนหนึ่งของศิลปะ วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมของการดูแลสุขภาพแบบไทย ในฐานะการรักษาโดยไม่ใช้ยาและการบำบัดด้วยตนเอง เกี่ยวข้องกับการขยับร่างกายโดยผู้ประกอบวิชาชีพ ช่วยปรับสมดุลร่างกาย พลังงาน และโครงสร้างของผู้ป่วย เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย 01384
โนรา นาฏศิลป์ในภาคใต้ของไทย RL 2564/2021 เป็นการแสดง เต้นรำและการร้องเพลงสดที่มีชีวิตชีวาพร้อมกายกรรมจากภาคใต้ของไทย โดยปกติแล้ว การแสดงประกอบด้วยการกล่าวอัญเชิญด้วยวาจา ตามด้วยการนำเสนอโดยตัวละครหลักที่เต้นรำด้วยการเคลื่อนไหวของขา แขน และนิ้วอย่างมีพลังและซับซ้อน 01587[6]
สงกรานต์ในไทย เทศกาลปีใหม่ไทยดั้งเดิม RL 2566/2023 เป็นประเพณีวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาแต่โบราณ เป็นประเพณีที่งดงาม อ่อนโยน เอื้ออาทร และเต็มไปด้วยบรรยากาศของความกตัญญู ความสนุกสนาน ความอบอุ่น และการให้เกียรติเคารพซึ่งกันและกัน สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะของความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน โดยใช้น้ำเป็นสื่อในการเชื่อมสัมพันธไมตรี 01719

รายการที่เสนอขึ้นทะเบียนแล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณาของยูเนสโก (On-going nominations)[แก้]

รายการที่เตรียมเสนอขึ้นทะเบียน หรือกำลังศึกษาความเป็นไปได้เพื่อขึ้นทะเบียน[แก้]

  • ผีตาโขน[12]
  • ข้าวแกง – อาจเสนอขึ้นทะเบียนร่วมกับประเทศสิงคโปร์ ในรายการ "Hawker culture in Singapore (วัฒนธรรมอาหารริมทางของสิงคโปร์)" ที่ขึ้นทะเบียนแล้วเมื่อ พ.ศ. 2563[13]
  • ข้าวเหนียวมะม่วง[14]
  • หนังใหญ่[15] (กำลังศึกษาความเป็นไปได้เพื่อขึ้นทะเบียน)
  • หมอลำ[16] (กำลังศึกษาความเป็นไปได้เพื่อขึ้นทะเบียน)
  • ประเพณีลอยกระทง[10] (กำลังดำเนินการศึกษาจัดทำข้อมูล เพื่อเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรี ในการนำเสนอให้ยูเนสโกพิจารณาภายในปี พ.ศ. 2568)
  • พิธีไหว้ครู [17]
  • กัญชาไทย[18][19]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "What is Intangible Cultural Heritage?". UNESCO Intangible Cultural Heritage. สืบค้นเมื่อ 13 January 2024.
  2. "Text of the Convention for the Safeguarding of Intangible Cultural Heritage". UNESCO Intangible Cultural Heritage. สืบค้นเมื่อ 13 January 2024.
  3. "The States Parties to the Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage (2003)". UNESCO Intangible Cultural Heritage. สืบค้นเมื่อ 13 January 2024.
  4. "Functions of the Intergovernmental Committee for the Safeguarding of Intangible Cultural Heritage". UNESCO Intangible Cultural Heritage. สืบค้นเมื่อ 13 January 2024.
  5. Thailand and the 2003 Convention
  6. Nora, dance drama in southern Thailand
  7. การประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาฯครั้งที่ 1/2566
  8. การประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาฯครั้งที่ 1/2566
  9. โขน:กระทรวงวัฒนธรรมเตรียมเสนอนวดไทย โนรา และมวยไทย ให้ยูเนสโก หลังโขนได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมโลก
  10. 10.0 10.1 การเสวนาพิเศษ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่เตรียมขอขึ้นทะเบียนยูเนสโก ในปีพ.ศ. 2567[1]
  11. Thailand, Phakhaoma, a multifunctional cloth in Thai life (RL), Files pending priority ‘0’ treatment
  12. จัดใหญ่"ผีตาโขน"เล็งขึ้นบัญชีมรดกวัฒนธรรมโลก... อ่านต่อที่ : https://d.dailynews.co.th/education/649093/
  13. ผลักดัน “ข้าวแกง” มรดกภูมิปัญญาฯร่วม “สตรีทฟู้ด”
  14. [2]
  15. สวธ.-วัดขนอน พัฒนาองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมของหนังใหญ่ รองรับขึ้นทะเบียนยูเนสโก
  16. ร้อยเอ็ดวางแผนดันหมอลำ ขึ้นทะเบียนมรดกโลกของ UNESCO
  17. ศธ.ชงยูเนสโกยก “พิธีไหว้ครู” เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้
  18. เสนอขึ้นทะเบียน "กัญชาไทย" เป็นมรดกโลก
  19. จ่อชง ยูเนสโก ขึ้นทะเบียน "กัญชาไทย" มรดกโลก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม